เดินตามหาความยั่งยืนและยืดหยุ่น...ใน 11th.HA National Forum (5) : เล่าเรื่องเต๋า...สไตล์ติ๋ว


เต๋า ที่ผู้เขียนขอเล่าในสไตล์ของผู้เขียน (ที่เรียกว่าสไตล์ติ๋ว) เป็นการบันทึกมุมมองของผู้เขียนที่เชื่อมโยงแนวคิดปรัชญาเต๋าเท่าที่ได้ฟังกับชีวิตจริงที่เป็นอยู่

สิ่งที่ผู้เขียนนำมาวิเคราะห์และถ่ายทอดขาดความสมบูรณ์อยู่มากเพราะเป็นเพียงมุมมองเล็กๆของผู้เขียนเอง อาจมีข้อผิดพลาด ...ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหนังสือของอาจารย์

 ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังบรรยายเรื่อง “เต๋ากับการบริหาร” ในงาน 11th.HA National Forum วันที่11 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งบรรยายโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้ถ่ายทอดแนวคิดปรัชญานี้ลงบนหนังสือแปลเรื่อง “เต๋า...มรรควิถีที่ไร้เส้นทาง”

เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก บันทึกนี้จึงเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนที่เกิดภายหลังจากการฟังบรรยาย...ซึ่งอาจเข้าใจไม่ถ่องแท้ เนื่องจาก ภาษาเต๋า เป็นภาษาปรัชญา...ที่ยากต่อการทำความเข้าใจ

 

(ที่มา : ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด, 2553)

อาจารย์บรรยายตามสไตล์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด  P ที่ผู้เขียนติดใจเสมอ

 

  อาจารย์หยิบยกบางประเด็นของเต๋าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารมาเล่าให้ฟัง

 

ผู้เขียนขอ“เล่าเรื่องเต๋า...สไตล์ติ๋ว” ซึ่งเป็นความเข้าใจในแนวคิดเต๋าที่ได้ภายหลังการฟังบรรยายจบ...

ผู้เขียนไม่ใช่นักบริหาร แต่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับคนมากมายหลายระดับ ทั้งระดับผู้บริหาร ระดับศ. หมอจบใหม่ หรือแม้พนักงานเก็บขยะ จึงชอบที่จะเรียนรู้เรื่องคน ซึ่งคิดว่า “เรื่องของการบริหาร” กับ “เรื่องของคน” คงหนีไม่พ้นกัน

 

 

  จากสไลด์ด้านบนของอาจารย์

 เต๋า...สอนให้เราปรับวิธีคิด ทำให้เข้าใจคนมากขึ้น มีแนวคิดการมองคนแบบ “ยืดหยุ่น”มากขึ้น ...เพราะสิ่งที่มี ที่เห็น ที่รู้สึก และสิ่งตรงข้าม...เป็นเพียงนามสมมุติ

มองว่าคนยังพึ่งพากันจนแยกกันไม่ออก นั่นคือ ทุกคนมีความหมายและความสำคัญในตนเองและต่อผู้อื่น เป็นการใช้ความคิดบวก (Positive Thinking) ในการใช้ชีวิตร่วมกัน

 

 

Tao12

(ที่มา : ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด, 2553)

ดังนั้น การหยิบเทคนิคการบริหารที่เข้าใจธรรมชาติของคน ผ่อนหนัก ผ่อนเบา บู๊และบุ๋นอย่างมีศิลปะ หรือที่ อ.ประพนธ์ ผาสุขยืด ใช้คำว่า พลัง“หยิน-หยาง” ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติแบบเต๋า... ก็จะทำให้องค์กรยืนหยัดอยู่ได้ในบรรยากาศของความสุขของคนในองค์กรด้วย

 

(ที่มา : ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด, 2553)

 ภารกิจที่สำคัญของผู้นำในการพาองค์กรสู่เป้าหมายไปพร้อมๆกับความสุขของคนในองค์กร จึงมิใช่เรื่องง่าย 

แนวคิดใน “การเลือกที่จะหยุดรินน้ำให้ทันก่อนที่น้ำจะล้นแก้ว” หรือ “การลับมีดให้คมที่สุด อาจเป็นเหตุให้คมมีดบิ่น” อย่างเช่นที่อาจารย์ยกตัวอย่างขณะบรรยายจึงน่าจะเป็นข้อคิดที่ดีในการบริหาร  

การสร้างสมดุล หาความพอดีให้พบจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จ โดยที่ “ทำงานไม่มาก หรือคนทำงานไม่เหนื่อยจนเกินจำเป็น... ”

(ที่มา : ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด, 2553)

ผู้เขียนชอบสไลด์นี้ค่ะ...ได้ใจผู้ปฏิบัติมากๆ

 หากชีวิตต้องเผชิญปัญหา การมีสติโดยปรับความคิดเข้าไปอยู่ในแก่นของปัญหา(ซึ่งอาจารย์แสดงด้วยแก่นกลางของวงกลม) ไม่วิ่งตามวงจรเสริมแรงแห่งปัญหา(ซึ่งอาจารย์อธิบายภาพด้วยการวิ่งไปตามเส้นรอบวงของวงกลม) ทำให้การมองปัญหามีความชัดเจนขึ้น

วิธีคิดแบบนี้ คิดสไตล์เต๋า เป็นการคิดด้วยปัญญา  ผู้เขียนมองว่า...คือการใช้ “สติ” หรือ “นิ่งคิด” นั่นเอง

การ “นิ่งคิด” ทำให้เข้าใจแก่นแท้ของปัญหามากขึ้น เป็นการทำให้การใช้ความคิดและความรู้สึกในการหาทางแก้ไขปัญหาทำได้ดีขึ้น 

 

 ผู้เขียนจึงมองว่า “เต๋า”คือความว่างเปล่า เพราะมองคนหรือสิ่งอื่นใดเนียน เป็นเนื้อเดียวกัน มองให้เป็นเรื่องของธรรมชาติชีวิต แล้วพยายามเข้าใจในเรื่องที่เกิด มองให้แต่ละส่วนมีความสำคัญต่อกันและกัน... สุดท้าย “เต๋า คืออะไร?” ก็ยากที่จะอธิบาย 

ต้องคอยติดตามอ่านการบันทึกของอาจารย์ที่นี่ "เต๋ากับการบริหาร" น่าจะดีกว่า 

 

ขอขอบคุณ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด และสรพ.ที่นำสิ่งดีๆมาบอกเล่า 

ขอบคุณอาจารย์ที่กำลังทยอยเขียนบันทึกเล่าเพื่อขยายความเพิ่มค่ะ

อยากเรียนอาจารย์ว่า เดิมทีเดียวแอบคิดอยู่ว่าจะฟังเรื่องนี้เข้าใจมั้ยเพราะเป็นเรื่องยาก  ยิ่งผู้เขียนเป็นคนเข้าใจอะไรยากเป็นทุนเดิม งานนี้ผู้บรรยายสามารถทำให้ผู้เขียนเข้าใจได้ขนาดนี้นี่ถือว่าสุดยอดค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์ผู้บรรยายมากๆค่ะ (ขอคารวะ 10 จอก...แล้วบอกว่า... “นับถือ...นับถือ...” ...อิอิ)

 

(ขอขอบคุณ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด เป็นอย่างสูง ที่อนุเคราะห์สไลด์ค่ะ)

 

หมายเลขบันทึก: 344515เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หนูขอคารวะที่ต่ออีก 10 จอกนะคะ

ที่ถอดบทเรียนให้ดูเข้าใจยิ่งขึ้น

สำหรับหนูแล้วต้องอ่านซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณP namsha

ขอบคุณมากๆนะคะที่ให้กำลังใจกัน...

งั้นเรายกน้ำชา 20 จอกไปให้อาจารย์ประพนธ์กันเถอะนะคะ

ดื่มน้ำชา 20 จอก . . . แล้วจะนอนหลับไม่เนี่ย . . . แต่ถึงอย่างไรก็ ขอบคุณ ทั้งสองท่านครับ

น้ำชา 20 จอก...รับรองว่าหลับอุตุค่ะ...อิอิ

สุดยอดคะ...

ต้องนำไปรับใช้ซะแล้ว ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ

เรื่องที่เคยประสบในร้าย....มีดี  ในดี....มีร้าย  ผ่านมาได้

ชีวิตที่เหลือ....สติ (รู้ตัว)  ใจ (อารมณ์) ที่ว่าง   ปัญญา (ทางออก)....กำกับ

ขณะ....ที่ยาก คือ ขาดตัวใดตัวหนึ่ง

ยากกว่า คือ ขณะ....ที่ยังไม่รู้ว่าขาด 2 หรือ ทั้ง 3 ตัวน่ะซิคะ

ขอบคุณนะคะที่เป็นประตูเปิดสู่สิ่งดี ๆ ....แบ่งปัน

ให้ระลึกถึง  เต๋า....หยินหยาง  และ (คุณพี่) ติ๋ว

แม้เพิ่งเริ่มเข้าใจ....ยังพอมีเวลาที่ครุ่นคิด....ถ่องแท้ขึ้น

ใช้ในชีวิตประจำวัน....สุข  สมดุล

            ขอบคุณมากนะคะ

                 ธิรัมภา 

 

สวัสดีค่ะ คุณหมอ P ทพญ.ธิรัมภา

  • ยินดีมากๆเลยค่ะที่ได้รู้จักค่ะ
  • ขอขอบคุณคุณหมอนะคะที่นำมุมมองของชีวิตที่เชื่อมโยงให้เห็นกันได้เป็นอย่างดี
  • ...และขอขอบพระคุณค่ะ ที่จบข้อคิดเห็นของคุณหมอลงอย่างสวยงามมากๆ...(จนผู้เขียนอมยิ้ม)  ^_^
  • ขอบคุณมากๆจริงๆ...เช่นกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท