คู่มือเสริมศักยภาพ..นักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง (๓)


ความสำเร็จของทุกเรื่องในชีวิต มีหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ประกอบอยู่ในนั้น
 
   

                         

 

                                

      ตอนที่สามของ คู่มือเสริมศักยภาพ..นักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง ที่รร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรีจัดทำโดย สรส. ด้วยการสนับสนุนของ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ต่อจากตอนที่สองใน weblink:

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/297470

 

 สรุปประโยชน์จากกิจกรรมฝึกถอดความรู้จากสิ่งรอบตัว

     -- ความสำเร็จของทุกเรื่องในชีวิต มีหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ประกอบอยู่ในนั้น 

     -- กรณีนำไปใช้กับนักเรียน ให้ฝึกถอดความรู้ที่เชื่อมโยงกันทั้ง ๓ ประเด็น (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนแห่งคุณธรรมนำความรู้) สามารถบอกคุณค่าได้ เรียนรู้เป็นเชิงระบบ ไม่ติดคำหรือภาษามากเกินไป

     -- เครื่องมือสำหรับสร้างความรู้ของมนุษย์ อยู่ที่ตัวเราเองทุกคน สิ่งที่ขาดคือ รู้จักการใช้เครื่องมือเรียนรู้ที่เหมาะสม บางคนเชื่อมโยงเก่ง เพราะมีทักษะการคิดเชื่อมโยงได้ทะลุตลอด บางคนมีอุปสรรค คือยึดติดอยู่กับร่องความเคยชินเดิมๆของตน จึงต้องแซะหาร่องใหม่ๆขึ้นมา เพื่อสร้างการพัฒนาจุดอ่อนให้แข็งแกร่งขึ้น

    แนวทางการทำงานในเชิงบูรณาการ ๘ สาระวิชาการเรียนการสอนกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของทีมงานครู เพื่อเพิ่มศักยภาพนักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง

     -- เลือกนักเรียนแกนนำที่มีแววในการเขียน หรือตามกลุ่มสาระวิชา เพื่อวางแผนร่วมกันในการทดลองปฏิบัติงานวิจัยอย่างง่ายๆ เพื่อทำ "วิจัยในวิถี" โดยสรุปประเด็นมาคุยกันเป็นระยะ

    -- ครูเขียนความคาดหวังและตัวชี้วัดเบื้องต้นของนักเรียนแกนนำกลุ่มนี้ และชวนคุย เพื่อให้มีความเห็นร่วมกัน ทั้งวิธีคิด วิธีทำ และผลคามที่คาดหวัง โดยเริ่มจากจุดเล็กๆที่สามารถ สัมผัสผลได้

    -- เมื่อเริ่งลงมือทำตามแผนที่วางไว้แล้ว ให้จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน อย่าก้าวกระโดด ซึ่งจากผลของการแลกเปลี่ยนที่สะท้อนความสามารถในการถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง เป็น การวิจัยโดยพฤตินัย ที่จะทำให้เกิดความมั่นใจในการทำวิจัยเชิงกระบวนการ จาก การวิจัยเชิงประจักษ์ ง่ายต่อการเสริมคุณภาพและมาตรฐาน อย่างยั่งยืน...

         

หมายเลขบันทึก: 297891เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

อ้าว...

มีถึงตอนที่สามแล้ว ตอนหนึ่ง สอง หายไปไหนเนี่ย...

ออกเดินทางไปตามหาก่อนนะครับ

เดี๋ยวกลับมาอ่าน

สวัสดี ครับ คุณนงนาท

ตามคุณหนานเกียรติ มาครับ

มาสวัสดี คุณนงนาทก่อนกลับบ้าน ครับ

 

ตามมาอ่านตอนจบครับ

อยากรู้จังเลยครับพี่ว่ากิจกรรมที่ไปประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนคืออะไร

.

ชอบจังครับ "วิจัยในวิถี"

ผมมีโอกาสได้เรียนวิจัยกับครูท่านนึง

ท่านบอกว่าอย่าเป็นนักวิจัยแค่ตอนทำวิจัย แต่ให้เป็นตลอดเวลา น่าจะมีความหมายเดียวกันหรือไม่ก็ใกล้เคียง

มีโอกาสจะขยายเรื่องนี้ลงในบันทึกของผมครับ

  • น่าสนใจมากๆๆ
  • ถ้ามีโอกาสให้นักเรียนทำงานวิจัยง่ายๆเรื่องที่เขาอยากรู้
  • จะสนุกมากๆๆครับ
  • เลือกนักเรียนแกนนำที่มีแววในการเขียน หรือตามกลุ่มสาระวิชา เพื่อวางแผนร่วมกันในการทดลองปฏิบัติงานวิจัยอย่างง่ายๆ เพื่อทำ "วิจัยในวิถี" โดยสรุปประเด็นมาคุยกันเป็นระยะ

ขอบคุณค่ะ คุณหนานเกียรติ ที่ตามมาอ่าน ๓ ตอนจบ ..

 * การประยุกต์ใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนที่เราไปขับเคลื่อนฯ แทรกอยู่ในทุกระดับของกิจกรรมในโรงเรียน โดยผ่านจิตสำนึกจากการวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตของ ผอ. คณะครู นักเรียน ตั้งแต่การบริหารสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การปลูกฝังพฤติกรรมพอเพียงของนักเรียน ตามตัวอย่างที่พี่เล่าใน blog ที่อ้างถึงค่ะ..หากมีเวลาว่าง อยากให้คุณหนานเกียรติ ผ่านไปเยี่ยมโรงเรียนแกนนำของเรานะคะ..

* สิ่งที่อยากให้เกิดความยั่งยืน คือ เมื่อนักเรียนออกจาก รร.ไปแล้ว พวกเขาจะยังคงปรับใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู้ชีวิตในวันข้างหน้าอย่างมีความสุข เป็นแบบอย่างของบุคคลอื่นๆในสังคมต่อไป...

คุณแสงแห่งความดี ที่แวะมาเยี่ยม

อ.ขจิต ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ รอ รร.เล่ากลับมาค่ะ...

เข้ามาอ่านเหมือนกันค่ะ เพราะปีนี้ ต้องจัดกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเป้าหมายเยอะมาก

"เครื่องมือสำหรับสร้างความรู้ของมนุษย์อยู่ที่ตัวเราเองทุกคน บางคนมีอุปสรรค คือยึดติดอยู่กับร่องความเคยชินเดิม ๆ ของตน จึงต้องแซะหาร่องใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างการพัฒนาจุดอ่อนให้แข็งแกร่งขึ้น"

...กำลังแซะหาร่องรอยใหม่ ๆ อยู่เหมือนกันค่ะ...เพื่อจะได้เติมความรู้ใหม่ ๆ เข้าไปผสมผสานกับของเก่าที่มีอยู่น้อยนิด...จะได้แกร่งขึ้นดังท่านว่าเจ้าค่ะ...ขอบคุณมากค่ะ พี่นงนาท บทความดี ๆ มีมาให้อ่าน...

คุณนันทยา ขอให้สำเร็จด้วยดีค่ะ

คุณ Vij ถ่อมตัวอีกแล้วนะคะคนงาม

พี่ครับ

ผมหาบันทึกเกี่ยวกับค่ายดนตรีที่เคยเกริ่นไว้แล้วครับ

อยู่ที่ สุดยอดค่ายดนตรี

สวัสดีค่ะ คุณนงนาท

เข้ามาเยี่ยมชม

แบบสบายๆค่ะ

  • นักเรียนที่พูดเก่งหรือเขียนเก่งมักจะมีระบบความเชื่อมโยงทางความคิดดีค่ะ  ผลสรุปกิจกรรมที่ออกมาเยี่ยมมากเลยค่ะ

ครูอรวรรณ ที่มาเยี่ยมอ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท