ถอดบทเรียนกลุ่ม"ดังลมหายใจ" : (๒) บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน


" ความทุกข์สุขของชีวิต และการเห็นอกเห็นใจกันของผู้คน จะคิดและเข้าใจเอาด้วยความรู้ไม่ได้ ทว่าต้องรู้จักการใช้ชีวิต และเรียนรู้ออกมาจากหัวใจ เพื่อหยั่งชัวิตกับผู้อื่น ด้วย ใจเขาใจเรา และเมื่อผู้คนต่างมีชีวิตจิตใจเป็นพื้นฐานเหมือนกันทุกชาติ ทุกภาษา การรู้จักชีวิต และรู้ทุกข์สุขของชีวิตจากก้นบึ้งหัวใจ จะทำให้ผู้คนเข้าใจและเห็นใจกัน โดยสื่อตรงจากใจถึงใจ"

 

 

 

 

 

 

 

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/294088

  

   หลายบทหลายตอนที่ปรากฏในบันทึกของ blog "ดังลมหายใจ" ชี้ให้เห็นถึงจิตสำนึกของบุคคลและชุมชน ที่ร้อยรัดความรัก ความผูกพัน ด้วยวิถีของความเป็นครอบครัว การทำมาหากินแบบดั้งเดิม ขนบประเพณีและวัฒนธรรมที่มิได้เป็นไปในเชิงเดี่ยวแบบต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างเอาตัวรอด หากแต่ร่วมกันอย่างสมานสามัคคีกลมเกลียวอย่างเป็นธรรมชาติ สร้างพื้นฐานที่มั่นคงแก่ชุมชน เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาต่อไป ดังที่สะท้อนให้เห็นเป็นแบบอย่างดังนี้ :

 

๑. การสันถวะนอบน้อมต่อกัน และความคุ้นเคยกันดังญาติ ที่ถือได้ว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างแท้จริงของสังคมมนุษย์

http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/294088

 

  กล่าวโดยนัยนี้ คือการมีใจที่โน้มใจเข้าหากัน ด้วยเมตตาธรรม ละความเป็นตัวตน ปลอดจากกิเลสแห่งการถือประโยชน์ตนและพวกพ้องเป็นที่ตั้ง

 

 

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/292286

 

๒.การทำกินทำอยู่ เรียนรู้พอเพียง โดยเฉพาะอาชีพหลัก คือ การทำนา ที่มีความหมายต่อชีวิตมากกว่า เป็นงานที่หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ที่เผชิญกับภาวะไม่แน่นอนของฤดูกาล และการมีหนี้สินซ้ำซาก

 

 ..หากแต่เป็น " การดำรงชีวิตอยู่กับงาน และการผลิต มีวิชาชีวิตและหลักปฏิบัติต่างๆมากมาย เป็นระบบคิดที่วางอยู่บนคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการปรับตนเองให้สอดคล้อง กลมกลืนไปกับธรรมชาติ"

http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/292286 

 

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/290158

 

๓. จิตสาธารณะในหมู่คนยากจน ที่ปลูกฝังมาจากการประสบกับความเดือดร้อนและเกิดความทุกข์ยากในชีวิต ทำให้ชาวบ้านรู้สึกไวต่อความทุกข์ร้อนของผู้อื่นได้ดี จึงเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ให้โอกาสทางเลือกในการแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง

 

    บทเรียนที่สัมผัสได้คือ "ชาวบ้านมักให้สิ่งต่างๆแก่ผู้อื่น ที่ดีกว่าตนเองกินและใช้ หรืออย่างน้อย ก็ให้เสมอกันที่ตนมี และเป็นตลาดแลกเปลี่ยนกันด้วยสิ่งของ ซึ่งกำหนดด้วยคุณค่าทางจิตใจ มากกว่าเป็นเงินทองและผลกำไร "

 

" ความทุกข์สุขของชีวิต และการเห็นอกเห็นใจกันของผู้คน จะคิดและเข้าใจเอาด้วยความรู้ไม่ได้ ทว่าต้องรู้จักการใช้ชีวิต และเรียนรู้ออกมาจากหัวใจ เพื่อหยั่งชีวิตกับผู้อื่น ด้วย ใจเขาใจเรา และเมื่อผู้คนต่างมีชีวิตจิตใจเป็นพื้นฐานเหมือนกันทุกชาติ ทุกภาษา การรู้จักชีวิต และรู้ทุกข์สุขของชีวิตจากก้นบึ้งหัวใจ จะทำให้ผู้คนเข้าใจและเห็นใจกัน โดยสื่อตรงจากใจถึงใจ"

 

"คนยากจน มักจะมีน้ำใจและความมีจิตสาธารณะเป็นสิ่งทดแทน ทำให้มีวิธีสร้างสรรค์ชีวิตส่วนรวมด้วยกันให้ดีขึ้นได้"

http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/290158

 

 

หมายเลขบันทึก: 433316เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • ขอเป็นแรกนะคะมาเรียนรู้ก่อนที่ไปเพิ่มบันทึกใหม่ ของ" กลุ่มฅนปลูกผักกินได้ "  พี่ใหญ่ขาเล่าที่มาของกลุ่มให้ฟังทีคะ

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

  • เป็นบทสรุปที่เป็นจริง  อิงจันทร์ขอยกมือสนับสนุนข้อความนี้ค่ะ
  • เพราะครูอิงก็คือชาวบ้านคนนึง ทุกครั้งที่จะให้อะไรใคร ต้องเลือกที่ดี ๆ ไม่มีตำหนิให้เขา
  • ตัวเองอย่างไรก็ได้

"ชาวบ้านมักให้สิ่งต่างๆแก่ผู้อื่น ที่ดีกว่าตนเองกินและใช้ หรืออย่างน้อย ก็ให้เสมอกันที่ตนมี

คุณอุ้มบุญ ขอบคุณดอกไม้เป็นกำลังใจแก่บันทึกนี้ค่ะ..พี่มีความประทับใจเนื้อหาที่ถอดบทเรียนหัวข้อนี้มากๆ...คนจน-คนมั่งมี..ความสุขอยู่ที่ใจ ถึงใจ มากกว่าความรู้และเงินตรา..

...อื้อฮือ !! น้องสาวพี่แอ๊คทีฟจริงๆ..ขอชื่นชมค่ะ..ขอเฉลยเรื่องที่มาของกลุ่มนี้

..กลุ่ม "ดังลมหายใจ" นั้น เริ่มที่ คุณแสงแห่งความดี เธอเสนอหัวข้อนี้ และเปิดให้ผู้สนใจสมัครเข้ามา..

.. น้องมะปรางเห็นว่ากิจกรรมนี้เงียบจัง..จึงเข้ามาเยี่ยมชวนพี่ใหญ่ไปร่วมวงด้วย ซึ่งได้รีบตอบรับทันที เพราะแสดงว่าเธอไว้วางใจ..อีกทั้งพี่ได้อ่าน blog ของผศ.ดร.วิรัตน์ ทุกเรื่องด้วยความประทับใจ..นอกจากนี้ แอบอยากได้เสื้อ G2K version ใหม่ที่ท่านเขียนลายสวยๆที่จะแจกสมาชิกกิจกรรมนี้ด้วย..

.. คุณแสงแห่งความดี ต้อนรับขับสู้ด้วยดี พร้อมกับไว้วานให้พี่ใหญ่ช่วยเป็นแกนหลักในการถอดบทเรียนและประสานงานกลุ่ม เพราะเธอเกิดมีกิจจำเป็นในช่วงนี้

.. พี่ใหญ่จึงไม่รอช้า รีบเข้าไปค้นรายชื่อขาประจำใน blog ดังลมหายใจ..พบว่า มี ๔รายที่น่าสนใจ..ไปชักชวนถึงบ้านทางon-line..วิ่งตามพี่มา ๓ ราย คือ คุณณัฐรดา คุณณัฐพัชร์ และ คุณครูอ้อยเล็ก ..เรื่องเราวป็นมาดังนี้แลค่ะ..

คุณอิงจันทร์ ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกของกลุ่ม "ดังลมหายใจ"

..ดีใจค่ะที่ได้ดึงประโยคดีๆเช่นนี้มาชื่นชม..ผศ.ดร.วิรัตน์ ท่านชวนเราสัมผัสแง่มุมชีวิตงามๆที่หลายคนอาจมองข้ามไป ทั้งๆที่เป็นคุณธรรมที่มีอยู่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ควรยึดเป็นแบบอย่างนะคะ

คุณคนไม่มีราก / คุณณัฐพัชร์

 ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกถอดบทเรียนของ "กลุ่มดังลมหายใจ"..ได้มีโอกาสสกัดบทเรียนของ blog นี้ทาง on-line แล้ว เป็นโอกาสที่ดีจริงๆค่ะ..ต้องขอบคุณ น้องมะปราง ที่ชวนมาทำกิจกรรมนี้..

  • สวัสดีค่ะ พี่ใหญ่Ico48
  • แวะมาอ่านเรื่องราวดี ๆ บทเรียนชีวิตจากคนจน
    ความมีน้ำใจยิ่งใหญ่ที่สัมผัสคราวใดประทับใจเสมอ
  • ดูแลรักษาสุขภาพนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ใหญ่

กิจกรรมนี้ แอบลุ้นอยู่มากๆ ว่าจะเป็นอย่างไร ต้องขอขอบคุณพี่ใหญ่ด้วยนะคะ ที่ได้กรุณาเข้าร่วมกิจกรรมนี้ค่ะ ^_^

และหนูกำลังคิดเพิ่มเติมว่า หลังจากจัดกิจกรรมเสร็จ จะให้ทุกท่านได้ร่วมคุยกันในบันทึกว่ากิจกรรมนี้เป็นอย่างไรบ้าง จะได้เป็นการร่วมด้วยช่วยกันประเมินรูปแบบกิจกรรมด้วยนะคะ

นอกจากนี้ สำหรับรายละเอียดของบันทึกนี้ รบกวนพี่ใหญ่แจ้งลิงก์บันทึกที่นำเนื้อหามาสรุปประเด็นและแจ้งลิงก์ต้นทางของภาพที่นำมาสักนิดนึงนะคะ

ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ ^___^

คุณธรรมทิพย์ ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกถอดบทเรียนของกลุ่ม "ดังลมหายใจ"..ที่ช่วยให้ซึมซับประสบการณ์ในชีวิตจริงอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมากนะคะ..

น้องมะปราง ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้แก่บันทึกถอดบทเรียนของกลุ่ม "ดังลมหายใจ"..หวังว่าจะเป็นการสนับสนุนกิจกรรมนี้ของ น้องมะปรางได้ดังที่คาดหวังไว้บ้าง ไม่มากก็น้อย..พี่เชื่อว่า พวกเราได้พยายามกันเต็มที่..อดใจรออีกนิดหนึ่ง..รอคุณครูอ้อยเล็ก (กำลังเติมบันทึกของเธอให้สมบูรณ์) คุณณัฐพัชร์ และประเด็นสุดท้ายของ พี่ใหญ่ ค่ะ..

...ตามที่แนะนำเรื่อง แจ้ง link ภาพและบันทึกต้นเรื่องของบทเรียนนี้..ได้ปรับปรุงแล้ว..พี่ตั้งใจจะใส่ไว้เช่นกัน..แต่ลืมจนได้..ขอบคุณที่เข้ามาให้ความเห็นค่ะ

คุณmee_pole ขอบคุณดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกถอดบทเรียนของกลุ่ม "ดังลมหายใจ"..นับเป็นกิจกรรมที่ดีจริงๆค่ะ..เสร็จจากกลุ่มนี้..จะได้ไปร่วมกลุ่มคนปลูกผักกินได้ ค่ะ

เข้ามาศึกษาวิธีการรวมกลุ่มในวันสุดท้ายค่ะ 

ยังไม่มีกลุ่มเลยสนใจและติดตามงานของอาจารย์วิรัตน์ตลอดมา 

 ชอบฝีมือเขียนภาพของอาจารย์ด้วย และขอบคุณที่พี่ใหญ่ที่แนะนำสิ่งดีๆค่ะ

คุณKRUDALA ขอบคุณมากค่ะดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกถอดบทเรียนของกลุ่ม "ดังลมหายใจ"..ที่สมาชิกได้ช่วยกันสกัดจากมุมมองที่น่าสนใจของแต่ละคน..

...หากสนใจจะร่วมกับกลุ่มนี้ ยังเปิดต้อนรับค่ะ..แสดงตนที่ blog น้องมะปราง และแจ้งให้ทราบด้วยว่า จะร่วมถอดบทเรียนในประเด็นใด ? หรือเสนอประเด็นใด? นะคะ..

พี่ใหญ่คะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ สำหรับเรื่องลิงก์ พอดีหนูเองก็อยากกลับไปดูบันทึกต้นทางจากการอ่าน ก็เลยแจ้งให้พี่ใหญ่ทราบ คาดว่าคงจะลืมใส่นะค่ะ ^_^

ดีใจที่พี่ใหญ่มาร่วมกิจกรรมนี้นะค่ะ

น้องมะปราง ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาอีกรอบหนึ่ง..พี่ใหญ่เพิ่งถอดบทเรียนประเด็น ที่ ๖.ความคาดหวังต่อการรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของสถาบันครอบครัวสู่สังคม

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/433705?refresh_cache=true

..ต่อจากนี้จะได้เข้าร่วมใน กลุ่มคนปลูกผักกินได้ ..คงจะเริ่ม post ต้นสัปดาห์หน้าค่ะ

น้องอ่านข้อเม้นท์ของพี่ใหญ่แล้วเกิดความรู้สึกประทับใจในความละเอียดของพี่ใหญ่ที่เขียนบันทึกด้วยความรู้สุข อีกทั้งยังเอื้อารีต่อสมาชิกช่วยเน้นสีถ้อยคำสำคัญให้ชวนมองชวนอ่านอีกด้วย ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่

คุณkrutoiting ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้ที่มอบแก่บันทึกถอดบทเรียน กลุ่มดังลมหายใจ ที่สมาชิกของเราช่วยกันนำแง่มุมดีๆมา ลปรร.กันเช่นนี้ค่ะ..

..ต้องถือได้ว่า ผศ.ดร.วิรัตน์ ท่านเล่าประสบการณ์ของครอบครัวที่สะท้อนความผูกพันในชีวิตที่มีต่อกันและต่อชุมชน ที่เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งควรรักษาและพัฒนาต่อไปนะคะ..

..ดีใจที่ คุณkrutoiting มาร่วมวงถอดบทเรียนกับกลุ่มของเรา พี่ใหญ่เข้าไปอ่านแล้ว..ได้มุมมองร่วมสมัยที่น่าสนใจมากค่ะ..

.. พี่ได้ทราบว่า น้องมะปราง ได้สอบถามให้ชัดเจนว่า บันทึกของ คุณkrutoitingจะจัดไว้ในประเด็นใด ?..กลุ่มเราตั้งไว้ ๖ ประเด็นค่ะ..ลองเลือกดู และตอบที่ น้องมะปรางนะคะ..เธอจะได้ post ลงที่กลุ่มค่ะ..

คุณแสงแห่งความดี ขอบคุณสำหรับดอกไม้ที่มอบให้แก่บันทึกของ กลุ่มดังลมหายใจ ที่พวกเราได้ช่วยกันถ่ายทอดเป็นบทเรียนตามที่สัมผัสได้..หวังว่าเราจะได้ร่วมกิจกรรมดีๆเช่นนี้อีกนะคะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท