แนวทางช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท ตอนที่ 1


ขอบคุณผู้เขียน: ดร. เกลน โดแมน และทีมงานจากสถาบันเพื่อความสำเร็จของศักยภาพมนุษย์ ผู้แปล: ดร.ป๊อป

คำเตือน: คำแนะนำเหล่านี้ไม่สามารถถือเป็นคำแนะนำจากแพทย์และนักบำบัดโดยตรง และการนำแนวทางไปใช้ควรปรึกษาแพทย์และนักบำบัดโดยละเอียด

หลักการสำคัญ:

  1. สอนเด็กให้เรียนรู้การทำงานของสมองผ่านการมองเห็น การได้ยิน การรู้สึก การรับรส และการดมกลิ่น
  2. สมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีกลไกที่เปลี่ยนแปลงได้
  3. การรักษาเฉพาะอาการสมองที่บาดเจ็บนั้นจะไม่เห็นผลมากนัก
  4. ยังมีความหวังในการพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท
  5. ผู้ปกครองคือคนสำคัญที่ทำให้เด็กมีความเป็นอยู่ดี

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเคลื่อนไหวของเด็ก

1.     คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • การเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานแห่งชีวิต เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทจำเป็นต้องเคลื่อนไหวเท่าที่ทำได้ เพื่อช่วยพัฒนาการมองเห็น สติปัญญา ระบบย่อยอาหาร ระบบกำจัดของเสีย และปรับปรุงโครงสร้างร่างกายซึ่งเด็กควรออกแรงกล้ามเนื้อหน้าท้องมากกว่าหลัง
  • การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นการเคลี่อนไหวเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำกัดการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่ไม่พัฒนาเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท
  • การเคลื่อนไหวช่วยเพิ่มระบบการหายใจและนำออกซิเจนสู่กระบวนการทำงานของสมอง รวมทั้งลดโรคทางระบบหายใจ

2.     คุณควรทำอะไร

  • ให้โอกาสเด็กได้เคลื่อนไหวเท่าที่ทำได้ จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเคลื่อนไหวในสถานที่ไม่จำกัดพื้นที่ สะอาด อบอุ่น และพื้นผิวปลอดภัย
  • ถ้าเด็กสามารถคลานด้วยกล้ามเนื้อหน้าท้อง ก็ให้เขาคลานเท่าที่ทำได้ ถ้าเด็กสามารถคืบด้วยมือและเข้า ก็ให้เขาคืบเท่าที่ทำได้ ถ้าเด็กสามารถเดินได้ ก็ให้เขาเดินเท่าที่ทำได้ ถ้าเด็กสามารถวิ่งได้ ก็ให้เขาวิ่งเท่าที่ทำได้ คุณควรคลาน คืบ เดิน หรือวิ่งข้างๆ เขา
  • เมื่อเด็กใช้แรงทำกิจกรรมใดๆ พยายามปล่อยเขาให้ทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์ ให้เขาทำกิจกรรมบ่อยครั้ง แต่ควรทำกิจกรรมนั้นในช่วงสั้นๆ ตลอดวัน โดยเน้นให้เด็กสนุกสนานและมีแรงจูงใจเพื่อประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ

3.     คุณไม่ควรทำอะไร

  • อย่าจัดท่าทางเด็กตรงกล้ามเนื้อหลัง อย่าจำกัดโอกาสของเด็กที่จะเคลื่อนไหวในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย อย่าอุ้มประคองเด็กนานจนเกินไป และอย่าใส่เสื้อผ้าที่จำกัดการเคลื่อนไหวของเด็ก
  • อย่าจับเด็กให้อยู่ในอุปกรณ์จำกัดการเคลื่อนไหว เช่น ล้อเข็น ล้อเลื่อน เหล็กประกับขา เป้ประคองหลัง ที่ประคองเดิน เป็นต้น ยกเว้นกรณีพาเด็กเดินทาง
  • อย่าพยายามช่วยเด็กด้วยการจับ ดึง หรือประคอง ขณะเด็กพยายามเคลื่อนไหว อย่าบังคับเด็กให้เคลื่อนไหว
  • อย่าตำหนิหรือแก้ไขให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง อย่าทำให้เด็กเหนื่อยกับการเคลื่อนไหวมากจนเกินไป และอย่าลืมชมเชยทุกครั้งที่เด็กพยายามเคลื่อนไหว

แลกเปลี่ยนเรียนรู้สติปัญญาของเด็ก

1.   คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • สติปัญญาไม่สัมพันธ์กับปัญหาทางระบบประสาท แต่ปัญหาทางระบบประสาทสัมพันธ์กับความสามารถในการแสดงออกทางสติปัญญา ที่สำคัญลูกคุณมีความสามารถที่สุดเมื่อคุณเป็นผู้สอนที่ดีที่สุด คุณควรสอนลูกทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์ ความจริง และความสนุกสนาน
  • ควรให้ข้อมูลแก่เด็กเสมือนของขวัญโดยไม่ซักถามหรือคาดหวังทุกสิ่งกับเด็กอีกครั้ง ที่สำคัญความสนุกสนานคือกุญแจแห่งความสำเร็จของสอนและการเรียนรู้อย่างแท้จริง และเด็กควรเรียนรู้การดำรงชีวิตที่หลากหลาย
  • เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทมักใช้กล้ามเนื้อตาได้ไม่ดี โดยเฉพาะการรับรู้ความลึกและความสามารถในการเรียนรู้เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกาย
  • เด็กสามารถอ่านได้มากขึ้นถ้าข้อความมีขนาดใหญ่พอเหมาะ รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทจะอ่อนไวมากต่อเสียงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลขัดขวางการเรียนรู้และการแสดงความสามารถของเด็ก

2.       คุณควรทำอะไร

  • สอนลูกให้ถูกทางด้วยความสนุกสนาน ความรัก และความเคารพ ทั้งนี้ควรกระตุ้นสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ของลูกทุกวัน เชื่อมั่นในสติปัญญาของลูกว่า ฉลาดกว่าที่คุณคิดและเฉลียวกว่าที่ทุกคนรู้จัก
  • หาข้อความที่มีขนาดใหญ่และตัวหนาให้เด็กได้อ่าน  อ่านให้ลูกฟังทุกวันและสอนลูกให้อ่านตอนนี้ ยิ่งลูกอายุน้อย ลูกก็จะเรียนรู้ง่ายขึ้น
  • เคารพตัวเด็กว่าคุณและลูกสามารถพัฒนาทุกอย่างได้และไม่มีอะไรสูญเสีย พูดคุยกับเด็กเช่นเดียวกับที่คุณพูดคุยกับคนอื่น จงให้เครื่องมือพัฒนาความคิดแก่ลูกมากกว่าให้ของเล่น และจำกัดเสียงอึกทึกในสิ่งแวดล้อม เช่น ปิดวิทยุ ปิดโทรทัศน์ ปิดเครื่องเล่นเสียง เป็นต้น

3.       คุณไม่ควรทำอะไร

  • อย่าทดสอบเด็กและทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ อย่าออกคำสั่งกับลูกราวกับคุยกับเด็กอ่อน อย่าคิดว่าคนอื่นเป็นครูที่รู้จักและรักลูกของคุณได้ดีกว่าคุณ อย่ารอให้เด็กพิสูจน์ความฉลาดกับคุณ แต่เขาจะเรียนรู้ทุกสิ่งที่คุณสอน
  • อย่าคาดว่าลูกของคุณไม่สามารถเรียนรู้ได้หรือเรียนรู้ได้ช้าเพราะปัญหาทางระบบประสาท อย่าคิดว่าเด็กไม่มีสติปัญญาเพราะไม่พูดหรือพูดไม่ดีนัก อย่าให้เด็กอ่านข้อความขนาดเล็กมากนัก
  • อย่าเพิกเฉยลูกของคุณหรือปล่อยให้คนอื่นเพิกเฉยต่อเขา และอย่าปล่อยให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เสียงดังอึกทึก วุ่นวาย และคาดการณ์ไม่ได้

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การสื่อสารของเด็ก

1.   คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • เด็กทุกคนต้องการสื่อสาร ทุกเสียงที่เด็กทำคือภาษา แม้ว่าคุณอาจไม่เข้าใจภาษาของเด็ก แต่เขาพยายามพูดกับคุณ และเขาก็อยากพูดกับคุณอย่างสมบูรณ์ คุณควรให้เวลาให้เด็กได้เตรียมตัวส่งเสียงหรือคำพูด เมื่อคุณอยากให้เด็กพูดได้
  • เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางการพูดอันเนื่องมาจากปัญหาการหายใจ และอ่อนไหวต่อเสียงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถนึกคำพูดที่เขาต้องการ
  • เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทมักมีความลำบากในการจัดระบบคำพูดที่เขาต้องการ และหงุดหงิดเมื่อเขาสื่อสารไม่ได้ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรม เมื่อเด็กยังพูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด อาจสื่อสารโดยชี้หรือมองไปยังตัวเลือกที่เขียนขึ้นมา

2.       คุณควรทำอะไร

  • ให้เด็กของคุณมีส่วนร่วมสนทนาทุกครั้ง ให้ตัวเลือกตอบตลอดวันที่ถามเด็ก (เช่น จะเอาลูกแอปเปิลหรือลูกแพร) ฟังใกล้ๆ เด็ก และรอจนกว่าเด็กจะสื่อสารด้วย เมื่อเด็กทำเสียงหรือพูดหนึ่งคำ ให้สื่อสารกับเขา
  • ยอมรับคำพูดของเขาที่สามารถทำได้ดีที่สุด ณ ตอนนั้น ถ้าเด็กไม่สามารถพูดหรือพูดได้ลำบาก ควรให้กระดานตัวเลือกช่วยให้เขาสื่อสาร เช่น ใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อคุณไม่เข้าใจลูก พยายามคิดว่าลูกกำลังพูดอะไรแล้วค่อยยืนยันโดยปล่อยให้เขาชี้หรือมองไปที่กระดานตัวเลือก
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่เงียบเพื่อง่ายต่อการสื่อสารระหว่างคุณกับเด็ก และให้เวลาที่มากแก่เด็กในการคิดอย่างสมบูรณ์

3.       คุณไม่ควรทำอะไร

  •  อย่าเพิกเฉยลูกของคุณเมื่อเขากำลังพยายามพูด อย่าให้คนอื่นเพิกเฉยลูกของคุณเมื่อเขากำลังพยายามพูด และอย่ารบกวนลูกของคุณเมื่อเขากำลังพยายามพูด
  • อย่าบอกลูกของคุณให้พูดซ้ำหลังจากที่เพิ่งพูดจบไป อย่าแก้ไขหรือวิจารณ์คำพูดของลูก และอย่าสั่งให้ลูกของคุณพูดตรงไปยังบุคคลเป้าหมาย เช่น บอกลาคุณหมอ หรือ ท่องกลอนให้คุณย่าฟัง
  • อย่าถามคำถามเดิมๆ ตลอดเวลา เช่น พ่ออยู่ไหน อายุเท่าไร เป็นต้น อย่าเลียนแบบการพูดของเด็ก และอย่าเร่งเด็กเวลาเขากำลังพูดกับคุณ   

แลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาการทางสังคมของเด็ก

1.   คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • ปลูกฝังพฤติกรรมโดยการเรียนรู้และฝึกหัดอย่างเหมาะสมจากคุณพ่อคุณที่บ้าน เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทจำเป็นต้องรับรู้และแสดงความประพฤติที่เหมาะสมต่อผู้อื่น และมาตรฐานแห่งความประพฤติที่บ้านควรชี้แจงอย่างละเอียด
  • เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทจำเป็นต้องเรียนรู้ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และงานบ้าน ทั้งนี้เด็กอาจประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ที่บ้านมากกว่าที่โรงเรียน
  • เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทไม่ขี้เกียจ ไม่บ้า ไม่คลุ้มคลั่ง แต่จะเรียนรู้ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมจากเด็กอื่นที่มีปัญหาทางระบบประสาท บางครั้งพฤติกรรมที่แย่ ไม่สามารถทำนายได้ และสร้างความรำคาญ อาจมีผลมาจากปัญหาทางการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส โภชนาการ หรือภูมิแพ้

2.       คุณควรทำอะไร

  • คอยอยู่ใกล้ชิดเด็กให้มากที่สุดเพื่อเกิดการเรียนรู้มารยาทและความประพฤติที่ดีของเด็ก คงไว้ซึ่งความประพฤติที่ดีของสมาชิกในครอบครับรวมทั้งลูกของคุณที่มีปัญหาทางระบบประสาท สอนลูกของคุณในทุกสิ่งที่คาดหวังเขาอย่างละเอียด สม่ำเสมอ ซื่อสัตย์ และยุติธรรม
  • ทุกครั้งที่ลูกของคุณทำสิ่งใดๆ ได้ดี บอกเขาว่าคุณชอบสิ่งนั่น และเขาจะทำสิ่งนั้นบ่อยครั้งเมื่อคุณชมเชยเขา ปล่อยให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างอิสระเท่าที่เขาสามารถทำได้ด้วยตนเอง
  • ให้เด็กมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการทำงานบ้านเพื่อสมาชิกในครอบครัว ให้คำแนะนำเด็กทีละขั้นตอนในการแสดงความรับผิดชอบ และมั่นใจแต่งตัวแต่งกายให้เด็กดูดีในทุกโอกาส

3.       คุณไม่ควรทำอะไร

  • อย่าตั้งมาตรฐานของการแสดงความประพฤติที่ต่ำเกินไปสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท อย่าเปลี่ยนกฎกติกาทุกวัน และอย่าปล่อยให้ลูกของคุณอยู่กับเด็กที่มีหรือไม่มีปัญหาทางระบบประสาทและมีพฤติกรรมไม่สมวัย
  • อย่าคิดว่าลูกของคุณต้องการอยู่กับเด็กอื่นๆ เพื่อพัฒนาการทางสังคม อย่าคิดว่าลูกของคุณควรอยู่กับคนอื่นๆ อย่าคิดว่าควรเร่งเวลาให้เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทเรียนรู้ในการทำกิจกรรมอย่างอิสระ
  • อย่าดูถูกหรือไม่เปิดโอกาสให้เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทได้ช่วยเหลือคุณ อย่าคิดว่าลูกของคุณจะประพฤติไม่ดีในสถานการณ์สังคมที่ไม่มีประสบการณ์ อย่าปล่อยให้ลูกของคุณสวมใส่เสื้อผ้าหรือแต่งตัวไม่สมวัย และอย่าอายในตัวลูกของคุณเพราะเขามีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้และเติบโตเหมือนเด็กทุกคน

กิจกรรมบำบัดมหิดล ออก TV รายการ ชีวิตเลือกได้ 20 ตอน  

รายการชีวิตเลือกได้ ตอนที่ 1 ( การฝึกทักษะชีวิต) จะเริ่มออกอากาศวันนี้ (พุธ 7 เม.ย.) เวลา 13.30 น. ทาง ทีวีไทย  และจะออกอากาศเป็นประจำทุกสัปดาห์ (ยกเว้นวันพุธที่ 14 เม.ย. งด)

โปรดติดตามและเป็นกำลังใจให้นะครับ ขอบคุณมากครับ

 

หมายเลขบันทึก: 350037เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2010 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาติดตามรับความรู้ค่ะ

เอามาฝากเผื่อเป็นประโยชน์ของวันที่ 24 บ้างค่ะ

http://gotoknow.org/blog/patipan/392294

และเอาภาพมาให้ชมก่อน

เจอดร.ป๊อบแล้วจะเรียนถามปัญหาของเด็กน้อยค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณครับคุณครูต้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท