วิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวร (2552-2556) (1/2)


“สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย และการเป็นหนึ่งในสิบมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศไทยภายในปี 2556”

วิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวร (2552-2556)

“สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย
และการเป็นหนึ่งในสิบมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศไทยภายในปี 2556”

 

                              เนื้อหา (คลิกแต่ละหัวข้อ เพื่ออ่านรายละเอียด)


                              1. ความเชื่อและปณิธานความมุ่งมั่น
                              2. วิสัยทัศน์และการขับเคลื่อน
                              3. พันธกิจหลัก
                              4. ค่านิยมร่วม
                              5. การวิจัยและบัณฑิตศึกษาที่เป็นเลิศ
                              6. การผลิตบัณฑิตผู้นำ
                              7. การร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชน
                              8. การจัดทำแผนและการประเมินผล
                              9. เป้าหมายเชิงยุทธวิธี

 

เอกสารแจกเพื่อแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 17/2551 วันพุธที่ 15 ตุลาคม 2551
ณ ห้องประชุมนเรศวร 6 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

เอกสารประกอบการเสวนาเรื่อง “การจัดการความรู้ : ประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยนเรศวร”
ณ  ชั้น 2 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน  2551

โดย ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ
รักษาการในตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยนเรศวร

(ฉบับวันที่ 15 ตุลาคม 2551)

...................................................................................................................

NU 2556 : (1) ความเชื่อและปณิธานความมุ่งมั่น

         วิสัยทัศน์ และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับนี้เขียนขึ้นมา “มิใช่” เกิดจากความอยากหรือต้องการที่จะเป็น “ผู้นำ” หรือต้องการที่จะเป็นคู่แข่งกับใครคนใดคนหนึ่งทั้งสิ้น

         แต่เขียนขึ้นมาในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อทำหน้าที่สมาชิกที่ดีของชาวมหาวิทยาลัยนเรศวรผู้หนึ่งที่ต้องการเห็นมหาวิทยาลัยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นประโยชน์กับสังคม โดยการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่า “ผู้นำ” และ “แนวทาง” ของมหาวิทยาลัยใน 4 ปีข้างหน้าควรจะเป็นไปในลักษณะใด และขอเน้นว่าเท่าที่เวลาและสติปัญญาจะมี และด้วยเจตนาและปรารถนาดีกับมหาวิทยาลัยโดยแท้จริง

         และที่สำคัญที่ระวังอย่างยิ่งคือไม่ต้องการให้ใครก็ตามได้รับความเสียหายจากการแสดงความคิดเห็นนี้ ในขณะเดียวกันก็ไม่หวงห้ามที่ใครจะเห็นดีเห็นงามกับความคิดเหล่านี้ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วนแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนามหาวิทยาลัย

         วิสัยทัศน์ และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับนี้เกิดขึ้นเพราะความเชื่ออย่างปักใจมั่นว่า “สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย และการเป็นหนึ่งในสิบมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศไทย” สามารถเกิดขึ้นได้จริงและไม่ยากในมหาวิทยาลัยนเรศวร ภายในปี 2556

         ความเชื่อและปณิธานดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นอย่างเลื่อนลอย แต่มาจากผลสำเร็จที่เกิดจาการลงมือปฏิบัติจริงมาระยะหนึ่งแล้ว และผลการประเมินจากภายในรวมทั้งภายนอกก็ยืนยันในความเชื่อดังกล่าว นอกจากนี้ การประเมินยังบอกด้วยว่าเรามีจุดแข็งและจุดอ่อนอยู่ตรงไหน อะไรควรทำอะไรมิควรทำในระยะต่อไป

         ความสำเร็จดังกล่าวยังมิถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่ยั่งยืน หรือว่าเกิดขึ้นแล้วในทุกภาคส่วนขององค์กร เพียงแต่ว่าเป็นนความสำเร็จเบื้องต้น (pilot study) ที่รอการขยายให้เกิดผลในระดับ “เป็นเลิศทั่วทั้งองค์กร” ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น

         และปัจจัยของความสำเร็จอย่างยิ่งยวดก็คือ “ผู้นำที่มีลักษณะเอื้ออำนาจ (empowerment)” และ “ต้องไม่ใช่ผู้นำที่ชอบใช้อำนาจ (command and control)”

         ประชาคมชาวมหาวิทยาลัยนเรศวรจะรู้ดีว่าเขาทำงานร่วมกับใครแล้วมีความสุขและใครที่ “รู้จริง ทำได้” โดยดูได้จากผลงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา

         ประชาคมชาวมหาวิทยาลัยนเรศวรจะรู้ดีเช่นกันว่าใครทำเพื่อส่วนรวมและใครทำเพื่อตัวเอง

         สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงทราบดีว่าใครสมควรจะมาทำหน้าที่ผู้ทำการสรรค์สร้างมหาวิทยาลัยและสังคมไทยในยุคต่อไป

............................................................................................................ (กลับด้านบน)

 
NU 2556 : (2) วิสัยทัศน์และการขับเคลื่อน

         ภาพรวมแนวคิดในเรื่องของคน เครื่องมือ วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน และการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้บรรลุซึ่งพันธกิจและวิสัยทัศน์ ดังแสดงในภาพ

 

         • NU ที่ให้ความสำคัญ ให้คุณค่าและเชื่อมั่นใน “คน” ของตนเอง คือ NU ที่สามารถจะบรรลุซึ่งพันธกิจและวิสัยทัศน์ได้ในทุกเรื่อง

         • ดังนั้น จึงต้องมีการ Coaching “คน” ของ NU ในทุกระดับให้สามารถใช้ “เครื่องมือ (tools)” ที่ทรงพลัง เช่น KM, RM, GS, OM และ QA ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาตนเอง งานและองค์กรให้เกิด “งานได้ผล คนเป็นสุข” และที่สำคัญคือมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization, LO)

         • Coaching เน้นที่การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย (Practical)

         • สภามหาวิทยาลัย คือ “แม่แบบ” (มิใช่ “แม่ปู”) ที่จะเป็นตัวอย่างด้าน “ธรรมาภิบาลแบบมีส่วนร่วม” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดต่อความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร

         • ผู้บริหาร ต้องทำหน้าที่หลักเป็น “คุณเอื้อ” (ที่ต้องมิใช่ “คุณอำนาจ”) คอยกำหนดทิศทางและเอื้อปัจจัยเกื้อหนุนไม่ว่าจะเป็น คน เงิน เครื่องมือ และแรงจูงใจ  (4 M’s) อย่างต่อเนื่อง

         • อาจารย์และนิสิต คือ หัวใจของการจัดการศึกษา (education) ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือผู้เรียนเป็นสำคัญ

         • เจ้าหน้าที่คือกองหนุนและคนสำคัญที่จะทำให้ทุกภารกิจสำเร็จลุล่วงด้วยดีและราบรื่น

         • ศิษย์เก่าคือ feedback และผู้ที่ทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

โดยสรุป :

         • เรื่อง “คน” เน้นที่การสร้างวัฒนธรรม “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” และต้องไม่ใช่วัฒนธรรม “ด้านได้อายอด”

         • เรื่อง “เครื่องมือ” เน้นที่การสร้างวัฒนธรรม “เรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement, CQI)”  ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการดำรงอยู่ได้ด้วยดีขององค์กร ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา

         • KM จะเป็นเครื่องมือสำคัญและเครื่องมือหลักที่ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน (mutual trust) เกิดพลังสามัคคี จนกระทั่งเกิด “สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย” ในที่สุด

         • RM  และ GS จะเป็นเครื่องมือสำคัญและเครื่องมือหลักที่ทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงเป็น “Top ten research university” ของประเทศ และเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวสู่การเป็น world class university ในลำดับถัดไป

         • OM และ QA จะเป็นเครื่องมือสำคัญและเครื่องมือหลักในการจัดทำแผนและการติดตามประเมินผล ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจในความก้าวหน้าและกระตุ้นให้มีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง (CQI)

............................................................................................................ (กลับด้านบน)

 NU 2556 : (3) พันธกิจหลัก

 

         ความมีชื่อเสียง (reputation) และการเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการของมหาวิทยาลัยจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จใน 3 พันธกิจหลัก (REC missions) ต่อไปนี้

         1. Research : การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและใช้ประโยชน์ได้จริง

         2. Education : การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้

         3. Community : การร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชนในการพัฒนาประเทศ

         ดังนั้น ทรัพยากรทั้งหมด (4 M’s) ของมหาวิทยาลัยรวมทั้งแรงกายและแรงใจจะถูกทุ่มเทและนำไปใช้ในการพัฒนาทั้ง 3 เรื่องนี้ให้เกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

............................................................................................................ (กลับด้านบน)

NU 2556 : (4) ค่านิยมร่วม

 

         ค่านิยมร่วม (core values) ที่จะปลูกฝังร่วมกันทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน (mutual trust) และเกิดพลังสามัคคีในองค์กรมี 8 ประการ คือ

         1. Naresuan spirit : จิตวิญญาณนเรศวร เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ เพื่อบ้านเมือง

         2. Competence : ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีความสามารถสูงเป็นอันดับแรกก่อนเสมอ

         3. Freedom : มีเสรีภาพที่จะคิดที่จะทำงานให้เป็นเลิศ

         4. Fairness : มีความถูกต้องและยุติธรรมอยู่ในหัวใจตลอดเวลา

         5. Kindness : รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยให้ถือเป็น “สิทธิ” ของผู้ที่อ่อนแอกว่าที่จะได้รับความช่วยเหลือ และเป็น “หน้าที่” ของผู้ที่เข้มแข็งกว่าที่จะต้องให้การช่วยเหลือ

         6. Team work : รู้จักเรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็นทีม

         7. Shared vision : มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน

         8. Local and Global spirit : ยึดคติ “องค์ความรู้ที่ผลิตและที่ใช้เป็นระดับสากล ส่วนจิตวิญญาณอยู่ที่การรับใช้ชุมชนและสังคมไทย”

 

............................................................................................................ (กลับด้านบน)

 NU 2556 : (5) การวิจัยและบัณฑิตศึกษาที่เป็นเลิศ

 

         • ภายในปี 2556 มหาวิทยาลัยนเรศวรจะเป็น Top ten research university ของประเทศไทย และมีความพร้อมที่ก้าวสู่การเป็น world class university ในลำดับถัดไป

         • IRDA (สถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา) จะเป็นหัวหอกในการบริหารจัดการงานวิจัยทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งการบริหารกองทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยเช่นที่เคยทำมาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว

         • บัณฑิตวิทยาลัยจะเป็นหัวหอกในการบริหารจัดการบัณฑิตศึกษาอย่างครบวงจรตั้งแต่รับนิสิตเข้ามาจนจบออกไปเป็นมหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต และศิษย์เก่า

         • IRDA และบัณฑิตวิทยาลัยจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการเสริมพลังซึ่งกันและกัน (synergy) ในการขับเคลื่อนสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย และนี่คือหัวใจสำคัญของการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรในช่วงเวลานี้

         • ยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนคือ 6 ยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคยใช้ได้ผลมาระดับหนึ่งแล้วในช่วงปี 2547-2550 (แผนวิจัย ฉบับที่ 1)

         • นอกจากนี้ยังมียุทธศาสตร์เสริมอีก 3 ยุทธศาสตร์ในช่วงปี 2551-2554 (แผนวิจัย ฉบับที่ 2) ดังแสดงเปรียบเทียบในตาราง 

 

โดยสรุป :

         จุดที่จะได้รับการทุ่มเทอย่างมากในช่วงนี้มี 6 เรื่องตามลำดับความสำคัญ คือ

         1. เชื่อมโยงเพื่อให้เกิดพลังเสริมซึ่งกันและกันระหว่างงานวิจัยและงานบัณฑิตศึกษา โดยมีรองอธิการบดีด้าน “การวิจัยและบัณฑิตศึกษา” ดูแลรับผิดชอบ

         2. ดำเนินการเรื่อง Virtual excellence center ให้เป็นรูปธรรม

         3. เชื่อมโยงระหว่างการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการเน้นให้ทุกคนคิดและทำโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (research-based activity)

         4. เสริมสร้างเครือข่ายวิจัย (research network) ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

         5. เสริมสร้างศักยภาพของ “นักวิจัย” ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นรวมทั้งการสร้างนักวิจัยหน้าใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย

         6. สานต่อการพัฒนา “ผู้บริหารงานวิจัย” ให้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและมีจำนวนมากเพียงพอกับการพัฒนางาน

 

............................................................................................................ (กลับด้านบน)

อ่าน  เนื้อหาด้านล่าง (วิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวร (2552-2556) (2/2)

                              6. การผลิตบัณฑิตผู้นำ
                              7. การร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชน
                              8. การจัดทำแผนและการประเมินผล
                              9. เป้าหมายเชิงยุทธวิธี

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 216743เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ใจเต้นระทึกขณะที่อ่านไปตามทุกตัวอักษร เกิดพลัง และความหวังอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน

ขอบคุณอาจารย์วิบูลย์มากค่ะ

อยากเห็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเช่นนี้มานานแล้วค่ะ ชัดเจนมากๆ เลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์วิบูลย์ด้วยอีกคนค่ะ

ขอบคุณอ.วิบูลย์มากค่ะ ที่สรุปให้พวกเราฟังมองเห็นภาพชัดเจนมากค่ะ

ท่านก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีจิตใจที่จะสร้างองค์กรให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับองค์กรอื่นๆอย่างแท้จริง จริงใจกับองค์กร และมีแนวคิดที่น่านำไปใช้ ที่ท่านเป็นอีก1ตัวอย่างที่น่ากระทำตามและเป็นบุคคลที่น่ายกย่อง คนดีดีแบบท่านฟ้าเห็นดินเห็น ขอแสดงความนับถืออย่างแรง

(แต่กลับมีอีกฝ่ายที่ไม่คิดทำให้ดี แถมทำให้แย่ลง ปิดบังซ่อนเล้น)

**((ตรงไป ตรงมา โปร่งใส ตรวจสอบได้เป้นเพียงนโยบายบังหน้าที่หลอกลวง สำหรับกลุ่มคนที่เรียกว่าคน แต่ไม่ใช่คน คนจำพวกนี้มีมากในสังคมจนกลืนคนดีมีความรู้ ความสามารถไปหมด เอื้อผลประโยชน์ ปิดกั้นคนดี ))**

  • มาเชียร์ ท่าน วิบูลย์ ครับ
  • ไม่ใช่ธรรมดา แปดปี ของงานบริหาร มน ด้วยการประเมิน เพื่อพัฒนา
  • ผนวก Research+QA+KM เยี่ยมยุทธ จริงๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท