มารู้จัก...หนังสือดี ๑๐๐ เรื่อง ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านกันเถอะ


อ่านมากรู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย ไม่อ่านไม่รู้

 

 

 

เมื่อไม่อ่าน..เมื่อไหร่เล่าเจ้าจะรู้

เมื่อไม่ดู..เมื่อไหร่เล่าเจ้าจะเห็น

 

อ่านมากรู้มาก...อ่านน้อยรู้น้อย...ไม่อ่านไม่รู้ 

 

 

 

มารู้จัก..หนังสือดี ๑๐๐ เรื่อง

ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านกันเถอะ

 

จากการที่เด็กและเยาวชนไทยอ่านหนังสือน้อยกว่าเด็กและเยาวชนต่างชาติของประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ แม้เป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง เช่น มาเลเซีย  ฮ่องกง  ไต้หวัน  สิงคโปร์ และจีน  จากสถิติของยูเนสโก คนไทย ๑,๐๐๐ คน ใช้กระดาษพิมพ์และเขียน ๑๓.๑ เมตริกตัน เมื่อเทียบกับคนฮ่องกง, สิงคโปร์ ที่ใช้กระดาษ ๑,๐๐๐ คนต่อ ๙๘เมตริกตัน   ส่วนหนึ่งอาจเพราะคนไทยจนกว่า  มีฐานะทางเศรษฐกิจที่อ่อนด้อยกว่า  แต่ส่วนหนึ่งที่เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ คือ  คนไทยยังมีนิสัยรักการอ่านน้อยกว่า

โครงการคัดเลือกหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านเป็นโครงการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากโครงการวิจัยคัดเลือกหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนไทยรักการอ่านหนังสือมากขึ้นและมีคู่มือในการอ่านหนังสือดี การรักการอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้  ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองที่สำคัญอย่างยิ่ง  เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่แสดงถึงการเป็นคนมีคุณภาพตามกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒  และมาตรฐานด้านผู้เรียน ของ สพฐ.(การประกันคุณภาพภายใน)  และ สมศ. (การประกันคุณภาพภายนอก)     ผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตระดับโลก  ระดับประเทศมากมายหลายคนก็ด้วยเป็นคน รักการอ่าน” ที่เป็นต้นทุนชีวิตที่ดีงาม

คณะผู้วิจัยและการดำเนินงานคัดเลือกหนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ตามโครงการโดยการสนับสนุนของ สกว. ประกอบด้วย (๑)อาจารย์วิทยากร เชียงกูล(๒)อาจารย์กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ หรือป้ากุลที่น่ารักของเด็กๆ (๓)รศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (๔)อาจารย์พรพิไล เลิศวิชา  และ (๕) รศ.เกริก ยุ้ยพันธ์ 

 

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน

 
๑. เป็นหนังสือเล่ม ประเภทบันเทิงคดี (นิทาน นิยาย เรื่องสั้น บทกวี)ที่เขียนขึ้นเอง โดยไม่จำกัดยุคสมัย
๒. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเนื้อหาสาระที่ส่งเสริมความเข้าใจชีวิตและสังคม เสริมสร้างภูมิปัญญา จินตนาการ และค่านิยมที่ดี มีศิลปะในการเขียนที่ดี มีความงาม
ความไพเราะ ความสะเทือนอารมณ์ อ่านได้สนุกเพลิดเพลิน
๓. มีเนื้อหา ท่วงทำนอง ภาพประกอบที่สามารถสนองความสนใจของนักอ่านกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสมกับวัย กระตุ้นจินตนาการ
และการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและโลกที่ผู้อ่านรู้สึกเชื่อมโยงด้วย
๔. เป็นการวางพื้นฐานในการอ่านวรรณคดีที่เป็นแบบฉบับของไทย หรือช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตและสังคมวัฒนธรรมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น 
 

เรามาดูกันนะคะ..ว่ามีเรื่องอะไร  ใครเป็นผู้แต่งบ้าง

(๑.) สำหรับกลุ่มเด็กวัย ๓-๖ ปี
 
๑. กระต่ายน้อยกับหินวิเศษ :  สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์
๒. ขอแม่ให้ลูกนก :   บุญสม เอรวารพ
๓. ดอกสร้อยสุภาษิตประกอบภาพ :   กรมศิลปากร
๔. ต้นไม้ในสวน :   ชีวัน วิสาสะ
๕. ปลาบู่ทอง :   กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
๖. ผีเสื้อกับผึ้งน้อย :   อำนาจ เย็นสบาย
๗. ฟ้าจ๋าอย่าร้อง  :   ส.พุ่มสุวรรณ
๘. ยายกะตา  :  บุญสม เอรวารพ
๙. รถไม้ของขวัญ   :   อิทธิพล วาทะวัฒนะ
๑๐. เสือโค  :   หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, รัตนา อัตถากร
๑๑. สำนึกของปลาทอง  :   วิรุณ ตั้งเจริญ
๑๒. หนูมากับหนูมี   :  สมใจ ทิพย์ชัยเมธา
๑๓. หนูอ้อกวาดบ้าน  :  อุไร ฟ้าคุ้ม
๑๔. เอื้องแซะสีทอง นิยายการ์ตูนชาวเขา  :  วิชา พรหมจันทน์
๑๕. อำเภออึกทึก  :  ดำรงศักดิ์ บุญสู่

 
(๒.) กลุ่มเด็กวัย ๗-๑๒  ปี (แบ่งตามประเภท นิทานภาพ กับ นิยายเรื่อง)
 
๒.๑  กลุ่มนิทานภาพ
๑๖. การ์ตูนประวัติบุคคลสำคัญ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ :      พรชมภู ราชทา, รุ่งโรจน์ แสงพันธุ์
๑๗. ข้าวเขียวผู้เสียสละ :     วิริยะ สิริสิงห
๑๘. เด็กชายผู้ไม่ยอมเปิดหน้าต่าง :   กานติ ณ ศรัทธา
๑๙. ต้นไม้ :   จารุพงษ์ จันทรเพชร
๒๐. ตาอินกับตานา :   เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๒๑. นโมแห่งบ้านไม้ :    อรุณ วัชระสวัสดิ์
๒๒. นางในวรรณคดี  :   มาลัย
๒๓. นิทานชาวเขา – สมศักดิ์ ศรีมาโนชน์, สุนทร สุนันท์ชัย
๒๔. นิยายภาพ 4 เรื่อง 4 รส :     เตรียม ชาชุมพร
๒๕. นิทานภาพพุทธรักษา :   ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และคณะ
๒๖. เปลือกหอยกับความสุข :    มานิต ประภาษานนท์, สุธีรา สาธิตภัทร
๒๗. ผึ้งน้อยในสวน    :  สิรินทร์ ช่วงโชติ
๒๘. พระเวสสันดร :     ปัณยา ไชยะคำ
๒๙. ไม่อยากเป็นควาย :    สายสุรีย์ จุติกุล, แสงอรุณ รัตกสิกร
๓๐. “เรณู-ปัญญา” เที่ยวรถไฟ :     กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
๓๑. ลูกหงส์กตัญญู :   พรจันทร์ จันทวิมล
๓๒. เล่นกลางแจ้ง :   ปรีดา ปัญญาจันทร์
๓๓. สิงโตเจ้าปัญญา :     ถวัลย์ มาศจรัส (อาจารย์ปู่..แสนใจดี)
๓๔. สุดสาคร และวีรชนในประวัติศาสตร์ไทย :   ประยุต เงากระจ่าง
๓๕. โสนน้อยเรือนงาม   :   มล.มณีรัตน์ บุนนาค
๓๖. หนังสือชุดภาพประกอบคำบรรยาย และหนังสือชุดภาพและการ์ตูน :   เหม เวชกร
๓๗. หนังสือชุดภาพและการ์ตูน :   สมควร สกุลทอง และประเทือง มุทิตาเจริญ
๓๘. หนังสือภาพชุด ภาพวิจิตรวรรณคดี  :   นายตำรา ณ เมืองใต้
๓๙. หนังสือภาพประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์   :   กาญจนาคพันธุ์

 
(๒.๒) กลุ่มนิทาน/นิยายเรื่อง
 
๔๐. เขาชื่อเดช – กาญจนา นาคนันท์
๔๑. ครูไหวใจร้าย – ผกาวดี
๔๒. เชียงเหมี้ยง – คำหมาน คนไค
๔๓. นกกางเขน - หลวงกีรติวิทย์โอฬาร และอร่าม สิทธิสารีบุตร
๔๔. นิทานคติธรรม – แปลก สนธิรักษ์
๔๕. นิทานชาดก ระดับประถม ฉบับกรมวิชาการ
๔๖. นิทานไทย–พระยาอุปกิตศิลปสาร และหลวงศรีอมรญาณ
๔๗. นิทานพื้นบ้าน - เต็มสิริ บุญยสิงห์
๔๘. นิทานร้อยบรรทัด-กรมวิชาการ
๔๙. นิทานสุภาษิต - สามัคยาจารย์สมาคม
๕๐. นิทานอีสป – พระยาเมธาบดี
๕๑. นิยายดาว – สิงโต ปุกหุต
๕๒. พระพุทธเจ้าของฉัน – สันติสุข โสภณศิริ
๕๓. พ่อแม่รังแกฉัน :    พระยาอุปกิตศิลปสาร
๕๔. เรื่องของม่าเหมี่ยว :    สุมาลี
๕๕. ลูกสัตว์ต่าง ๆ :     ขุนสรรคเวทย์, นายกี่ กิรติวิทโยสาร ขุนศึกษากิจพิสัณห์
๕๖. โลกของหนูแหวน :    ศราวก
๕๗. หนังสือชุดนิทาน :  ส.พลายน้อย
๕๘. หนังสือผจญภัยชุดค้นพบตนเอง (๖ เล่ม)   :  นิคม รายยวา
๕๙. หนังสือชุด เล่าเรื่องวรรณคดีไทย :  กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
๖๐. อาณาจักรปลาทอง :   ถนัดกิจ  ปิณินทรีย์
๖๑. อุดมเด็กดี :   กีฬา พรรธนะแพทย์

 
(๓.) กลุ่มเด็กและเยาวชนวัย 13-18 ปี (แบ่งตามประเภทกวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, นวนิยาย)
 
(๓.๑)กวีนิพนธ์
 
๖๒. ก็พอใจอยากจะรักให้นักหนา - ศักดิ์สิริ มีสมสืบ
๖๓. คำหยาด – เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๖๔. นักฝันข้างถนน - วารี วายุ
๖๕. ใบไม้ที่หายไป - จิระนันท์ พิตรปรีชา
๖๖. ม้าก้านกล้วย – ไพวรินทร์ ขาวงาม
๖๗. มีรังไว้รักอุ่น – ศุ บุญเลี้ยง
 
(๓.๒)เรื่องสั้น  
๖๘. ๑๐๐ปี เรื่องสั้นไทย – สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๖๙. คือหญิงอย่างยิ่งนี้ รวมเรื่องสั้นบทกวีเกี่ยวกับผู้หญิง - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๗๐. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว – ท. เลียงพิบูลย์
๗๑. รวมเรื่องสั้น – ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
๗๒. เรื่องสั้นคัดสรร – เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
๗๓. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน – วินทร์ เลียววาริณ
๗๔. เสาหินแห่งกาลเวลา รวมเรื่องสั้นศิลปินแห่งชาติ - สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
 
(๓.๓)นวนิยาย  
๗๕. ข้าวนอกนา –  สีฟ้า
๗๖. เขี้ยวเสือไฟ – มาลา คำจันทร์
๗๗. คนข้ามฝัน - ประชาคม ลุนาชัย
๗๘. คือรักและหวัง – วัฒน์ วรรลยางกูร
๗๙. คุณชาย – ว. วินิจฉัยกุล
๘๐. คำอ้าย - ยงค์ ยโสธร
๘๑. เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง – อาจินต์ ปัญจพรรค์
๘๒. ชีวิตของฉันลูกกระทิง - บุญส่ง เลขะกุล
๘๓. เชิงผาหิมพานต์ – สุชีพ ปุญญานุภาพ
๘๔. ดอกไม้บนภูเขา – สองขา
๘๕. เด็กชายจากดาวอื่น - วาวแพร
๘๖. เด็กชายชาวเล – พนม นันทพฤกษ์
๘๗. บึงหญ้าป่าใหญ่ – เทพศิริ สุขโสภา
๘๘. บูโนคนกลิ่นหญ้า - ภาคภูมิ ศิริอาชาวัฒนา
๘๙. ปูนปิดทอง – กฤษณา อโศกสิน
๙๐. ผีเสื้อและดอกไม้ – นิพพาน
๙๑. พระจันทร์สีน้ำเงิน :  สุวรรณี สุคนธา
๙๒. มหกรรมในท้องทุ่ง :  อัศศิริ ธรรมโชติ
๙๓. เมืองนิมิต :   เรียมเอง
๙๔. ไม้ดัด  :  โบตั๋น
๙๕. เรือกับรั้ว :   เทพศิริ สุขโสภา
๙๖. เรื่องเล่าจากดาวดวงหนึ่ง : พิษณุ ศุภ
๙๗. ลำเนาป่า :  ศิเรมอร อุณหธูป
๙๘. เวลาในขวดแก้ว :   ประภัสสร เสวิกุล
๙๙. องคุลิมาล :    สมัคร บุราวาศ
๑๐๐. อมตะ :   วิมล ไทรนิ่มนวล

 

ด้วยเป็นคน “รักการอ่าน” ยิ่งชีวิต

จึงได้คิดวิธีการพร้อมขานไข

เพื่อเผยแพร่แก่คุณครูโดยทั่วไป

ให้มีใจรักการเขียนเพียรพยายาม

 

 ..ผู้เขียนได้เรียนเชิญนักเขียนหนังสือสำหรับเด็กชื่อดัง..อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์..

เป็นวิทยากรอบรมครูผู้รักการเขียน ของ สพท.เชียงใหม่ เขต ๑

เป็นความภาคภูมิใจ..ที่ได้สร้างนักเขียนนิทานสำหรับเด็กนักเรียน (ทำใช้ในโรงเรียน)

 ..นับเป็นบุญของชีวิต..กับการได้ใกล้ชิดกับบรมครูด้านการอ่าน 

นักเขียนหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน   หลายครั้งหลายคราของชีวิต

ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส  ชวลิต

กับงาน "ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ  ๙ โรงเรียนทั่วประเทศ" ที่ TK park

๑ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย  สพท.เชียงใหม่ เขต ๑

 

..กับสองนักเขียนหนังสือสำหรับเด็ก..กวีชื่อดัง

วารี  วายุ  และ ยรรยง  แก้วใหญ่

ท่านได้มอบหนังสือบทกวีงานเขียนให้ผู้เขียน รวม ๑๓ เล่ม

พร้อมลายมือชื่อ ในบทกวีดอกไม้บาน เล่ม ๒๐  นกขาว    ..ดอกชบา.. (อ.วารี วายุ)

และ บทกวีดอกไม้บาน เล่ม ๙    แลโนรา  ..เล็บมือนาง.. (อ.ยรรยง  แก้วใหญ่)

..นับเป็นบุญจากการรักการอ่านโดยแท้..

มีนักเขียนชื่อดังอีกหลายท่านที่ได้สัมผัส ร่วมเรียนรู้ และพูดคุยกับท่าน

..ฝากเพื่อนๆได้รู้จักชื่อหนังสือ เพื่อจะได้หาไว้ให้เด็กๆได้อ่าน เมื่อมีโอกาสนะคะ

รวมทั้งเพื่อนครูที่ดูแลห้องสมุดโรงเรียนหรือครูที่รับผิดชอบโครงการรักการอ่าน

ได้หาหนังสือเหล่านี้ไว้ในห้องสมุดโรงเรียนด้วยนะคะ ..เพื่อเด็กจะได้รู้จัก ได้อ่านและเรียนรู้เรื่องราวดีๆ

ขอบคุณข้อมูลรายชื่อหนังสือจากเว็บไซต์ http://www.lib.ubu.ac.th/kidszone/kid_book.html

หมายเลขบันทึก: 265584เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

อ่าน และ ดู เรียนรู้ เร่ง สั่งสมปัญญา ครับ

สวัสดีค่ะ

  • โรงเรียนควรพิจารณาคัดเลือกหนังสือสำหรับห้องสมุดนะคะ
  • ที่แล้วมา..มีชื่อหนังสือมาให้เลือก
  • เคยดูแล้ว..เหมือนเป็นข้อจำกัดในการคัดเลือกเช่นกันค่ะ
  • ไม่ทราบว่า..ปีนี้จะเป็นอย่างไรนะคะ
  • ขอขอบคุณน้อง ศน.อ้วนค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ

สวัสดียามเช้าค่ะ....มาทักทายก่อนไปโรงเรียนค่ะ

   วันนี้เปิดปุ๊บเจอเลยบันทึกนี้ ^_^

   ดีจังค่ะ

    มีหลายๆเล่มใน 100 เล่ม ที่มีโอกาสได้อ่านแล้ว  และอีกหลายๆเล่มที่เคยผ่านตาแต่ไม่อ่าน

    สงสัยวันนี้ต้องไปด้อมๆมองๆแถวห้องสมุดบ้าง เห็นมีหลายๆเฃ่ม(ชื่อ)น่าอ่าน ชอบๆๆๆๆๆๆ

    ขอบคุณบันทึกที่มีคุณค่าสำหรับเช้าวันนี้ค่ะ..^_^..

ขออนุญาตแก้คำผิดค่ะ มือไวไปหน่อย

  เฃ่ม เป็น เล่ม ค่ะ 

   ขอบพระคุณค่ะ ..^_^..

  • สวัสดีค่ะ
  • เห็นด้วยที่โรงเรียนควรคัดเลือกหนังสือดีดีแบบนี้
  • ให้มาพร้อมหน้าในห้องสมุดของโรงเรียน
  • เด็กอ่านได้ผู้ใหญ่อ่านดี ที่สำคัญ....
  • ครูและผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างการอ่านให้กับเด็ก
  • รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ควรละเลย
  • เป็นกำลังใจให้ยอดนักอ่านทุกวัยค่ะ
  • ธุ  ครูพี่อ้วนค่ะ..

 
๒๐. ตาอินกับตานา :   เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 
๒๘. พระเวสสันดร :     ปัณยา ไชยะคำ
๓๕. โสนน้อยเรือนงาม   :   มล.มณีรัตน์ บุนนาค
๓๖. หนังสือชุดภาพประกอบคำบรรยาย และหนังสือชุดภาพและการ์ตูน :   เหม เวชกร 

๔๑. ครูไหวใจร้าย – ผกาวดี
๔๓. นกกางเขน - หลวงกีรติวิทย์โอฬาร และอร่าม สิทธิสารีบุตร 
๕๐. นิทานอีสป – พระยาเมธาบดี
๕๓. พ่อแม่รังแกฉัน :    พระยาอุปกิตศิลปสาร
๕๗. หนังสือชุดนิทาน :  ส.พลายน้อย 
๖๕. ใบไม้ที่หายไป - จิระนันท์ พิตรปรีชา
๖๖. ม้าก้านกล้วย – ไพวรินทร์ ขาวงาม 
๗๑. รวมเรื่องสั้น – ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
๗๒. เรื่องสั้นคัดสรร – เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
๗๓. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน – วินทร์ เลียววาริณ 
๗๕. ข้าวนอกนา –  สีฟ้า
๗๖. เขี้ยวเสือไฟ – มาลา คำจันทร์
๗๙. คุณชาย – ว. วินิจฉัยกุล
๘๖. เด็กชายชาวเล – พนม นันทพฤกษ์
๘๗. บึงหญ้าป่าใหญ่ – เทพศิริ สุขโสภา
๘๙. ปูนปิดทอง – กฤษณา อโศกสิน
๙๐. ผีเสื้อและดอกไม้ – นิพพาน
๙๑. พระจันทร์สีน้ำเงิน :  สุวรรณี สุคนธา
๙๓. เมืองนิมิต :   เรียมเอง
๙๔. ไม้ดัด  :  โบตั๋น
๙๗. ลำเนาป่า :  ศิเรมอร อุณหธูป
๙๘. เวลาในขวดแก้ว :   ประภัสสร เสวิกุล
๙๙. องคุลิมาล :    สมัคร บุราวาศ
๑๐๐. อมตะ :   วิมล ไทรนิ่มนวล

..อืม..ม..ม เท่าที่พอจะจำได้ค่ะว่าเคยได้อ่านมา  (หรือเปล่าก็ไม่รู้--ขี้ลืม)

 

สวัสดีค่ะพี่อ้วน

อาร์มได้เคยอ่านหนังสือมาบ้างแล้วค่ะ เรื่องที่ชอบคือ ใบไม้ที่หายไป

เวลาในขวดแก้ว พระจันทร์สีน้ำเงิน ฯลฯ และที่ชอบมากที่สุดคือ "ความสุขของกะทิค่ะ"

สวัสดียามเช้าค่ะพี่อ้วน ^_^

  • พี่อ้วนครับ
  • เคยอ่านหลายเล่มเลย
  • ฮ่าๆๆๆ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ JJ ค่ะ..

ทุกคำพูดของท่านอาจารย์ทำให้หนูย้อนคิดถึง "บทท่อง" บทหนึ่งสมัยเป็นเด็ก

...เมืองไทยใหญ่อุดม    ดินดีสมเป็นนาสวน

เพื่อนรักเราชักชวน       ร่วมช่วยกันมุ่งหมั่นทำ

...วิชาต้องหาไว้           เป็นหลักได้ใช้ช่วยนำ

ให้รู้ลู่ทางจำ                ค้นคว้าไปให้มากมาย

                (..อิอิ..ยังมีอีกค่ะ)

ขอบพระคุณท่านอีกครั้งหนึ่งค่ะ..ในความกรุณา

สวัสดีค่ะ..ครูพี่คิม..ครูตุ๊กแก..ครูแป๋มที่น่ารัก

ขอบคุณ "คุณครูที่รัก" ที่แวะมาเยี่ยมๆมองๆ จ้องดูหนังสือดีสำหรับเด็กๆค่ะ

ศน.อ้วนฝากด้วยนะคะ..คนเก่งทั้งสามท่าน..

ในปีนี้ สพฐ.ไม่จัดสรรงบให้ห้องสมุดโรงเรียนละค่ะ (จากที่ไปร่วมรับฟังคำชี้แจงมา)

ต่อไปโรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจากหนังสือที่มีอยู่ค่ะ และอาจมีนวัตกรรมใหม่ คือ โรงเรียนต้องเขียนโครงการแลกงบเอง(ในอนาคตค่ะ..พี่คิม)

ครูตุ๊กคะ..ชวนเด็กๆอ่านด้วยนะคะ

ขอบคุณ..ครูแป๋มค่ะ ที่ให้กำลังใจนักอ่านทุกวัย

เป็นกำลังใจให้ค่ะ..

 

สวัสดีครับท่านศน.อ้วน(๓.๓)นวนิยาย

๗๕. ข้าวนอกนา – สีฟ้า

๗๖. เขี้ยวเสือไฟ – มาลา คำจันทร์

๗๗. คนข้ามฝัน - ประชาคม ลุนาชัย

๗๘. คือรักและหวัง – วัฒน์ วรรลยางกูร

๗๙. คุณชาย – ว. วินิจฉัยกุล

๘๐. คำอ้าย - ยงค์ ยโสธร

๘๑. เจ้าพ่อ-เจ้าเมือง – อาจินต์ ปัญจพรรค์

๘๒. ชีวิตของฉันลูกกระทิง - บุญส่ง เลขะกุล

๘๓. เชิงผาหิมพานต์ – สุชีพ ปุญญานุภาพ

๘๔. ดอกไม้บนภูเขา – สองขา

๘๕. เด็กชายจากดาวอื่น - วาวแพร

๘๖. เด็กชายชาวเล – พนม นันทพฤกษ์

๘๗. บึงหญ้าป่าใหญ่ – เทพศิริ สุขโสภา

๘๘. บูโนคนกลิ่นหญ้า - ภาคภูมิ ศิริอาชาวัฒนา

๘๙. ปูนปิดทอง – กฤษณา อโศกสิน

๙๐. ผีเสื้อและดอกไม้ – นิพพาน

๙๑. พระจันทร์สีน้ำเงิน : สุวรรณี สุคนธา

๙๒. มหกรรมในท้องทุ่ง : อัศศิริ ธรรมโชติ

๙๓. เมืองนิมิต : เรียมเอง

๙๔. ไม้ดัด : โบตั๋น

๙๕. เรือกับรั้ว : เทพศิริ สุขโสภา

๙๖. เรื่องเล่าจากดาวดวงหนึ่ง : พิษณุ ศุภ

๙๗. ลำเนาป่า : ศิเรมอร อุณหธูป

๙๘. เวลาในขวดแก้ว : ประภัสสร เสวิกุล

๙๙. องคุลิมาล : สมัคร บุราวาศ

๑๐๐. อมตะ : วิมล ไทรนิ่มนวล

กลุ่มนี้อ่านมาแล้วเกือบทุกเล่มครับ

ลำเนาป่า : ศิเรมอร อุณหธูป เล่มนี้อ่านสบายๆต้นไม้ใบหย็ครับ

หนังสือดีๆทั้งนั้นนะครับ

โฮ้! ..น้องต้อมจ๋า..

มากกว่า ๒๘ เล่มนะคะ..ที่น้องต้อมอ่าน (แสดงว่าน้องต้อมเป็น "เยาวชน" ที่รักการอ่านมากเชียวหละ..อิอิ)

ทำให้พี่อ้วนคิดถึงบทกลอนบทหนึ่ง   เหมือนเราติดคุก..ค่ะ "คุกหนังสือ"

     คุกหนังสือ..คือโซ่ทองที่คล้องล่าม

     คุกหนังสือ...คือเขตคามแห่งความฝัน

     คุกหนังสือ...คือดนตรีชุบชีวัน

     คุกหนังสือ...คือสวรรค์ "ฉันรักเธอ"

ข้าติดคุก..ครั้งนี้ชั่วชีวิต

เพราะหลงผิดคิดรักตัวอักษร

ถุกคุมขังตั้งแต่เช้าจนเข้านอน

ขอวิงวอนโปรดอย่ามาประกัน

มอบแด่ "น้องสาวที่น่ารัก..ผู้รักการอ่าน" ค่ะ

คิดถึงนะคะ..หายไปไหนมาเอ่ย

สบายดีไหมคะ..

P

 

น้องอาร์มจ๋า..

เจอ "นักอ่านน้อย" อีกหนึ่งแล้ววววว... "คนรักการอ่าน" เหมือนพี่ต้อม เนปาลี (อิอิ..ได้ย้อนกลับเป็นเยาวชนอีกละ)

ใบไม้ที่หายไป

เวลาในขวดแก้ว

พระจันทร์สีน้ำเงิน ฯลฯ

และที่ชอบมากที่สุดคือ "ความสุขของกะทิค่ะ"

พี่อ้วนไม่ได้อ่านหนึ่งเล่มค่ะ..เวลาในขวดแก้ว.. ต้องหาอ่านแล้วละค่ะ

น้องอาร์มเป็นอย่างไรบ้างคะ..กับงานใหม่

สนุกกับงานนะคะ..เชื่อมือๆ ค่ะ

คิดถึงค่ะ..พี่อ้วน

P

 

สวัสดีค่ะ..ผู้บ่าวคนเก่ง

นอกจากเก่งงานแล้วยังเก่งอ่านอีกแน่ะ..

พี่อ้วนแว๊บๆไปเยี่ยมมาแล้วค่ะ "วิทยากร กศน.ที่สุพรรณบุรีและเมืองสิงห์"

การอ่านเป็นหนึ่งพื้นฐานที่สำคัญของความเก่งค่ะ..พี่อ้วนเชื่อเช่นนี้

อย่าลืมดูแลรักษา..และถนอมสุขภาพบ้างนะคะ (ทั้งกายใจ)

คิดถึงเสมอค่ะ..พี่อ้วน

โฮ้ !  พบอีกแล้ว  "ยอดนักอ่าน"

             P

วอญ่า..คะ 

อ่านนิยายของเด็กด้วย  ชอบเหมือนกันเลยนะคะ

มีนักเขียนในดวงใจ ศน.อ้วน  หลายท่านค่ะ ..ในกลุ่มนี้

ศน.อ้วนเคยอ่านหนังสือตั้งแต่หกโมงเย็นถึงหกโมงเช้า โดยไม่รู้สึกง่วงแม้แต่น้อยค่ะ..วอญ่า

เคยอ่านหนังสือ..ท่ามกลางแสงเทียนริบหรี่..เพราะน้ำมันตะเกียงหมด เมื่อเป็นครูอยู่บ้านนอกไกลโพ้น ..นั่งอ่านก้มหน้าลงเรื่อยๆ..แล้วก็ล้มตัวลงนอน ..จนไฟจากเทียนเล่มน้อยไหม้มุมหนังสือไปหลายเล่มค่ะ..ไม่ใช่เพราะง่วง  แต่เพราะปวดแขนค่ะ

มีความรู้สึกประทับใจ "นักเขียนในดวงใจ" หลายท่าน ท่านหนึ่งคือ "มาลา คำจันทร์" เพราะท่านเขียนเรื่องของครูบ้านนอกได้โดนใจมาก

จึงตั้งความหวังลึกๆไว้ในใจว่า จะต้องรู้จักตัวเป็นๆของท่านให้ได้..ในที่สุดก็สมใจนึกค่ะ

ชีวิตศน.อ้วน จึงอยู่กับหนังสือ..ตั้งแต่เล็กจนโต

เหมือนติดคุก..ดังที่คุยกับน้องต้อมค่ะ

          ข้าติดคุก..ครั้งนี้ชั่วชีวิต

          เพราะหลงผิดคิดรักตัวอักษร

          ถุกคุมขังตั้งแต่เช้าจนเข้านอน

          ขอวิงวอนโปรดอย่ามาประกัน

คุยเสียยาววววว...เล้ย

วอญ่าสบายดีนะคะ..

ศน.อ้วนติดใจคำของวอญ่าคำนี้ค่ะ 

ลำเนาป่า : ศิเรมอร อุณหธูป เล่มนี้อ่านสบายๆต้นไม้ใบหย็ครับ

หมายถึง "หญ้า" ใช่ไหมคะ..

P

 

สวัสดียามเช้าค่ะ..อาจารย์เบดูอิน

ไม่ได้คุยกันนาน..สบายดีไหมคะ

ศน.อ้วนมอบทุกคำพูดที่คุยกับเพื่อนๆทั้งหมดมอบให้ด้วยค่ะ

(เหมือนคุยกับอาจารย์เบด้วยนะคะ..นี่สบายเลยยย)

อิอิ..

สวัสดีค่ะ

.ดีใจค่ะได้อ่านหลายเล่มแล้วเหมือนกันค่ะ

.ที่โรงเรียนได้สนับสนุนให้นักเรียนอ่านหนังสือดี 100 เรื่องนี้ด้วยค่ะ ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

เพิ่งอ่านไปไม่กี่เล่มเอง ดีครับจะได้อ่านพร้อมๆ ลูกๆ

หมวด3.3 ที่บ้านมีมากหน่อย ค่ะ

แถมที่เคยเขียนถึง ดอกไม้และผีเสื้อ

ความสุขของกะทิ

ชั่วนิรันดร์

ดีใจที่มีของคุณชีวัน วิสาสะ(คุณพ่อของเพื่อนของลูก)

หนังสือภาพของพี่ชีวันดีจริง ๆ ค่ะ

เคยสงสัยครับอาจารย์ว่า

เขาเก็บข้อมูลเรื่อง คนไทยอ่านหนังสือน้อย กันมาอย่างไร ใครเป็นคนเก็บข้อมูลนี้ ขั้นตอนสำรวจเป็นอย่างไร

ผมเชื่อโดยความรู้สึก แต่อยากรู้ข้อเท็จจริงครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่อ้วน

  • สงสัยน้องต้องไปแนะนำให้เด็กๆ รีบหาอ่านแล้วล่ะค่ะ
  • ของครูแอนกลุ่มที่ 3 ค่ะพี่
  • พี่อ้วนขา....มีเรื่องนี้น่ะค่ะ....ใกล้ตัวมากๆ
  • ชื่อหนังสือเรื่อง....
  • ผู้เขียนเป็นศิษย์เก่าที่โรงเรียนที่ครูแอนสอนค่ะ
  • แต่ครูแอนมาสอนหลังๆ แล้ว  เลยไม่มีโอกาสพบเจอท่านเลยอ่ะค่ะ
  • แต่เนื้อเรื่องเกิดแถวๆ เทพานี่ล่ะค่ะพี่อ้วน
  • เคยทำเป็นหนังภาพยนต์ด้วยค่ะ
  • หาดูยากมากแล้วในขณะนี้
  • แต่น้องเคยดูค่ะ....นักแสดงหลายท่านยังคงอยู่ใกล้ๆ โรงเรียนอิอิอิ
  • พี่อ้วนมีความสุขนะคะ

อ้าว...ลืมบอกชื่อเรื่องไปเลยค่ะพี่อ้วน....เรื่อง..."ผีเสื้อและดอกไม้"....ค่ะพี่

ขอบคุณค่ะ

นงคราญ พรหมสาขา ณ สกลนคร

สวัสดีค่ะ ขอร่วมเป็นสมาชิกด้วยคนนะคะ เป็นคนรักหนังสือ ชอบอ่านหนังสือมาก จะมาแจมบ่อยๆ นะคะ ขอบคุณมากค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท