คู่มือเสริมศักยภาพ..นักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง (๑)


ความก้าวหน้าอีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การเสริมศักยภาพของนักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นโรงเรียนศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะพี่เลี้ยง

 

                  

 

                      

                                

    สืบเนื่องจากที่ดิฉันได้เคยเล่าเรื่องความสำเร็จระดับหนึ่งในการจัดเวทีเรียนรู้ ตลอดจนการถอดบทเรียน เป็นสื่อหนังสือเล่มเล็กการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง ใน ๔ ภูมิภาค จำนวน ๑๗ โรงเรียน ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยการดำเนินงานของ สรส.มาเป็นลำดับ (อ่านเรื่องเดิมที่ blog ):

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/275193

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/244382

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/244447

http://gotoknow.org/post/nongnarts?page=10

                        ฯลฯ

 

       ความก้าวหน้าอีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การเสริมศักยภาพของนักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นโรงเรียนศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะพี่เลี้ยง..ขยายผลสู่เพื่อนๆนักเรียนอื่นๆ...ทั้งในเชิงคุณภาพ..และเชิงปริมาณเผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้นในบริบทของภูมิสังคมของแต่ละโรงเรียนต่อไป...

       กิจกรรมเสริมศักยภาพแก่นักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียงที่ สรส.ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีแนวคิดและหลักการที่สำคัญในเบื้องต้น (แปลว่า ยังคงต้องมีการวิจัยร่วมกันกับโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไปอีก ) คือ...

   -- การจัดกระบวนการเสริมศักยภาพนักเรียนแกนนำฯ เป็นการออกแบบที่เน้นทักษะนักเรียนแกนนำ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาขึ้นไป ซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำฐานการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วในโรงเรียน..

    -- นักเรียนแกนนำฯ ต้องมีความสามารถ ในการอธิบายผลการเรียนรู้ที่สะท้อนหลักคิด การวิเคราะห์หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ท่องจำมาเล่า..

    -- ฝึกให้นักเรียนแกนนำฯเพิ่มขีดความสามารถในการถอดบทเรียน ถอดความรู้ เกิดทักษะในการคิด ฟัง ถามเขียน การเล่าเรื่อง การนำเสนองาน..

    -- เกิดมิติสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับครูผู้สอน และนักเรียนกับผู้จัดกระบวนการเรียนรู้..

 

    ( โปรดติดตามตอนสองต่อไปค่ะ)

   

         

 

หมายเลขบันทึก: 296599เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีค่ะ

  • มาติดตามเรียนรู้เรื่องที่สนใจมากที่สุดค่ะ
  • และจอรอติดตามบันทึกต่อไปนะคะ
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

แม่ครูคิมนึ่งในครูเพื่อศิษย์ที่น่ายกย่อง..

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
  • ครูเพื่อศิษย์...มิอาจเอื้อมค่ะ
  • เพราะครูคิม..ไม่ชอบทำตามกรอบของความดีที่สังคมเขากำหนดไว้
  • แต่ทำไปเรื่อย ๆ ด้วยใจรักค่ะ
  • ไม่ชอบการประกาศตัวหรือการแข่งขันใด ๆ
  • เพราะศักยภาพยังไม่ถึงขั้นค่ะ

สวัสดีค่ะ แวะมาเรียนรู้ค่ะ บันทึกมีประโยชน์มากนะคะ

ครูเตือน...ยินดีที่เป็นประโยชน์นะคะ

หนังสือเล่มนี้จะหาได้จากที่ไหนค่ะ

อยากจะอบรมให้นักศึกษา กศน.บ้างค่ะ

 คุณนันทยา..ยังมีแต่ฉบับร่างค่ะ...

คุณสามสัก ที่แวะมาเยี่ยมค่ะ..

พี่ใหญ่ครับ อันนี้เป็นฉบับร่างนะครับ รออ่านฉบับจริง ฮ่าๆๆ

สวัสดีค่ะ

  • มาติดตามอ่านเรื่องที่น่าสนใจค่ะ
  • ขึ้นบันทึกใหม่..แต่มันไม่โชว์ตรงบันทึกล่าสุดค่ะ  โชว์เฉพาะบันทึกเก่า
  • ขออนุญาตนำลิงค์มาฝากนะคะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukim/296628

      อ.ขจิต เนื้อหาหลักเหมือนกันค่ะ

   แม่ครูคิม...พี่กำลังจะเล่าตอนสองค่ะ

สวัสดี ครับ คุณนงนาท

ยิ้มก่อนเที่ยงวัน กับบันทึกนี้

ทานข้าว...อย่างมีความสุข นะครับ

ด้วยความระลึกถึงคุณนงนาท

 

 

คุณแสงแห่งความดีที่มาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณนงนาท

จะคอยติดตาม ตอนต่อไป

"นักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นโรงเรียนศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะพี่เลี้ยง "

น่าสนใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ครูจิ๋วคะ..ได้เล่าตอนสองแล้วค่ะที่:

                                      http://gotoknow.org/blog/nongnarts/297470

ครูอรวรรณ ที่มาเยี่ยมอ่านค่ะ...

มาอ่านตอนหนึ่งครับ

น่าสนใจให้ติดตามอ่านตอนที่สอง

มีคำถามนิดหน่อยในหน้านี้

อาจจะได้คำตอบในหน้าต่อไป

ติดตามอ่านทีละตอนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท