หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

๗.การหมักพุงปลาหรือไตปลา...รสอูมามิจากครัวปักษ์ใต้


พุงปลาหรือไตปลา กับรสที่ห้า : รสอูมามิ

•พูดถึงพุงปลาแล้วคงจะไม่มีชาวปักษ์ใต้คนไหนไม่รู้จักพุงปลาหรือแกงพุงปลาหรอกน่ะค่ะ การทำพุงปลา ครัวของชาวบ้านที่ปักษ์ใต้มักจะทำการหมักพุงปลาเก็บไว้ทำแกงกินเพราะจะได้มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าสะอาดหมดจดไร้วัตถุแปลกปลอม และสิ่งปนเปื้อน ที่บ้านฉันเมื่อซื้อปลามาจากตลาดก็แม่ทำพุงปลาเก็บไว้เสมอ
•แต่ชาวบ้านบ้านเราคงไม่ค่อยมีใครสักกี่คนที่รู้ว่าการทำหรือการหมักพุงปลานั้นเกิดอะไรบ้างในขบวนการหมักพุงปลา แล้วทำไมเมื่อเรานำพุงปลามาทำแกงแล้วได้รสชาติที่กลมกล่อมและรู้สึกถึงความอร่อยแม้ไม่ได้ใช้ผงชูรสเลยแม้แต่น้อย
•และรสชาติที่ช่วยให้เกิดความกลมกล่อมนั่นเอง คือ รสอูมามิ อูมามิคือรสพื้นฐานรสที่ 5ค่ะ ตามที่เราๆทราบกันว่า รสชาติที่เราสัมผัสได้ก็มี เปรี้ยว,หวาน,เค็ม,ขม ต่อมาก็พบว่ามีรสชาติใหม่อีกรสหนึ่ง ที่ทำให้ผู้คนชื่นชอบ
•การทำพุงปลาหมักในครัวปักษ์ใต้มีวิธีการทำที่ไม่ยากอะไรเลยค่ะ ใช้พุงปลา(เครื่องในปลา)โดยเลือกจากปลาที่สดๆ ปลาอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดก็ใช้ได้ค่ะ เช่น ปลาทู ,ปลากระบอก, ปลาช่อน ฯลฯ ที่บ้านมักจะใช้ปลาทู เพราะที่นี่หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ส่งมาจากทะเลปัตตานี สดๆใหม่ๆ
•ดูขั้นตอนการทำตามภาพค่ะ >>
1.หลังเอาเครื่องในออกจากตัวปลาเรียบร้อยแล้ว
2.เอาเหงือกปลาออก บีบเอาขี้ปลาออก ล้างให้สะอาด และสะเด็ดน้ำ
3.ใส่ในขวดแก้วสะอาดๆ เติมเกลือเม็ด(เกลือทะเล) แม่บอกว่าต้องใช้เกลือเม็ดถึงจะดีไม่เค็มมากเหมือนเกลือป่น ปลาทู 8-9 ตัว ใส่เกลือ 1ช้อนโต๊ะพูน คลุกเข้าด้วยกัน
4.ปิดฝาหมักไว้จนสุก(ได้ที่)อย่างน้อย 1เดือนค่ะ แม่บอกว่าต้องนำมาตากแดดบ้างจะเก็บไว้ได้นานขึ้นและหอม
•พุงปลาที่ได้ พร้อมนำมาแกงได้แล้ว•
 
ได้พุงปลาหมักแล้ว...เราดูกันดีกว่าค่ะว่าข้อมูลที่ค้นคว้ามานั้น มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย จึงอยากบันทึกเก็บไว้
อูมามิ เป็นหนึ่งในรสชาติพื้นฐาน เมื่อเราลิ้มรสอาหาร เราจะได้รับประสบการณ์ความอร่อยจากประสาทสัมผัสทั้งห้า การลิ้มรสจะทำให้เรารู้ได้ถึง “รสหวาน” “รสเปรี้ยว”   “รสเค็ม”   “รสขม”และรสอูมามิซึ่งเป็นรสชาติพื้นฐานนั่นเอง  รสชาติที่เป็นอิสระและไม่สามารถสร้างขึ้นจากการผสมสานรสชาติอื่นๆ ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ ผู้ค้นพบ “รสอูมามิ”ในปีค.ศ. 1908 พบว่าการวิจัยรสชาติของน้ำซุบที่ทำจากสาหร่ายทะเลคอมบุและพบว่า กลูตาเมต(Glutamate) คือส่วนประกอบของรสชาติน้ำซุปญี่ปุ่น จึงตั้งชื่อรสชาติดังกล่าวว่า “รสอูมามิ”
ถึงแม้รสอูมามิ จะเริ่มรู้จักในระดับสากล เมื่อปี ค.ศ.1985 อันที่จริงนั้นรสอูมามิมีอยู่ทั่วโลกมาแล้วนับพันปี ซึ่งส่วนประกอบของอาหารที่ทำให้เกิดรสอูมามิจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและภูมิภาคขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมทางอาหารการกิน

เรารู้หรือไม่ค่ะว่าแต่ละภูมิภาคในโลกนี้มีอาหารหลากหลายชนิดมีส่วนประกอบของที่ให้รสอูมามิ มาดูกันค่ะ

•ญี่ปุ่น - มิโซะ, ซอสถั่วเหลือง (ถั่วเหลือง)
•เกาหลี - ซอสถั่วเหลือง, แจกัล (ถั่วเหลือง, หอยนางรม; ไข่ปลา, ปู กุ้ง, ฯลฯ)
•จีน - ตู้ฉิ, เจียง, ซีอิ๊ว, ยู-ลู (ถั่วเหลือง, แป้ง, ถั่วต่างๆ, ปลา)
•เวียดนาม - น็อกหม่ำ (ปลา)
**•ไทย - น้ำปลา(ปลา) ,พุงปลา ,น้ำบูดู ,ปลาร้า ฯลฯ**
•มาเลเซีย - เบลาจัน (กุ้ง)
•ฟิลิปปินส์ - ปาติส,บากุง (ปลา,กุ้ง)
•อินโดนีเซีย – เทมเป,เตอราสิ(ถั่วเหลือง,ถั่วต่างๆ,กุ้ง)
•ยุโรป – แองโชวี่เข้มข้น(ปลาแองโชวี่) , โบฟริล(สารสกัดจากเนื้อวัว),แฮม(เนื้อหมู) ,เนยแข็ง(นม)
•ออสเตรเลีย – เวเจอไมต์(ยีสต์สกัด)
•แอฟฟริกาตะวันตก –ดาวาดาว่า ,โซบารา(ถั่วพาร์ลา)
•สหรัฐอเมริกา - ซอสมะเขือเทศ (มะเขือเทศ)
•เปรู –มะเขือเทศดั้งเดิม
•บราซิล- สารสกัดมะเขือเทศเข้มข้น (มะเขือเทศ)
ขอบคุณแหล่งข้อมูลค่ะ
http://www.ajinomoto.com/features/aji-no-moto/th/umami/index.htmlmoto/th/umami/index.html
•และนี่ของอร่อยแบบปักษ์ใต้ก็มีรสอูมามิด้วยค่ะ>>
•สวัสดีน่ะค่ะ... ขอให้ทุกท่านมีความสุขสุภาพดีเจ้าค่ะ•
หมายเลขบันทึก: 314808เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2009 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากค่ะ

ชอบทานแกงไตปลาและเพิ่งเข้าใจรสชาติอูมามิที่ติดปลายลิ้นเมื่อได้ชิมไตปลาแสนอร่อยๆ

อ่านตอนเที่ยง เลยหิวครับ อิอิ

สวัสดีค่ะคุณโสภา

อาหารกลางวันอร่อยหรือเปล่าค่ะ...

ดูหน้าเด็กทารกเหล่านี้ซิค่ะ

รสอูมามิ รสหวาน รสเปรี้ยว รสขม
รสอูมามิ รสหวาน รสเปรี้ยว รสขม

•ทารกชอบรสอะไรค่ะ?

•ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

•ขอให้มีความสุขกับอาหารกลางวันน่ะค่ะ

มาเยี่ยมค่ะ

แวะมาเรียนรู้เรื่องการทำอาหารด้วยค่ะ

ชอบน้ำบูดูมาเลยคะเพราะรสชาติคล้ายปลาร้า ยิ่งเป็นแกงไตปลาแล้วละก็ต้องขอสองชามเลยคะ

ผ่านเข้ามาในบล็อกนี้จากการค้นหาเคล็ดลับทำแกง (อยากรู้ว่ามีแกงอะไรบ้างที่ต้องเคี่ยวกะทิให้แตกมัน และแกงอะไรบ้างที่ไม่ต้องการให้แตกมัน) ก็ได้ความรู้มาบ้าง ขอบคุณขอบคุณ

ไหนๆ เข้ามาแล้ว ขออนุญาตแสดงความเห็นสักหน่อย เกี่ยวกับเรื่อง "อูมะมิ"

มั่นใจว่ามาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลตรงตัวเลยว่า "ความอร่อย" มาจากคำว่า อุมั่ย แปลว่า อร่อย

คำที่แปลว่า อร่อย ในภาษาญี่ปุ่น มีอยู่หลายคำเหมือนกัน ที่เราๆ รู้จักกันดีก๊ "โออิชิอิ" ไง

โออิชิอิ นะ (มี อิ ต่อท้ายด้วย) ไม่ใช่ โออิชิ

อีกคำที่คนไทยคุ้นเคย ก็คือ อะยิโนะโมะโตะ แปลว่า ที่มาของรสชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท