บวชพระ : อีกหนึ่งวีถีความเป็นชายของวัฒนธรรมชาวไทยพุทธ


การบวชคือการการันตีความเป็นคนที่สมบูรณ์บางอย่างในตัวผู้ชาย

วันมาฆบูชา ปีนี้ผมไม่มีโอกาสได้ไปทำบุญตักบาตรตอนเช้าที่วัด  เพราะต้องเดินทางไปร่วมงานบวชของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน 

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การไม่มีโอกาสได้ไปทำบุญที่วัดในวันสำคัญเช่นนี้สำหรับผู้เคร่งศาสนาก็คงถือเป็นเรื่องน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง  แต่สำหรับผมไม่ถือว่าเสียดายให้เป็นทุกข์  เพราะเชื่อว่าการทำบุญเราสามารถทำกันได้ทุกวัน  ขึ้นอยู่กับศรัทธาและความพร้อมของกาย วาจาและใจเป็นที่ตั้ง อีกทั้งเย็นวันนี้ผมมีราชการที่จะต้องนำนิสิตไปร่วมเวียนเทียนที่พระธาตุนาดูน (พุทธมณฑลอีสาน) อยู่แล้ว  จึงช่วยให้ผมรู้สึกคลายความห่วงวิตกเกี่ยวกับการทำบุญและชำระจิตใจในวันสำคัญของพระพุทธศาสนาไปในตัวได้อย่างไม่ยากเย็น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อันที่จริงชีวิตในวัยเด็กผมเข้าออกวัดอยู่ทุกค่ำเช้า  โดยเฉพาะในวัยประถมนั้นทุก ๆ เช้าต้องไปตักบาตรที่วัดเสมอ,  ทานมื้อเช้าที่วัด,  ห่อข้าวก้นบาตรไปทานมื้อกลางวันที่โรงเรียน  จนใคร ๆ ก็เรียกผมว่า เด็กวัด  ผมจึงสามารถท่องบทสวดต่าง ๆ ของพระสงฆ์ได้อย่างขึ้นใจ  และช่วงปิดภาคฤดูร้อนของตอนเรียนมัธยม 1  ก็มีโอกาสได้บวชเณรที่วัดประจำหมู่บ้าน  ซ้ำยังเป็นสามเณรรูปเดียวที่ได้ขึ้นนั่งธรรมาสน์เทศน์ใบลานในบุญเดือนสี่ (บุญผเวส)  สร้างความภาคภูมิใจให้กับพ่อแม่ ญาติพี่น้องและเจ้าอาวาสเป็นที่สุด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ด้วยเหตุเช่นนี้  การได้ไปร่วมงานบวชของเจ้าหน้าที่จึงเป็นห้วงเวลาอันดีที่ผมได้พลิกความทรงจำของตนเองในครั้งที่เคยมีวงจรชีวิตในกระแสธารของพระพุทธศาสนา  ทั้งการเป็นเด็กวัด สามเณร พระภิกษุ…</p><p>  </p><p>คุณสุริยะ สอนสุระ กำลังตัดผมให้กับ “นาคหนุ่ม”  ธวัชชัย  พิษณุแสง   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บราณพร่ำสอนถึงวิถีไทยเสมอมาว่า  การบวชพระถือเป็น วิถีลูกผู้ชาย  ที่ควรต้องยึดถือปฏิบัติ  ทั้งเพื่อให้มารดาได้ เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์  หรือ บวชก่อนเบียด  หรือบวชเพื่อไม่ให้เป็น คนดิบ  สิ่งเหล่านี้กลายเป็นขนบทางสังคมที่ปลูกสร้างเป็นรากลึกมายาวนานในชีวิตของชายไทยจำนวนไม่ใช่น้อย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ผมเคยได้ยินคนแก่เฒ่าเล่าให้ฟังว่า  ชาวอีสานนิยมบวชพระในเดือนคู่  และถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ  ก็จะไม่บวชในเดือนคี่  ซึ่งผู้ประสงค์บวชจะต้อง เข้านาค ล่วงหน้าเป็นแรมเดือน  เข้าไปศึกษาพระธรรม,  เข้าไป ต่อหนังสือ  จากพระ,  เข้าไปหัด ขานนาค กับพระคู่สวดให้คล่อง  เพราะในสมัยก่อนหากไม่สามารถท่องคำขอบวชได้ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่พิธีอุปสมบทเลยก็ว่าได้   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ดังนั้น,  ในอดีตช่วงกลางคืนนาคจึงมักจะเข้าไปนอนค้างปฏิบัติกิจดังกล่าวในวัด  ตื่นเช้ามาก็ช่วยงานวัด  สาย ๆ จึงกลับเข้ามาบ้าน  แต่เท่าที่ทราบไม่รู้จริงเท็จแค่ไหน คือ บางท่านก็บอกว่าเมื่อเข้านาคแล้วส่วนใหญ่ก็จะใช้ชีวิตก่อนบวชพระอยู่ในวัดเลยก็มี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คนหนุ่มชาวอีสานแทบทุกคนจึงมักให้ความสำคัญกับการบวชเป็นอย่างมาก  การบวชคือการการันตีความเป็นคนที่สมบูรณ์บางอย่างในตัวผู้ชาย  แม้กระทั่งการไปสู่ขอผู้หญิงก็มักจะถูกญาติฝ่ายหญิงทักถามเสมอว่า บวชพระมาหรือยัง ?”</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วัด…  เป็นโรงเรียนดั้งเดิมของสังคมไทย  การที่ลูกผู้ชายสักคนได้เข้าสู่พิธีกรรมของศาสนาในศาสนสถานอันเป็นวัด  ก็ย่อมหมายถึง  การเข้าไปศึกษาวิถีโลกและวิถีธรรม  บ่มเพาะความเป็นคนเพื่อให้รู้ซึ้งในคุณค่าของความเป็น มนุษย์โลก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในอดีต,  คนทั่วไปมักนิยมถือปฏิบัติบวชกันเป็นพรรษา (3 เดือน)  ครั้นเมื่อ ลาสึก  แล้วเรียกว่า ทิด  และชาวบ้านก็มักใช้คำว่าทิดเรียกนำหน้าชื่อเสมอ  ซึ่งครั้งหนึ่งในชีวิตผมก็ถูกเรียกเช่นนั้นมาแล้ว คือ ทิดนัส  แต่หากบวชยาวนานตั้งแต่สามปีขึ้นไปและเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านก็จะได้รับการฉลองพระด้วย พิธีฮดสง  อันเป็นพิธีรดน้ำประกาศรับรองว่าเป็นพระผู้ใหญ่ของชาวบ้านและชุมชน โดยพิธีฮดสงนี้เป็นเสมือนการเลื่อนยศของพระสงฆ์  ต่อเมื่อพระรูปนั้นลาสิกขาบทออกมาก็จะถูกเรียกว่า จารย์  (อาจารย์)  ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้คงความรู้ในทางธรรม หรือทางพระ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>อย่างไรก็ตามถ้าพระรูปนั้นยังครองผ้าเหลืองยาวนานต่อไปและได้รับความเคารพเลื่อมใสจากชาวบ้านก็จะได้เข้าสู่พิธีฮดสงเป็นครั้งที่สอง พระที่ผ่านพิธีนี้เราเรียกกันว่า ญาซา  โดยถือเป็นพระอุปัชฌาย์และเมื่อสึกออกมาชาวบ้านก็จะเรียก จารย์ซา  นำหน้าชื่อนั้น ๆ  </p><p> </p><p>ทุกวันนี้…สภาพการณ์ทางสังคมเปลี่ยนผันไป  วิถีการบวชของลูกผู้ชายตามครรลองชาวพุทธก็ถูกปรับแต่งให้เข้ากับความเร่งรีบและความพร้อมทางสถานะของผู้บวช  เราไม่ค่อยพบเห็นการบวชของผู้ชายที่ยาวนานเป็นพรรษา  ส่วนใหญ่มักเป็นแค่ห้วงสั้น ๆ คือ  7 วัน, 10 วัน และ 15  วัน  แม้แต่การเข้านาคก็ถือปฏิบัติเพียงชั่วคืนกันเท่านั้น    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทุกวันนี้  เราพบเห็นงานบวชที่กลายเป็นงานสังสรรค์ราวกับงานแต่งงาน  มีอาหารการกินเลี้ยงรับกันคึกโครม  มีเหล้ายาปลาปิ้งกันเกลื่อนโต๊ะ …  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ผมคิดถึงภาพชีวิตเปี่ยมสุขและน้ำตาคลอเบ้าตาของชายไทยในพิธีสู่ขวัญนาค, ซาบซึ้งกับการตัดผมของบิดา มารดาและผู้หลักผู้ใหญ่  .. คิดถึงภาพเส้นผมแต่ละเส้นที่ถูกตัดด้วยกรรไกรและวางนอนนิ่งอยู่บนใบบัวที่พรั่งพร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน   เห็นภาพของนาคห่มขาวขี่คอเพื่อนรักรอบอุโบสถ… เห็นภาพมารดาและหญิงสาวคนรักเดินถือหมอนเคียงข้างกันในขบวนแห่นาคอันคึกครื้น   </p><p> </p><p>ผมยังคงเก็บเศษเส้นผมที่เกิดจากการบวชพระของตนเองไว้จวบจนบัดนี้      </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การบวชของผมในครั้งนั้น  แม่เป็นคนเก็บเศษเส้นผมเหล่านั้นไว้  พร้อมกับมอบให้ผมหลังการสึกพระ  แม่ย้ำเตือนให้ผมเก็บรักษาไว้ให้ดี  เนื่องเพราะเศษเส้นผมเหล่านี้หาใช่เป็นเพียงสิ่งมงคลสำหรับผมคนเดียวเท่านั้น  หากแต่เป็นสิ่งมงคลสำหรับแม่ด้วยเช่นกัน !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

คำสำคัญ (Tags): #msu km โลกและชีวิต
หมายเลขบันทึก: 81852เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
ถ้าการบวชแล้วไม่สิ้นเปลืองก็ดี แต่ชาวบ้านมักไม่เข้าใจครับ ผมเลยบวชเงียบๆชาวบ้าน งงครับ อาจารย์ไปบวชตอนไหน บวชแล้วเบียดได้เลยไหมครับ ฮ่าๆๆๆๆ
  • ลืม
  • เอามาฝาก
  • ที่นี่ครับ
  • เผื่อเป็นกำลังใจในการทำงานครับคุณแผ่นดิน

ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากครับ

P
  • งานบวชของผมก็เรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลือง  จนบรรดาญาติต่างหมู่บ้านก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง  กระนั้นคนมาร่วมงานก็เยอะมาก ๆ ครับ
  • แต่ไม่มีมหรสพใด ๆ แห่นาคก็แห่ตามวถีดั้งเดิม
  • ผมบวชเมื่อปี 2544   บวชเสร็จก็แต่งเลยครับ...ผมยังไม่ทันยาวเท่าไหร่  ก็สวมบทเจ้าบ่าวเลย
  • เบียดแล้วสบายใจ  เพราะบวชมาแล้ว ยิ้ม ๆ ...
  • ทุกวันนี้ลูกชายทั้งสองเข้าออกวัดเป็นว่าเล่นครับ

 

 

  • เพิ่มเติมครับ
    P
  • ยินดีด้วยครับกับกำลังใจอันทรงคุณค่าที่อาจารย์ฯ ได้รับจาก อ.ประเวศ  วะสี
  • ลายมือนั้น...งดงามและดูมีความขลังเป็นที่สุด
  • ขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่นำมาแบ่งปัน  นะครับ
การบวชกับคนรุ่นปัจจุบัน ได้เอาสิ่งที่ไม่ใช่ความเป็นไทย มาใส่มากเกินไป การละเลยสิ่งเหล่านี้เกิดผลกระทบถึงสิ่งอื่นอย่างไม่น่าเชื่อ  เช่น  คนสุรินทร์อย่างผม คุ้นกับการแห่นาคที่ใช้ช้างเป็นพาหนะ   แต่พอมีรถมาแทนที่  ทำให้ช้างอยู่สุรินทร์ไม่ได้ ต้องไปอยู่กรุงเทพ   ข้อคิดคือ
           ทำไมไม่ใช้ช้างแห่นาค 
           ทำไมไม่ใช้รถยนต์เป็นพาหนะเดินทาง  
           ทำไมรถยนต์มาแทนช้างในการแห่นาคได้     ฯลฯ

ไม่ค่อยได้มีโอกาสร่วมงานบวชมากนัก เนื่องจากมีพี่น้องเป็นผู้หญิงหมด ส่วนหลานที่เป็นผู้ชายก็ยังไม่บวช เพื่อนๆ หรือผู้ร่วมงานบวชก็มักจะตรงช่วงที่เข้าร่วมไม่ได้ ที่ผ่านมาที่ได้มีโอการเข้าร่วมงานบวชก็น่าจะไม่เกิน 2 ครั้ง.......สาธุอนุโมทนากับทุกท่านที่บวชค่ะ

ผมพยายามจินตนาการว่าการแห่นาคที่ใช้ช้างเป็นพาหนะนั้นเป็นยังไง..คงดูมีมนต์ขลังเป็นอย่างมาก ยิ่งหากมีการบวชหลายคน (หลายกอง)  ซึ่งต่างใช้ช้างแห่นาคก็ยิ่งจะดูใหญ่โตเป็นยิ่งนัก

..ทุกวันนี้ที่ไหน ๆ ก็ใช้รถยนต์แห่นาคกันทั้งนั้น  เป็นความสะดวก รวกเร็ว  จัดตกแต่งประดับประดาก็ง่าย..

มันเป็นการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย  บางทีผมก็เฝ้าสังเกตและตั้งคำถามอยู่เสมอว่า  ยังมีที่ใดบ้างที่ยังคงรักษษขนบเดิม ๆ ได้อย่างแน่นหนา

ผมก็ยังไม่ได้บวชเลยครับ

  • อยู่มานาน เรียนอย่างเดียว
  • กะว่าจะบวชง่ายๆ เช่นกัน ไม่ฆ่าสัตว์ใหญ่ในงาน ทำอาหารแต่สิ่งที่เป็นอาหารบ้านๆ ไม่ต้องใหญ่โต
  • อยากจะสวนกระแส ที่ดูแลจะหนักหน้า โดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความเรียบง่าย
  • แต่ต้องฝึกหัดเดินเท้าเปล่าก่อนซักเดือนครับ

ขอบพระคุณอาจารย์แป๋วมากครับ..ที่แวะมาทักทาย

P
  • ครอบครัวผมส่วนใหญ่เป็นผู้ชายทั้งหมด...มีพี่สาวเพียงคนเดียว
  • ปีที่แล้วลูกชายคนเดียวของพี่สาวก็บ่น ๆ เปรย ๆ ว่าอยากจะบวช  แต่ทางบ้านไม่พร้อม  ตั้งใจจะบวชหลังสงกรานต์
  • แต่ท้ายที่สุดในเดือนแห่งความรัก  หลานชายผมคนนั้น  ก็เสียชีวิต...ด้วยอุบัติเหตุ
  • ทุกวันนี้ใครชวนไปงานบวช...ผมจึงไม่ปฏิเสธ ไปไม่ได้ก็ "ฝากซอง"  ทำบุญด้วยเสมอ
  • คิดถึงหลานชายครับ !
  • ยินดีล่วงหน้าด้วยนะครับกับการจะบวชพระ
    P
  • ลูกผู้ชายก็มีบวช, กับเกณฑ์ทหารกระมังที่สะท้อนความเป็นชายตามวิถีไทยที่พบเห็นชัดเจน
  • งานบวชที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ  ไม่เดือดร้อนคนอื่น ไม่ฆ่าสัตว์ ..ล้วนเป็นกุศลอันแรงกล้าของผู้บวชและเครือญาติ
  • เอาใจช่วยให้เป็นไปตามที่วาดหวังทุกประการ นะครับ
ไปทำบุญวันมาฆบูชามาค่ะ...เพราะต้องขับรถพาแม่ไปเนื่องจากแม่เริ่มเดินไกลๆไม่ไหวแล้ว..วันพระใหญ่แบบนี้ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะหยุดไม่ทำงาน..มีความสุขอิ่มบุญและที่สำคัญนำบุญมาฝากพี่ๆน้องๆทุกคนค่ะ..จริงๆตั้งใจจะพาแม่ไปเวียนเทียนด้วยแต่ว่าติดนัดที่ต้องไปร่วมงานพี่ชายที่รักนับถืออีกคน..เอาไว้ปีหน้าละกัน...ไปทำบุญแล้วได้ข้อสังเกตว่าไม่ค่อยเจอวัยรุ่นนะส่วนมากเป็นคนสูงอายุ..วัยทำงานและก้อเด็กน้อยที่พ่อแม่ยังสามารถพามาได้..เพราะถ้าโตแล้วจะไม่สามารถพามาได้จริงๆนะ..อยากเห็นเด็กวัยรุ่นได้เข้ามาทำบุญ..อย่างน้อยก้ออาจช่วยขัดเกลาจิตใจและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม..ดีใจด้วยที่คุณแผ่นดินได้ปลูกฝังสิ่งดีๆให้ลูกชายทั้งสองคนได้เข้าวัดบ่อยๆ...เคยได้บวชน้องชายคนเล็ก..ไม่ชอบที่จะต้องมีเลี้ยงโต๊ะจีนมีดนตรีเอิกเกริก..แต่สู้กับคนในบ้านไม่ได้ต้องยอมแพ้..จริงๆการบวชคืออะไร..เพื่ออะไร...ต้องการอะไร...อยากให้เข้าใจถึงแก่นของมันมากกว่า...เสียดายถ้าเกิดเป็นผู้ชายคงได้บวชเหมือนกันนิ...
อ่านแล้วรู้สึกดีนะคะ...เนี่ย ถ้าเกิดเป็นผู้ชายก็คงจะบวชให้แม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ไปแล้ว...เฮ้อ  แย่....จัง

สวัสดีครับ  คุณโก๊ะ

.การได้ดูแลคุณแม่ด้วยตนเอง  ถือเป็นความโชคดีของบุตรที่มีโอกาสได้ทำเช่นนั้น...เป็นกำลังใจให้นะครับ

  • ผมเป็นคนค่อนข้างติดยึดกับกลิ่นอายวัมนธรรมเก่า ๆ ..งานบวช หรือแม้แต่กฐินที่บ้านของผม ก็ทำกันอย่างเรียบง่าย  แต่ก็มีคนมาช่วยเหลืออย่างล้มหลามเสมอ
  • สมัยที่ผมเรียนมัธยมก็ยังมีวัยรุ่นเข้าวัดกันเยอะมาก  แต่ทุกวันนี้หมู่บ้านร้างคนหนุ่มสาว  เพราะคนหนุ่มสาวเร่ไปทำงานที่ตัวเมืองกันเกือบหมดแล้ว
  • ล่าสุด...ข่าวนักศึกษาแต่งกายชุดนิสิตและแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมในวัดโพธิ์ทำเอาผมสะท้อนสะเทือนใจมากโข  ...
  • ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณโก๊ะ..เป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นการทำความเข้าใจในเรื่องการบวชว่าจริงแท้ตนเองเข้าใจรู้ซึ้งแค่ไหน..หรือตามกระแสนิยมเท่านั้น
  • ไม่ต้องเสียดายโอกาสหรอกนะครับ...เกิดเป็นผู้หญิงถึงแม้จะบวชไม่ได้  แต่การได้ดูแลคุณแม่ด้วยตนเอง ก็เป็นการทดแทนพระคุณอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งแล้ว
  • ดีใจและเป็นเกียรติที่คุณโก๊ะ..ติดตามบันทึกผมมาทุกห้วงเวลา..ขอบคุณมากครับ.

 

สวัสดีครับ ครูแอ๊ว..

P
  • บทบาทบางอย่าง หรือหลายอย่างในสังคมล้วนเขียนขึ้นและถูกกำหนดโดยผู้ชายซะส่วนใหญ่
  • แต่สำหรับผม,  ผู้หญิงก็มีพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ชายหรอกนะครับ...
  • บวชชีพราหมณ์ก็เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์นะครับ..(เคยบวชมาบ้างหรือยัง)
  • ขอบคุณครับ
  • อ่านแล้วทำให้คิดถึงบรรยากาศ  เมื่อครั้งก่อนจะเป็นทิด
  • สมัยก่อน คนที่จะบวชกลัวการขานนาคมากที่สุด  ท่องชนิด 7 วัน 7 คืน

 

สวัสดีครับอาจารย์บัว

P
  • อาจารย์บัวบวชตอนไหนครับ... ก่อนเป็นครู หรือเป็นครูแล้วค่อยลาบวช
  • เห็นด้วยกับที่ครูบัวบอกกล่าวว่าสมัยก่อนคนที่บวชจะกลัวการขานนาคเป็นที่สุด...
  • ทุกวันนี้กระบวนการต่าง ๆ ปรับแต่งให้เป็นไปตามยุคสมัย...
  • เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เราเองก็หยุดวันเวลาของสังคมไม่ได้...
  • ขอบคุณครับ

 

 

  • การบวชทุกวันนี้  ส่วนมากถูกกำหนดจากนายจ้าง
  • ทอดหนังวัว ยังไม่หมดเลย อ้าว สึกเสียแล้ว
  • บวชก่อนเป็นครูครับ  เป็นคำขาดจากแม่ เพราะพี่ชาย 2 คน  ทำงานแล้ว ไม่ได้บวชสักคนครับ

สวัสดีครับ...คุณ "ไม่แสดงตน"

  • ยังไงก็ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับที่ได้บวชพระแล้ว...  และคุณแม่ก็คงภูมิใจ และอิ่มใจเป็นที่สุด
  • วิถีทางวัฒนธรรมเปลี่ยนหมุนไปตามยุคสมัย
  • อย่างน้อยให้เราเข้าใจรากเหง้าว่าเป็นมาอย่างไรก็ถือว่าดีแล้ว   ส่วนจะปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน  ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมต่าง ๆ 
  • ขอบคุณครับ
  • อนุโมทนาค่ะ
  • ไม่ได้ไปเดิมทีว่าจะเข้ากทม.  แต่เพราะติดภาระกิจครอบครัวและต้องไปประชุมที่ขอนแก่นค่ะ  เลยต้องเลือกสร้างกุศลกับแม่พระของชีวิตก่อนค่ะ
  •  แต่ก็ไม่เสียดายนะคะ  คุณแผ่นดินถ่ายทอดได้ดีมากเลยค่ะ  อิ่มบุญเลยค่ะ 
  • ใช่ค่ะ  ลูกผู้ชาย(พุทธ)ต้องบวชพระ  และเกณฑ์ทหาร  อิอิ  ^__*  น้องชายที่บ้านเป็นพลทหารลาศึกษาต่อไปแล้ว... 555 
  • เลยเหลือแต่บวชพระอย่างเดียวค่ะ  เรียนจบคงขอให้เขาบวชเรียนก่อนไปเข้ากองทัพค่ะ  เคยเห็นเขาบวชหน้าไฟ  แล้วคุณแม่ปลื้มมาก ^__*

 

ขอบคุณ เจ้หนิงมากที่แวะมาสื่อสารบอกกล่าว..

P
  • ก็ถือว่าบันทึกนี้  ผมเอาบุญมาฝากชาวกองกิจฯ ทุกคนก็แล้วกันนะครับ..เพราะวันนั้นมีคนฝากซองผมตั้ง 8  คนเลยนะ
  • กรณีน้องชายสุดที่รัก  ก็ยังต้องลุ้นทหารหฃังเรียนจบ  แต่ที่แน่ ๆ  ต้องได้บวชแน่นอน 
  • และผมเองก็จะไปร่วมอนุโมทนาสาธุ ด้วย
  • ขอบคุณครับ

 

พลทหารเอกรินทร์ไม่ต้องลุ้นแล้วค่ะคุณแผ่นดิน  ลามา 5 ปีค่ะ แต่ถ้าเรียนจบเมื่อไหร่เข้ากองทัพเลยค่ะ   เขามีรหัสประจำตัวทหารแล้วค่ะ  เป็นข้าราชการนะนั่น  555 เป็นพลทหารราชนาวีมา 3 ปีแล้วค่ะ  ลาศึกษาต่อแบบไม่รับเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นใดจากกองทัพค่ะ

  • งั้นก็ต้องแสดงความยินดีในบทบาทและสถานลูกผู้ชายที่พึงรับผิดชอบต่อหน้าที่ความเป็นคนไทย..
  • ผมเสียดายตนเองเหมือนกัน...(สูงไม่ถึง)

การบวช ผู้บวชต้องเจริญศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะได้ประโยชน์จริง ได้รู้ว่า ความสุขที่แท้จริงของการบวชว่าเป็นอย่างไร มันสงบ อย่างไร พระเป็นเนื้อนาบุญของเรา เมื่อพระรับประเคนของจากเรา เพื่อประโยชน์ของเพศสมณะ และไปบำเพ็ญสมณธรรม  เกิดเป็นบุญๆนั้น ก็ตกมาถึงเราด้วยค่ะ   เมื่อพระไม่มีเครื่องกังวล  ก็จะแสวงหาความรู้ นำความรู้มาสั่งสอนเผยแพร่แก่หมู่ชนต่อไป

สวัสดีครับ พี่ศศินันท์ Sasinand

ผมไม่เคยได้แวะกลับมาดูบันทึกนี้นานเหลือเกิน  วันนี้ถือโอกาสกลับมาดูอีกครั้ง  เพราะว่า  วันนี้เป็นวันที่ผมและทีมงานจะได้กล่าวลาและแสดงความยินดีกับน้องชายท่านนี้ในโอกาสที่จะไปบรรจุรับราชการตำรวจ

คนดี ๆ ....  จึงย่อมมีการเติบโตไปในทิศทางที่ดีกว่าเสมอ

ผมเชื่อเช่นนั้น... เสมอมา

ชัชฎา อิ่มสำรัตน์

พอดีผมจะบวชเดือนนี้ ก่อนสิ้นเดือนมกราคม2552 เชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาก ปัจจัยถวายพระ สิ่งที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินก็ขออโหสิด้วย

บริจากได้ที่เลขที่บัญชี0472344878 ธนาคารไทยพานิชย์ ตามกำลังศรัทธา

ผมทำงานทีโรงแรม สีลมอเวนิว เบอร์โทร022384681 มือถือ0811321638

กรุณาตรวจสอบก่อนคุณบริจาค

ชัชฎา อิ่มสำรัตน์

ไม่ต้องแล้วคับสิ้นเดือนนี้ไม่ได้บวชคับ วันไม่สวย รอวันที5มีนาคมคับถ้าท่านจะบริจาคก้อรอไปก่อนคับขอบคุณทุกท่านคับ

สวัสดีครับ..ชัชฎา อิ่มสำรัตน์

แวะมาอีกรอบ..เพิ่งพบเจอบันทึกนี้..

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม..

ขออนุโมทนาผ่านบล็อก นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท