ความเห็นข้าม blog : กีฬา


จาก http://gotoknow.org/blog/goodliving/108671 ของพี่ sasinanda ผมเห็นว่า

  • เท่าที่สังเกตผมพบว่า ๑) นักกีฬาไม่ค่อยเข้าเรียนหนังสือในชั้นเรียน บางภาคการศึกษา ก็ไปขอสอบอย่างเดียว โดยให้เหตุผลว่า สร้างชื่อเสียงให้สถานศึกษา ๒) นักกีฬามีฐานความรู้ในด้านอื่นๆ นอกจากกีฬาค่อนข้างต้องปรับฐานความรู้ใหม่ ๓) กีฬาจำนวนมาก หากเราดูจากสื่อ จะเห็นการเล่นไม่ซื่อ
  • คำตอบที่คิดในใจ ๑) การเรียนไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนเสมอไป เราสามารถแสวงหาความรู้จากสื่อต่างๆได้มากมาย แต่การไม่เข้าชั้นเรียน ก็ไม่ควรเข้าในในสถานศึกษาแบบปิด เพราะจะทำให้เสียระบบ นอกจากนั้น สถานศึกษาให้ความสำคัญกับชื่อเสียงของกีฬามากไปหรือไม่ ไม่ใช่นักกีฬาไม่อยากเรียน หรือ ผมไม่เชื่อว่านักกีฬาไม่อยากที่จะเรียนหนังสือ ๒) เราคงต้องให้ความสำคัญกับนักกีฬาในด้านอื่นๆ ด้วย เช่นภาษา ความคิด ความเชื่อ การอยู่ในสังคม เป็นต้น โดยคงต้องจัดเป็นหลักสูตรพิเศษ เพื่อให้ความสำคัญกับนักกีฬา มิใช่เล่นเป็นหรือเก่งอย่างเดียว แต่มีความรู้ด้วย ข้อนี้ ผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นการก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง อย่างน้อย นี้คือตัวอย่างที่ดี ๓) กรณีการเล่นไม่ซื่อ เสแสร้ง กรณีการถ่ายทอดสด หรือนำเทปมาออกรายการ ไม่ควรที่จะย้ำหรือควรจะตัดส่วนนี้ออกไป เพื่อลดการเลียนแบบ นอกจากนั้น เงินพนันที่มันมากเหลือเกินนั้น ถ้าเรา (คนหมู่มาก) เห็นว่าไม่เหมาะสม ก็อย่าเอาสิ่งเหล่านี้มาเสนอเพื่อให้เกิดการเลียนแบบ หรือให้มองเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเข้าใจว่า กีฬาต้องมีการพนันเข้ามา ก็ควรจะมีกติกาของการพนัน เพราะทุกหย่อมหญ้า เราจะเห็นการพนันในการละเล่นต่างๆ ในความเห็นส่วนตัว ผมไม่คิดว่าการพนัน (ยกเว้นการเล่นเพื่อความสนุกสนาน) จะช่วยให้เรามีอันจะกินได้
คำสำคัญ (Tags): #ความเห็นข้าม blog
หมายเลขบันทึก: 108728เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

ที่เขียนบันทึกนี้ขึ้นมา เพราะเห็นว่า การกีฬาเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนแปลงไปมาก มันเพี้ยนจาก สโลแกนกีฬาๆ เป็นยาวิเศษ มาก

มีเรื่องการโฆษณาสินค้า การพนัน และแนวคิดผิดๆอีกหลายประการ ที่ล่อหลอกเด็กๆ จนน่าเป็นห่วง

การอยากจะเอาชนะกันมากเกินไป จนทำให้คุณธรรมและศีลธรรมเสื่อมลงไป

ดิฉันเห็นด้วยค่ะว่า

ในการเรียนชั่วโมงพละ  โดยคงต้องจัดเป็นหลักสูตรพิเศษ เพื่อให้เด็กๆรู้ กีฬามีทั้งข้อดี ข้อเสียอย่างไร ต้องเล่นให้เป็น  มิใช่มุ่งเล่นให้เก่ง เอาชนะกันอย่างเดียว แต่ไม่มีคุณธรรม ไม่มีน้ำใจนักีฬา

  • ผมเคยดูหนังฝรั่งเรื่องหนึ่ง ขณะที่พ่อกับลูกดูกีฬาอยู่ในโทรทัศน์ นักกีฬาคนหนึ่ง เล่นไม่ซื่อ แต่กรรมการไม่เห็น ลูกทักท้วงว่า ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่พ่อบอกกับลูกคือ จะไม่ถูกก็ต่อเมื่อกรรมการเห็น ผมก็คิดว่า เฉกเช่นเดียวกับ จะไม่ผิดก็ต่อจนด้วยพยานและหลักฐานแล้ว ถ้าเราจัดคนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มให้คำจำกัดความของความ "ถูกต้อง" ต่างกัน เหมือนกัน คล้ายกัน อยู่นะครับ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า "อะไรคือความถูกต้อง" เหมือนกับที่เราแสวงหาว่า "อะไรคือความยุติธรรม" การแบ่งขนมให้เท่ากันทั้งขนาด น้ำหนักโดยไม่คลาดเคลื่อนหรือว่า การแบ่งไม่เท่ากันแต่ทั้ง ๒ ฝ่ายไม่รู้สึกว่าเสียหายอะไร หรือว่าการกินขนมร่วมกันในจานเดียวกัน
  • ขอบคุณครับ
P
เป็นแนวคิดของทางเรื่องของตำรวจหรือศาลค่ะ
ถ้าไม่มีหลักฐานก็รอดค่ะ
แต่คนเราต้องมีหิริโอดดัปปะด้วยค่ะ
  • ใช่ครับ คนเราควรมีความละอายใจและเกรงกลัวต่อสิ่งไม่ดีที่จะส่งผลไม่ดีกับตน แต่คงไม่ใช่เรื่องง่ายกับผู้ที่ไม่มีอยู่เลยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท