โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

คำสอนสุดท้ายจากอาจารย์สุมาลี คุรุ ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดไป


"สำหรับความเห็นส่วนตัวนั้นเห็นว่า palliative care เป็นหัวใจของการเป็นแพทย์ และใช้ได้กับคนไข้ทุกโรค"

บังเอิญผมได้มีโอกาสเตรียมสอน นศพ. ปี 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร เกี่ยวกับ Palliative care

  slide แรกการสอนของผมคือ รูป Cicely Sauder ผู้ให้กำเนิด palliative care ชาวอังกฤษ ขณะที่ผมจะพิมพ์ slide ต่อไป.....ใจผมนึกถึงอาจารย์ท่านหนึ่งที่เคยแนะนำ ประสิทธิ์ประสาทความรู้ palliative จนผมเริ่มที่จะมีความรู้ทางนี้ ผมจึงใส่รูปของอาจารย์ท่านนี้ลงต่อจาก Sauder ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทยหญิงสุมาลี นิมมานนิตย์

ผมจึงอยากที่จะนำ คำสอนสุดท้ายที่อาจารย์ตอบ e-mail ผมเมื่อ 4 ปี ผมปรึกษาอาจารย์เรื่อง การก่อตั้งทีมกัลยาณมิตร และเรียนเชิญอาจารย์มาบรรยายที่ รพ.แม่สอด แต่เสียดายเหลือเกินที่อาจารย์มาไม่ไหวเนื่องจากอาการป่วยมากขึ้นในเวลาต่อมา (ตอนนั้นผมไม่ทราบเลยว่าอาจารย์กำลังป่วย)

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทยหญิงสุมาลี นิมมานนิตย์

รูปจาก blog อาจารย์สกล ครับ ตามไปอ่านใน สดุดีแด่อาจารย์สุมาลี นิมมานนิตย์

Monday, April 3, 2006 11:31 PM

เรียนอาจารย์ สุมาลี ครับ
 ผม โรจนศักดิ์ รพ. แม่สอด จ. ตาก น้องพี่พิสิฐ ครับ ผมปรึกษาพี่พิสิฐว่าควรจะเรียนถามอาจารย์ ล่วงหน้าเกี่ยวกับ
 1.ช่วงเวลาที่อาจารย์สะดวกในการมาแม่สอดครับ
 2.จำนวนวันที่อาจารย์เห็นว่าเหมาะสม
 3.เนื้อหาถ้าอาจารย์อนุเคราะห์จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับเจ้าหน้าที่ผู้เข้าฟังมี
 พยาบาล+เจ้าหน้าที่พยาบาล+นักจิตวิทยา+นักกายภาพ+แพทย์ ผมพยายามจะรวบรวม+วางบทบาทขอทีม palliative care ให้เป็นผู้รับ consultแต่ความรับผิดชอบหลักต้องเป็นแพทย์ผมทำโครงการนี้ประชุมมา 3ครั้งเป็นแบบรวบรวมคนที่มีความสนใจ
ผมขอแนบเอกสารเกี่ยวกับโครงการให้อาจารย์ช่วยวิจารณืด้วยครับ 

สุดท้ายนี้ผมขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ                                          
โรจนศักดิ์

โรจนศักดิ์คะ
ด้ดูโครงการที่ส่งมาให้แล้ว ส่วนใหญ่ก็ดี เรื่องสำคัญที่จะต้องทำคือ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดของการรักษาให้ชัดเจน
มี job description ของบุคลากรแต่ละประเภท และ
เน้นการที่ทุกคน
ในกลุ่มต้องคุยกัน
และรู้งานของคนอื่นถึงแม้จะไม่ต้องทำเอง ขณะ
เดียวกันก็จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะต่างๆ โดยเฉพาะ
ทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำและการดูและผู้ป่วยใกล้ตาย รวมทั้ง
ความรู้เกี่ยวกับการตาย และการประยุกต์ความเชื่อของผู้ป่วยกับเรื่อง
จิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วย
ในโครงการที่เขียน ขอทำความเข้าใจว่า palliative care นั้น คือ
การดูแลประคับประคอง และเริ่มตั้งแต่ยังให้ curative Rx ไม่ใช่เป็น
แบบ cut off  แล้วมาเริ่มตอนระยะสุดท้าย ในตอนแรกเริ่มอาจทำ
กันเช่นนั้นจริง แต่เมื่อทำไปได้ไม่นานก็พบปัญหาที่มาเริ่มทีหลัง จึง
ได้มีการปรับเปลี่ยน และขณะนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่าต้อง
merge ตั้งแต่ต้น
สำหรับความเห็นส่วนตัวนั้นเห็นว่า palliative
care เป็นหัวใจของการเป็นแพทย์ และใช้ได้กับคนไข้ทุกโรค
เพราะฉะนั้นอาจต้องปรับเปลี่ยนข้อความในโครงการ

สุมาลี นิมมานนิตย์

ผมกลับมาอ่าน e-mail นี้แล้วเป็นอย่างที่อาจารย์แนะนำทุกอย่างไม่มีผิดเพี้ยน ผมขอยกย่องอาจารย์คือ คุรุ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการ palliative care เมืองไทยตลอดไป

รักและเคารพเสมอและจะจดจำคำสอนนี้ไม่มีวันลืม

หมายเลขบันทึก: 315365เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

คุณหมอโรจน์ค่ะ ขออนุญาตเรียนรู้เอกสารที่คุณหมอเตรียมสอนนศ.แพทย์ ม.นเรศวรด้วยได้มั้ยค่ะ ในเรื่อง palliative care ดิฉันเพิ่งเริ่มเรียนรู้ไปฟังอาจารย์สกล สิงหะเมื่อวันที่ ๑๙ พ.ย. ๕๒ ถ้าเทียบกับเด็กคงเป็นเด็กที่เพิ่งเริ่มยิ้มได้

ยินดีครับอาจารย์ แต่ไม่รู้จะส่งให้อาจารย์ยังไง

ขอบคุณคะ สำหรับข้อคิดสำคัญจากข้อความในอีเมล์ของอาจารย์สุมาลี

พี่โรจน์อาจ convert PPT ให้เป็น PDF แล้ว Upload เป็นไฟล์เก็บไว้ให้ dl ในนี้ก็ได้คะ

สวัสดีครับคุณ หมอ ตามมาอ่านงานเขียนที่ให้พลังงานสมองของคุณหมอครับ

น้องแต้ครับ

ไอ้ dl มันอยู่ตรงไหนครับ

P
ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจบทความนี้......หากบทความนี้จะเกิดประโยชน์ หรือเป็นแรงบันดาลใจให้ใครไปทำความดีให้กับผู้คนอื่น ๆ ผมขอยกความดีให้กับท่านอาจารย์ สุมาลี ครับ
ผมเองกลับไปอ่าน e-mail นี้อีกครั้งแล้วยังตื้นตันอยู่ในใจที่อาจารย์ตอบจดหมายผมกว่า 5 ครั้ง(ไม่รวมคุยโทรศัพท์อีกหลายครั้ง) ซึ่งในทุกครั้ง ผมได้เรียนทุกครั้ง
ผมประทับใจในความมุ่งมั่นของอาจารย์ ถ้าอาจารย์ไม่ป่วยอาจารย์ตั้งใจจริงที่จะมาแม่สอดถึงจะลำบากมากสำหรับอาจารย์

อาจารย์เป็น..ครู..จริงๆครับ

ช่วงเวลาสั้นๆที่ผมมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับอาจารย์..ตอนไปบรรยายที่อุบลราชธานีด้วยกัน เป็นช่วงเวลาที่ได้เรียนรู้ความเป็น..ครู และ..แพทย์..ของอาจารย์

 

อาจารย์เต็มครับ

ทุกคนที่มีโอกาสได้สัมผัสกับอาจารย์ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความเป็นครูที่เต็มร้อยทั้งความรู้ความสามารถ บุคลิก และวิธีปฏิบัติต่อคนไข้ที่ผมเห็นแล้วนี่คือต้นแบบที่แพทย์ควรเปนอย่างแท้จริง

โชคดี ที่ได้ครูดี ทำให้เรา ได้พัฒนาตนเองครับ

ช่วงหลัง ผมได้

ดร.จุลรัตน์ คนศิลป์

ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

ดร.ทิพาวดี เอมะวรรธนะ

ขัดเกลา

ความคิดจึงเฉียบคมขึ้น

จิตใจจึงเข้มแข็งขึ้นครับ

ตื่นเช้าจังเลยครับพี่

อย่าลืมเอาวิทยายุทธ์มาฝากกันบ้างนะครับ

ชื่นชม และขอบคุณค่ะ         

ขอบคุณจิ ที่แวะมาครับ

Dsc05544

ชื่นชมด้วยความเคารพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท