“ภาษา(คุณภาพ)”บางคำ... คน(ธรรมดา)ไม่เข้าใจ (4)


(ต่อจากบันทึกที่แล้ว)

4. การพัฒนา 

4.1 Creativity and Innovation

คืออะไร 

การเปลี่ยนแปลงที่ใช้วิธีการและแนวคิดใหม่

ทำไม 

หัวใจสำคัญของนวตกรรมคือจินตนาการ

สถานการณ์ที่คำตอบไม่ชัดเจน เป็นโอกาสเปิดสำหรับจินตนาการและนวตกรรม

ทำอย่างไร 

• จัดการให้นวตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรและงานประจำ

• ผู้บริหารส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทดลองความคิดใหม่ๆ ส่งเสริมการฝึกอบรมด้านความคิดสร้างสรรค์และนวตกรรม

• ส่งเสริมการสร้างนวตกรรมในกระบวนการจัดบริการ

 

4.2 Management by Fact

คืออะไร 

การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างเหมาะสม

ทำไม 

ข้อมูลข่าวสารที่ดีทำให้ทราบระดับปัญหาที่แท้จริง ลำดับความสำคัญ สาเหตุของปัญหา ข้อดี ข้อเสียของทางเลือกต่างๆ

ทำอย่างไร 

• คัดเลือกและใช้ตัวชี้วัด ซึ่งสะท้อนสิ่งที่มีความสำคัญทางคลินิก สุขภาพของชุมชน และการบริหารจัดการขององค์กร โดยวัดอย่างสมดุลในทุกด้าน

• วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวโน้ม คาดการณ์ และดูความเป็นเหตุเป็นผล

• ประเมินและปรับเปลี่ยนตัววัดหรือดัชนีชี้วัดเพื่อให้เหมาะสมกับเป้าประสงค์ยิ่งขึ้น

• สร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในทุกระดับ

 

4.3 Continuous Process Improvement

คืออะไร 

การหาโอกาสพัฒนา และดำเนินการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง มีการขยับเป้าหมายของผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับความเป็นไปได้

ทำไม 

ความคาดหวังของผู้รับผลงานที่เพิ่มขึ้น

มีโอกาสทำให้เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้นเสมอ

สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

ทำอย่างไร 

• วัฒนธรรมการค้นหาโอกาสพัฒนาและดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ: บุคคล โครงการ หน่วยงาน องค์กร

• ใช้กลยุทธ์ในการค้นหาโอกาสพัฒนาที่หลากหลาย เช่น การทบทวนผลงาน การรับฟัง ผู้รับผลงาน การเปรียบเทียบกับข้อกำหนด/มาตรฐาน มีทีมงานจากสหสาขาวิชาชีพมา มองภาพรวม

• สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

• สร้างกระบวนการเรียนรู้ควบคู่กับการพัฒนา

 

4.4 Focus on Results

คืออะไร 

การกำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานและการพัฒนาที่ผลลัพธ์และคุณค่าที่ผู้มีส่วนได้เสียจะได้รับ

ทำไม 

การมุ่งเน้นผลลัพธ์ทำให้มีเป้าหมายร่วมกันชัดเจน

การมุ่งเน้นผลลัพธ์ทำให้สามารถเชื่อมโยงแผนงานและกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันได้

การมุ่งเน้นผลลัพธ์ทำให้เกิดการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียสำคัญจะทำให้เกิดความศรัทธาต่อองค์กร

ทำอย่างไร 

• วัดผลการดำเนินการขององค์กรโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์สำคัญ

• ใช้ตัววัดผลการดำเนินการแบบนำ (leading indicator) และแบบตาม(lagging indicator)ร่วมกันอย่างสมดุล เพื่อสื่อสำดับความสำคัญติดตามผลการดำเนินการ และนำไปสู่การปรับปรุงผลลัพธ์

• รักษาสมดุลของคุณค่าระหว่างผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ ได้แก่ ผู้ป่วยครอบครัวของผู้ป่วยเจ้าหน้าที่ ชุมชน ผู้จ่ายเงิน ธุรกิจ นักศึกษา ผู้ส่งมอบและพันธมิตร ผู้ลงทุน และสาธารณะ

 

4.5 Evidence-based Approach

คืออะไร 

การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

การใช้ข้อมูลวิชาการในการให้บริการสุขภาพ/ดูแลผู้ป่วย

ทำไม 

บริการสุขภาพที่ปลอดภัย ได้ผล มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสม จะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการซึ่งพิสูจน์ประสิทธิผลของวิธีการตรวจรักษาต่างๆ

บริการสุขภาพต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนต่างๆ มากมาย การใช้ดุลยพินิจของผู้ประกอบวิชาชีพควบคู่กับการใช้ข้อมูลวิชาการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิผลของเทคโนโลยีบริการสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แม้ความรู้ที่เขียนไว้ในตำราก็อาจจะล้าสมัยเร็วเกินกว่าที่คิด

ทำอย่างไร 

• นำ CPG ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย

• Gap Analysis

• นำศาสตร์ทางด้านระบาดวิทยาคลินิกและเศรษฐศาสตร์คลินิกมาช่วยในการตัดสินใจ

• นำข้อมูลวิชาการมาใช้ในลักษณะของการพัฒนาคุณภาพทางคลินิกอย่างเป็นองค์รวม คือใช้ประกอบกับเครื่องมือและแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอื่นๆ โดยอาศัยกลุ่มผู้ป่วยและปัญหาสำคัญในผู้ป่วยดังกล่าวเป็นตัวตั้ง

 

 

5. พาเรียนรู้ 

5.1 Learning

คืออะไร

การเรียนรู้เป็นปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนอง ปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพ

ทำไม

สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด องค์กรก็เปรียบเหมือนสิ่งมีชีวิต

ทำอย่างไร

• มีกัลยาณมิตร / ศรัทธา ใช้วิธีการแห่งปัญญา คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้า กุศล

• ให้การศึกษา ฝึกอบรม ให้โอกาสพัฒนา สร้างแรงจูงใจ

• เรียนรู้ด้วยการมีส่วนร่วม

• หาโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและทำให้ดีขึ้น

• ปลูกฝังการเรียนรู้เข้าไปในวิถีการทำงานปกติประจำวัน

• ใช้กระบวนการดูแลผู้ป่วย การให้บริการ สถานที่สิ่งแวดล้อม สร้างการเรียนรู้

 

5.2 Empowerment

คืออะไร

ให้พลังทุกคนในการดูแลสุขภาพตนเอง

ให้พลังเจ้าหน้าที่แก้ปัญหา พัฒนางานด้วยตนเอง

ทำไม

การเสริมพลังทำให้เกิดความรับผิดชอบ ตรงประเด็น มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องพึ่งพิง ขยายวงกว้าง

ทำอย่างไร

• ผู้มีอำนาจเห็นประโยชน์ เต็มใจลดอัตตาและการผูกขาดอำนาจของตน

• ผู้บริหารกระจายอำนาจและเพิ่มพลังการตัดสินใจให้ผู้ปฏิบัติงาน

• ผู้ประกอบวิชาชีพพยายามให้ผู้ป่วย ประชาชน สามารถดูแลตนเอง

• มีการสื่อสารที่ดี มีข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสม มีการประเมินและสะท้อนกลับ

 

ขอขอบพระคุณ  สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, ธันวาคม 2549 หรือสรพ.ในปัจจุบัน ที่นำเสนอสาระที่สำคัญและมีประโยชน์นี้ และขออนุญาตนำมาถ่ายทอดเพื่อสนองเจตนารมณ์ในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยค่ะ

วันนี้ผู้เขียนได้รับทราบข้อคิดเห็นจากเพื่อนในG2Kที่กรุณาเข้ามาแลกเปลี่ยน 

...ผู้เขียนคิดว่าข้อคิดเห็นดังกล่าวน่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนมากค่ะ ว่าทำไมภาษาหรือคำบางคำจึงยากที่จะเข้าใจ ...

ขออนุญาตนำมาลงบันทึก(ต่อ) และขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ

3.
P
AnthroCat
เมื่อ จ. 01 ก.พ. 2553 @ 09:16
#1831279 [ ลบ
 

 

สวัสดีครับ

 คำ (บาง) คำ ที่ง่าย ... แต่ คน (ฟัง) ไม่เข้าใจ...

 ผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่ผมก็เห็นว่า เป็นเพราะ โดยนิสัยคนไทย เป็นคนที่ชอบทำอะไรง่าย ๆ ตรงไปมา คำที่ใช้สื่อสาร(ภาษาไทยแท้) ก็ คำเดียว คำโดด ความหมายชัดเจน ชั้นเดียว คนไทยคุ้นกับแบบนี้มากกว่า

 ต่อมา เริ่มมีการนำเอาวิทยาการความรู้มาจาก ตปท. ซึ่งก็ เอามาทั้ง คำ (Terms) และ นิยามศัพท์ (Definition) โดยแปลมา ก็เลยได้ความหมายที่ เพริศแพร้ว เท่ห์ กันขึ้นไป แต่ ทำให้ "เข้าใจยาก" สำหรับคนไทย

 ซึ่งคำ (Term) เหล่านี้ มักจะเป็นคำที่ถูกแปลให้สวนทางกับ คำในภาษาไทยที่เน้น สั้น โดด ง่าย ก็เลยส่วนทางกับ นิสัยของคนไทยที่ยังไม่มีใจใฝ่เรียนรู้ หากเทียบกับคนอเมริกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน หรือในกลุ่มประเทศที่พัฒนาไปได้มากกว่า

 มาเยี่ยมครับ และก็เลย ลปรร

 

หมายเลขบันทึก: 332932เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2010 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณค่ะ

ทำให้ได้ทบทวนอีกครั้ง

ยินดีค่ะ คุณnamsha

  • บ่อยครั้งค่ะที่ทำงานไปเรื่อยๆแล้วลืมฐาน...ต้องกลับมาทบทวนซ้ำๆ บ่อยๆ...เหมือนตอกหมุดให้แน่นค่ะ คุณภาพจะได้คงทนถาวร
  • ขอบคุณนะคะ

สวัสดีครับ

คำ (บาง) คำ ที่ง่าย ... แต่ คน (ฟัง) ไม่เข้าใจ...

ผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่ผมก็เห็นว่า เป็นเพราะ โดยนิสัยคนไทย เป็นคนที่ชอบทำอะไรง่าย ๆ ตรงไปมา คำที่ใช้สื่อสาร(ภาษาไทยแท้) ก็ คำเดียว คำโดด ความหมายชัดเจน ชั้นเดียว คนไทยคุ้นกับแบบนี้มากกว่า

ต่อมา เริ่มมีการนำเอาวิทยาการความรู้มาจาก ตปท. ซึ่งก็ เอามาทั้ง คำ (Terms) และ นิยามศัพท์ (Definition) โดยแปลมา ก็เลยได้ความหมายที่ เพริศแพร้ว เท่ห์ กันขึ้นไป แต่ ทำให้ "เข้าใจยาก" สำหรับคนไทย

ซึ่งคำ (Term) เหล่านี้ มักจะเป็นคำที่ถูกแปลให้สวนทางกับ คำในภาษาไทยที่เน้น สั้น โดด ง่าย ก็เลยส่วนทางกับ นิสัยของคนไทยที่ยังไม่มีใจใฝ่เรียนรู้ หากเทียบกับคนอเมริกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน หรือในกลุ่มประเทศที่พัฒนาไปได้มากกว่า

มาเยี่ยมครับ และก็เลย ลปรร

เรียน อ.AnthroCat  ค่ะ

  • ความคิดเห็นของอาจารย์มีความชัดเจนมากค่ะ... ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมการใช้คำบางคำจึงยากมากที่จะเข้าใจ
  • ... ขออนุญาตนำข้อคิดเห็นของอาจารย์ลงบันทึกนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ติ๋ว

แวะมาเยี่ยมครับ

กำลังเรียนรู้เรื่องเหล่านี้อยู่พอดีเลยครับพี่

สวัสดีค่ะ น้องหนานเกียรติ

  • แต่ละคำมีความหมายในตัวเองซึ่งกว้างมากๆค่ะ  ยิ่งในความหมายทางงานบริการสุขภาพของทางวงการสาธารณสุขยิ่งกินความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นไปอีก  มันมีความละเอียด(อ่อน)ในการลงสู่การปฏิบัติ  ดังนั้นสิ่งต่างๆเหล่านี้จึงมีความสำคัญในการหาผู้ที่มีประสบการณ์จริงมาถอดบทเรียนแล้วถ่ายทอดค่ะ  ซึ่งในวงการเรายังขาดอยู่อีกมากจริงๆค่ะ
  • ขอบคุณน้องหนานเกียรตินะคะ....สบายดีนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท