“Spirituality... พลังของความสำเร็จ” โดย ดร.นพ.สกล สิงหะ ตอนที่๒


การทำงานที่รวดเร็ว...ทำให้เราไม่สามารถเก็บภาพแห่งความประทับใจไว้ได้ เพราะภาพมันเบลอ...

(ต่อจากตอนที่แล้ว)

อาจารย์   P  phoenix  นำภาพถ่ายที่ได้จากการนั่งรถไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นจากเมืองหนึ่งไปเมืองหนึ่ง เป็นภาพที่เบลอมากๆ  แล้วอาจารย์ก็เปรียบเทียบกับการทำงานที่รวดเร็วของพวกเราว่า มันทำให้เราไม่สามารถเก็บภาพแห่งความประทับใจไว้ได้ เพราะภาพมันเบลอ(เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนสะท้อนคิดการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก ที่ผู้เขียนอยู่ในทีม... ทำงานไว... แบบนี้แหละ...ไม่มีโอกาสเห็นภาพประทับใจจริงๆ)

...งานของแพทย์ พยาบาลได้ใกล้ชิดกับโอกาสนี้มากกว่าคนอื่นๆ มีโอกาสทราบเรื่องราวของคนไข้ เบื้องหลังของคนไข้...

...เขามีฝัน เรามีโอกาสเชื่อมความฝันของเขาให้เป็นความจริงได้... เรื่องเหล่านี้มันมักเกิดขึ้นทุกวัน ทุกเตียงคนไข้ ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนมุมมองการดูแลแผลผู้ป่วยเบาหวานที่บริเวณเท้าหรือที่ตา หากมองต่อไปว่า ถ้าแผลของเขาหาย เขาสามารถกลับไปเดินเล่นบนชายหาดกับครอบครัวได้ หรือ กลับไปมองเห็นลูกหลานและคนในครอบครัวของเขาได้อีก  สานฝันของเขาให้เป็นจริง...

 

...ภาพวีดีโอของชายที่แขนขาพิการ มีแต่ลำตัวและศีรษะ ผู้เขียนเคยได้ดูคลิ๊ปนี้เมื่อเพื่อนส่งมาให้คราวหนึ่ง...ดูอีกก็ยังทึ่งกับความไม่ย่อท้อของคนที่มีฝัน... ฝันที่จะทำให้ได้  ฝันที่จะลุกขึ้นได้เองโดยไม่มีใครช่วย ไม่ว่าจะล้มลงกี่ครั้งก็ตาม

วีดีโอเรื่องนี้ กลับทำให้ผู้เขียนสะท้อนคิดว่า เขากล้าที่จะใช้ปมด้อยของตนเป็นบทเรียนช่วยให้ผู้คนที่ล้มกลับมาลุกขึ้นยืนสู้ชีวิตได้

 

อาจารย์บรรยายต่อว่า...

โครงการต่างๆที่เราทำ ไม่สำคัญว่าเราจะจบโครงการของเราอย่างไร ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร... ความสำคัญอยู่ที่ความมุ่งมั่น ความพยายามในงานที่เราทำต่างหาก

ความรู้สึกว่าเราอยากให้คนอื่นมีความสุข ทำให้เราไม่ต้องถามถึงมาตรฐาน...เพราะเรารู้ว่ามนุษย์มีหน้าที่ดูแลกันและกันอยู่แล้ว ...

มันอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ มันไม่ใช่เพียงแค่ความล้มเหลวหรือผิดพลาด แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องลุกขึ้นมาทำใหม่ ทำต่อ

 

... บางครั้งเราต้องถอยหลังก่อนเพื่อก้าวหรือกระโดดไปข้างหน้า การถอยหลังทำให้เราเกิดพลัง  แม้การกระโดดจากสปริงบอร์ดลงสระว่ายน้ำ... การพยายามให้กระดานสปริงบอร์ดยุบลงมากเท่าไหร่ก็เพื่อมีแรงส่งให้เรากระโดดได้สูงมากขึ้นเท่านั้น

 

อาจารย์นำตัวอย่างบางตอนของภาพยนตร์เรื่อง Departures มาให้ดู สะท้อนให้เห็นความตั้งใจทำงานของคนแต่งศพที่เป็นอาจารย์และลูกศิษย์  แม้การทำงานอาจเริ่มต้นด้วยความไม่พอใจของสามีผู้ตายและมีเสียงตำหนิ(เพราะมาทำงานช้า)... แต่มิได้ทำให้ความตั้งใจที่จะทำงานให้ดีลดน้อยลงไปเลย...

 

(ที่มา: http://movie.mthai.com/movie-review/39906.html )

มากกว่าที่อาจารย์ขยายความจากภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ผู้เขียนได้เห็นการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตาย... แม้เป็นมนุษย์ที่มีเพียงร่างที่ไร้วิญญาณ  เธอยังได้ทาปากด้วยลิปสติ๊กแท่งโปรดของเธอ... 

และเมื่อแต่งศพเสร็จ ความโกรธของสามีผู้ตายลดลง เขากล่าวขอบคุณ และพูดว่า “เมียผมสวยมากเท่าที่เธอเคยสวยเลย”

อาจารย์บอกว่า พฤติกรรมการบริการที่เรากระทำออกมาเป็นภาพที่สามารถสื่อให้ญาติหรือผู้พบเห็นรับทราบได้ถึงความตั้งใจดีของเรา

 

อาจารย์กล่าวว่าพอดูภาพยนตร์เรื่องนี้จบ อาจารย์รู้สึกละอายใจที่บางครั้งการทำผ่าตัด(ที่อาจารย์ทำ)ไม่ได้เคารพร่างของผู้ป่วยเท่าที่ควร  คนไข้ที่นอนอยู่บนเตียงเขามีชีวิต เขามีศักดิ์ศรี

 

อภิสิทธิ์ไม่ได้มาโดยอัตโนมัติ  มันเป็นความรับผิดชอบของเรา ...เราเป็นใคร เกิดมาเพื่ออะไร การคงอยู่ของเราเป็นการทำให้อย่างมีความสุข

 

หากเราทำ Outcome Mapping (OM) เมื่อสำเร็จต้องตอบได้ว่าผู้รับประโยชน์(คนไข้)จะเป็นอย่างไร เราไม่ต้องการเครดิตในการทำ  แต่เราต้องเชื่อสิ่งนั้นก่อน... หน้าที่ของเราไม่ใช่ไปตัดสินคนอื่น  เราทำในสิ่งที่ควรทำ...พอแล้ว...และเราก็โชคดีที่มีโอกาสยืนอยู่ตรงนั้น  ตรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ดูแลคนไข้คนเดียว 

ขอขอบคุณ อ. สกล สิงหะ   P  phoenix 

                                                                

                                                                ด้วยความเคารพค่ะ

                                                                 กฤษณา สำเร็จ

 

 

หมายเลขบันทึก: 316424เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

อาจารย์เล่าได้ละเอียดมากค่ะ หนูว่าจะขึ้น blog เล่าตอน อ.สกล พูดในเวที SHA ได้อ่านของอาจารย์แล้ว เก็บได้ละเอียดเลยค่ะเหมือนนั่งในห้องประชุม

ของคุณค่ะ

ชอบอีกเรื่องที่อาจารย์บอก ...

เป็นการดูแลคนไข้ที่มากกว่าคำว่าองค์รวมนะ

คนไข้ทุกคนจะได้รับการดูแลแบบปัจเจก

สวัสดีคะ ฟังอาจารย์แล้วรู้สึกมีแรงบันดาลใจที่จะทำงานของเรา ให้ดีและมีคุรค่ามากที่สุด ที่สำคัญคือความมีคุณค่าในความรู้สึกในหัวใจของเราที่ทำสิ่งที่มีคุณค่าให้กับเพื่อนมนุษย์และทำให้ความหมายของคนของเขาสมบูรณ์ค่ะ

ดาชื่นชอบ อาจารย์ สกล เป็นการส่วนตัวมากๆ ค่ะ เสียดายไม่มีโอกาสได้เจอค่ะ

ช่วยเรียนอาจารย์ว่าแฟนคลับ คอยติดตามบันทึก ทุกบันทึกค่ะ กรุณาเขียนบ่อยๆมากๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

- แวะมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

รอติดตามต่อนะค่ะพี่

สวัสดีค่ะ คุณnamsha

  • คุณสามารถเขียนเล่าได้อีกค่ะ ช่วยๆกันเก็บประเด็นจะได้เติมเต็มค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่แก้วแก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

  • พี่แก้วคงจะลึกซึ้งเรื่องนี้ได้ไม่แพ้อาจารย์ค่ะ เพราะกลุ่มดูแลผู้ป่วยคล้ายกัน
  • ...งานติ๋วคงจะประมาณว่า...ทำงานไว(เพราะเคสมาก)...จะไม่เห็นสิ่งดีๆละค่ะ(น่าเสียดาย...ต้องลองทำให้ช้าลงหน่อยละ อิอิ)
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ น้อง♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

  • คิดเหมือนกันค่ะ... ฟังแล้วอยากกลับมาทำงานให้นิ่มนวลขึ้น...คลาสสิคขึ้น...จริงๆด้วยนะคะ...

สวัสดีครับ น้องหนานเกียรติ

  • นี่ขนาดพี่บันทึกตกๆ หล่นๆนะคะเนี่ย...
  • ทุกคำพูด ทุกประโยคที่อาจารย์บรรยาย...มีคุณค่าทั้งสิ้นค่ะ เสียแต่ว่าสมองน้อยๆของเราจำได้ไม่หมด... ได้แต่อินในความรู้สึกตามไปด้วยค่ะ
  • น้องหนานเกียรติสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ คุณลดา

  • อาจารย์คงทราบว่าแฟนคลับเยอะค่ะ เพราะต้องรอคิวกันถ่ายภาพเลยแหละ
  • หากพบอีก...จะเรียนให้อาจารย์ทราบค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท