โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ความประทับใจที่ รพ.นครไทย


"รู้ไม่ชัดก็คิดไม่ชัด คิดไม่ชัดก็ปฏิบัติการวิบัติ"

วันอังคารตอนบ่ายๆ ผมกับคุณยุ้ย (เลขาโครงการกัลยาณมิตร) กำลังเยี่ยมบ้านผู้ป่วยมะเร็งอยู่ มีโทรศัพท์จากท่านผู้อำนวยการ รพ. นครไทยเชิญผมไปบรรยายที่ รพ. นครไทยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผมตอบตกลงในทันทีเพราะคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะร่วมสร้างเครือข่ายการดูแลที่เกิดจากความสนใจของคนในระดับผู้นำ รพ.เราตกลงว่าจะบรรยายในวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2550 ได้แบ่งผู้เข้าประชุมเป็น 2 รุ่น โดยหัวข้อการบรรยายมีดังนี้

- สารคดีชีวิตจาก มรณานุสรณ์ของคุณสุภาพร  พงศ์พฤกษ์” 35 นาที

- แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ระหว่างวิทยากร-ผู้ร่วมประชุม)

- สำรวจความต้องการของผู้เข้าร่วมการอบรม

แนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง palliative care

ทักษะการสื่อสาร : การแจ้งข่าวร้าย

ประสบการณ์โครงการกัลยาณมิตร รพ . แม่สอด

-เสวนาแบ่งกลุ่มย่อยใน 2 ประเด็นหลัก

1. วิเคราะห์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใน รพ. นครไทย (สถานการณ์ปัจจุบัน-จุดเด่น-อุปสรรค/ส่วนขาด-แนวทางแก้ไขปัญหา)

2. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในบริบท รพ. นครไทย

- นำเสนอผลการเสวนา (กลุ่มละประมาณ 15 นาที)

- สรุปบทเรียน

ซักถาม-อภิปราย

รพ. นครไทยมารับผมประมาณ 5.00 น. ผมเริ่มรู้สึกว่าตอบรับไวเกินไป (ไม่นึกเลยว่าจะไกลขนาดนี้ (มากกว่า 400 กม.)แต่ก็มีภูมิประเทศสวยงามเป็นเส้นทางที่มีที่ท่องเที่ยวเยอะ ระหว่างที่เดินทางมือถือที่ใช้มานาน 4 ปีก็ขาดใจตาย (ตามหัวข้อที่ต้องไปบรรยาย)

การบรรยายได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีบุคคลากรทุกฝ่ายรวมทั้งแพทย์เข้าฟังและในวันที่ 2 ก็มีคำถามมากมาย ผมรู้สึกถึงความตั้งใจของผู้เข้ารับการอบรม

ผมได้ข้อสรุปของประเด็นคำถามที่สำคัญคือ

1.จะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไรถ้างานยุ่งมากๆ

2.บุคคลากรขาดทักษะ/ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

3.จะตั้งทีมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใน รพ.ดีหรือไม่

4.จะทำอย่างไรให้เกิดการมีส่วนร่วมพร้อมใจกันทำทั้ง รพ.

 

ผมได้ให้ข้อสรุปในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไว้ดังนี้

1.การจะเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่างต้องเริ่มจากใจก่อน

2.ไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญเพราะความเชี่ยวชาญจะเกิดจากการหาความรู้ด้วยตนเอง+ปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะ (ไม่มีใครรู้จัก รพ.นครไทยได้ดีเท่าคน รพ. นครไทย)

3.การจะทำอะไรอย่างทำคนเดียว แต่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำ แต่สำคัญก็คือต้องให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม (มิใช่ใครจะเชี่ยวชาญกว่าใคร)แต่ต้องมีเจ้าภาพบริหารจัดการ

4.การจะทำให้เกิดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ต้องเริ่มจากของจริง ทำทีละ case แล้วเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อทำไปนานจะรู้บทบาทของกันและกัน จะนำมาซึง่การส้รางระบบการดูแลผู้ป่วยระยสุดท้ายของ รพ. นครไทยเอง

ที่สำคัญก็คือ ทำด้วยใจไม่บังคับ ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างแท้จริง ความยั่งยืนจะเกิดจากความปิติในใจของผู้ปฎิบัติที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น

 

มีคำถามมากมายในรายละเอียดว่าจะแก้ case นี้ case นั้นอย่างไรมีจึงให้หลักการง่ายๆว่า

1.ท่านพระพรมคุณาภรณ์ ได้กล่าวไว้ว่า"รู้ไม่ชัดก็คิดไม่ชัด คิดไม่ชัดก็ปฏิบัติการวิบัติ" แปลง่ายๆคือ เราไม่สามารถทำอะไรได้ถูกต้องถ้าไม่เข้าใจผู้ป่วยและครอบครัวอย่างรอบด้านในทุกมิติ ผมบอกชาวนครไทยว่า จะรู้จักมององค์รวมได้ต้องไม่ทำให้เรื่องมันยาก ต้องเปิดใจรับฟังอย่างแท้จริง ไม่มีเงื่อนไข แล้วเราจะรู้เองว่าต้องทำอะไร

2.done with them more than done to them ผมหมายถึงร่วมคิดร่วมทำกับครอบครัวโดยให้พวกเขามีร่วม

3.คนที่จะช่วยผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ ต้องมีจิตใจที่ฝึกฝนให้อ่อนโยนแต่เข้มแข็ง

4.อย่าคิดว่าเราไปให้อะไรเขา บางครั้งเราได้เรียนรู้ด้วยซ้ำไป (ถ้าเราคิดแต่จะช่วย เขาจะอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่าเรา แต่ถ้าเราเข้าไปเรียนรู้เขาเรากับเขาจะเท่าเทียมกัน)

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณ รพ.นครไทยที่ให้ผมได้มีโอกาสไดเรียนรู้บริบทของ รพ. ชุมชนและทำให้ผมพัฒนาตนเองเช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #นครไทย#end of life
หมายเลขบันทึก: 120845เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ได้ประโยชน์ ความรู้ ประสบการณ์ดีๆ

ขอบคุณนะคะ  ^__^

ขอบคุณที่ซัน ซันแวะเข้ามาเยี่ยมชมครับ

เสียดายที่เราอยู่ไกลกันเหลือเกิน คาดว่า ประมาณ เกือบ 1000 km ไม่งั้นจะเชิญมาบรรยายบ้าง

สมกับเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้จริง ๆ

ขอบคุณที่อาจารย์จิ้นสนใจครับ ผมทราบว่า ที่ ม. ขอนแก่นจะมีการจัดอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในเดือน ตุลาคมนี้ (ประมาณ 16-17) ถ้าอาจารย์สนใจน่าจะได้ประโยชน์ครบ

และในวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม 2550 ที่ รพ. พระมงกุฏเรื่อง คุณภาพในงาน end of life care น่าสนใจครับถ้าพี่สนใจผมจะติดต่อเครือข่ายพุทธิกาให้ส่งหนังสือเชิญพี่ครับ  

และที่ผมเป็นน่าจะเป็นแค่ผู้สนใจงาน palliative มากกว่า expert ครับยังไงคงต้องเรียนรู้อีกมากครับ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เข้ามาชื่นชมค่ะ
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ
P

คิดว่าจะจัดประชุมเพื่อสร้างเครือข่าย Palliative care ในรพร.ปัวของเราเหมือนกันค่ะ แต่ว่าอาจจะซักพักหนึ่งในช่วงแรกอาจจะเริ่มที่การ conference case ที่น่าสนใจในกันก่อนในกลุ่มบุคลากรที่สนใจ เพื่อเป็นการจุดประกาย และต่อไปอาจจะเรียนเชิญท่านอาจารย์มาสร้างเครือข่ายกับเราบ้าง ไม่รู้ว่าอาจารย์จะรังเกียจหรือไม่...แต่ จ.น่าน ก็คงจะไม่ใกล้แม่สอดซักเท่าไหร่เหมือนกันค่ะ...อาจารย์คะ...พอดีมีเรื่องเรียนปรึกษาอาจารย์ โพสต์ไว้ในเป็นคำถามในเครื่องมือ "สอบถาม..."น่ะค่ะ จะรบกวนขอความเห็นอาจารย์ด้วยนะคะ...ขอบคุณค่ะ   

เรียนคุณไพรินทร์

1.ผมตอบเรื่อง morphine syr. แล้วนะครับ

2.ยินดีที่เริ่มที่ความสนใจ+ประเด็นที่เป็นที่สนใจในวงกว้าง

3.ผมยินดีที่จะไปครับ แต่อาจต้องบอกล่วงหน้านานเพราะเดือน มค.51-กพ.51 ผมไม่ว่างครับ เป็นไปได้คงต้องหลังจากนั้น+อาจต้องมารับผมเพราะ ผอ. ผมอาจไม่ OK ถ้าใช้รถ รพ.ผมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท