คู่มือเสริมศักยภาพ..นักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง (๒)


-- การถ่ายทอดต่ออย่างน่าสนใจ ต้องเริ่มจากการหมั่นทบทวนความรู้ และใคร่ครวญว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดผลเชิงบวก และเชิงลบ เพื่อจะพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไร

 

 

                   

 

                              

      ตอนที่สองของ คู่มือเสริมศักยภาพ..นักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำโดย สรส. ด้วยความสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ต่อจากตอนที่หนึ่งใน: http://gotoknow.org/blog/nongnarts/296599

      ตัวอย่างของการลงมือปฏิบัติจริงในการเสริมศักยภาพศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เริ่มที่โรงเรียนแกนนำนักเรียนเศรษฐกิจพอเพียงของเรา คือ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๓-๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ มีขั้นตอนในการกระบวนการทำงานในภาพรวม ดังนี้

    -- การประชุมวางแผนก่อนเริ่มกิจกรรม  ( Before Action Review /BAR )เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง รร.จุฬาภรณฯและโครงการพัฒนาเยาวชนฯของมูลนิธิสยามกัมมาจล และ สรส.ในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก

    -- การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing /KS )คือ การจัดเวทีถอดความรู้และบทเรียนตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่ได้วางแผนไว้

    -- การวิเคราะห์หลังจัดกิจกรรม (After Action Review /AAR ) เพื่อประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง และการบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรม และปรับปรุงให้ดีขึ้นในระยะต่อไป

    -- การจัดทำข้อมูลจากเวที (Knowledge Assets/KA) เพื่อเป็นฐานข้อมูล หรือคู่มือในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

  องค์กรและรร.เครือข่ายที่เข้าร่วมในเวทีเสริมศักยภาพศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงครั้งนี้ ประกอบด้วย

    -- สพท.เพชรบุรี เขต ๑ และ ๒ จำนวน ๕ คน

    -- รร.จุฬาภรณฯและเครือข่าย ๙ แห่งระดับตั้งแต่ ผอ.รองผอ.และครู จำนวนทั้งสิ้น ๖๑ คน จาก รร.บ้านลาดวิทยา รร.แก่งกระจานวิทยา รร.ป่าเด็งวิทยา รร.ศึกษาสงเคราะห์เพชรบุรี รร.บ้านคลองมอญ รร.ห้วยทรายประชาสรรค์ รร.วัดโพธิ์ลอย รร.บ้านเขาย้อย และ รร.บ้านในล๊อค

     ผลสรุปของเวทีเสริมศักยภาพศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผอ.และครูได้ประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางสนับสนุนแกนนำนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้ คือ..

  -- ความรู้จากการทำกิจกรรมฝึกถอดบทเรียน

     ..ต้องมีใจเปิดกว้าง รับฟังทุกคน ทุกเสียง ทุกบทเรียนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับทุนเดิม จริตนิสัยของแต่ละคน และแต่ละคนรับได้ไม่เหมือนกัน

      -- ความรู้มีอยู่ทุกแห่งรอบตัวและในตัวเรา ต้องรู้จักดึงออกมา และจับความรู้ให้ได้ 

      -- การถ่ายทอดต่ออย่างน่าสนใจ ต้องเริ่มจากการหมั่นทบทวนความรู้ และใคร่ครวญว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดผลเชิงบวก และเชิงลบ เพื่อจะพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไร

          โปรดอ่านต่อตอนที่สามค่ะ...

      

 

หมายเลขบันทึก: 297470เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

โอโห อยากไปร่วมถอดความรู้จากเวทีแบบนี้จังเลยครับ ได้ความรู้มากเลย เคยไปแค่สองโรงเรียนเองครับ (รร.บ้านลาดวิทยา รร.แก่งกระจานวิทยา )

 อ.ขจิต ที่ได้คุยกันเสียงจริงวันนี้..เวทีพลังเยาวชนเดือนตค.นะคะ..

ตามมาอ่านตอนที่สอง

คิ้วยังขมวดอยู่ครับ

สวัสดีค่ะ

หนูก็เป็นเเกนนำเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ

ที่โรงเรียนให้ถอดบทเรียน

ชอบมากค่ะ

ได้ความรู้มากมายเลย

แวะมาเยี่ยมเยียนโรงเรียนนู๋บ้างนะคะ

รร.ลาซาลจันทบุรี(มารดาพิทักษ์)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท