โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ พุทธิกา


เมื่อวันจักรี วันที่ 6 เมษายน 2554 ผมได้มีโอกาสไปเล่าเรื่องราวการไปดูงาน palliative care ที่ Hospis Malaysia ได้พบกัลยาณมิตรหลายท่านส่วนใหญ่เป็นบุคคลทั่วไปที่มิใช่แพทย์พยาบาล พวกเรานัดพบกันที่พุทธิกา ซอยอรุณอัมรินทร์ 39 (ซอยเหล่าลดา)

สรุปเนื้อหาโดยคร่าวๆ ก็เป็นเรื่อง community-based palliative care 

ผู้เข้าร่วม

พี่สุ้ยที่รักของผมก็เล่าเรื่องดูงานที่ Karela อินเดียน่าสนใจมาก

"เป็นสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลคนในชุมชนของตนเอง โดยงบประมาณทั้งหมดมาจากเงินบริจาค มีอาสาสมัครวัยรุ่นหนุ่มสาวมาร่วมเยี่ยมบ้านผู้ป่วย โครงการดูแลของเขาเป็นที่ยกย่องจาก องค์การอนามัยโลกว่าเป็นต้นแบบของ palliative care ในเอเชีย...ไม่ใช้เพราะความหรูหรา...แต่เป็นเพราะ ความมีส่วนร่วมของภาคประชาชน "

มีคนในวงถามว่า "จริงๆ แล้วอินเดียจนมาก ทำไมถึงทำได้ดี ?"

คำตอบ "เพราะว่าคนที่ทำงานนี้เล็งเห็นการณ์ไกล เขามุ่งลงที่ชุมชน เขาทำความเข้าใจกับชุมชน การบริจาคจากเด็กๆ เป็นเงินเพียง 1 รูปี เขาบอกเด็กๆ ว่า การช่วยเหลือผู้คนที่ลำบากในชุมชนของเรา เป็นสิ่งดีและถูกต้อง มีการลงหลังสือพิมพ์ประจำวันสำหรับคนทำดี และที่สำคัญคือ ทีมนี้ทำด้วยใจมุ่งประโยชน์สาธารณะ "

 

 

พี่ฮัวเสื้อส้มกำลังเล่าถึงในเมืองไทยก็เริ่มมีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและในศิริราชเริ่มมีแบบเป็นทางการ

สรุปประเด็นเรียนรู้

1. โครงการ palliative home care ทั้งในมาเลย์และในอินเดีย เกิดจากคนกลุ่มเล็กๆ ที่ตั้งใจทำงานยาวนาน จนผู้คนในชุมชนเห็นประโยชน์และสนับสนุน เรียกว่า "เป็นแกนแห่งความดี" ให้คนที่มีจิตกุศลมาร่วมบุญกันอย่างทั่วหน้า

2. มีคนถามว่าการเมือง corruption มากมาย เราเลยไม่สามารถทำ palliative care หรือ hospice ในไทยได้?..คำตอบที่ได้ในวงคือ เรื่องสำคัญคือ ชาวไทยต้องการ palliative care แต่อาจไม่รู้จักงานนี้...การสื่อสารสาธารณะน่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญ...เมื่อประชาชนเรียกร้อง สิ่งนี้ย่อมเกิด อย่าหวังว่านักการเมืองจะเริ่มงานนี้

3. ทำอย่างไรจะทำให้เมืองไทยสามารถเกิดจิตอาสาที่เข้มแข็งเหมือนในต่างประเทศหรือว่ามีจิตอาสาแล้วจะทำอย่างไรถึงจะได้ทำงานที่สนใจ....คำตอบคือ การทำความดีทำที่ไหนก็ได้ หากแต่ต้องหาเพื่อนร่วมทำความดี ทำจริง ทำนาน และทำด้วยความสุข...เราต้องการผู้จัดการความดี

ผมปิดท้ายด้วยว่า "พุทธิกาเป็นตัวอย่างของแก่นให้ความดีเกาะให้เหนียวแน่น ผมรู้จักพุทธิกามา 5 ปี เห็นถึงการทำงานจริงและเจตนาเป็นกุศลเพื่อคนอื่นโดยใช้พุทธศาสนานำองค์กร...ขอบคุณพุทธิกาที่มีส่วนให้ผมมีกำลังใจทำดีต่อเนื่อง"

หมายเลขบันทึก: 434675เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2011 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่โรจน์คะ กลับไปขอไปเรียนรู้ community based palliative care ด้วยคน (หาเรื่องออกนอกภาควิชา 555)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท