หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

สีธรรมชาติ...จากเมล็ดผักปรัง


ผักปรัง...

•เราใช้เมล็ดที่แก่มาทำสีใส่ขนม...ให้สีชมพูม่วงที่น่ารับประทานมาก เป็นการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมจากบันทึก...ทัมทิมกรอบ...หวานๆแห่งความรัก
•เรามาทำความรู้จักหน้าตากันหน่อยน่ะค่ะ
•เป็นเถาไม้เลื้อย
•ช่อดอก
•เมล็ดแก่จะมีสีม่วงชมพู
•เอามือบี้ดูน่ะ...เป็นอย่างนี้...นิ่มๆมีน้ำสีม่วงชมพูหรือชมพูม่วงนั่นล่ะ
•ละลายกับน้ำเจือจาง...ลงอีกเล็กน้อย
•ทำขนมแล้วได้สีนี้ค่ะ อ่อนลงอีก...น่ากิน พอดี...
•มาดูข้อมูลวิชาการกันน่ะค่ะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra linn.
ชื่ออื่น ผักปรังใหญ่ (ภาคกลาง) ผักปั๋ง (ภาคเหนือ) เหลาะคุ้ย (จีนแต้จิ๋ว) ลั่วขุย (จีนกลาง)
ผักปรังเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Basellaceae เป็นไม้เลื้อย ยาวหลายเมตร แตกกิ่งก้านสาขามากทั้งเถาฉ่ำน้ำ มีสีเขียวหรือม่วงแดงใบเดี่ยวออกสลับกัน มีก้านใบยาว ฐานใบกว้าง ตัวใบกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ ๓-๑๒ เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อจากที่ง่ามใบหรือที่ยอด ดอกขนาดเล็กมีกลีบชมพู ผลฉ่ำน้ำขนาดใหญ่กว่าเมล็ดพริกไทย เมื่อผลแก่จะเป็นสีดำ

ผักปรังในฐานะอาหาร

ผักปรังมีส่วนที่นำมาประกอบอาหารได้ทั้งยอดอ่อนและดอก โดยนำมาแกงส้ม ในภาคเหนือจะนำมาแกงใส่แหนม ในภาคอีสานจะนำยอดอ่อนมาต้มทำเป็นเครื่องจิ้มน้ำพริก
รสชาติของผักปรังจะออกหวานนิดหน่อย ผักปรังมีลักษณะเฉพาะคือจะฉ่ำน้ำและจะมียางเป็นเมือกลื่นๆ เวลากินจะรู้สึกลื่นๆ

ใบและยอดอ่อนปรุงเป็นอาหาร ให้แคลเซียม เหล็ก และวิตามินเอ บี ซี เบต้าแคโรทีน เป็นผักที่มีกากมาก ช่วยระบายในคนที่ท้องผูกเป็นประจำ
นอกจากนี้
•ผลของผักปรังที่สุกจะมีสีม่วงแดงสามารถนำมาใช้แต่งสีขนมเยลลี่ หรืออาหารต่างๆได้

สมุนไพร
ผักปลังเป็นผักที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ท้องผูก ปัสสาวะขัด บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ผื่นแดงคัน แผลสด ฝีเป็นหนอง

ตำรับยาและวิธีใช้
๑. ท้องผูก ใช้ใบสดปรุงเป็นอาหาร กินเป็นประจำ
๒. ขัดเบา ใช้ต้นสด ๖๐ กรัม ต้มน้ำดื่มต่างน้ำชา
๓. อึดอัดแน่นท้อง ใช้ใบสดหรือยอดอ่อน ๖๐ กรัม ต้มน้ำเคี่ยวให้ข้นแล้วกิน
๔. ฝีหรือแผลสด ใช้ใบสดตำพอก วันละ๑-๒ ครั้ง
๕. ผื่นแดงหรือแผลไฟไหม้ ใช้น้ำคั้นจากใบสด
ที่มา : นิตยสารหมอชาวบ้าน http://www.doctor.or.th/node/2931
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน...ขอให้มีความสุขน่ะค่ะ...สวัสดีค่ะ♥♥♥
หมายเลขบันทึก: 334647เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2010 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • มาบอกว่า ชอบกินผักปรังต้มมากค่ะ
  • และบอกตามความจริงว่า เพิ่งจะรู้ว่า เมล็ดของผักปรัง  มีสีธรรมชาติด้วย 

ขอบคุณที่ให้ความรู้ และ ให้ขนมหวานกินด้วย  มีความสุขมากๆๆนะคะ

Pครูอ้อย แซ่เฮสวัสดีค่ะ

•ชักไม่แน่ใจ ผักปรัง...นี้เขียนใช้ ร.เรือ หรือ ล.ลิงน่ะค่ะ

•ส่งไปให้แล้วทัมทิมกรอบถึงบ้านเล้ย...ขอบคุณค่ะ

แถวบ้านพี่จะมีไหมคะ ผักปรังนี่

 

 

สวัสดีค่ะ

มาอ่านความรู้ แต่พี่สงสัยว่าภาคใต้ของเรามีผักปรังด้วยหรือเปล่า

บ้านพี่ไม่เคยเห็นนะ  หรือว่าเป็นพืชทางภาคเหนือและอีสาน

แต่ดอกอัญชันบ้านเรามีเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเห็นเขาใช้ดอกมาต้มคั่นเอาน้ำ

มาดื่ม หรือใช้สีทำขนม  ที่โรงเรียนเราก็ใช้แทนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน

เพื่อใช้ทดสอบความเป็นกรดเป็นเบสของสารต่างๆ

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่นำมาแบ่งปัน

                  

                        ดอกอัญชัน หน้าบ้าน

 

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ และมีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ

  • สวัสดีครับ

    • ผมมาเยี่ยม  มาทักทาย
    • มารับรู้เรื่องราวดีๆมีประโยชน์มากมาย
    • พร้อมทั้งมาเชิญชวนไปชมบรรยากาศ "การเข้าค่ายจิตอาสาฯ" ที่ยโสธร
    • ขออวยพรให้มีความสุขในเดือนแห่งความรักและตลอดไปนะครับ

    สวัสดีค่ะครู ป.1

    น่าจะมีน่ะค่ะ...ตามตลาดทั่วไปมียอดผักปรังขาย ที่หาดใหญ่ก็มีค่ะแต่ที่บ้านปลูกไว้ค่ะ(เป็นไม้ประดับ)...ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณครูดาวเรือง

    ที่ปักษ์ใต้ก็มีค่ะ...ปลูกง่ายค่ะ ใช้เมล็ดหรือยอดปักชำได้

    ขอบคุณค่ะ

    คุณบุษรา สวัสดีค่ะ

    ขอบคุณสำหรับดอกไม้แสนสวยค่ะ

    คุณJOY (จ่อย)สวัสดีค่ะ

    ขอบคุณน่ะค่ะที่แวะมาทักทาย

    สวัสดีค่ะ

    เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะว่าเมล็ดผักปลังใช้ทำสีผสมอาหารได้

    สารภาพว่าคิดว่าใช้ ร เหมือนกัน แต่ไปอีกบันทึกนึงใช้ ล เลยไม่มั่นเหมือนกันค่ะ

    -สวัสดีครับพี่หนูรี

    -เห็นสีจากเมล็ดผักปลังแล้ว....นึกขึ้นได้ว่า..เคยนำไปแต่งสีขนมตอนสอนเด็กยุวเกษตรกรทำขนมไทย น่ะครับ

    -เก็บภาพมาฝากครับ....

     

    เพิ่งทราบว่าเมล็ดผักปลังนำมาใช้ให้สีอาหารได้ค่ะ เมื่อก่อนที่บ้านพี่มีมากมายปลูกแล้วเขาเลื้อยไปทั่ว ขึ้นก็ง่าย ชอบชนิดสีแดง ก้านมันสีแดงตัดกับใบเขียวเข้ม เป็นไม้ประดับได้ด้วย คนงานชอบเก็บไปทาน แต่หลายคนไม่ชอบบอกว่ามันเป็นเมือก สารภาพว่าพี่ก็ไม่เคยเก็บใบไปทานหรอกค่ะ ปลูกไว้ดูสวยๆแค่นั้น แต่ที่จริงประโยชน์เหลือหลาย ขอบคุณค่ะที่ค้นคว้าแบ่งปันเรื่องราวดีๆอย่างน่ารัก น่าอ่านมาก

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท