Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เราศึกษาอย่างไร ? : แนวคิดในการกำหนดวิธีวิจัยและพัฒนา


การศึกษาวิจัยและพัฒนาในชุดโครงการนี้จึงมีอยู่ด้วยกัน ๓ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) การศึกษาองค์ความรู้ (Research) (๒) การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ (Development) และ (๓) การปรับใช้องค์ความรู้และการจัดการองค์ความรู้ (Movement & Management)

          วิธีการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge Creation and Development) เนื่องจากเป็นการศึกษาวิจัยในเชิงพัฒนา รวมทั้งการสร้างกระบวนการในการขับเคลื่อนเพื่อใช้องค์ความรู้ ดังนั้น การศึกษาวิจัยและพัฒนาในชุดโครงการนี้จึงมีอยู่ด้วยกัน ๓ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) การศึกษาองค์ความรู้ (Research) (๒) การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ (Development) และ (๓) การปรับใช้องค์ความรู้และการจัดการองค์ความรู้ (Movement & Management) โดยวิธีการนำมาซึ่งเป้าหมายของการศึกษาวิจัยเชิงพัฒนานั้นสามารถแบ่งแยกได้เป็น          

         เรามีกระบวนการในการแสวงหาองค์ความรู้ (Research) ใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ  (๑) วิจัยเอกสาร (Documentary Research) กล่าวคือ การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในรูปของกระดาษ ตลอดจนในรูปของอิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่างๆ  และ (๒) สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง (In-Depth Interview) ทุกฝ่ายอันจะทำให้ได้รับข้อมูลในเชิงลึกอันจะนำมาสู่กระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลที่มีคุณภาพ          

            แต่ในส่วนของกระบวนการในการพัฒนาองค์ความรู้ (Development) นั้น การพัฒนาองค์ความรู้จากข้อมูลที่ได้มาจากการค้นคว้าเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กระบวนการในการพัฒนาองค์ความรู้โดยการจัดเวทีวิชาการและเวทีสาธารณะเพื่อระดมความคิดเห็น ทั้งในอินเทอร์เน็ต และในโลกแห่งความเป็นจริง จะทำให้การสังเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ           

             นอกจากนั้น กระบวนการในการปรับใช้องค์ความรู้และการจัดการองค์ความรู้ (Movement & Management) ยังเป็นไปภายใต้กิจกรรม ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) จัดกิจกรรมการเยี่ยมเชิงกัลญาณมิตร (Friendly Visit) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อการพัฒนานี้ และ (๒) จัดกิจกรรมหรือเวทีเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม (Moving School) ทั้งในเมืองและชนบทอันจะทำให้มีการปรับใช้องค์ความรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในสังคมไทย            

                กลไกการสร้างระบบวิจัยและพัฒนาเชิงคุณภาพ          เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของระบบวิจัยและพัฒนาเชิงคุณภาพ ก็คือ ความมีอยู่ของประชาคมนักวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพ          

            ในโครงการเด็กไร้รัฐนี้ ระบบการทำงานนั้นมุ่งเน้นการสร้างประชาคมนักวิจัยและนักพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อวิธีการวิจัยพัฒนารวมทั้งการปรับใช้และการจัดการองค์ความรู้ โดยประชาคมดังกล่าวประกอบด้วยบุคคลใน ๗ ภาระหน้าที่ในกระบวนการวิจัยและพัฒนา อันประกอบด้วย (๑) คณะผู้ประสานงาน (Coordinator Board or C Board) (๒) คณะที่ปรึกษาโครงการฯ (Advisor Board or A Board) (๓) ผู้จัดการโครงการฯ (๔) คณะกรรมการชี้แนะแนวทาง (Steering  Board or S Board) (๕) คณะผู้แสวงหาและพัฒนาองค์ความรู้ (Research & Development Board or R&D Board) (๖) องค์กรและชุมชนที่สนับสนุนการทำงาน (๗) ผู้เข้าร่วมและผู้สนับสนุน (Participant  and  Supporters)          

              กิจกรรมและขั้นตอนของการวิจัยและการพัฒนา              

          ด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น การพัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนาจึงมีกิจกรรม ๗ กิจกรรม อันได้แก่  (๑) การสร้างและขยายเครือข่าย (๒) ความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อสำรวจสถานการณ์ (๓) ความเคลื่อนไหวทางวิชาการเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ (๔) ความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม (๕)  รายงานการสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านข้อเท็จจริง (๖) รายงานการสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านองค์ความรู้ (๗) รายงานการเสนอองค์ความรู้ในการจัดการปัญหา กิจกรรมดังกล่าวมีผลเป็นการผลักดันขั้นตอนการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใน ๓ กลุ่มและเป็นขั้นเป็นตอน อันได้แก่ (๑) การวิจัยและพัฒนาข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหา (๒) การวิจัยและพัฒนาข้อกฎหมายและนโยบายที่ใช้ในการจัดการปัญหา และ (๓) การวิจัยและพัฒนาองค์กรที่ใช้ในการจัดการปัญหา ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้               

                 ในประการแรก ก็คือ การวิจัยและพัฒนาข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหา ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการตรวจสอบและศึกษาข้อเท็จจริงอันเป็นสาเหตุของปัญหา โดยมุ่งตรวจสอบและศึกษาสถานการณ์ด้านความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของเด็กและเยาวชนในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะต่างๆ อันได้แก่ (๑) กรณีชาติพันธุ์ในพื้นที่สูง (๒) เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-พม่า (๓) กรณีลี้ภัยความตาย และ (๔) กรณีไร้รากเหง้า            

                ในประการที่สอง ก็คือ การวิจัยและพัฒนาข้อกฎหมายและนโยบายที่ใช้ในการจัดการปัญหา ซึ่งจะมีกระบวนการ ๔ ลักษณะ กล่าวคือ (๒) ตรวจสอบและศึกษามาตรการขั้นตอนทางกฎหมายและนโยบายที่ใช้ในการขจัดปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งจะตรวจสอบ ทบทวน และวิเคราะห์ กฎหมายและนโยบายที่ประเทศไทยใช้ในการจัดการปัญหานี้ จะต้องศึกษาทั้งที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ  และกฎหมายภายในของประเทศไทย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และจารีตประเพณีของชุมชน  (๒) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้รับจาก 2 ขั้นตอนก่อนๆ ให้เป็นแนวคิดและมาตรการเพื่อปฏิรูปกฎหมายและนโยบายที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาที่สังคมไทยยอมรับและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง (๓) ตรวจสอบและศึกษาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นอยู่ ตลอดจนอุปสรรคในปฏิรูปกฎหมายและนโยบายที่เป็นอยู่ และ (๔) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้รับจากขั้นตอนก่อนๆ ให้เป็นแนวคิดและมาตรการเพื่อปฏิรูป “ระบบกฎหมาย” ที่เกี่ยวข้อง.           

               ในประการที่สาม ก็คือ การวิจัยและพัฒนาองค์กรที่ใช้ในการจัดการปัญหา ซึ่งควรจะมีกระบวนการศึกษา ๓ ลักษณะ กล่าวคือ (๑)  ศึกษา สำรวจ และประเมินผลการทำงานขององค์กรภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง (๒) ตรวจสอบและศึกษาอุปสรรคในการการทำงานขององค์กรภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง และ (๓) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้รับจากขั้นตอนก่อนๆ ให้เป็นแนวคิดและมาตรการเพื่อปฏิรูปองค์กร  และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร  

ที่มา : งานเขียนอันเป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒนาภายใต้โครงการเด็กไร้รัฐ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองทุนศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

หมายเลขบันทึก: 51028เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท