โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

คนไม่สำคัญ.....สนทนากับท่าน ไพศาล วิสาโล...เพชิญความตายอย่างสงบ ตอนที่ 2


"ที่หมอทำอยู่ก็เป็นปัญญารูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการทำงาน...พัฒนางานเพื่อความอยู่รอด....แต่ว่าที่ว่า คนไม่สำคัญเกิดเรียกร้องสิทธิ ...คุณหมอก็โกรธ....อันนี้น่าจะเป็นความยึดมั่นถือมั่นในความคิดหรือหลักการของเรามากไป..ทำให้เวลาที่เกิดอะไรที่ไม่เป็นไปตามที่เราคิด...ทำให้เราไม่สบายใจและแสดงออกไปอย่างนั้น"

ระหว่างช่วงเช้าวันที่ 2 ของการอบรม ผมได้มีโอกาสนั่งสนทนาธรรมกับท่านไพศาลในช่วงเช้าครับ......ผมรู้สึกว่าเรื่องที่หนักอกหนักใจผมมานานได้ถูกทำให้กระจ่างใจได้ในช่วงเวลาเพียง 20 นาที

ผม "เวลาผมไปตรวจคนไข้ตอนเช้ารู้สึกเครียด...บางครั้งมีความรู้สึกอึดอัดก่อนเริ่มงาน โดยเฉพาะเวลามีคนไข้เยอะๆ...ผมไม่รู้ว่าความรู้สึกนั้นเกิดจากอะไร? แต่มันทำให้ไม่แจ่งใสเวลาตรวจคนไข้และบางครั้งหงุดหงิดง่าย"

"ส่วนตัวผมคิดว่าอาจเกิดจากความคาดหวังว่า..จะตรวจคนไข้ให้ได้หมด และ ได้คุณภาพดีตามสมควร....พอใกล้เที่ยงก็เริ่มหงุดหงิด รู้สึกว่าจะไม่ทัน...ถ้าคนไข้มาใกล้เที่ยงก็จะหงุดหงิดมาก ทำไมคนอื่นมารอได้..คุณทำไมมาตอนจะเลิก"

"ผมเลยใช้วิธีเอาตัวรอดโดยการจัดแบ่งคนไข้เป็น 2 ประเภท คือ สำคัญ กับ ไม่สำคัญ"

ใครที่ผมเห็นว่าสำคัญก็จะให้เวลามากหน่อย ใช้ได้ดีครับ...คนไข้เป็นร้อยก็ตรวจเสร็จภายในเวลาเที่ยง..โดยที่ก็ไม่ได้ผ่านเร็วๆ ทั้งหมด ยังมีคนที่เราตรวจละเอียดและพูดคุยตามความจำเป็น/เวลาจะอำนวย-นัดคนที่คิดว่าสำคัญและต้องดูต่อเนื่อง...case ผิดพลาดทางการแพทย์น้อยลง

จนมาวันหนึ่ง เกิดมีคนไข้รายหนึ่งประท้วงครับ!

ผมกำลังคุยกับคนไข้ที่ทุกข์มากเรื่องลูกร้องไห้ตลอด (case นี้ผมเห็นว่าสำคัญ) ทันใดนั้น..มีคุณยายคนที่รอคิวต่อไปทนไม่ไหว..เดินเข้ามาในห้องแล้วบอกว่า

"มัวแต่ร้องไห้อยู่นั่นแหละ....คนอื่นเขารออยู่" แล้วแกก็เดินออกไป!

ผมกับคุณป้าคนนั้น(คนสำคัญ) อึ้งแล้วก็เลิกคุยผม เลยนัดกัน 1 สัปดาห์...ผมเคืองในใจ

 พอแก(คนไม่สำคัญ)เข้ามาตรวจ...ผมเลยเขียนใบสั่งยาแล้วบอกแกว่า "ความดันปกติ...เสร็จแล้วครับ" แกทำหน้างง ๆ แล้วก็เดินออกห้องตรวจไป

ในใจผมคิดว่า "เมื่อความทุกข์ของตัวเองใหญ่...ความทุกข์ของคนอื่นมันก็ดูเล็กน้อยน่ารำคาญไปหมด"

ถึงตอนนี้ท่านไพศาลบอกกับผมว่า "ที่หมอทำอยู่ก็เป็นปัญญารูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการทำงาน...พัฒนางานเพื่อความอยู่รอด....แต่ว่าที่ว่า คนไม่สำคัญเกิดเรียกร้องสิทธิ ...คุณหมอก็โกรธ....อันนี้น่าจะเป็น ความยึดมั่นถือมั่นในความคิดหรือหลักการของเรามากไป..ทำให้เวลาที่เกิดอะไรที่ไม่เป็นไปตามที่เราคิด...ทำให้เราไม่สบายใจและแสดงออกไปอย่างนั้น"

ผม" แล้วจะแก้ไขอย่างไรดีครับ?"

ท่านไพศาล " แค่หมอเห็นมันบ่อย ๆ...แล้วพิจารณามันตามจริง...เดี๋ยวก็จะค่อยดีขึ้นเอง"

ผมถึงบางอ้อครับคิดในใจ "สติสำคัญอย่างนี้นี่เอง...นี่เรายึดมั่นถือมั่นมากเกินไป...มองให้ดี คนทุกคนสำคัญเท่าเทียมกัน"

ความสำคัญ...ที่แท้มันคือสิ่งที่เราให้คุณค่าไปเอง คุณค่าของผู้คน..มันคงไม่ได้วัดกันด้วยว่าใครทุกข์มากกว่ากัน...ทุกข์ของทุกคนเป็นปัจเจก...ไม่มีมาตราวัดใดจะสามารถเทียบกันได้ ยกตัวอย่าง คุณป้าที่ทุกข์เรื่องลูก กับ คุณป้าที่มารับความดันเฉย ๆ ซึ่งจริง ๆ 2 คนนี้ร่วมทุกข์ด้วยในในห้องรอตรวจอันวุ่นวาย

ที่สำคัญ คงจะเป็นเรื่องความเข้าใจทุกข์ของตัวเองมากกว่าอย่างอื่น...ผมเริ่มเข้าใจทุกข์จากความ ยึดมั่นถือมั่นในหลักการของตัวเองมากเกินไป..ทุกข์จากกฏเกณฑ์ของตัวเอง "กับดักของใครขุดไว้คงต้องกลบมันเอง" สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 301199เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2009 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

อ่านแล้วได้ข้อคิดค่ะ

ทุกคนมักเห็นเรื่องของตน สำคัญกว่าคนอื่น เมื่อถูกประเมินให้น้อยลงก็ย่อมไม่พอใจ

ยึดถือมั่นตัวเดียวเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณคุณ ณัฐรดา ที่แวะมานะครับ

คุณหมอขา คุณยายจะไม่ทันรถกลับบ้านค่า

ขอโทษที ยายลืมบอก มัวกังวลว่าจะไม่ทันรถเลยลืมนึกถึงเรื่องอื่นไป

แม่หนูนั่นก็ได้ระบายไปพอสมควรแล้ว ยายก็สงสารคุณหมอกลัวเขาจะร้องอีกนาน

คุณหมออาจไม่กล้าบอกเขาหยุดร้อง

เดี๋ยวคุณหมอก้อไม่ได้กินข้าวเที่ยงพอดี

ยายเลย ยอมเสียมรรยาทไปนิ๊ด .... อภัยให้ยายเถอะนะคะ .....ยายไปล่ะ มาขอโทษเฉยๆ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อความที่ช่วยเตือนสติ ค่ะ

เวลาเราปกติ เราจะสามารถควบคุมอารมณ์และ การกระทำของเราได้ เมื่อมีบางอย่างมากระทบ เราจะปรี๊ดและขาดสติ ฉุนเฉียวโมโห.. พอลล่าเป็นบ่อยๆ คะ เพื่อนๆ กัลยาณมิตรบอกว่า ตัวตน อ่ะ ลดซะบ้าง ปล่อยวางน่ะเป็นไหม ... ไม่เป็นค่ะ พยายามอยู่ค่ะ แต่ก็เข้าใจว่า ความพยายามก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง พิจารณาอย่างรู้เท่าทัน นั้นดีกว่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ จะมาติดตามอ่านบ่อยๆ นะคะ

เรื่องเล่างดงามจริง ๆ ครับ

หลวงพี่ไพศาล นี่ถือว่าเป็นกัลยาณมิตรผู้ประเสริฐทีเดียวครับ

ผมดีใจมากที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของท่านอยู่บ้างนิดหน่อย

พี่นกครับ..เหน็บชายโครงผมซะจุกเลยนะพี่ :))

ขอบคุณ paula ที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ... "ให้มันอยู่แค่..มโนกรรม อย่างให้ถึงวจีกรรมหรือกายกรรม แต่แค่เห็นว่าเราอัปลักษณ์แค่ไหนเวลาเราโกรธ ผมว่าเราก็จะหยุดคิดไม่ดีได้ครับ"

สวัสดีครับอ้ายหนานเกียรติ....ผมก็กิ๊ดจะอั่นเหมือนกั๋นครับอ้าย...เจ้าหมู่แต้..เปิ้ลจะตั๊กเตือนเฮาเวลาเฮา ยะอะหยังบ่ดี..แวะมาแอ่วบ่อยเดื้อครับเดื้ออ้าย

  • มาหาความรู้-ข้อคิดดีๆ
  • ขอบพระคุณครับ...หมอ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

เราเมตตาคนทุกข์มากได้ เราก็เมตตาคนทุกข์น้อยได้เสมอกันนั่นล่ะค่ะ

 เขาอาจจะมีบางมุมคิดที่เรานึกไม่ถึงก็ได้ค่ะ พี่นกไม่ได้เหน็บ น้า .......

แค่แซวเล่นหนุกๆ ลองพลิกประเด็นดูบ้างเฉยๆ...

จะได้ช่วยกันแตก แนวคิด ช่วยกันถกประเด็น เยอะๆ

แล้วเราจะได้เรียนรู้ร่วมกันค่ะ ........ชื่นชมค่ะ

....ชื่นชมในจิต อันงดงามของคุณหมอ...

และเมื่อคนมีศักยภาพมาร่วมมือกันทำความดี พลังความดีจะแผ่ไพศาล

 ครูบาอาจารย์ เป็นที่พึ่ง ที่คอยชี้เส้นทางที่ถูกต้อง ให้เราได้เห็นธรรมเสมอ

" แค่หมอเห็นมันบ่อย ๆ...แล้วพิจารณามันตามจริง...เดี๋ยวก็จะค่อยดีขึ้นเอง" ท่านชี้ให้ดูอะไรน้า?

สวัสดีครับ

พี่นก..ท่านไพศาลพูดสั้น ๆ แต่ผมคงตีความได้ว่า...หากเราเห็นตัวเองไม่ว่าจะ..เป็นธรรมารมณ์ต่าง ๆ(โลภ โกรธ หลง) อย่างเท่าทัน เห็นให้เร็วขึ้นจะช่วยให้เราพัฒนาตัว้เองได้ดีขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนเวลาคนไข้ขอยา..ใจผมจะเริ่มขุ่น และพูดออกไปทันทีแบบไม่คิดว่า "ป้าจะเอาขนมจีบซาลาเปาด้วยไหม?"....เดียวนี้รู้ทันตัวเองว่าขุ่น...พอรู้ทันเท่านั้นละครับ...นิ่งขึ้นเยอะ...มันจะหยุดแค่รู้สึก...แล้วก็ไม่ response เร็วเหมือนก่อน

พอทำบ่อยๆ เรื่องที่เคยจี๊ดก็หายไป...คงจะตรงกับที่พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวว่า " เราไม่สามารถห้ามความคิดได้ หากแต่เพียงมีสติรับรู้เท่าทันและมองมันเป็นเกิดดับ" ผมเข้าใจประมาณนี้ละครับ

ขอบคุณคุณ สามสักที่แวะมาเยี่ยม

"ที่หมอทำอยู่ก็เป็นปัญญารูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการทำงาน...พัฒนางานเพื่อความอยู่รอด....แต่ว่าที่ว่า คนไม่สำคัญเกิดเรียกร้องสิทธิ ...คุณหมอก็โกรธ....อันนี้น่าจะเป็นความยึดมั่นถือมั่นในความคิดหรือหลักการของเรามากไป..ทำให้เวลาที่เกิดอะไรที่ไม่เป็นไปตามที่เราคิด...ทำให้เราไม่สบายใจและแสดงออกไปอย่างนั้น

ประทับใจทุกครั้งที่เข้าอบรมกับพระอาจารย์ค่ะ.. ขอบคุณบันทึกนี้ค่ะ

เห็นทีพี่นกจะมาเรียนธรรมบล็อกนี้ซะเต็มตัวแล้วหละ

ยินดีที่มีโอกาสได้รู้จักค่ะ

เข้ามาอ่านบันทึก เพื่อเรียนรู้การใช้สติระงับอารมณ์ตามคำแนะนำของพี่นก พยาบาลสาวผู้แสนดีค่ะ

อ่านแล้วได้ข้อคิดดีมากๆ...."ป้าจะเอาขนมจีบซาลาเปาด้วยไหม?"....พออ่านประโยคนี้แล้วนึกภาพออกยังกะอยู่ในเหตุการณ์จริงเลยเพราะคนไข้บางคนก็เรียกร้องอยากได้นั่นได้นี่มากจริงๆ ที่จดมาเป็นรายการยายาวเหยียดยังกะโพยหวยเลยก็เคยเห็นค่ะ

เคยอ่านหนังสือของพระอาจารย์ไพศาลแล้วชอบมากๆ คุณหมอมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับท่าน นับเป็นโชคดีจริงๆ...แล้วจะแวะมาติดตามเรียนรู้ธรรมะเรื่อยๆ นะคะ

สวัสดีครับ คุณ blue star

ดีใจที่เรื่องราวนี้ยังพอมีประโยชน์อยู่บ้าง...คงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันเรื่อย ๆนะครับ

  • โดนเลยครับ  ยึดหลักการจนบางครั้งเรามองว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
  • บางครั้ง  เราก็พยายามเต็มที่แล้ว  แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสร้างความพอใจหรือตอบสนองความต้องการได้ทุกคน
  • ขอบคุณนะครับ  สำหรับเรื่องราวดีๆ
  • กับดักที่ขุดไว้ ใครขุดคนนั้นกลบเองด้วยปัญญา
  • มาเยี่ยมเยียนนะน้อง
  • ดีใจที่ได้พบควาเจริญงอกงามในตัวหมอค่ะ
  • มาขอบคุณหมอด้วยที่เป็นคนหนึ่ง
  • ซึ่งทำให้พี่เอ๊ะกับอะไรหลายอย่าง
  • จนทำให้พี่มีวันนี้....
  • วันที่กับดักหลายๆตัวได้ถูกกลบลงไปมากแล้ว
  • ขอบคุณจริงๆค่ะ

ขอบคุณวัชรพงษ์ ที่มาเยี่ยมเยียน...ผมยังตามอ่านเรื่องที่คุณเขียนนะครับ ยินดีที่รู้จัก fammed ด้วยกัน

พี่หมอเจ๊ ..."กลบเองด้วยปัญญา" ..............คมครับพี่

ขอบคุณค่ะที่แบ่งปัน

 อ่านแล้วก็ทำให้กลับมานั่งคิด

 จะสุข จะทุกข์อยู่ที่ใจเราจริงๆ

หลายครั้งเราเป็นทุกข์  ทุกข์เกิดจากใจเรา

ความคิดของเราเอง   สุดท้ายจะดับความทุกข์ได้ก็ด้วยความคิดของเรา ด้วยใจของเราเช่นกัน

ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ

ขอบคุณครับคุณ มณีวรรณ ยินดีครับที่บันทึกนี้ยังพอมีประโยชน์กับผู้อ่านบ้าง

ผมได้ถวายบันทึกนี้ให้ท่านไพศาลทาง e- mail เพื่อให้ท่านร่วมโมทนาบุญอันเกิดจากการสนทนาธรรมแล้วนำมาเล่าต่อครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่เปิดมุมมอง ให้เห็นความสำคัญของทุกคนเสมอเท่าเทียมกัน

 

ขอบคุณคุณพยอมที่แวะมาครับ

ขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะที่แนะนำข้อคิดสะกิดใจ

เพราะมีหลายครั้งที่พอคนไข้ที่admitเยอะขึ้นความขุ่นมัวก็มากขึ้น

ยิ่งคนไข้ตอบไม่ตรงกับที่เราอยากถามก็เริ่มไปกับสีหน้าเราแล้ว

เสียงเริ่มเข้มขึ้นซึ่งเมื่อก่อนตอนปี 4 ยังแอบโกรธพี่externเลยว่า

ทำไมต้องเสียงดังด้วย

แต่พอมาอยุ่extern คนไข้เยอะมากมาย 60กว่าเตียงที่ต้องดูแล

อารมณ์ ความโกรธ ตัวตนยิ่งมากขึ้นเลยค่ะ

คิดในใจว่า ทำไมต้องป่วยกันขนาดนี้ด้วยนะ

ทำให้เริ่มคุยกับญาติน้อยลง ถามคนไข้น้อยลง

จิตเริ่มตก

จนบางครั้งก็รู้สึกแย่กับตัวเองเลยค่ะ

ทำไมเป็นได้แบบนี้

อยากหายจากความรู้สึกนี้จัง

โชคดีที่ได้รู้จักน้องปี4

ทำให้ความรู้สึกตอนเริ่มเจอคนไข้ใหม่ๆมาเตือน

ตอนนี้ก็เริ่มคุยมากขึ้น แนะนำมากขึ้นค่ะ

ตอนนี้ฝึกอยู่ICU

คนไข้หนัก แต่ก็รู้สึกดีมากเลยนะคะอาจารย์ ที่ได้คุยกับญาติและได้ฟังเรื่องสนุกๆของคุณตาที่ป่วยแล้วก็เริ่มดีขึ้น

รู้สึกว่า เราไม่ได้เป็นหุ่นยนต์ทำงานไปวันๆ

แต่มันเนความสุขทางใจบางอย่างที่ทำให้หายเหนื่อย

แล้วก็ทำให้รู้เป้าหมายและตอบคำถามตัวเองได้มากขึ้นว่าจะไปทางไหนหลังจากที่จบไป

หนูคิดว่าการตั้งรับคอยรักษา มันง่ายในการdiagnosis

แต่ไม่ใช่การตอบโจทย์ปัญหาเท่ากับการกันไม่ให้เกิด

และหนูอยากจะคนไข้ได้และดูเขาไปตลอด ไม่ใช่แค่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป

จนตอนนี้บางครั้งหน้า ชื่อยังแทบจำไม่ได้

มีรุ่นพี่ และเพื่อนหนูหลายคนค่ะบอกว่าอย่ามาเรียนเลย มันไม่ก้าวหน้าหรอกสาขานี้

เสียดายเกรดที่เรียนมา เพราะมีหลายคนบอกว่าน่าจะเรียนmedมากกว่า เรียนตรงนี้จะรักษาอะไรได้มั่ง

แต่สำหรับหนูตอนนี้คิดว่า

ความก้าวหน้า คืออะไร

ก้าวหน้า แล้วมันตอบโจทย์ความสุขที่เราอยากทำหรือไม่

หนุคิดว่ามันขึ้นอยู่กับว่าเราพอใจและอยากที่จะทำงานในจุดไหนมากกว่า

เพราะตั้งแต่ปี1ที่เข้ามาก็คิดแล้วว่าอยากเป็นหมอที่ดูแลคนไข้ไปตลอด ชีวิตของเขา

พอมาเรียนจนถึงปี6ก็มีบางครั้งที่ทำให้สับสนว่าจะเป้นหมอเฉพาะทางดีมั้ย

แต่พอเริ่มทบทวน หลายๆครั้ง

และหนูก็คิดว่า อยากเรียนตรงนี้ ตรงที่เคยคิดมาตั้งแต่แรก

หนุอยากได้เรียนรู้ คำว่า ชีวิต จากประสบการณ์ เรียนรุ้ความรู้สึกคนไข้

จากการทำงานโรงพยาบาลใหญ่ พอdischarge ใครจะรุ้บางว่าคนไข้จะกลับไปอยู่ยังไง แถมเวลาadviseยังแทบไม่มี กลายเหมือนเป็นหน้าที่พี่พยาบาล ทั้งๆที่ข้อสอบก็มีถาม การเรียนการสอนก็เน้นหนักหนาเรื่องการadvice

แต่ในความเป็นจริงทำได้สักกี่คน แล้วเราจะเรียนและสอนไปเพื่ออะไรหากไม่ได้ใช้จริง

พอได้มาอ่านบทความจากอาจารย์ ก็ตอบโจทย์ได้หลายอย่างค่ะ และก็ยิ่งทำให้มั่นใจในทางเดินของตัวเองมากขึ้น

ขอบคุณข้อคิดดีๆจากอาจารย์มากเลยค่ะ

ยินดีที่ติ่มซำได้เรียนรู้และเข้าใจตัวเอง....จริงอย่างน้องว่าครับ...ความสุขของชิวิตไม่ใช่ว่าเราเป็นใคร แต่ขึ้นกับว่าเราพอใจในตัวเองหรือเปล่า...เป็นหมออะไรก็ไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญเป็นแล้ว ดูแลคนไข้เต็มความรู้ เต็มความสามารถและดูแลด้วยใจหรือเปล่าต่างหาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท