โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตอนที่3


การเดินทางของกองทัพมด(ใน รพ. ใหญ่)

<p> หลังจากที่ "ทีมกัลยาณมิตร" ประชุมกันหลายครั้งและวางแผนร่วมกันว่า เราจะพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พวกเราเริ่มประเมินตนเองก่อนว่าเราขาดอะไร เรายังไม่พร้อมด้านไหน คำตอบที่ได้ก็คือ</p>

           1. เรายังขาดองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

           2. ทีมเราเป็นทีมเล็ก และแต่ละคนก็มีภาระงานของตนเองยากที่จะทำงานได้สำเร็จต้องทำงานแบบเครือข่าย

           3.เรายังขาดคนประสานงาน ยังขาดการจัดการข้อมูลที่ดี

จากอุปสรรคดังกล่าว พวกเราจึงเริ่มวางกลยุทธ์ให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ (เขียนไว้ใน "การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตอนที่2"  http://gotoknow.org/blog/primarycare/98199 )

กลยุทธ์ที่ใช้

1.เริ่มมองหาคนที่มีองค์ความรู้ในด้านนี้มาจุดประกายให้กับคนใน รพ. ของเรา บังเอิญผมได้รู้จักอาจารย์สายพิณ หัตถีรัตน์ จึงเรียนเชิญอาจารย์มาบรรยายที่ รพ.

บรรยาย

ได้รับเสียงตอบรับดีครับ

ตอบรับ

 2.เราโชคดีที่มีคนสนใจงานนี้พอสมควร ผมได้คุณยุ้ย เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ต้องการร่วมทำงานนี้ การจะทำงานเครือข่ายต้องมีแกน/ประสาน เครือข่ายจึงเกิดได้

ทีมกัลยามิตรวางบทบาทตัวเองเป็นทีมที่ปรึกษา/ทีมประสานลงติดตามผู้ป่วยถึงบ้าน/รวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อการวิเคราะห์(ไม่ใช่ทำทุกอย่างแต่เพียงลำพัง)

เรารับอาสาสมัครกัลยามิตร(อสก.) คือคุณพยาบาลที่อยู่บน ward ที่มีใจอยากจะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราคิดว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นญาติ/โรงพยาบาล/PCU ความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ (continuous care) อสก.มีหน้าที่สื่อสารข่าวเมื่อผู้ป่วยมา admit ช่วยดูแลผู้ป่วยบน ward ของตนตามที่เวลาจะอำนวย สื่อสารกับทีมกัลยามิตร และผมมองอนาคตไว้ว่าถ้าทีมอาสาสมัครมีศักยภาพดีก็จะเป็นคนที่ขยายแนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้กับคนในที่ทำงานของตน

การเดินทางของกองทัพมด(ใน รพ. ใหญ่)

เราค่อยๆรุกทีละ ward ทีละน้อย ช่วงแรกก็ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญ

เยี่ยมทีละ case

แต่พอพวกเราเริ่มแก้ไขปัญหายากๆให้กับ ward เช่น ปัญหาการปิดบังการวินิจฉัย ปัญหาด้านการสื่อสาร  ก็ค่อยๆเริ่มมีคนสนใจว่าเราทำได้อย่างไร ที่ทำให้ญาติหรือผู้ป่วยที่ดูจะเข้าถึงยากดูแลได้ง่ายขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

 หลังนั้นก็เริ่มคนมาเป็นอาสาสมัครมากขึ้น

คุณยุ้ย

เราทำงานเหมือนการขายตรง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคือคุณพยาบาลเจ้าของ ward แบบถึงลูกถึงคน ไปให้ถามถึงที่ ไม่เคยเล่นตัวนะครับ :)

เมื่อ case ออกจาก รพ. เราก็มีทีมติดตาม เรามีทีมร่วมกับเจ้าหน้าที่ สอ.หรือถ้า case อยู่ใน PCU ผมก็ติดตามห้เขาเยี่ยมต่อ

 (งานถนัดผมครับ เรื่องเยี่ยมบ้านเนี้ย วันนี้เรามากับพี่แดง จนท.สอ ใส่เสื้อแจกเกท)

เยี่ยมมะเร็ง

เราใช้เวทีการประชุม 1 เดือนครั้ง ให้ อสก. นำเสนอ case ที่ดูแลแล้วให้ทุกคนช่วยกันคิดว่าจะช่วยผุ้ป่วยได้อย่างไร

และสิ่งที่สำคัญเสมอคือ การสรุปบทเรียนต่างๆ ปัจจุบันผมเริ่มเก็บข้อมูลการดูแลเพื่อจุดหมายที่จะใช้ในการ

1.พัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างต่อเนื่อง

2.นำเสนอกับผู้บริหารเพื่อให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญและสนับสนุนงานนี้ให้กว้างขวางขึ้น

3.สร้างองค์ความรู้เพื่อสื่อสารกับคนใน รพ. เพื่อการพัฒนาที่ยั้งยืน

โครงการนี้คงจะค่อยๆเดินไปอย่างช้าๆ ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าจะไปถึงจุดที่เราหวังหรือไม่ แต่กองทัพมดก็จะค่อยๆ เดินต่อไปครับ

หมายเหตุ: ผมจะเขียนเกี่ยวกับ palliative care ใน  blog  รัก palliative ถ้าสนใจแวะเวียนไปเยื่ยมชมได้นะครับ

</font></span>

หมายเลขบันทึก: 100170เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ชอบจริง ๆ กองทัพมดเนี่ย     แสดงถึงความขยัน ค่อย ๆ ต่อ ค่อย ๆเติม    สำเร็จแน่นอน
ของคุณครับ ยังไงคงต้องค่อยๆทำต่อไปครับ

ไม่ได้เข้ามานาน(หลังจากเข้ามาอ่านเป็นคนแรก) แต่ตอนนี้สอบFMเสร็จแล้ว และที่ทำงานเข้าถึงinternetได้ง่าย หลังจากนี้คงได้เข้ามาดูบ่อยๆครับพี่โรจน์

มีหลายหัวข้อที่น่าสนใจโผล่มาเพียบในช่วงที่ไม่ได้เข้า อยากร่วมแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยครับ

ในเรื่องการtrain family med ที่ผมเพิ่งจบมาก็ยังประสบสิ่งเดียวกับที่พี่โรจน์เล่าอยู่ครับแม้ว่าจะผ่านมา4-5ปีแล้วก็ตาม (และดูจะเลวร้ายกว่าอีกด้วยเนื่องจากคนเรียนมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆอย่างน่าตกใจ) แต่ผมก็ยังมีความรู้สึกดีอยู่ครับว่า เรายังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อยู่ ตราบใดที่คนที่สนใจได้นำไปเผยแผ่และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ทั้งทางด้านรูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรและนอกหลักสูตรอันได้แก่การเป็นmodel ที่ดีต่อผู้ร่วมงาน และผมก็ค่อนข้างเห็นด้วยกับการจัดสอบแบบอนุมัติบัตร เพราะเป็นช่องทางให้แพทย์สาขาต่างๆที่สนใจได้เข้ามาเป็นส่วนร่วมในการพัฒนา ดังเช่นในปัจจุบันที่ modelที่ดีมากๆหลายๆอันก็เกิดมาจากแพทย์เฉพาะทางที่ไม่ได้เรียนด้านfamily medมาโดยตรง [ผมรู้สึกว่าการที่มีmodelที่ดี เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะเป็นสิ่งที่จูงใจให้คนสนใจได้ดีกว่าการโฆษณาใดๆ ผมมั่นใจว่ามันเป็นของดีของเราที่ใครๆก็ต้องชอบครับ]

เรื่องคนไข้ panic แม้จะเคยฟังที่พี่โรจน์เล่ามาแล้ว แต่เข้ามาอ่านซ้ำอีกก็ยังรู้สึกดีและมีประโยชน์ครับ 

ปล. 1. เดี๋ยวผมจะเมล์ไปเล่า+ขอคำแนะนำที่เมล์ของพี่นะครับ รอรับได้เลย

       2. เผื่อสตางค์เข้ามาอ่าน ก็ขออนุญาตฝากไว้ว่า ว่างๆก็เมล์มาคุยกันได้ (เพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันครับ)

 

พี่เห็นด้วยกับนัทนะและคิดว่าตอนนี้สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำงานให้เต็มที่ รวมพลังกันสร้างสิ่งดี และสามัคคีกันร่วมกันพี่เชื่อว่างานสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวน่าจะยังอยู่ได้ พี่ตอบ e-mail ไปแล้วนะครับ
เอ พี่ตอบไปที่เมล์ไหนเหรอครับ หลายวันมาแล้วผมยังไม่ได้รับเลยครับ
ใช่ครับ สงสัยเมล์ของเวปนี้จะมีปัญหาเลยทำให้ยังไม่ได้ ถ้างั้นพี่ส่งไปที่ [email protected] ก็ได้ครับ ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท