การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม...กับงานฉลองพระธาตุโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว


การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม

 การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการ โดยการยอมรับและให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนวความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับประโยชน์ และตรวจสอบผลการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งการบริหารลักษณะนี้จะทำให้ระบบราชการสามารถสนองตอบตรงความต้องการของประชาชน และนำไปสู่ประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน 

โครงการนี้เริ่มปีนี้เป็นปีแรก โดย กพร. มอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่ การเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษา การเตรียมเจ้าหน้าที่จากจังหวัด จากนั้นจัดสรรงบประมาณให้จัดทำโครงการบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นโครงการนำร่อง หรือฝึกปฏิบัติ เรียนรู้การดำเนินการก่อนจะขยายต่อไปในอนาคต 

สำหรับ จ.ยโสธร เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 จัดเวทีประชาคม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชน ตำบลโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว ว่ามีปัญหาอะไร แล้วจะทำอะไร โดยแบ่งกลุ่มย่อยระดมสมอง สรุปนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่ม งานครั้งนี้จัดในช่วงค่ำ เป็นเวลากลับจากการทำงานในท้องทุ่ง ถือเป็นเวลาชาวบ้านค่ะ มีประชาชนจาก 5 หมู่บ้านของ ต.โพนทันมาร่วมเวทีประชาคม ในส่วนของภาคราชการ หัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ท่านรองผู้ว่าราชการ นายอำเภอ 3- 4 อำเภอ ของ จ.ยโสธร และหัวหน้าส่วนต่างๆ มาร่วมอีกหลายท่าน ผลสรุปคือ ประชาชนต้องการ “พัฒนาห้วยกะหล่าวให้สามารถใช้อุปโภค บริโภค จับปลาหากินได้” เนื่องจากมีสภาพวัชพืชแพร่ขยายและตื้นเขิน

ห้วยกะหล่าว มีปัญหาจากวัชพืชและตื้นเขิน 

 

 เมื่อ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญหัวหน้าส่วนราชการ มีท่านปลัดจังหวัดยโสธร ท่านนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และหัวหน้าส่วนงานต่างๆของจังหวัดและอำเภออีก 10 กว่าท่าน และทีม อบต.บ้านโพนทัน เข้าร่วมกิจกรรมกับตัวแทนชาวบ้าน 5 หมู่บ้าน จำนวน 50 คน โดยกิจกรรมเริ่มจากแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 5 กลุ่ม เขียนบัตรคำว่าจะพัฒนาห้วยกะหล่าวอย่างไร จากนั้นจัดกลุ่ม ให้ชื่อแต่ละกลุ่ม และให้คะแนนเพื่อจัดลำดับความสำคัญ สรุปได้ก็คือ เริ่มจาก กำจัดวัชพืช ขุดลอก ปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยว นำมาใช้ในการเกษตร ทำถนนรอบๆ และทำสะพาน จากนั้นให้ประชาชนไปลงชื่อเพื่อจะได้เป็นผู้ติดตามการดำเนินงานในแต่ละเรื่องต่อไป 

  

ฝ่ายทางจังหวัดก็จะได้ประชุมผู้เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการ มอบหมายผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการและจัดทำแผนเพื่อของบประมาณสนับสนุนโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 

  

การจัดกิจกรรมทั้งสองครั้งจัดที่วัดโพนทัน ซึ่งครั้งที่ 2 นี้ โชคดีเป็นช่วงที่มีงานบุญฉลององค์เจดีย์พระธาตุโพนทัน จึงได้เห็นรูปแบบการตกแต่งของชาวบ้านซึ่งเรียบง่ายแต่สวยงามมากๆค่ะ  และสุดท้ายเป็นภาพสภาพท้องทุ่งตามธรรมชาติของตำบลโพนทันมาฝากค่ะ

หมายเลขบันทึก: 165330เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 02:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เริ่มเห็นการลงขันความคิด ความรู้ ความสมานพันธกิจ ระหว่างราชการกับประชาคม ในเชิงกระบวนการที่ลงได้ลึกมากขึ้น แต่อย่างไร ก็จะต้องลงมือทำ ลงรายละเอียดอีกหลายรอบ จะได้ลดใบสั่ง เปลี่ยนใบ มาเป็นดอก เป็นผล มากขึ้น

ภาพสวยมาก  

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยมาเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

คิดถึงมากค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ ...อาจารย์แป๋ว..

...

คุณค่า คือความร่วมมือ ทุกฝ่ายโดยที่เราไม่ต้องแบ่งว่าเป็นงานใครหรือใครควรทำ...หากว่าเราทุกคนร่วมมือร่วมใจ...ประเทศไทยพัฒนา..ยิ่งๆ ขึ้นค่ะ...

"เวทีประชาคม...บ้านโพนทัน ยโสธร"

(^____^)

กะปุ๋ม

สวัสดีค่ะอาจารย์

มาให้กำลังใจ ในการร่วมด้วยช่วยกันค่ะ

แต่ภาพวัว ดูแล้ว เค้าผอมไปหน่อยไหมคะ กำลังมองมาเลยค่ะ

ตามมาเรียนรู้กระบวนการทำประชาคมครับ (จากบันทึกคุณกะปุ๋ม) ผมสนใจกระบวนการแบบนี้ อยากแลกเปลี่ยนในรายละเอียดครับ

  • วัตถุประสงค์
  • ภาคี
  • การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
  • กระบวนการเตรียมวิทยากร
  • กระบวนการเตรียมกลุ่ม
  • กระบวนการในเวที
  • ผลลัพธ์

ขอบคุณครับอาจารย์ที่นำภาพมาให้เห็นบรรยากาศครับ

สวัสดีค่ะพ่อครูบาฯ

ก่อนอื่นต้องขอโทษทุกท่านและพ่อครูบาฯ ด้วยค่ะที่กว่าจะมาตอบใช้เวลานานไปนิดหนึ่งค่ะ ... ช่วงที่ผ่านมา มีอาการแบบยุ่งๆค่ะ เลยไม่ค่อยมีสมาธิ (สมาธิสั้น...อิอิ) ...

โครงการนี้ หลักการคือ กพร อยากให้ ราชการก่อนที่จะทำอะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วม ก่อนเพื่อจะได้เกิดความยั่งยืน หรือไม่มีปัญหาค่ะ (เอาสั้นๆ ก่อนนะค่ะ เพราะเรื่องมันยาว...อิอิ) ดังนั้นกิจกรรมนี้เป็นจุดเริ่มต้น เป็นตัวอย่าง หรือรูปแบบสำหรับการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมค่ะ ... น่าจะทำให้หน่วยงานราชการมีแนวทางขึ้นบ้างค่ะ... เรารอดูกันต่อไปนะค่ะ ว่าจะมีความต่อเนื่อง หรือ เป็นไฟไหม้ฟาง....อิอิ

สวัสดีค่ะพี่อ้อย

ขอบคุณมากค่ะ คิดถึงค่ะ เดี๋ยวเราก็คงได้พบกับที่ภูเก็ตนะคะ ... อิอิ ตอนแรกวางแผนไว้ว่าจะไปเยือนนครวัด นครธมค่ะ ... แต่หากไปภูเก็ต โปรแกรมนครวัด นครธม คงต้องเลื่อนไปอีกนิดหนึ่ง ... อ้อ พี่อ้อยสนใจไปด้วยกันมั้ยค่ะ นครวัด นครธม

สวัสดีค่ะน้องกะปุ๋ม

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับหมูยอ อร่อยมากค่ะ ... หวังว่าโครงการนี้ จะเกิดความยั่งยืน เพื่อพี่น้องชาวยโสธร นะคะ

สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มีให้อย่างสม่ำเสมอค่ะ ... วัวผอมๆ เนื่องจากวัวกินแต่หญ้าหรือฟางอย่างเดียวและช่วงนี้แล้งแล้วหญ้าคุณภาพดีมีน้อย เหลือแต่ฟางซึ่งคุณภาพต่ำ มีปริมาณโภชนะต่ำกว่าความต้องการของวัวค่ะ ...

  • เข้ามาดูรูปครับ
  • inform+04.jpg สองรูปด้านล่างสวยดีครับ
  • inform+05.jpg รูปล่างซ้ายก็สวยดีครับ

 

สวัสดีค่ะน้องเอก

ขอตอบคำถามเพื่อแลกเปลี่ยนกระบวนการนะคะ

  • วัตถุประสงค์
  • โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การทำงานของทุกหน่วยงานโดยเฉพาะภาคราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารแบบมีส่วนร่วมค่ะ

  • ภาคี
  • ทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรมหรือโครงการที่จะดำเนินการ หรือคิดจะทำค่ะ มีทั้งภาคประชาชน องค์กรการปกครองท้องถิ่น (อบต) และหน่วยงานระดับจังหวัด และอำเภอจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ

  • การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดกับงานหรือโครงการนั้นๆค่ะ

  • กระบวนการเตรียมวิทยากร
  • จัดอบรมโดยสถาบันพระปกเกล้า

  • กระบวนการเตรียมกลุ่ม
  • งานนี้มีชาวบ้าน 5 หมู่บ้านของตำบลโพนทันมีส่วนเกี่ยวข้อง ทางจังหวัดจึงเชิญชาวบ้านจาก 5 หมู่บ้าน หมูบ้านละ 10 คน เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรม

  • กระบวนการในเวที
  • อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับเจ้าหน้าที่จากจังหวัดที่ผ่านการอบรมมาแล้วเป็นผู้ดำเนินการแบบเป็น Fa ให้ประเด็น และกระตุ้น ให้ประชาชนเป็นผู้แสดงความคิดเห็น สรุป และนำเสนอ

  • ผลลัพธ์
  • ได้ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข ผู้ติดตามการดำเนินการ แผนเพื่อเสนอของบประมาณ และกิจกรรมเพื่อจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อเสนอของบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่อไป

    หลักการของโครงการนี้ คือ ให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ... โดยโครงการนี้จะเป็นต้นแบบสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการส่วนอำเภอ และจังหวัด ในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ก่อนที่จะจัดทำโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ประชาได้รับทราบ เข้าใจ เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม เป็นเจ้าของ อันจะก่อให้เกิดความรู้สึกที่ช่วยกันดูแล รักษา ร่วมมือ ในการทำกิจกรรม/โครงการต่างๆ ที่ภาครัฐ และองค์กรส่วนท้องถิ่น จะจัดให้กับประชาชน

    สวัสดีค่ะคุณกวินทรากร

    ขอบคุณมากค่ะ เป็นภาพที่ถ่ายจากงานฉลอง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่างานบุญ ที่วัดพระธาตุโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร และ ภาพทุ่งนาที่หมู่บ้านเดียวกันค่ะ

    เห็นภาพแล้วคิดถึงบ้านเลยแต่ไม่ได้ไปเที่ยวงานพระธาติบ้านโพนทัน2ปีแล้ว บ้านตัวเองแท้ๆ

    งานทุกปีสุดยอดเลยครับ บางปีไม่ได้มาเพื่อนก็จะคุยให้ฟังให้ผมตาร้อน แต่ตาก็ร้อนจริง หุๆๆๆๆ

    บ้านเราก็ยังคงสภาพสมบูรณ์ดี น้ำที่กินที่ใช้ไม่เคยเหือดแห้ง(อร่อยจนบ้านอื่นอิจฉา555+บ้านเราเองคร้าบบบบ)

    พระธาตุบ้านเราปู่บุญสูงก็ศักดิ์สิทธิ์มากเป็นที่นับถือ ตายกี่ทีถ้าได้เกิดอีกก็ขอเกิดอยู่ที่บ้านโพนทันครับ

    *********************คนบ้านโพนทัน แค่มองตากันก็เข้าใจอยู่**************************

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท