โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

สุนทรียสนทนา...ว่าด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่พึงประสงค์ ตอนที่ 2


พี่ว่าโรจน์น่าจะนำเรื่อง การเปิดโอกาสให้คนไข้ที่เหมาะสมสามารถเข้าถึงบริการ palliative care เข้าองค์กรแพทย์"...พี่เล่นโยนเผือก (ร้อน ๆ เลยนะพี่ ฮา...) ผมตอบแกว่า "สงสัยพี่ต้องช่วยผมชี้แจงกับที่ประชุมองค์กรแพทย์ว่าทำ palliative care แล้วมันดียังไง"

ความเดิมตอนที่แล้วอ่านได้ที่ สุนทรียสนทนา...ว่าด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่พึงประสงค์ ตอนที่ 1 โดยสรุปจากตอนก่อนเราได้วางวิธีการแก้ไขโดยตั้งสมมุติฐานว่า "ขาดการสื่อสารที่ดีในระบบ โดยเฉพาะ ทีมกัลยาณมิตร (palliative care) กับทีมเจ้าของไข้....เหตุปัจจัยที่พูดถึงมากที่สุดคงจะเป็นเรื่อง อ่อนประชาสัมพันธ์ "

มีข้อเสนอดังนี้

-หมอสมชาย "เราควรเผยแพร่สิ่งที่เราคุยกันในวงนี้สู่ web รพ. และส่งสรุปการประชุมไปที่ ward ให้ ward ได้รับรู้ด้วย"

-ผมเสนอ "นอกเหนือจากที่พี่สมชายบอก ผมว่า การออกเสียงตามสาย รพ. ก็เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับปฏิบัติได้ดีนะครับ...พี่แมะ (เจ้าแม่ประชาสัมพันธ์) มีความสามารถพิเศษในการสร้างความสนใจให้กับกลุ่มเป้าหมายได้"

-หมอธวัชชัย "พี่ว่าโรจน์น่าจะนำเรื่อง การเปิดโอกาสให้คนไข้ที่เหมาะสมสามารถเข้าถึงบริการ palliative care เข้าองค์กรแพทย์"...พี่เล่นโยนเผือก (ร้อน ๆ เลยนะพี่ ฮา...) ผมตอบแกว่า "สงสัยพี่ต้องช่วยผมชี้แจงกับที่ประชุมองค์กรแพทย์ว่าทำ palliative care แล้วมันดียังไง"

ประเด็นที่ 2 การทำกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง

พี่สุ..หัวหน้าพยาบาล ward ศัลย์ชาย(กำลังพูดในรูป)

พี่สุเสนอว่า "จริง ๆแล้วเรามีคนไข้ที่ให้เคมีบำบัดในมะเร็งหลายชนิดใน รพ. ของเรา..ทำไมเราไม่มีกลุ่มผู้ป่วยเหมือนใน รพ. สวนดอก...การทำกลุ่มเป็นการลดความเครียดทั้งผู้ป่วยและ พยาบาล"

ผมถามกลับ "นั้นสิพี่ ทำไมเราไม่มี" พี่สุไม่ตอบแต่ยิ้ม ๆนัยว่า "นั้นสินะทำไมไม่มี"

ผมเลยโยนไปให้พี่พนิดา พยาบาลหัวหน้าจิตเวชที่มีประสบการทำกลุ่มมายาวนาน

พี่พนิดา "จริงๆ แล้วการทำกลุ่มที่สำคัญต้องมีแกนนำกลุ่ม...ที่มีองค์ความรู้เรื่องที่จะทำกลุ่มเป็นอย่างดี...อาจไม่ต้องไปอบรมเป็นทางการแต่อาจต้องมีทีมแล้วเริ่มลองทำ"

พี่อุ้ม (หัวหน้าพยาบาล) "จริงการรวมกลุ่มเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในผู้ป่วย...แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความสมัครใจ"

พี่สุ "พี่มองว่าจริง ๆ ใน ward เป็นที่ ๆ มีคนไข้ที่มาตามนัดและให้เคมีบำบัดอยู่แล้ว เราอาจใช้โอกาสที่เขาพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการเริ่มทำกลุ่มร่วมกันแบบไม่บังคับ"

พี่ปรัชา (นักจิต) "ที่พี่สุบอกตรงตามหนักการเลือกเข้ากลุ่มที่ดี คือ สมาชิกเลือกกันเอง"

พี่ปรีชาผู้ชายริมซ้ายมือสุดนั่งติดหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลพี่อุ้ม

การสนทนาเริ่มที่จะสนุกและล่วงเลยจนถึง 4 โมงเย็น ผมเห็นว่าเวลาพอสมควร (คุยนานไปอาจทำให้ล้า...เหมือนกีนอาหารก็ต้องแต่พอดี..ถ้าอิ่มเกินไปก็เลี่ยน...คราวหน้าจะได้อยากเข้ากันต่อ) ผมขอมติที่ประชุม...สรุปว่าอยากคุยกันทุกเดือน

ขอจบตอน 2 ไว้แค่นี้...ตอน 3 เป็นเรื่อง "AAR after action review"

หมายเลขบันทึก: 334277เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เปลี่ยนประโยคนิดนึงดีมั้ย palliative care ช่วยอะไร

พอบอกว่า ดียังไง

มันอาจถูกตีความหมายกลายๆไปว่า แล้วไอ้ที่กูทำอยู่ มันไม่ดีตรงไหนฟ่ะ

เป็นประเด็นที่ผมคิดมานานว่าจะพูดยังไงให้เรื่องนี้แพทย์ OK .... ที่มอ.หรือที่อื่น มีกลยุทธ์ยังไงบ้างครับ?

สวัสดีคะ อาจารย์

ต้องดูหนังเรื่อง Departure ค่ะ

อิอิ

บางเรื่องรู้ว่าดี มีประโยชน์ อยากทำ แต่จังหวะที่เหมาะสมยังไม่มา!!!

ถ้าเกิดวันไหนอยากทำ...ระบบที่วางไว้ให้เป็นที่รับรู้โดยกว้างขวางอาจช่วยทำให้งานก้าวหน้าได้เร็วขึ้น

ผมว่านี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราต้องใส่ใจกับการจัดการความรู้ครับ

end of life care แตกต่างจาก palliative อย่างไร

คุณชนิดาครับ

โดยทั่วไป end of life care มักใช้สลับกับ palliative care ครับ แต่ความหมายจริง ๆ อาจจะตีความได้ต่างกัน

palliative care ตามความหมายของ WHO หมายถึง "การดูแลผู้ป่วยครอบครัว ทีมีการเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต (ของปี 1990 บอกว่าเป็น untreatable disease แต่ล่าสุดเปลี่ยนเป็น life threatening illness )"โดยการดูแลเป็นองค์รวม และเป้าหมายคือคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด เริ่มได้ยิ่งเร็วที่ดีครับ

ส่วน end of life care อาจเป็นคำที่ไม่เป็นทางการและในความเข้าใจของผม น่าจะหมายถึงการดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายใกล้เสียชีวิตซึง่จริงๆ เป็น subset ของ palliative care(เริ่มตั้งแต่วินิจฉัยตั้งแต่ป่วยแรก ๆจนหลังการเสียชีวิต bereavement)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท