โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

เก็บตกจากงานประชุม พุทธิกาครั้งที่12(2/2550) ตอนที่ 1


เรื่อง การดูแลครอบครัวผู้ป่วยภายหลังการสูญเสีย

พุทธิกาเป็นองค์กรที่มีความมุ่งหวังพัฒนาสังคมเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีสุข ในปัจจุบันมีองค์กรที่ร่วมกันเป็นเครือข่ายดังกล่าวในขั้นนี้ประกอบด้วย ได้แก่ มูลนิธิโกมลคีมทอง, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, กลุ่มเสขิยธรรม

เครือข่ายพุทธิกาและคณะอนุกรรมการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้ร่วมกันทำ  โครงการเพชิญความตายอย่างสงบระยะที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจที่จะช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้มีสุขสงบ บุคคลากรที่เกี่ยวข้องได้มีองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 แล้วครับ ปีนี้เราได้รับการสนับสนุนจาก สสส.เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายเครือข่าย ประชุมกันทุก 2 เดือนเรื่อง การดูแลครอบครัวผู้ป่วยภายหลังการสูญเสีย ห้องประชุมมงคลนาวิน ตึก สก.ชั้น 10

ผู้เข้าร่วม

คุณสุ้ย

คุณสุ้ย(วรรณา) ผู้จัดการโครงการได้กล่าวต้อนรับและเป็นผู้ดำเนินการสัมนาช่วงเช้าผู้เข้าร่วมมีทั้งแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายรวมทั้งหมดประมาณ 60 คน หลังจากทุกคนแนะนำตัวเรียบร้อยแล้ว อาจารย์แพทย์หญิง มนทรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รามาธิบดีได้บรรยายสั้นๆประมาณ 20 นาที

อาจารย์มนทรัตน์

อาจารย์มนทรัตน์ได้เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับปฏิกริยาของผู้สูญเสียคนที่รักนั้นเป็นกระบวนการณ์ธรรมชาติที่เกิดกับทุกคนที่มีความสูญเสีย (grief reaction) ไม่ว่าจะเป็นผลทางกายเช่นมึนหัว แน่นอก ใจสั่น ทางจิตใจคิดอะไรไม่ออก มึนชา อาจเห็นภาพของผู้เสียชีวิตในฝันหรือรู้สึกว่าผู้เสียชีวิตมาหา ไม่รับรู้เรื่องราว(shock) หลังจากนั้นเริ่มยอมรับสภาพ+เริ่มเจ็บปวดกับการสูญเสีย (pang of grief) เมื่อผ่านพ้นไปซักระยะ หลังจากนั้นจะเริ่มที่จะต้องปรับตัวกับการอยู่อย่างไม่มีผู้เสียชีวิตอีกต่อไป+สิ้นหวัง (despair) และเมื่อเวลาผ่านสามารถปรับตัวได้ (reorganization) ระยะเวลาทั้งหมดอาจประมาณ 6-12 เดือน

ลักษณะในการแสดงออกต่อการสูญเสีย(mourning) แตกต่างกันไปตามบริบทของวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ความรุนแรงของปฏิกริยาความสูญเสียแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุผู้สูญเสีย ความสัมพันธ์เดิมในครอบครัว ประสบการณ์การสูญเสียในอดีตลักษณะการสูญเสีย (อุบัติเหตุ vs เรื้อรัง) ในหลายครั้งในช่วงวันครบรอบวันตายหรือ เมื่อผู้สูญเสียพบเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงก็อาจจะกลับมาเศร้าโศกได้อีก "grief never really end"อาจารย์ทิ้งประเด็นที่น่าสนใจว่า วิชาการเป็นเพียงส่วนเล็กๆที่ใช้ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ประสบการณ์จริงเป็นสิ่งที่เราจะสามารถเรียนรู้ได้ลึกและแท้จริงและแต่ละคนจะมีบทบาทอย่างไรกับการดูแลญาติผู้เสียชีวิต

ช่วงที่ 2

เป็นช่วงประสบการณ์ความสูญเสียจากคนที่มีประสบการณ์จริงๆ ได้แก่คุณช. และคุณ บ. ผมคงไม่สามารถจะเล่าในเชิงรายละเอียดในประเด็นนี้ได้ แต่ก็จะนำบรรยากาศและความรู้สึกของแต่ละท่านมาเล่าให้ฟัง

บรรยากาศในขณะที่เล่า เงียบงัน...ทุกคนฟังอย่างตั้งใจ จริงๆช่วงนั้นเป็นช่วงเบรคกาแฟ แต่ไม่มีใครออกไปรับประทานเบรคเลย

คุณ ช. เล่าถึงระยะสุดท้ายของคุณพ่อที่อาการของคุณพ่อแย่ลงเรื่อยๆ โดยคุณชัยยศดูแลคุณพ่อตลอดจนถึงวันที่คุณพ่อจากไปอย่างสงบ คุณพ่อมีจิตใจที่เข้มแข็งและคุณ ช.ได้เล่าถึงความรู้สึกของผู้ที่สูญเสียว่า มีความทุกข์ทางใจที่ต้องดูคนที่รักจากไปอย่างช้าๆโดยที่ได้เพียงช่วยดูแลคุณพ่อ โดยที่วันสุดท้ายคุณพ่อบอกคุณชัยยศว่า " ไม่ปั้มนะ" และสั่งเสียกับลูกๆ คุณพ่อของคุณ ช.เสียชีวิตที่ รพ.แห่งหนึ่ง คุณ ช.บอกว่า เขารับได้กับการสูญเสีย แต่คุณแม่และพี่สาวรับไม่ได้ คุณแม่โมโหง่ายขึ้น เสียใจอยู่นาน

คุณ ช.เล่าให้ฟังว่า "คำบางคำของผู้ที่หวังดีก็ทำให้คุณชัยยศรู้สึกหงุดหงิด(ถึงแม้ว่าจะทราบว่าเป็นความหวังดี) เช่น ทำไมไม่พาคุณพ่อไปรักษาที่ รพ. ที่ดีกว่านี้ คุณ ช."ความต้องการของคุณพ่อ-ครอบครัวชัดเจนคือ ขอจากไปอย่างสงบและไม่ต้องการใช้ความเจริญทางการแพทย์มายื้อเวลาให้ยืดออกไปโดยไม่สงบ ในงานศพ คุณ ช. ก็แอบรู้สึก"โล่งใจ" ที่ได้ทำหน้าที่ของลูกที่ดีอย่างครบถ้วน

คุณ บ. เล่าถึงความสูญเสียคุณแม่ด้วยโรคมะเร็งตั้งแต่เธอ 8 ขวบ  และการสูญเสียคุณพ่อเมื่อ 4-5 ปีก่อน บรรยากาศในห้องปกคลุมด้วยความเงียบ พวกเราผู้ฟังกลัวว่าจะฟังไม่จบเพราะเรื่องที่เล่าเป็นเรื่องที่สะเทือนใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟังอย่างมาก มีผู้ฟังหลายคนน้ำตาซึม ผู้เล่าร้องไห้เป็นระยะเมื่อถึงตอนที่สะเทือนใจ ผมเองก็แน่นหน้าอกไปหมด ย้อนนึกถึงอดีตการสูญเสียของตัวเอง "เกือบกลั้นน้ำตาไม่อยู่เหมือนกัน"

 ภาพของคุณแม่ในวันสุดท้ายนั้น คุณแม่อารมณ์ดีและอยู่กับคุณ บ. ทั้งวัน พูดคุยกับตลอดจนนึกว่าคุณแม่จะหาย แต่เมื่อคุณ บ. หลับไปและตื่นขึ้นมาก็เสียคุณแม่ไปแบบไม่มีวันกลับเป็นภาพของความสุดท้ายที่ยังนึกถึงเสมอ

ส่วนเรื่องการสูญเสียของคุณพ่อนั้น คุณพ่อทุกข์ทรมานกับการเจ็บป่วยด้วยมะเร็งเช่นกัน พ่อต้องผ่าตัดถึง 4-5 ครั้งแต่อาการก็แย่ลงเป็นลำดับ ระหว่างนั้นก็เกิดความขัดแย้งกับแพทย์เจ้าของไข้ เกิดความคิดเห็นต่างในครอบครัว และในวันสุดท้ายของคุณพ่อก็ไม่สามารถจะไปดูใจคุณพ่อหรือแม้แต่จะไปงานศพเนื่องจากต้องนอน รพ.เพราะไข้เลือดออก

ความรู้สึกคุณ บ.ที่ต้องเสียทั้งคุณพ่อ/แม่ด้วยโรคมะเร็งฝังลึกและเป็นปมในใจตลอดมาสิ่งที่คุณบ. ได้จากการจากไปของคุณพ่อ คือสิ่งที่คุณพ่อทำมาตลอดคือ ขยันทำงาน ไม่เบียดเบียนคนอื่น ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีตามอย่างคุณพ่อ

หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันให้กำลังใจแก่วิทยากรทั้ง 2 ท่าน+เล่าประสบการณ์ของตนเองต่อการสูญเสีย

อาจารย์แชมป์(อ.นพ.พรเลิศเสื้อสีครีม) ได้ชี้มุมมองความตายยังก่อให้เกิดสิ่งดีและความรู้สึกลบ ขึ้นกับเจ้าของประสบการณ์จะหยิบส่วนไหมมาพิจารณา

อาจารย์โจ้ (อ.พญ.พัชรินทร์ ชุดชมพูกลางภาพ) เปรียบชีวิตเหมือนการเดินแฟชั่นโชว์ ตอนเกิด-การแต่งงาน-เต็มไปด้วยความสุขและการเฉลิมฉลอง เปรียบเหมือนเสียงปรบมือในแต่ละช่วง แต่ชุดสุดท้าย (ความตาย) เปรียบเป็นชุดฟีนาเร่ ที่ถึงแม้จะสวยแต่ก็ปราศจากเสียปรบมือ เราจะทำอย่างไรให้ความตายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเป็นสิ่งที่สวยงาม

อาจารย์โจ้-อาจารย์แชมป์-คุณพ่อเชิดชัย

 คุณพ่อเชิดชัย(บาทหลวงสวมเสื้อขาว)สรุปประเด็นว่า "ทุกคนมีประสบการณ์การสูญเสีย หลายคนรู้ว่าจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร แต่อาจยังปฏิบัติไม่ได้ ทุกคนมีศักยภาพในการพ้นจากทุกส่วนวิธีการนั้นคงเป็นไปตามแต่ละคนจะเลือก และสุดท้ายปลายทางคือความสุขที่ทุกคนต้องการประสบ

อาจารย์ปริสวัน(เสื้อแดง) ได้สรุปว่า สิ่งที่ทำให้เราเจ็บมิใช่ญาติเรา แต่สิ่งที่ทำให้เราเจ็บคือความสูญเสีย เป็นผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ แต่สิ่งที่ผู้สูญเสียได้คือผู้สูญเสียเองเข้มแข็งมากขึ้นและเติบโตและทิ้งคำถามสุดท้ายว่า "เราทั้งหลายจะเรียนรู้จากความตายทั้งจากประสบการณ์ของคนอื่นและประสบการณ์ตรงอย่างไร

เราจบช่วงเช้าไปพักรับประทานอาหารและพูดคุยทำความรู้จักกันและมาต่อช่วงบ่ายกันในหัวข้อ "ประสบการณ์การดูแลครอบครัวหลังการเสียชีวิต"  ซึ่งเป็นรอบของบุคลากรทางการแพทย์มาเล่าให้ฟัง

ขออนุญาติเรียบเรียงซักพักแล้วจะนำมาเล่าให้ฟังในตอนที่ 2 ครับ

หมายเลขบันทึก: 107757เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2007 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เมื่อคืนก็มีคนไข้ arrest ไปหนึ่งราย ค่อนข้างกระทันหันเหลือเกิน  ญาติคงยังทำใจไม่ได้

เมื่อ 7 ปีก่อน ก็พบกับตัวเอง ที่ต้องสูญเสีย คุณแม่ เพราะอุบัติเหตุ  รถตกเหวที่ กาญจนบุรี ขณะกำลังไปทำบุญ ที่ อ.สังขละ  ตอนน้องโทรมาประมาณ 10.00 น.  บอกว่าเมื่อคืนเพิ่งไปส่งแม่ขึ้นรถ ตีสี่ก็เกิดเหตุ   ตอนแม่อยู่ที่ รพ.สังขละ  นึกออกเลยว่าแม่เป็นอย่างไร อยู่สภาพไหนที่ ER    

หลังจากที่ต้องสูญเสียกระทันหัน ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปอย่างมาก เข้าใจคนที่ต้องสูญเสียว่าเป็นอย่างไร   

อีกไม่นาน ตอนอยู่เวร ER มีผู้หญิงคนหนึ่ง อุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซค์  เสียชีวิตก่อนมาถึง ร.พ. ตอนมาถึง ในประเป๋าเงินมีรูปลูกสาว อายุประมาณ 20 ปี  ผมนึกถึงลูกสาวได้เลยว่ารู้สึกอย่างไร

อาชีพ แพทย์ ก็ต้องพบเห็น เรื่องเหล่านี้ตลอดเวลา เพียงแต่ว่า เราคิดอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น

 

ผมก็หวังว่าเรื่องราวที่เล่าเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ป่วยหรือจากตัวเรามาเป็นบทเรียนที่มีค่าให้ผู้นั้นพัฒนาตัวเอง ดำรงค์ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ทำแต่ความดีเพื่อความดี ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ขอบคุณอาจารย์หมอจิ้นที่ร่วมเล่าประสบการณ์ครับ

ขอบคุณนะคะที่เล่าสิ่งดีดีให้ฟัง

ดิฉันเป็นพยาบาล เคยสอนน้องพยาบาลว่าระหว่างเราช่วยชีวิตผู้ป่วย

บางครั้งเกิดความเครียดทั้งหมอและพยาบาล

พวกเราผ่อนคลายกันโดยพูดเล่นกันและยิ้ม... ระหว่างช่วยชีวิตผู้ป่วย

ซึ่งเป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสม เราต้องระวัง

ขอบคุณ

P
อุบล จ๋วงพานิช
ที่แวะเข้ามาอ่านนะครับ ติดตามอ่านเรื่องของอาจารย์เช่นกันครับ

ขอบคุณมากๆๆนะคะ ที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆๆๆ และ มีแง่มุมที่น่าสนใจ มากมายเลยค่ะ

แล้วจะมาติดตามตอนต่อไปค่ะ ^__^

กำลังเรียบเรียงตอนต่อไปครับ
P
ซันซัน
 ผมเพิ่งไปงาน101 ปี ท่านพุทธทาส มาก็มีเรื่องดีๆ จะเล่าอีกเช่นกันแต่ต้องเขียน ตอนที่ 2 ให้จบก่อน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท