สนทนาภาษาอภิธรรม (1)


บันทึกนี้คัดลอกมาจากบทความเผยแพร่ของพระมหาบุญเรือง เจ้าอาวาสวัดบ้านด่าน
ชัยยัสสุ
ความคิด มุมมอง ทัศนคติ เพื่อความเข้าใจพระพุทธศาสนา ชีวิต และตัวตนของเรา
Permalink : http://www.oknation.net/blog/bunruang
วันพุธ ที่ 18 พฤศจิกายน 2552
สนทนาภาษาอภิธรรม (๑)
Posted by chaiyassu , ผู้อ่าน : 75 , 19:40:10 น.
หมวด : ศาสนา
พิมพ์หน้านี้

พระมหาบุญเรือง เจ้าอาวาสวัดบ้านด่าน

พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อว่าโดยสรุปแล้ว มีเนื้อหาสาระที่สำคัญอยู่ ๔ เรื่อง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
ทั้ง ๔ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตทั้งสิ้น
กล่าวคือ
๓ เรื่องแรก (จิต เจตสิก รูป) พรรณนาให้เห็นว่า ชีวิตของมนุษย์ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ ๒ ประการ ได้แก่ ส่วนที่เป็นรูป และส่วนที่เป็นนาม
ส่วนที่เป็นรูป เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย มีปัจจัยปรุงแต่ง ทั้งปัจจัยดังกล่าว อิงอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ส่วนประกอบหลักที่เรียกว่ามหาภูตรูป ๔ ประการ ได้แก่ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และส่วนประกอบย่อยที่อาศัยมหาภูตรูปเกิดตามมาอีก เรียกว่าอุปาทายรูป ๒๔ ประการ มี ประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย ความเป็นชาย ความเป็นหญิง หัวใจ ชีวิต อาหาร ความเคลื่อนไหว ความคร่ำคร่า ความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
รูปทั้งหมดนี้อาศัยกรรม อาศัยจิต อาศัยฤดู อาศัยอาหาร จึงเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ตามเหตุ ตามปัจจัยดังกล่าวแล้วข้างต้น
ส่วนที่เป็นนาม ก็ได้แก่จิต กับเจตสิก
จิต และเจตสิก ถือว่าเป็นส่วนสำคัญสำหรับชีวิต เพราะอยู่ในฐานะเป็นเจ้านายของกาย ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะท่านจึงเรียกจิตอีกนัยหนึ่งว่า ธรรมชาติที่กระทำความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายให้วิจิตร
วิจิตรในที่นี้ เป็นไปได้ทั้ง ๒ ลักษณะ คือวิจิตรในด้านดีก็ได้ วิจิตรในด้านเสียก็ได้ เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่เสียก็ได้
ความวิจิตรดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตัวเจตสิกเป็นผู้ทำหน้าที่ปรุงแต่ง ในพระอภิธรรมท่านจึงจำแนกอาการที่จิตวิจิตรไว้โดยย่อ ๘๙ ดวง โดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง
ในจำนวนนี้ หากนำมาจัดเกรด หรือจัดชั้นของจิตตามภูมิสูงต่ำ จะได้ ๔ กลุ่มใหญ่ ได้แก่
๑. กามาวจรภูมิ ได้แก่ภูมิจิตของผู้ที่ยังข้องเกี่ยวในกามรมณ์ มีอยู่ทั้งหมด ๑๑ ชนิด ได้แก่ ภูมิอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์, ภูมิอันเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าเทวดาทั้ง ๖ ชั้นเบื้องต้น และภูมิของสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ มีสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก
ทั้งหมดนี้ ถือว่าเป็นภูมิที่ยังเกี่ยวข้องในเรื่องของกาม ซึ่งมีก็มีหยาบ มีละเอียดแตกต่างกันออกไปตามภูมิของตน ๆ เช่น กามของมนุษย์ก็อาจจะละเอียดกว่ากามของสัตว์เดรัจฉาน แต่ก็หยาบกว่าของพวกเหล่าเทวดา เป็นต้น ถึงกระนั้นก็ยังนับเนื่องว่า เกี่ยวข้องด้วยกามทั้งสิ้น
๒. รูปาวจรภูมิ ได้แก่ภูมิจิตของผู้ที่บำเพ็ญเพียรทางจิตกระทั่งได้ฌาน ๔ เบื้องต้น (รูปฌาน ๔)
๓. อรูปาวจรภูมิ ได้แก่ภูมิจิตของผู้ที่บำเพ็ญเพียรทางจิตกระทั่งได้บรรลุฌาน ๔ เบื้องปลาย (อรุปฌาน ๔)
ภูมิจิตทั้ง ๒ นี้ (รูปาวจรภูมิ,อรูปาวจรภูมิ) แม้สภาวะจิตจะละเอียด สามารถก่อให้ฤทธิ์ อภินิหารต่าง ๆ ได้ตามปรารถนา และละความกำหนัดในเรื่องของกามได้แล้ว แต่ก็มีโอกาสตกคืนสู่ภาวะของกามได้ ท่านจึงจัดเป็นภูมิที่ยังวนเวียนอยู่ในเรื่องโลก ๆ (โลกิยภูมิ) อยู่
๔.โลกุตตรภูมิ ได้แก่ภูมิของผู้บรรลุมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่ง มีโสดาบันเป็นเบื้องต้น มีอรหันต์เป็นที่สุด
จิตของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโลกุตตรภูมิ เว้นจิตของพระอรหันต์แล้ว อริยบุคคลที่เหลือก็ยังเสพกามอยู่ เพียงแต่ความยินดียินร้ายในเรื่องนี้ของท่านเบาบางกว่าปุถุชนทั่วไป และได้รับการยกขึ้นสู่กระแสพระนิพพานแล้ว ขจัดอันตรายระหว่างทางได้เป็นที่ปลอดภัยได้แล้ว
ต่างจากภูมิจิตของผู้ที่ยังวนเวียนอยู่ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพที่ยังขึ้น ๆ ลง ๆ หาคติแน่นอนไม่ได้ บางคนเป็นถึงนายพล แต่วันดีคืนดีก็เป็นนักโทษประหาร บางคนเป็นผู้นำประเทศ มีอำนาจ มีบารมี แต่วันดีคืนดีก็กลายเป็นสัมภเวสี ร่อนเร่ หาที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งไม่ได้ ในคัมภีร์จึงมีกรณีตัวอย่างให้เราได้ศึกษาเป็นข้อเตือนใจ
เช่น หมาเกิดเป็นเทวดา เทวดาตกสวรรค์กลายเป็นคน เป็นคนอยู่ดี ๆ ตายแล้วก็กลับไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในครอบครัวที่ดีมีฐานะมั่นคง แต่อยู่ดี ๆ ก็หนีตามคู่รักไปตกระกำลำบาก กระทั่งกลายเป็นคนสติฟั่นเฟือนก็มี เป็นคนฟั่นเฟือนอยู่ดี ๆ ก็กลับกลายเป็นพระอริยบุคคล บางคนเป็นชายอยู่ดี ๆ ก็กลับกลายเป็นหญิง หรือเป็นหญิงอยู่ดี ๆ ก็กลับกลายเป็นชาย
นี่คือความวิจิตรพิสดารของจิต มีอำนาจเสกสรรปั้นแต่งชีวิตเราได้ถึงเพียงนี้
สรุปแล้ว ความเป็นไปของโลกทั้งมวล ต่อให้วิจิตรพิสดารอย่างไร ก็ไม่มีอะไรอยู่นอกเหนือไปจากจิต
จิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นถือเป็นสะพานที่จะเชื่อมต่อไปถึงแก่นของพระพุทธศาสนา อันได้แก่พระนิพพาน
พระนิพพานจึง เป็นเสมือน ที่พักสุดท้ายของจิต หลังจากที่ต้องเดินเร่ร่อนเป็นระยะเวลายาวนาน กระทั่งไม่สามารถนับ หรือคำนวณวันเดือนปีออกมาได้ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านจึงกล่าวเชิงอุปมาเปรียบเทียบว่า
น้ำตาของสัตว์โลกที่ต้องเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน เพราะพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก ยังจะมีมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
เหมือนต้องการบอกเราว่า ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะหยุดพัก ณ สถานที่อันสงบเย็น ?
(ยังมีต่อ)
หมายเลขบันทึก: 318623เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขออนุญาตพระคุณเจ้าตกแต่งสีสันในบทความเล็กน้อย

พระคุณเจ้าคงไม่ว่ากระไร

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ณัฐรดา

  • มาติดตามอ่านบทความดีๆ ครับ
  • ขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆ ให้ข้อคิดและการเรียนรู้ครับ

ขอขอบคุณบันทึก"สนทนาภาษาอภิธรรม" ที่นำมาถ่ายทอดครังนี้ด้วยครับ
"การให้ธรรมะคือการชนะการให้ทั้งปวง" ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ

น้อมนำธรรมใส่ใจค่ะ....

“น้ำตาของสัตว์โลกที่ต้องเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน เพราะพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก ยังจะมีมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔” 
 เหมือนต้องการบอกเราว่า  ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะหยุดพัก ณ สถานที่อันสงบเย็น ?

(^___^)

แวะมาเยี่ยมเยียน

บ้านแห่งการเรียนรู้

อนุโมทนา

กับเจตนาที่ดีงาม

สวัสดีค่ะ

หากมีเวลาชวนมาอ่านเรื่องดี ๆ ของ "ครู"

ที่นี่ค่ะ  http://gotoknow.org/blog/livelesson/318661

(^___^)

ขอบคุณค่ะที่ไปอ่านตามคำชวนเชิญ...

คนไม่มีรากคิดว่า หากเราได้พบเห็นสิ่งดี ๆ จรรโลงใจ อ่านแล้วเกิดปิติสุข ย่อมเป็นกุศล จึงชักชวนกัลยาณมิตรให้อ่านค่ะ

มีความสุขในวันหยุดนะคะ

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณณัฐวรรธน์

ขอบคุณนะคะที่แวะมาค่ะ

อย่าเรียกอาจารย์เลยนะคะ ดิฉันเพียงทำงานเล็กๆน้อยๆอยู่กับบ้านเท่านั้น

สวัสดีค่ะคุณ เทพณรงค์ เทพรัตนากร

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

และขอบคุณที่แวะมาค่ะ

สวัสดีค่ะ

*** ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่า จิตจะเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นถือเป็นสะพานที่จะเชื่อมต่อไปถึงแก่นของพระพุทธศาสนา อันได้แก่พระนิพพาน

*** ขอบคุณข้อมูลดีๆ ค่ะ

ธรรมะสวัสดี เจ้า ป้าณัฐรดา

สบายดีวันหยุดนะคะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดามาเรียนรู้ทางธรรมมะ..มีความสนใจทางนี้มากค่ะ..แต่ติดตรงภาระกิจประจำวันไม่ค่อยได้ปฏิบัติ..อ่านบันทึกของท่านแล้วมีบันทึกทางด้านธรรมมะคุณธรรม..มากมายจริงๆ..ค่ะ..จะเป็นที่มาของการวาดภาพได้สวยงามไหมค่ะนี่..

  • สวัสดีค่ะน้องPณัฐรดา
  • พี่แจ๋วมาขอบคุณที่น้องได้ไปเยือนพี่ที่บันทึก
  • และยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • ต้องขออนุญาตย้อนอ่านบันทึกของน้องนะคะ...
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
  • มาอ่านบันทึกดีๆครับ
  • สุขสันต์วันพ่อครับ
  • ช่วยกันทำให้พ่อมีความสุขนะครับ
  • จิตอมตวาท หรือเปล่านะ วิจารณ์เล่นนะครับ อ่านตรงนี้แล้วคิดถึงเรื่องทิฏฐิครับ ว่าจะเป็นจำพวกใด หรือจะเป็นเอก-เทศ

    ตอบความเห็นที่ ๑๕

    > ไม่ใช่จิตอมตวาท ต้องระวังในเรื่องการตีความ เพราะลักษณะของจิตอมตวาท ยืนยันตรงตามชื่อลัทธิ/ทิฏฐิ คือถือว่า จิตเป็นอมตะ ขณะที่เถรวาทถือว่า ความคิดเช่นนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะขัดกับหลักปัจจยาการ

    > คำว่า นิพพาน เป็นที่พักสุดท้าย ในบทความนี้ ผู้เขียนประสงค์เพียงแต่บอกว่า จิตของคนเรา มันปรุงแต่งไม่มีวันหยุดวันหย่อน การที่จิตหยุดการปรุงแต่ง เปรียบเหมือนการที่จิตได้พัก ไม่มีความประสงค์จะบอกว่า จิตเป็นอมต ย้อนอ่านบทความโดยละเอียดในส่วนของหลักการข้างต้น ผู้เขียนก็ย้ำตลอดเวลาว่า จิตนี้เป็นปัจจยาการ

    สวัสดีค่ะพี่ตุ๊กตา

    แวะมารับอาหารสมองค่ะ...^-^

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท