ชำฆ้อพอเพียง


การลงมือทำ..มีค่ามากกว่าการสอน

                                            20090304143035_117

หนังสือตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง เล่มที่ ๗ ของโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม จ.ระยองที่ สรส.โดยความสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้จัดทำขึ้น เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การปฏิบัติจริงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของทั้ง ผู้บริหารศึกษา   คณะครู และการพัฒนาผู้เรียน บนรากฐานของคติที่ว่า " การลงมือทำ มีค่ามากกว่าการสอน ".....


   ปัจจัยและเหตุของการพัฒนาวิถีพอเพียงที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม :


         * ผู้บริหารศึกษา ริเริ่มการพัฒนาครูให้มีศักยภาพในแนวเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการน้อมนำความเข้าใจหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นการสร้างกระบวนคิดในเรื่อง ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และ การสร้างภูมิคุ้มกัน บนความรู้คู่คุณธรรม ไปประยุกต์ปรับใช้ในเรื่องการเรียนการสอนต่างๆ ทั้งนี้ ได้จัดส่งคณะครูและนักเรียนแกนนำ ไปอบรมดูงานอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา ๓-๔ วัน ทั้งด้านเกษตร และการพึ่งตนเอง ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติวัดสองสลึง อ.แกลง จ.ระยอง หลังจากนั้นครูบางคนได้เข้าร่วมในคณะทำงานจัดทำร่างชุดหน่วยการเรียนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงของ สพฐ.ซึ่งทำให้ได้แนวคิดในการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น


       * การพัฒนาผู้เรียน ด้วยการนำกระบวนคิดตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมุ่งสู่ความสมดุล ๔ ด้าน คือ


            - ด้านเศรษฐกิจในการสร้างความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร


            - ด้านสิ่งแวดล้อมในการอนุรักษ์ธรรมชาติ


            - ด้านวัฒนธรรมประเพณี ในการฟื้นฟูเอกลักษณ์ประจำชาติ


            - ด้านสังคม ในการสร้างจิตอาสาเพื่อแบ่งปันสู่สาธารณประโยชน์


        โรงเรียนได้สร้างฐานการเรียนรู้ โดยได้รับการถ่ายทอดหลายด้านจากวิทยากรชาวบ้าน หรือปราชญ์ชุมชน เช่น


             - ด้านเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ


             - ทำบายศรีจากใบกล้วยของต้นกล้วยที่ปลูกอยู่มากในโรงเรียน


             - ทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์จากเศษใบไม้ ผัก ผลไม้ เหลือทิ้ง ไว้ใช้เองในโรงเรียน


             - เลี้ยงหมูหลุมที่เลี้ยงด้วยเศษอาหารในโรงเรียน เป็นการลดต้นทุนอาหารและลดขยะสด อีกทั้งได้มูลหมูมาทำปุ๋ยชีวภาพ 


             - การสร้างเตาเผาถ่านจากเศษกิ่งต้นไม้ และผลไม้ที่ทิ้งเสีย เพื่อประโยชน์ในการดูดกลิ่น และเก็บน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ได้นานาประการ และสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วย


             - การปลูกหญ้าแฝกคลุมดินโดยได้รับพันธุ์มาจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติวัดสองสลึง


              - การร่วมมือกับชุมชนในการทำสวนป่าชุมชนและสวนสมุนไพรลดหลั่นกันตามที่ราบเชิงเขาหลังโรงเรียน เพื่อป้องกันดินถล่ม


             - จัดตั้ง กลุ่มต้นกล้าคุณธรรม ออกไปร่วมปลูกและรักษาดูแลต้นไม้ในที่สาธารณะต่างๆ เช่นวัดวาอาราม เป็นต้น 


            - การต่อยอดทำ " ธนาคารต้นไม้ " ซึ่งเป็นแหล่งรวมการเพาะกล้าไม้ ทั้งล้มลุกและยืนต้น หลายประเภทที่เป็นไม้ปลูกกินผลกินใบ และไม้ประดับที่นักเรียนช่วยกันดำเนินการ เพื่อเป็นพื้นฐานการงานอาชีพ และแจกจ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์


          - โครงการโต๊ะเพื่อน้อง ที่เกิดจากโครงการจิตอาสาของนักเรียนในการซ่อมแซมโต๊ะเรียนที่ชำรุดกองทิ้งแล้ว มาซ่อมแซมอย่างแข็งแรงเสมือนของใหม่ เพื่อนำไปมอบให้นักเรียนรุ่นน้องได้ใช้ประโยชน์ต่อไป กิจกรรมนี้ ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการประกวดโครงงานคุณธรรม ในงานศิลปหัตถกรรมภาคกลาง-ภาคตะวันออกประจำปี ๒๕๕๐


         - โครงการนักสืบสายน้ำ อนุรักษ์ลุ่มน้ำประแสร์ ร่วมด้วยช่วยกันกับ รร.มกุฏเมืองและเครือข่ายอีก ๔-๕ โรงเรียน โดยการสนับสนุนของชุมชนตามชายฝั่งแม่น้ำประแสร์ ทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำใน ๓ อำเภอ คือ อ.แกลง อ.วังจันทร์ และ อ.เขาชะเมาจ. ระยอง ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา ซึ่งจะมีกิจกรรมหลักทุก ๓ เดือน ในการออกตรวจสอบคุณภาพน้ำ สัตว์น้ำ จัดทำรายงานเสนอต่อชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งในบริเวณฝั่งน้ำ เพื่อหาทางรักษาและฟื้นฟูต่อไป (ปัจจุบันแม่น้ำประแสร์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมธรรมชาติและดูหิ่งห้อยยามค่ำคืนอีกแห่งหนึ่ง)

โปรดอ่านรายละเอียดที่

 http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=334


                          --------------------------------------             

 
 
หมายเลขบันทึก: 246279เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นด้วยค่ะ  เพราะเศรษฐกิจพอเพียง เห็นเป็นรูปธรรม เกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่มุ่งสู่ความสมดุลของชีวิต ที่ภาคปฏิบัติ..... ที่ได้มีการเริ่มต้นลงมือทำ และสานต่อ.....การมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ต้องปรับปรุงพัฒนาการที่ภาคปฏิบัติ ค่ะ.....

ขอบคุณน้องใบไม้ที่ร่วมให้ความเห็นค่ะ...มนต์เสน่ห์ของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือลงสู่การปฏิบัตินี่แหละค่ะ...เด็กๆเขาถึงทำได้อย่างเป็นธรรมชาติจริงๆ..

                                  nongnarts

ขอบคุณ พี่นงนาท ที่แวะมาเยี่ยมและฟังเพลงที่บล็อกของใบไม้ค่ะ

อีกนึดหนึ่งนะคะ  ภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง จริงอยู่ว่า อาจต้องอาศัยภาคทฤษฏีนำในเบื้องต้น   แต่เมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว  ตัวแปรของภาคปฏิบัติอยู่ที่รัพยากร สิ่งแวดล้อม ลมฟ้าอากาศ กำลัง-แรงงาน และอื่นๆ..... ซึ่งไม่เคยเหมือนกันสักวันเลย  ดังนั้น ภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง จึงขึ้นอยู่กับสติปัญญาของคนที่จัดการในภาคปฏิบัติค่ะ.....

   น้องใบไม้ ให้ข้อคิดที่ตรงกับที่พี่ใหญ่ไปเห็นมาเอง...และเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติ...มูลนิธิสยามกัมมาจลของเรา จึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จในการปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแกนนำทั่วประเทศ ๔ ภูมิภาค...ซึ่งก่อให้เกิดเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกัน..เพื่อต่อยอดต่อไปค่ะ..

     พี่ฝาก weblink มาให้ดูภาพงานดังกล่าว ๔ ตอนจบที่ได้สรุปสาระอ่านง่ายๆ clickเปิดในยามว่างๆ นะคะ :

http://www.okkid.net/blog_journal_detail.php?journal_id=907&member_id=277

http://www.okkid.net/blog_journal_detail.php?journal_id=910&member_id=277

http://www.okkid.net/blog_journal_detail.php?journal_id=911&member_id=277

http://www.okkid.net/blog_journal_detail.php?journal_id=913&member_id=277

                           nongnarts

ขอบคุณนักอ่านประจำท่านนี้ซึ่งอยู่ในวงการเดียวกันค่ะ...

                       nongnarts

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท