สรุปประเด็น ครั้งที่ 2 “สิทธิการรักษาพยาบาลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยนเรศวร... อย่างไรถึงจะดี”


มหาวิทยาลัยควรจัดทำกรณีการได้รับบาดเจ็บเนื่องมาจากการทำงาน เพราะลูกจ้างในส่วนราชการ จะไม่สิทธิ์ในตัวนี้

ผ่านพ้นไปแล้ว  สำหรับเวทีสาธารณะครั้งที่  1  เกี่ยวกับ เรื่อง "สวมหมวกกันน๊อคในมหาวิทยาลัย...พื้นที่บังคับของกฎหมายหรือไม่" คลิกอ่านได้ที่>>http://gotoknow.org/blog/nareejuti/359108   

     และในวันนี้เป็นการจัดเวทีสาธารณะครั้งที่  2 เรื่องไขข้อข้องใจ กฎหมายกับสุขภาพ  เรื่อง   “สิทธิการรักษาพยาบาลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยนเรศวร” โดยความร่วมมือระหว่างคณะนิติศาสตร์ กับคณะเภสัชศาสตร์  โดยภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2553 ณ ห้องประชุมนิติสัมพันธ์ คณะนิติศาสตร์

          เพื่อให้ความรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสวัสดิการการรักษาพยาบาลและทางเลือกอื่นๆในการรักษาพยาบาลอื่นๆ สำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัย  รูปแบบการจัดเป็นการเปิดเวทีเพื่อรับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  โดยได้รับเกียรติจากศ.ดร.ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณธนานุช ศรีอรุณ จากสำนักงานประกันสังคม มาร่วมเป็นผู้เสวนาในวันนี้

ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเวทีสาธารณะ

 

 อธิการบดีกล่าวเปิด

     เวทีสาธารณะที่จัดขึ้นมีผู้เข้าร่วม  29   คน เป็นพนักงานสายวิชาการ พนักงานสายสนับสนุนวิชาการ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งข้าราชการิ  ผู้สนใจจากคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ

     โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. สุจินต์ จินายน อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวในพิธีตอนหนึ่งว่า

 “สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องทำ  มี  3  ประการ

1.  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะมหาวิทยาลัยเป็นห่วงเมื่อออกไปชราภาพต้องไม่ลำบาก  ต้องดูแลตรงนี้  และเข้าใจระบบบำเหน็จ บำนาญ  ให้ความมั่นคง ต้องค่อยปรับไปตามความเจริญของมหาวิทยาลัย  เริ่มคิดร้อยละ 2  ของเงินเดือนที่จะมีทบกัน  เพราะฉะนั้นต้องมีระบบการจัดการ 

2.  การประกันอุบัติเหตุ  ต้องทำเสริมเข้าไปจากประกันสังคมมีอยู่

3.  สวัสดิการทางเลือก  ต้องวิเคราะห์ให้ลึกต้องครอบคลุมบุคลากรทุกระดับและทุกประเภทเพื่อความเสมอภาคและเป็นธรรม  ให้บุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่มั่นคง  บางที  การรักษาอาจจะไม่ครอบคลุมถึงพ่อแม่  อาจจะมีทางเลือกค่าใช้จ่ายให้พ่อแม่  หรือให้กับบุตร  เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ตามความต้องการของแต่ละบุคคล”

     จากการประเมินแบบสอบถามเกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับประกันสังคม  ผลออกมาปรากฏว่า  บุคลากรมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ไม่ค่อยเข้าใจสิทธิการรักษาพยาบาล”

          และเข้าสู่ประเด็นการให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนประกันสังคม  โดยคุณธนานุช ศรีอรุณ   จากสำนักงานประกันสังคม

   "หากมหาวิทยาลัยคิดที่จะทำกองทุนฯ ต้องเขียนกฎหมายขึ้นมาให้ได้ระดับดีกว่าประกันสังคม  แต่ต้องมีครบและต้องดีกว่าที่ประกันสังคมมี  ทั้ง  7  กรณี  ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร  กรณีทุพพลภาพ กรณีสงเคราะห์บุตร  กรณีชราภาพ  กรณีว่างงาน  กรณีเสียชีวิต

...ต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวนำร่องในเรื่องของ  การบาดเจ็บจากการทำงาน  ลูกจ้างชั่วคราวหรือลูกจ้างในส่วนราชการไม่มีสิทธิ์ตัวนี้ เป็นข้อยกเว้นของกฎหมายไม่ใช้บังคับ  หลุดออกจากระบบส่วนของกองทุนเงินทดแทน  จะมีระเบียบแตกต่างจากเอกชนทำให้ไม่ได้รับการชดเชยเหมือนเอกชน ซึ่งมหาวิทยาลัยควรทำเป็นอันดับแรก  อาจจะอยู่ในรูปซื้อประกันภัยของเอกชน"

ประเด็นคำถาม
   -  ทำไมจึงกำหนดให้ผู้ประกันตนเลือกสถานพยาบาลได้เพียงแห่งเดียว
   เนื่องจากประกันสังคม   ต้องจ่ายให้ทุกโรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย  ประมาณหัวละ 2,000 บาท เพียงแค่มีชื่อประกันตนอยู่ที่ใด  ทางประกันสังคมต้องนำเงินไปจ่ายให้กับโรงพยาบาลนั้นๆ  ที่เข้าร่วม ซึ่งหากต้องจ่ายให้ทุกโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกคงอาจจะไม่ไหว

   -  หากเป็นสามีภรรยา  หากภรรยาตั้งครรภ์ สามารถใช้สิทธิ์รวมแล้ว ได้เท่าไหร่
   ได้จำนวน  4  ครั้ง  แต่มีข้อแม้ว่าสามีและภรรยาต้องจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ปัจจุบันไม่ค่อยจดทะเบียนสมรส  และพ.ศ.2530  ได้แก้ไขกฎหมาย  ถ้าเป็นผู้ชายจะได้เฉพาะค่าคลอดบุตรอย่างเดียว ซึ่งต้องอยู่กินกันโดยเปิดเผยฉันสามีภรรยา   

   -  หากสามีหรือภรรยาเป็นข้าราชการ แต่เราเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัย  เราสามารถใช้สิทธิ์สามีหรือภรรยาได้หรือไม่
   คำตอบคือ  ไม่ได้  เนื่องจากระเบียบกระทรวงการคลังล่าสุด  ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีสิทธิ์ได้รับการรักษาตามสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่น ซึ่งคำว่าหน่วยงานอื่น ก็หมายถึง กองทุนประกันสังคม ถ้าผู้นั้นมีสิทธิ์ในประกันสังคมผู้นั้นก็ไม่สิทธิ์รับสวัสดิการอื่น  เว้นแต่ ถ้าได้รับจากประกันสังคมต่ำกว่า  จึงมีสิทธิ์ได้รับในส่วนที่ขาดทุนไป  เราต้องใช้สิทธิ์หลักที่มีก่อน  แล้วค่อยไปใช้สิทธิ์รองคือของคู่สมรส

   -  กรณีบำนาญชราภาพ  ผู้ประกันตนส่งไม่ครบ 180 เดือน  แต่พออายุครบ 55 ปี  สถานทำงานจ้างต่อ ส่วนนี้จะนับได้ต่อจนครบ 180 เดือนหรือไม่
     เราจะนับตั้งแต่วันที่เริ่มเก็บบำนาญชราภาพในวันที่  1 ธันวาคม  2542 ถ้าไม่ครบ 180 เดือน ก็จะได้รับแค่บำเหน็จ ถ้าทำครบ 180 เดือนก็จะได้รับเป็นบำนาญชราภาพ"

รายละเอียดอื่นๆ  เกี่ยวกับประกันสังคม ผู้เขียนขอให้ผู้อ่าน  เข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่  http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=81

ศ.ดร.ศ.ดร.ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสวัสดิการสุขภาพทางเลือก แต่อาจารย์ได้กล่าวว่า  "จริงๆ ไม่ต้องคิดถึงสุขภาพอย่างเดียวให้เราคิดถึงอย่างอื่นด้วยก็ได้"

     "ขณะนี้บุคลากรในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกันสังคม  และควรคิดว่าจะมีอะไรเสริม เนื่องจากสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมค่อนข้างจะต่ำ เราอยากให้บุคลากร ได้รับเรามาดูสิทธิประโยชน์ตามสมควรให้เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับข้าราชการ  คิดสองพื้นฐานคือยึดหลักของประกันสังคมทั้ง  7  กรณี  หากพอใจเราก็หยุด  แต่หากเราคิดว่ามีทางเลือกที่ดีกว่า  ก็ต้องคิดค้นต่อไป  โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์  เราจะมีประกันสังคมเป็นพื้นฐาน  และมีสิทธิเพิ่มเติม  หรือต่อไปเราอาจจะซื้อเอกชน ซึ่งเราต้องประเมินว่าอะไรดีกว่ากัน  คือสิทธิประโยชน์ที่ได้รับค่าใช้จ่ายในมุมมองทางการเงิน  โดยดูข้อดีข้อเสียของการบริหารจัดการ  นอกเหนือจากการเงิน ถ้าเราดำเนินการเอง  มันมีสิ่งทื่เราจะได้จากการจัดการ เนื่องจากบุคลากรมหาวิทยาลัยมีความรู้ความสามารถที่หลากหลายมาก"

ประเด็นที่ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ เสนอให้พิจารณา คือ

ทางเลือกของการตัดสินใจ

ก.     การซื้อหลักประกันภาคเอกชน 

     คำนวณค่าเบี้ยประกันตลอดช่วงเวลาการทำงาน

     คำนวณความเสี่ยงการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ตลอดช่วยเวลาการทำงาน

     หาข้อมูลจากตลาดประกันคุณภาพ

ข.    การบริหารกองทุนสุขภาพในมน.

     คำนวณรายจ่ายเพิ่ม (ความครอบคลุมความเสี่ยงสุขภาพที่ระบบประกันสังคมไม่ให้)

     หมายถึง ผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม ของสมาชิกกองทุนสุขภาพ มน.

     คำนวณรายจ่ายการบริหาร

     คำนวณอัตราการสมทบเข้าระบบ

     คำนวณขนาดกองทุนขึ้นต่ำ

     วิเคราะห์ การสะสมเงินทกองทุนเกินกว่าระดับพื้นฐาน

     วิเคราะห์ พิสัยของเงินกองทุน ขั้นต่ำเท่าใด ขั้นสูงเท่าใด

     ขนาดของเงินกองทุน ไม่ใช่สิ่งที่กำหนดอย่างตายตัว ควรจะต้องปรับเพิ่มได้ หมายถึง แปรผัน ตามจำนวนสมาชิก และปรับเพิ่มขึ้นตามค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัว หมายถึงการใช้กรอบการวิเคราะห์เชิง “วิวัฒนาการ”

รวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์

เงินเดือนเฉลี่ยของบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร  วิเคราะห์ตามกลุ่มอายุ

ทดสอบตัวเลขพื้นฐาน เช่น ร้อยละ 1-2 ของรายได้

การคืนกำไรให้สมาชิก ถ้าหากรายจ่ายสุขภาพจริง ต่ำกว่าค่าประมาณการ

ความเห็นหรือข้อสังเกต

ทางเลือก ข.น่าสนใจ และน่าประหยัดรายจ่ายของบุคลากร

ทางเลือก ข. เป็นประเด็นที่ท้าทายความสามารถการจัดการของมน.

 และศ.ดร.ดิเรก  ปัทมศิริวัฒน์ เสนอแนะว่า  เริ่มแรกมหาวิทยาลัยอาจจะต้องเริ่มต้นในเรื่องกองทุนสุขภาพและด้านบำนาญให้กับบุคลากรเป็นอันดับแรก

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสวัสดิการที่ควรมีในมหาวิทยาลัยจากผู้เข้าร่วม

-  การตรวจสุขภาพประจำปี

-  กองทุนเงินทดแทน  อาจจะตั้งกองทุนเอง

-  สามารถนำมาหักภาษีเงินได้เพื่อลดหย่อนภาษี

-  ค่าเล่าเรียนบุตร

-  ค่าเบิกจ่ายค่ารักษาทั้งครอบครัว

-  มีการเบิกส่วนต่างในรอบๆ ปี ให้ครอบคลุมถึงลูกจ้างชั่วคราว

-  ควรมีค่าเช่าสำหรับบุคลากรที่ยังไม่มีหอพัก

-  กลุ่มเสี่ยงทางด้านสารเคมี  ควรให้ตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน

-  กองทุนตัวยา  ให้จัดยาให้เหมือนกับข้าราชการ ต้องนึกถึงจุดคุ้มทุนด้วย

-  เรื่องการเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง อยากให้มีกองทุนนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับ

-  ถ้าอายุ 60 ปี เรื่องของการชราภาพ  เกษียณอายุ  เกี่ยวกับมี บำเหน็จ บำนาญให้ 

-  การจัดยาให้กับผู้ป่วย อยากให้จัดแบบโดยมีคุณภาพยาที่เท่าเทียมกัน

      ขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมการจัดเวทีสาธารณะในครั้งนี้เป็นอย่างมาก   ข้อคิดเห็นต่างๆ เหล่านี้  ถือเป็นประเด็นสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาและเสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไปได้ไม่มากก็น้อย

หมายเลขบันทึก: 359213เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท