โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ประชุม 7th Asia Pacific Hospice Conference 2007


ผมว่าถ้า Dr. Cassell ได้มาบรรยายในไทยคงจะต้อง amazing กับ Thai time แน่ๆHA HA... :)

เมื่อ 27-29 กันยายน ที่ผ่านมานี้ผมได้มีโอกาสได้ไปร่วมการประชุม 7th Asia Pacific Hospice Conference 2007 โดยได้รับทุนจาก APHN (Asia Pacific Hospice Network) ต้องขอบคุณอาจารย์เต็มศักดิ์ เป็นอย่างยิ่งที่เสนอชื่อผมทำให้ผมได้ประสบการณ์อันล้ำค่าหลายอย่าง

การเดินทางไปต่างประเทศของผมเตรียมการอย่างรีบร้อนเพราะผมไม่เคยไปต่างประเทศมาก่อน ต้องทำ passport +จองตั๋วเครื่องบินอย่างเร่งด่วน แตในที่สุดก็ผ่านพ้นไปด้วยดี

คณะของเรามีกัน 6 คนคือ อาจารย์ สกล, อาจารย์กานดาวศรี,อาจารย์มโน,คุณนิศาชล และ อาจารย์เต็มศักดิ์ที่เป็นไปถึงก่อนแล้วเพื่อเป็น lecturer ใน pre-conference lecture

APHC2007

บรรยากาศของการประชุมเป็นการประชุมที่เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ,model ต่างๆการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในแต่ละประเทศ, การบรรยายในหัวข้อที่เป็นในเชิงประสบการณ์และนำเสนองานวิจัย

สิ่งที่ผมสังเกตเห็น พบว่าประเทศที่เข้าร่วมการประชุมมากที่สุดจะเป็นประเทศไต้หวัน และเกาหลีใต้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ได้ไปถามกับผู้เข้าร่วมประชุมได้ความว่า " ในไต้หวันและเกาหลีใต้รัฐบาลส่งเสริมงาน palliative care เป็นอย่างมาก อีกทั่งองค์กรทางศาสนาอย่าง ฉือจี้ ในไต้หวันก็สนับสนุนโดยการที่ให้ทุนแก่แพทย์-พยาบาล-นักบวช ให้มาเข้าร่วมงานนี้ อีกทั้งสนับสนุนทุนวิจัยจนในงานนำเสนอวิจัยประมาณหลายสิบเรื่องเป็นของ ไต้หวัน ซึ่งน่าจะมากที่สุดในการประชุมครั้งนี้"

ผมเห็นความเป็นคนเอเชียในการประชุมนี้ คือ เป็นกันเอง ยิ้มง่าย การแต่งตัวเป็นแบบสบายๆ บางประเทศใช้ชุดประจำชาติ การประชุมจะเปิดประชุมจะมีพิธีการมาก และที่ชัดเจนมากคือ เวลาจะ late เล็กน้อย (30 นาที โดยประมาณ) จนผู้บรรยายชาว american  Dr. Eric Cassell แซวว่าเป็น manila time (ผมว่าถ้า Dr. Cassell ได้มาบรรยายในไทยคงจะต้อง amazing กับ Thai time แน่ๆHA HA... :) )

สิ่งที่ผมประทับใจ ผมได้ฟังการบรรยาย 2 เรื่องที่ทำให้ผมเข้าใจงาน palliative ที่เราทำมากขึ้นนั้นคือ Diagnosing suffering ของ Dr. Eric Cassell และ The power of Hope ของ Ms Liese Groot-Alberts (New Zealand)

Diagnosing suffering เรื่องความทุกข์ทรมานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้ใดแล้วเป็นความเฉพาะของแต่ละปัจเจกบุคคล ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้ ความทุกข์เป็นองค์รวมที่เกิดจากความเป็นตัวตนที่มีความซับซ้อน ในทัศนะของ Dr. Cassell บอกว่า "suffering is suffering, is suffering, is suffering" นั่นหมายถึงไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกย่อยเป็นด้านๆ ใจความสำคัญคือเข้าใจว่าเขาทุกข์อย่างไรนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะดูแลเขาได้ดีถ้าไม่ทราบว่าเขาทุกข์อย่างไร การที่จะทราบว่าเขาทุกข์อย่างไรต้องใช้ใจของผู้ดูแลตรวจจับ

The power of Hope ความหวังป็นสิ่งที่ทำให้คน 2 คนที่ป่วยด้วยโรคระยะสุดท้ายแต่ละคนมีความแตกต่าง Ms Liese Groot-Alberts ได้แสดงรูปภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้ายแล้วบอกให้เรามองที่แววตา คนที่มีความหวังอยู่ในแววตาจะมีสีหน้าที่มีความสุขถึงแม้จะทุกข์อย่างไรก็ตาม  ความหวังทำให้คนมีชีวิตที่แตกต่าง ความหวังคือแหล่งพลังงานอันมหาศาล

แล้วความหวังมาจากไหน? ความหวังมาจากสิ่งที่อยู่ลึกในจิตใต้สำนึกแล้ว drive ออกมาเป็นสิ่งที่เราเห็น ผมนึกไปถึงจิตวิญญานของแต่ละคนที่ต้องการที่ค้นหาความหมายของชีวิต ที่บางคนก็เป็นเรื่องศาสนา บางคนก็เป็นเรื่องการทำความดี บางคนก็เป็นเรื่องศิลปะ ฯลฯ

เราช่วยผู้ป่วยได้โดยไม่ปล่อยให้เขาโดดเดี่ยว ใช้อดีดที่ดีของผู้ป่วยมาเติมเต็มกำลังใจให้ผู้ป่วยและครอบครัวก้าวเดินต่อไปได้

สิ่งที่ผมได้รับ

1.มิตรภาพจากคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน Dr. Gene  family doctor ชาวฟิลิปปินส์ ที่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดกันหลายเรื่องและพาผม-อาจารย์เต็มศักดิ์-อาจารย์กานดาวศรี ทัวร์รอบมะนิลา

2.ข้อคิดดีๆ จากอาจารย์ สกล "การทำงาน palliative care จะไม่มีวัน burn out ถ้าเรารู้จักมีความสุขกับการทำสิ่งที่ดี มากกว่าคาดหวังในผลของการกระทำ" 

3.แนวคิดใหม่ในการพัฒนางาน+ไฟที่เต็มร้อย

ทิ้งท้ายด้วยบทกลอนและภาพแห่งมิตรภาพในมานิลาครับ

"ขอบคุณโอกาสที่เข้ามา            ขอบคุณเวลาที่เลยผ่าน

ขอบคุณความทุกข์ที่เป็นดั่งอาจารย์   ขอบคุณความฝันที่นำทาง

ขอบคุณผู้ป่วยและครอบครัว    ขอบคุณความหวาดกลัวที่เดินเคียงข้าง  

ถึงแม้ทางตันไม่เห็นทาง            ความหวังยังสว่างอยู่กลางใจ "

Dr.Gene

คำสำคัญ (Tags): #aphc 2007#palliative care
หมายเลขบันทึก: 138347เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ได้ข้อคิดมากเลยค่ะ

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย อย่าลืมดูแววตาของเขา

ขอนำข้อคิดนี้ไปบอกเล่าให้น้องๆฟัง

บางทีทั้งพี่และน้อง อาจลืมดูแววตาของคนไข้ระยะสุดท้ายจริงๆค่ะ

ขอบคุณ คุณอุบล ที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ ผมมีข้อคิดเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเกียวกับการดูแลผ้ป่วยด้วยธรรมะ+แนวคิดตะวันตก

ดูแววตา+รับฟังด้วยหู+รับรู้ด้วยใจ= empathy

empathy+เกิดความกรุณา+หาทางช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์ = compassion

ผมว่า หลักธรรมในพุทธศาสนาลึกซึ้ง ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านอย่างยิ่งคือ พรหมวิหาร 4 ครับ

เมตตา= อยากให้เขามีความสุข

กรุณา =เห็นเขาทุกข์ก็อยากช่วยให้เขาพ้นทุกข์

มุทิตา = เมื่อเขาได้ดีหรือพ้นทุกข์ ก็พลอยดีใจกับเขา(อีกนัยหนึ่งเมื่อเราช่วยเขาแล้ว เขาดีขึ้นเราก็เป็นสุข)

อุเบกขา = เมื่อเราไม่สามารถช่วยให้เขาพ้นทุกข์ได้ เราก็วางใจเฉย (ไม่ทุกข์ไปกับเขา) แต่ยังคงทำหน้าที่ของเราต่อไปครับ

 สวัสดีค่ะ อ. โรจน์

ขอบคุณที่เล่าเรื่อง อ่านแล้ว ได้ความรู้ ได้ประโยชน์

ค่ะ อย่างไรก็ตาม palliative care ต้องให้:-

Comfort care

Supportive care เพื่อ

Increase their quality of life. และ

Good help makes dying less hard.

Good help makes leaving easier.

ขอบคุณ
P
คุณ  เกศนี บุณยวัฒนางกุล ที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้ข้อคิดดีๆ ครับ

น้องโรจน์ครับ

  • การเดินทางเพื่อพบปะผู้คน ทำให้เราได้เรียยนรู้เสมอนะครับ
  • ผมต้องสารภาพตรงนี้เลยว่า ฟังตา Eric Cassell ไม่รู้เรื่อง ทั้งๆที่เขาพูดดีมาก เพราะอะไรรู้มั๊ยครับ เพราะผมไม่เปิดหูเปิดใจรับฟัง เพราะคิดว่า เรื่องทุกข์เนี่ย ใครจะมาแน่กว่าชาวพุทธไม่มี พอน้ำเต็มถ้วย มันก็เลยไม่เปิดรับ แย่จริงๆ
  • ครั้งนี้ ผมได้คำพูดเด็ดของคุณหมอชาวอินเดีที่ทำงานในออสเตรเลีย..หมอเการี อากาวาล เธอบอกว่า ความที่เราเป็นหมอ เวลาดูแลผู้ป่วย เรามักจะรีบกระโจนเข้าไปช่วย เธอแนะนำว่า บางครั้ง เราอาจจะต้องถอยออกมาหนึ่งก้าว มองให้เห็นภาพรวมก่อน แล้วจึงค่อยให้ความช่วยเหลือ

ขอบคุณครับอาจารย์เต็ม

จริงๆมีประทับใจมากกว่านี้แต่เขียนไม่ไหว เลยเอาแค่ 2 เรื่องที่เป็น highlight และ contrast กันในแบบตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง แต่ต้องใช้ไปพร้อมๆ กัน (suffering VS hope)

ขอบคุณค่ะ ได้อ่านเรื่องดี ๆและความคิดเห็นที่ทุกท่านได้เพิ่มเติม

อาจจะช้าไปเกือบปี แต่ธรรมะคงจัดสรรให้เจอบทความดี ๆ นี้ เพราะกำลังค้นหา เรื่องSuffering หรือ pain ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย พบว่า เขามีแบ่งเป็นสี่ด้าน แต่ Dr. Cassell บอกว่า "suffering is suffering, is suffering, is suffering.กระจ่างเลยค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์สกลค่ะ ที่บอกว่าเริ่มตั้งแต่ไม่อเราคิดจะทำแล้ว ส่วนผลของมันเป็นเพียงผลพลอยได้ที่ตามมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท