โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ประชุมกำหนดวิสัยทัศน์ "ทีมกัลยาณมิตร"


ผมรู้สึกในใจลึก ๆ ว่าผมโชคดีมากที่มีทีมที่ดี และพร้อมที่จะร่วมดูแลชาวแม่สอดอย่างไม่หวังผลตอบแทน...วิสัยทัศน์จริง คงไม่สำคัญอีกแล้วในความเห็นของผม หากแต่การทำปัจจุบันขณะให้ดี อนาคตคงจะกำหนดตัวมันเองตามเหตุและปัจจัยครับ...ธรรมะคงจัดสรรเอง

ช่วงนี้งานยุ่งมาทั้งสัปดาห์เนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้วต้องไปสอนนักศึกษาแพทย์ปี 4 มน. (มหาวิทยาลัยนเรศวร)...วันนี้บังเอิญว่างเลยได้เขียนบันทึกครับ

คุณแนทเลขาโครงการผมได้นัดประชุมวางวิสัยทัศน์ใน 3  ปีนี้ว่า ทีมจะร่วมกันทำอะไรเพื่อเป็นการประสานมือร่วมกันดูแลผู้ป่วยโดยวางเป้าหมายร่วมกันคือ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ได้เชิญทีมของเราทั้งในและนอก รพ.มาร่วมกัน "วาดฝันร่วมกัน"

ผมได้เปิดโอกาสให้น้อง นิสิตแพทย์เข้าร่วมฟังด้วยเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้พวกเขาได้เห็นกว้างไกลกว่าในตำรา

เปิดด้วยหลวงพ่อ เจ้าโอวาสวัดดอนชัย ได้ให้ประเด็นไว้น่าสนใจ "หัวใจสำคัญของความสำเร็จใด ๆ ก็แล้วแต่ คือ ทีมงานที่มั่นคงและเข้มแข็ง"........แล้วหากนโยบายดี แต่เครือข่าย ไม่เหนียวแน่น ไม่แข็งแรงก็คงจะไปไม่รอด....หากเก่งแต่เพียงผู้เดียว เช่น คุณหมอเป็นเจ้าของงาน หมอก็จะเก่งอยู่คนเดียว คนอื่น ๆ ก็อาจจะไม่เอาด้วย

จะทำอย่างไรให้การทำงานเป็นทีมเกิดขึ้น โดยที่สำคัญต้องยึดถือความเป็นส่วนตัวของของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญ "บางคนอยากจะอยู่อย่างสงบมากกว่าจะให้มีใครไปรบกวน..อันนี้ก็สำคัญ" (อันนี้ท่านพูดชัดเรื่อง autonomy)...อีกทั้งไม่ใช่เพียงโรคมะเร็งหากแต่น่าจะประกอบด้วยโรคอื่นๆ ที่รักษาไม่หายอีกด้วย (ท่านเข้าใจ palliative เป็นอย่างดี)

Team025

ท่านต่อมาเป็นตัวแทนของทางศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก...ท่านบอกว่า จริงๆ แล้วทางคริสต์ การบริบาลผู้ทุกข์ยากถือเป็นหน้าที่ของทางคริสเตียนอยู่แล้ว ดังที่คริสจักรส่ง sister ทั้ง 2 ท่านมาร่วมงานกับ รพ. แม่สอดมาหลายปี ..ท่านเหล่านี้มิได้เพียงรับเงินเดือน แต่อุทิศตนเพื่อเสียสละแก่เพื่อนมนุษย์

"ในบางครั้งด้วยความเป็นศาสนาเองก็มีข้อจำกัดบางประการเรื่องความเชื่อ...ทำให้เราอาจมีข้อจำกัดในผู้ป่วยบางรายที่มีความคิดเชื่อที่ต่างออกไป แต่หากคุณหมอตั้งใจที่จะขยายเครือข่ายจริง NGO หลายองค์กรใน แม่สอด มีศักยภาพและพร้อมช่ายเหลือเมื่อถึงเวลา..และที่สำคัญ เราน่าจะมีเป้าหมายลดทุกข์เพิ่มสุข มากกว่า ความเป็นเลิศ"

ท่านอาจารย์ผู้นำทางศาสนาอิสลามก็คิดคล้ายกัน คือ ความเชื่อทางศาสนาเป็นเรื่องปัจเจกแต่สิ่งที่สำคัญคือ การเปิดพื้นที่ให้ศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม ให้เกิดความสงบในจิตใจของศาสนิกของตน

ท่านอาจารย์วัจนะ..ตัวแทนคริสต์ นิกายคริสตัง...พูดเสริมจุดสำคัญ อีดเรื่อง "ที่ผ่าน ๆ มา รพ. แม่สอด เป็นโรงพยาบาลที่เปิดโอกาสให้กับผู้นำศาสนาที่จะเข้ามาให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย..แต่ถ้าจะให้เสนอแนะเพิ่มเติม คงจะเป็นเรื่องสถานที่ ๆ ที่อาจคับแคบไปบ้างและไม่สะดวกต่อการทำกิจกรรมทางศาสนา...ถ้าเป็นไปได้ในอนาคต ก็อยากจะให้มีการจัดสถานที่สำหรับให้คำปรึกษาหรือทำพิธีทางศาสนาเพื่อ จะได้ไม่รบกวนเตียงข้างๆ+ได้เกิดความสงบที่แท้จริงกับผู้ป่วยและญาติ

 

  

เรามีจิตอาสาเข้าร่วมหลายท่าน ทุกท่านพร้อมที่จะร่วมดูแลผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นใน และ นอกหอผู้ป่วย..ยังมีคุณป้า นันทา (อสม.) เป็นบุคคลที่ช่วยเหลือ รพ. มาตลอดเข้าร่วมด้วย (ไม่มีในรูป)

คุณระยอง ...จิตอาสา เสื้อสีชมพู ได้แลกเปลี่ยนกับเราเรื่องศาสนา มหายาน ท่านบอกว่า "ทุกศาสนาต่างโอบอุ้มกันและกัน"

พี่สมชาย ศัลยแพทย์..แพทย์อีกท่านในทีมกัลยาณมิตร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่ท่านเคยนำทีมทำโครงการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ รพ.ศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย

"ที่นั่นทำทั้งในผู้ป่วยและญาติโดยใช้ บทสวดมนต์เป็นสื่อกลางที่นำผู้คนให้มีจิตใจสงบมีการสมัครทีมทาง intranet รพ. มีกิจกรรมสมำเสมอ"

ผมถามพี่สมชายว่า "พี่คิดว่าจุดไหนที่ทีมกัลยาณมิตรควรปรับปรุง" พี่สมชายบอกว่า "ความต่อเนื่องในหอผู้ป่วย...ทางทีมกัลยาณมิตรอาจดูแลได้ไม่ต่อเนื่อง" (ตรงนี้ในใจผมคิดว่า การพัฒนาทีมพื้นที่+จิตอาสา น่าจะเป็นคำตอบที่ดีของงานนี้)

ก่อนปิดการประชุมผมได้สรุปให้กับทีมได้ 3 ประเด็นหลักที่พอจะเป็นวิสัยทัศน์ได้คือ

  1. สร้างเครือข่ายที่แข็งแรงและหลากหลาย
  2. เพื่อเป้าหมายการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ผู้ป่วย/ครอบครัว โดยมิได้กำหนดแต่เพียงโรคมะเร็ง หากแต่รวมถึงการดูแลผุ้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่รักษาไม่หาย
  3. โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ผมรู้สึกในใจลึก ๆ ว่าผมโชคดีมากที่มีทีมที่ดี และพร้อมที่จะร่วมดูแลชาวแม่สอดอย่างไม่หวังผลตอบแทน...วิสัยทัศน์จริง คงไม่สำคัญอีกแล้วในความเห็นของผม หากแต่การทำปัจจุบันขณะให้ดี อนาคตคงจะกำหนดตัวมันเองตามเหตุและปัจจัยครับ...ธรรมะคงจัดสรรเอง

คำสำคัญ (Tags): #ทีมกัลยาณมิตร
หมายเลขบันทึก: 322235เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2009 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น่าอิจฉาครับ มี ทีมดีๆ คอยช่วยเหลือ

อยุ่แม่สอด มี คนไข้ MI ผม ไปทำงานที่นั่น 1 รายครับ 555

ไปได้ไงฟ่ะเนี่ย

สวัสดีครับพี่ศุภรักษ์

พี่ก็มีที่ปรึกษาทีดีอย่างทีมอาจารย์โกมาตร และโอกาสหน้า (ไม่รู้เมื่อไหร่) อาจได้มีโอกาสร่วมงานกันครับ

สวัสดีครับพี่เจ๊

สัวสดีปีใหม่ล่วงหน้าครับ

สวัสดีปีใหม่ครับพี่จตุพร

จะจำกันได้ไหมนะ ณ สวนพันดาว พี่พยายามเสาะหา ว่ามีที่ไหนบ้างที่มีความชัดเจนในทารกและเด็ก

เราเริ่มกันตรงที่ หมอเอ็งกะพี่แสดงความฝันร่วมกันว่า สักวันหนึ่งเรา จะมีทีมเล็กๆที่ดูแลทารกและเด็กที่สิ้นหวัง พร้อมกับจิตอาสาในPCT

สิ่งที่ทำได้ ตอนนี้พยายามทำตามพระอาจารย์เดะเดะ ไม่คาดหวัง...

ก็เริ่มแบ่งเวลาไปเยี่ยมผู้ป่วยและญาติที่ตึกเด็กก่อน ยืนฟังญาติพูดมากที่สุดอย่างตั้งใจ ไม่สอน ไม่แนะนำอะไรทั้งน้านในวันแรกๆ

ต่อมาไปอีก เริ่มเห็นรอยยิ้ม ความไว้วางใจจากสายตาของญาติ(เข้าข้างตัวเองมั่ง)

กลับมาทำการบ้าน

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ในขณะที่พี่ไปเยี่ยม case นั้นต่อเนื่อง เริ่มมีสายตาจากเตียงอื่นๆ เหมือนจะบอกว่า อยากใหเราเยี่ยมเขาเหมือนกัน

น่าสงสารจัง.

อยากให้หมอโรจน์ แนะนำ อะไรก็ได้ขอบคุณมากคะ

สวัสดีครับพี่ pee jae

คงจะแนะนำว่า...หากัลยาณมิตรเพิ่ม ทั้งในและนอกหน่วยงาน...ใช้สุนทรียสนทนาที่ทีม รพ.นครพิงค์ มี basic อยู่แล้วในการดำเนินกิจกรรม

เปิดพื้นที่ให้ความหลากหลายไม่เฉพาะแต่เพียงเด็ก....อาจรวม case ผู้ใหญ่...เปิดวงเรียนรู้ร่วมกัน...แล้วสุดท้ายกัลยาณมิตร ที่มีจิตกุศลจะเพิ่มขึ้น เราจะได้เพื่อนเพิ่มโดยไม่รู้ตัว...ลดการใช้ guideline ที่ไม่จำเป็นลง

จิตกุศลเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งในความเห็นผม...แผ่ถึงผู้อื่นได้

แล้วคุยกันใหม่นะพี่

มาขออนุญาตเอาบทความดีๆไปลงหนังสือเครือข่าย MS-PCARE ในหัวข้อ community pallitive care นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท