วิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวร (2552-2556) (2/2)


“สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย และการเป็นหนึ่งในสิบมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศไทยภายในปี 2556”

อ่าน เนื้อหา (วิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวร (2552-2556) (1/2)

            6. การผลิตบัณฑิตผู้นำ
            7. การร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชน
            8. การจัดทำแผนและการประเมินผล
            9. เป้าหมายเชิงยุทธวิธี

 ...................................................................................................................

 
NU 2556 : (6) การผลิตบัณฑิตผู้นำ

 

         • นิสิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรทุกคนจะต้องได้รับการปลูกฝังค่านิยมร่วม (core values) ของมหาวิทยาลัยจนขึ้นใจ เพื่อจะได้จบออกไปเป็นบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตที่ทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย โดยมีลักษณะเด่นของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ประการดังนี้

         1. เป็นคนที่เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
         2. มีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล ไม่ถูกหลอก และไม่หลงงมงาย
         3. มีทักษะในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
         4. มีทักษะในการสื่อสารกับคนทุกระดับ
         5. มีทักษะในการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีความสุข

         • เครื่องมือ (tools) สำคัญที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนิสิตคือ “การวิจัย” และ “การจัดการความรู้”  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญพร้อมๆ กับการให้การศึกษาลักษณะ Innovation-based education (เน้นสร้างองค์ความรู้ มิใช่บริโภคความรู้เพียงอย่างเดียว)

         • บัณฑิตศึกษาแผน ก. เน้นการใช้ “วิจัย” เป็นเครื่องมือหลักในการให้การศึกษา ส่วนแผน ข. เน้นการใช้ “การจัดการความรู้ (Tacit to Tacit, T2T)” เป็นเครื่องมือหลัก

         • จัดให้มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบด้านการจัดการศึกษา “ระดับปริญญาตรี” และ “ระดับบัณฑิตศึกษา” อย่างชัดเจน

         • นิสิตระดับปริญญาตรีจะได้รับการดูแลอย่างดีจากรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ตั้งแต่รับเข้าจนจบและเป็นศิษย์เก่า โดยมีกองบริการการศึกษา และกองกิจการนิสิตเป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนหลัก

         • นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจะได้รับการดูแลอย่างดีจากรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และผู้อำนวยการ IRDA ตั้งแต่รับเข้าจนจบและเป็นศิษย์เก่า โดยมีบัณฑิตวิทยาลัยและ IRDA เป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนหลัก

         • สนับสนุนและส่งเสริมให้บัณฑิตวิทยาลัยและ IRDA เป็น “หน่วยงานกลาง” ของมหาวิทยาลัยที่สามารถมีรายได้เลี้ยงตัวเองเพื่อทำหน้าที่สำคัญให้กับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

         • เน้นการแสวงหาภาคีและเครือข่ายในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ดังแนวคิดแสดงในภาพ

 

............................................................................................................ (กลับด้านบน)

NU 2556 : (7) การร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชน

 

          • ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ของสังคมไทย และของสังคมโลก มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสม โดยยึดหลัก “องค์ความรู้ที่ผลิตและที่ใช้เป็นระดับสากล แต่จิตวิญญาณอยู่ที่การรับใช้ชุมชนและสังคมไทย”

         • เครื่องมือ (tools) สำคัญและเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนชุมชนและสังคมไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญาคือ “การจัดการความรู้” และ “การวิจัย”

         • ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและรับผิดรับชอบหลักคือรองอธิการบดีด้านความร่วมมือกับชุมชน (community collaboration affairs) ซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่

         • จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ (อาจใช้ชื่อว่าหน่วยบริการชุมชน หรือ Community service unit) สำหรับให้การสนับสนุนหลักในด้านนี้ โดยเน้นให้เป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ที่มีบุคลากรประมาณ 5-10 คน มีการบริหารจัดการโดยประยุกต์ใช้หลักการของ chaordic organization และจัดให้เป็น “หน่วยงานกลาง” ของมหาวิทยาลัยในการจัดทำทิศทางและกรอบนโยบายด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย รวมทั้งดูแลด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปด้วยพร้อม ๆ กัน (ส่วนเรื่องการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นหน้าที่ของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต)

         • นอกจากนั้นรองอธิการบดีด้านความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานใหม่นี้ยังจะต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการเชื่อมโยงภารกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนของหน่วยงานอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยให้เกิดการเสริมพลังซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งหน่วยงานอื่น ๆ ดังกล่าว เช่น NICE, NUBI, GIS, Mobile unit, การวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC), คลินิกเทคโนโลยี, อุทยานวิทยาศาสตร์, ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม และการบริการวิชาการด้านต่าง ๆ ของทุกคณะ/หน่วยงาน เป็นต้น

         • ความร่วมมือกับชุมชนมีทั้งในลักษณะที่เป็น profit และ non-profit academic service อย่างสมดุลกัน และอย่างต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน (win-win situation)

         • ชุมชนจะเป็นทั้งที่มาของโจทย์วิจัย ทุนสนับสนุนการวิจัย และที่ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง อีกทั้งจะเป็นที่ที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบสหวิทยาการ (อาจารย์ต่างคณะมาทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาให้กับชุมชน) เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนและเกิดการบูรณาการพันธกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย (วิจัย-สอน-บริการวิชาการ-ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) 

 

............................................................................................................ (กลับด้านบน)

NU 2556 : (8) การจัดทำแผนและการประเมินผล

 

          • กระบวนการจัดทำแผน (เน้นว่า “อย่างมีส่วนร่วม”) ของมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความสำเร็จและความอยู่รอดขององค์กร

         • มหาวิทยาลัยต้องจัดเวทีให้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกัน (shared vision) และช่วยกันเสนอทางเลือกต่าง ๆ ในการบรรลุจุดมุ่งหมายนั้น แล้วเขียนออกมาเป็นแผนซึ่งคนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการคิดและเป็นเจ้าของ (participation and ownership)

         • ที่สำคัญกว่ากระบวนการเขียนแผนแบบมีส่วนร่วมดังกล่าวแล้วคือ “การทำให้แผนนั้นกลับเข้าไปอยู่ในใจของคน” ให้ทุกคนได้ทราบจุดมุ่งหมายร่วมกัน วิธีที่จะไปถึงจุดมุ่งหมายนั้น และบทบาทหน้าที่ของตนเองและคนอื่น ๆ ในทีมงาน ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดเวทีให้มีการนำเอาแผนที่เขียนขึ้นออกมาช่วยกันตีความหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ เวทีจนขึ้นใจ

         • เมื่อเข้าใจจุดมุ่งหมายร่วมกันและยุทธศาสตร์อย่างขึ้นใจแล้ว ต่อไปจะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องคอยเอื้ออำนวย 4 M’s (คน เงิน เครื่องมือ และแรงจูงใจ) อย่างเต็มที่ และอย่างสมเหตุสมผล

         • ผู้บริหารนอกจากจะต้องทำให้แผนเข้าไปอยู่ในใจคนแล้วยังจะต้องรู้จักเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน และ coaching คนให้สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ (KM, RM, GS, OM และ QA) ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในการทำงาน

         • แผนในระดับมหาวิทยาลัยจะเน้นที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ (strategic plan) และเป้าหมายเชิงยุทธวิธี (tactical goals) ในการดำเนินงานเท่านั้น ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น teaching unit หรือ non-teaching unit จะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี (action plan) ให้สอดคล้องกับแผนของมหาวิทยาลัย ที่สำคัญคือ “ความสำเร็จจริง ๆ จะอยู่ตรง action plan นี้”

         • มหาวิทยาลัยจะต้องควบคุมให้มีความสอดคล้องกันระหว่าง strategic plan, action plan, HRD plan และที่สำคัญที่สุดคือ “แผนการจัดสรรเงินพร้อมการให้รางวัลความดีความชอบ” ซึ่งปกติแล้วเป็นเรื่องยาก แต่ถ้ายึดหลักต่าง ๆ ที่ใช้เป็นค่านิยมร่วม 8 ประการดังที่กล่าวแล้ว เรื่องที่ว่ายากนี้ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาทันที

         • เครื่องมือสำคัญและที่ใช้เป็นหลักในเรื่องนี้คือ OM และ QA

         • สภามหาวิทยาลัยและประชาคมชาวมหาวิทยาลัยนเรศวรสามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารได้ด้วยการประเมินต่าง ๆ ดังแสดงในภาพ

 
............................................................................................................ (กลับด้านบน)
 

NU 2556 : (9) เป้าหมายเชิงยุทธวิธี 

         เป้าหมายเชิงยุทธวิธี (tactical goals) ที่มหาวิทยาลัยและทุกหน่วยงานย่อยจะต้องนำมาใช้ในการดำเนินงานประกอบด้วย 12 เป้าหมายเชิงยุทธวิธีคือ

         1. มีปณิธาน พันธกิจ และค่านิยมร่วมที่ชัดเจนและใช้เป็นเครื่องกำกับเป้าหมายและกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

         2. มีวิสัยทัศน์มองออกข้างนอก ไม่อยู่บนหอคอยงาช้าง เน้นเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชนและองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ

         3. เน้น “ธรรมาภิบาล” ในทุกระดับ โดยเริ่มจาก “สภามหาวิทยาลัย” เป็นต้นแบบ

         4. ปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ (restructure) ให้มีการผสมผสานกันทั้งในแนวตั้ง (bureaucratic management) และในแนวราบ (chaordic management) ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก มีผลถึงความอยู่รอดขององค์กรและเป็นเรื่องดีที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเองก็สามารถทำได้สำเร็จมาแล้วระดับหนึ่ง

         5. ทุ่ม 4 M’s พร้อมแรงกายแรงใจไปที่ Research, Education และ Community

         6. ค้นหาจุดแข็งและโอกาส (strengths and opportunities) ของตนเองทั้งหมดในมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายและมีความเป็นเลิศ (excellence) ที่หลากหลาย โดยเน้นให้ทุกคน/ทุกหน่วยงานเทียบเคียงผลการดำเนินงานกับคน/หน่วยงานอื่นที่กำลังทำหน้าที่อย่างเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ ถ้าสามารถอยู่ในอันดับที่ 1 ใน 10 ของทั้งหมดได้ ก็ให้แรงจูงใจให้ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น ถ้ายังไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 ก็ต้องรีบหาทางแก้ไข/ปรับปรุงให้ติด 1 ใน 10 โดยเร็ว ด้วยการ coaching จากผู้บริหารอย่างใกล้ชิด

 

         7. เอื้อสภาพแวดล้อมในการทำงานและการเรียนรู้ โดยยึดหลักการร่วมกันสร้าง “สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย” หรือ “องค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับตัว”

         8. พัฒนาระบบฐานข้อมูล (information infrastructure) เพื่อสนับสนุนการเป็น “Top ten research university” รวมทั้งการเรียนการสอน (Education) และการบริหารจัดการ (Administration)

         9. แสวงหาแหล่งทุนจากทุก ๆ ด้าน และนำมาใช้จ่ายอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง (financial viability)

         10. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับนานาชาติเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะทำให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็น world class university ในลำดับถัดไป

         11. แสวงหาคำแนะนำ (advice) และตัวอย่างดี ๆ (best practices) ตลอดเวลา เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน

         12. เน้นให้ Trust และ CQI เป็นเสมือน double strands ของ DNA ใน gene กล่าวคือ Trust และ CQI เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดต่อความอยู่รอดและการเจริญรุ่งเรืองของมหาวิทยาลัย ให้ Trust และ CQI อยู่ในสายเลือดและเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 216775เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  สุดยอดวิสัยทัศน์ 

“สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย และการเป็นหนึ่งในสิบมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศไทยภายในปี 2556”

ขณะนี้สังคมไทย ไม่ได้ต้องการคนดี และเก่งอย่างเดียว แต่ต้องการคนกล้าด้วย

สวัสดีครับอาจารย์

  • อาจารย์ฉายภาพในอนาคตของมหาวิทยาลัยได้ชัดเจนมากครับ
  • แวะมาเรียนรู้ครับ
  • ดีใจกับชาว มน. ที่มีสุดยอดคนทำงานครับ

1. ดิฉันขออนุญาตทบทวนกับท่านผู้อ่าน หรือตอบข้อสงสัยจากบางท่าน ที่ว่าท่านอาจารย์วิบูลย์เขียนบทความฉบับนี้ขึ้นมาเพื่ออะไร (จากบางส่วนของย่อหน้าแรกของบทความนี้ที่ท่านอาจารย์ได้เขียนไว้นะคะ)

         "วิสัยทัศน์ และแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับนี้เขียนขึ้นมา “มิใช่” เกิดจากความอยากหรือต้องการที่จะเป็น “ผู้นำ” หรือต้องการที่จะเป็นคู่แข่งกับใครคนใดคนหนึ่งทั้งสิ้น แต่เขียนขึ้นมาในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อทำหน้าที่สมาชิกที่ดีของชาวมหาวิทยาลัยนเรศวรผู้หนึ่งที่ต้องการเห็นมหาวิทยาลัยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นประโยชน์กับสังคม โดยการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่า ... "

2. ขออนุญาตอีกครั้งที่จะนำ 2 บันทึกด้านล่างนี้ มาแปะไว้ที่นี่เพราะคิดว่า ช่าง พอเหมาะ และ พอดี จริงๆ ค่ะ (เป็นความส่วนตัวนะคะ)

  • วิธีสื่อสารที่ดีของ...ผู้นำ ในภาวะวิกฤต
    http://gotoknow.org/blog/9nuqa/216957
    (ลงบันทึกโดยอาจารย์มาลินี ธนารุณ)
  • พรทิพย์ – บุญสม เสวนาเรื่องการทำหน้าที่อธิการบดี
    http://gotoknow.org/blog/council/218390
    (ลงบันทึกโดยอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท