สรุปประเด็น ครั้งที่ 1 "สวมหมวกกันน๊อคในมหาวิทยาลัย...พื้นที่บังคับของกฎหมายหรือไม่"


ไม่ใช่จากใคร ต้องเริ่มต้นจากที่ตัวเราเอง

หลังจากที่มัวแต่ยุ่งเกี่ยวกับการลงรายการหนังสือในห้องอ่านหนังสือฯ  วันนี้ผู้เขียนได้ฤกษ์เขียน  ประเด็นสรุปเกี่ยวกับไขข้อข้องใจ กฎหมายกับสุขภาพชาวม.นเรศวร ครั้งที่ 1 เรื่อง "สวมหมวกกันน๊อคในมหาวิทยาลัย...พื้นที่บังคับของกฎหมายหรือไม่" ในวันที่  24  มีนาคม  2553  ณ ห้องนิติสัมพันธ์  อาคารคณะนิติศาสตร์ ซึ่งจัดโดยคณะนิติศาสตร์  ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์  ภายใต้การสนับสนุนของ  สสส.  เป็นโอกาสที่ดี  ที่ได้มีการจัดหัวข้อประเด็นนี้  ซึ่งทำให้ทราบความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาในวันนี้ 

บรรยากาศลงทะเบียนของผู้เข้าร่วม

ขอสรุปประเด็นสำคัญๆ ดังนี้

     ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยการสวมหมวกกันน๊อคเพื่อความปลอดภัยของชีวิตของนิสิต เจ้าหน้าที่ และคณาจารย์ หรือบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เราต้องหามาตรการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น  เพื่อที่จะได้ร่วมกันดำเนินการ

     และจะเกิดขึ้นไม่ได้หากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยไม่ร่วมมือกันในการสวมหมวกกันน็อค  โดยนิสิต และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ต้องปรับเปลี่ยนโดยการร่วมมือกันสวมหมวกกันและให้ความสำคัญของชีวิตและความปลอดภัยของตัวเอง  และผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง

     แนวทางที่เราอาจนำมาใช้ได้แก่  การรณรงค์ให้สวมหมวกกันน็อค  การช่วยสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย  สร้างอัตลักษณ์ การอบรมให้ความรู้ทางด้านกฎหมายจราจร  สนับสนุนเกี่ยวกับด้านการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร อาทิเช่น สร้างโรงจอดรถ มีที่เก็บหมวกกันน็อค โดยไม่ต้องกังวลว่าจะสูญหาย    การใช้มาตรการทางกฎหมาย  จับ ปรับ  ตัดแต้ม ซึ่งอาจจะดูตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้นำมาตรการนี้มาใช้เช่นกัน และได้ผลดีพอสมควร

     ขั้นตอนการดำเนินงานเป็นระยะ ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ประเมินผลการดำเนินการเป็นระยะเพื่อปรับปรุง  และเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

คณบดีมอบของที่ระลึกให้กับวิทยากร

และคณบดีคณะนิติศาสตร์ได้แสดงความคิดเห็นทิ้งท้ายไว้ว่า

“กฎหมายไม่ได้มีผลบังคับวันนี้หรือพรุ่งนี้  กฎหมายบางตัวประกาศปุ๊บมีคนยอมรับทันที  เช่น  การฆ่าคนตาย  แต่กฎหมายทางเทคนิค  ถ้าเราต้องทำงานตรงนี้ว่าด้วยกฎ ระเบียบไม่ใช่ความผิดในตัวของมันเอง  แต่รณรงค์ในเรื่องความปลอดภัย  อาจจะต้องใช้เวลาและความอดทน   เราจะท้อไม่ได้  ต้องทำต่อเนื่องและทั่วถึงและกว้างด้วย  เช่น  สอนเรื่องการขับขี่รถที่ถูกต้อง  ต้องทำให้กว้างขึ้น  ถ้าจะให้นิสิตคณะนิติศาสตร์  เป็นผู้นำ  การที่เราเป็นนักกฎหมายเราต้องรู้  อะไรที่เป็นหลักกฎหมายเราต้องทำ  คือกฎกติกา  อย่างไม่มีข้อแม้  เราจะเป็นที่พึ่งให้กับสังคมได้อย่างไร  การเริ่มต้นจากคนน้อยๆ  ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรไม่สำเร็จ  เริ่มต้นจากคนมากๆ  ใช่ว่าจะดีและยั่งยืน เราต้องพร้อมที่จะทำและยืนสู้  การเริ่มต้นบางครั้งเกิดจากคนๆเดียวก็ทำสำเร็จ  จะเกิดกับผู้นำอย่างแท้จริงๆ  ความคิดของอาจารย์  เริ่มจากคนเพียงคนเดียวเราก็สามารถทำงานที่ใหญ่ได้”

     ถ่ายรูปร่วมกัน

     ท้ายสุดผู้เขียนเองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยจะเห็นความสำคัญในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง  และคนที่คุณรักนะค่ะ  เริ่มต้นจากตัวเราเอง และต้องมีสักวันที่บุคคลรอบข้างจะเห็นความสำคัญและนำไปปฏิบัติตาม  กลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีภายในมหาวิทยาลัยของเรา  จริงไหมค่ะ ^^

คำสำคัญ (Tags): #หมวกกันน็อค
หมายเลขบันทึก: 359108เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท