นิทาน "ทำไมเมฆจึงมีรูปร่างต่างๆ" กับการคิด


ได้ดัดแปลงเนื้อหาในนิทาน "ทำไมเมฆจึงมีรูปร่างต่างๆ" เพื่อให้สามารถแทรกคำถามเกี่ยวกับกระบวนการคิดลงไปได้

http://gotoknow.org/blog/nadrda6/299800

Ico64_brushwowIco64_brushwaew

Ico64_weawwakeupIco64_weawpaintrabbitIco64_weawplayhide

Ico64_wowtoyIco64_wowwonderIco64_wowaskweawIco64_wowborrowbrushIco64_wowandweawpaint

จึงขอเพิ่มข้อเสนอสำหรับผู้เล่าดังนี้ค่ะ

ผู้เล่าควร “โน้มน้าว” เด็กให้คิดตามจน “เห็น” คำตอบ (ดังเช่นที่แสดงในวงเล็บ เป็นต้น) ด้วยตนเองในปัญหาที่ตั้งดังเช่น

1 ทำไมนางฟ้าแววจึงวาดรูปสวย

(เพราะหลายเหตุผลประกอบกัน ทำให้นางฟ้าแววประสบความสำเร็จในการทำงาน เช่น

-รู้ถึงประโยชน์ที่ได้

-พอใจในสิ่งที่ทำ   

-ขยันฝึกฝน

เป็นต้น)

2 ทำไมนางฟ้าวาวจึงวาดไม่สวยในตอนต้นเรื่อง

(เพราะหลายๆเหตุผลประกอบกัน เช่น

-ไม่หมั่นฝึกการคิด

-ไม่หมั่นฝึกปฏิบัติ

-ใจร้อน ต้องการผลสำเร็จโดยเร็ว

เป็นต้น)

3 ทำไมนางฟ้าวาวจึงมักลอกภาพนางฟ้าแวว

(เพราะเหตุผลที่ต่อเนื่องกัน เช่น

เพราะไม่ฝึกหัดการทำงานจึงไม่รู้วิธีการทำงาน

เพราะไม่รู้วิธีการทำงานจึงวาดไม่สวย

เพราะวาดไม่สวย จึงลอกภาพ

เป็นต้น )

(เพราะหลายๆเหตุผลประกอบกัน เช่น

-ใจร้อนอยากได้ภาพสวยๆเร็วๆ

-ไม่เห็นประโยชน์ในการฝึกฝน

-ไม่พอใจในการฝึกฝน  

เป็นต้น)

4 ทำไมนางฟ้าวาวจึงวาดภาพสวยขึ้น

                (เพราะหลายๆเหตุผลประกอบกัน เช่น

                -รู้ประโยชน์ของการทำงาน

                -พอใจในการฝึกฝน

                -หมั่นขอความรู้จากผู้รู้

                -หมั่นนำความรู้ที่ได้มาฝึกหัด และพัฒนาเป็นแนวทางของตน

                เป็นต้น)

ฯลฯ

เมื่อเด็กๆได้คำตอบตามที่ผู้เล่าต้องการแล้ว ควรชี้ให้เด็กเห็นว่า

-การคิดที่ได้คำตอบเป็นหลายๆเหตุผลประกอบกัน เช่นคำตอบในทั้ง 4 ข้อ เรียกการคิดเชิงวิเคราะห์ อันเป็นการคิดในเนื้อหาหลักสูตร และสามารถจัดเป็นการคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ อันเป็นหนึ่งในการคิดแบบโยนิโสมนสิการในพุทธศาสนา

คำตอบที่ได้ แสดงให้เห็นหลักปฏิจจสมุปบาทในพุทธศาสนาในแง่ที่ สิ่งต่างๆประชุมพร้อมกันเกิดขึ้น เกิดเพราะการอิงอาศัยกันของเหตุปัจจัย

-การคิดที่ได้คำตอบแบบคำตอบที่ได้ ที่เป็นเหตุเป็นผลเหตุผลต่อเนื่องกัน เช่นในข้อ 3 เรียกการคิดแบบสืบสาวหาปัจจัย หรือสืบสวนต้นเค้า อันเป็นหนึ่งในการคิดแบบโยนิโสมนสิการ

คำตอบที่ได้ แสดงให้เห็นหลักปฏิจจสมุปบาทในพุทธศาสนาในแง่ที่ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยส่งผลสืบเนื่องกันไป

-อาจชี้ให้เด็กเห็นว่า เหตุที่นางฟ้าวาว ซึ่งวาดภาพไม่สวยในช่วงแรก กลับทำงานได้ดีในเวลาต่อมาเพราะองค์ธรรมในหลัก อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จสมปรสงค์,ทางแห่งความสำเร็จ) อันประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา

เหล่านี้เป็นต้น 

 หวังว่าเด็กๆจะสนุกสนานกับนิทานภาพ และการคิดตามภาพจากนิทานนะคะ 

หมายเลขบันทึก: 429411เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2011 05:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มาชื่นชม ครูศิลป์สร้างสรรค์ภาพอาบใจ......

ดีจังเลยค่ะที่ใช้ศิลปะเข้าช่วยให้เด็กเกิดความคิดและเกิดจินตนาการที่ดีงาม

ศิลปะช่วยจรรโลงโลกค่ะ

เอาบุญมาฝากค่ะ 

สวัสดีครับ ได้ข้อคิดอีกประหนึ่งคือ

การเรียนรู้ คือการพัฒนาตนเอง ดังนั้นควรส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จากภายใน กล่าวคือให้ตัวผู้เรียนเป็นผู้ต้องการรู้แล้วหาทางเรียน ไม่ใช่การยัดเยียดสิ่งที่เรียกว่าความรู้ให้ ซึ่งผู้เรียนมักจะไม่ค่อยสนใจ หรือมองข้าม

การเรียนรู้จึงต่างจากการอบรมหรือการสั่งสอนด้วยประการ ฉะนี้...

ขอบคุณมากนะครับที่หานิทานมาแสดงเพื่อกระตุ้นให้คิด จะนำเอาเรื่องนี้มาเป็นแนวทางในการอบรมพนักงานครับ

  • ชอบเรื่องที่พี่วาดและใช้สอนเด็กๆๆได้เลย
  • มีหลายเทคนิคจริงๆเลย
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท