เฉยซะบ้าง ชีวิตจะดีขึ้น


ในสังคมเวลานี้ เราต้องฝึก “เฉย” และ “เฉยเมย” แต่สิ่งเร้า “กิเลส” ต่าง ๆ ที่มากระทบบ้าง

 
กิเลสที่เข้ามากระทบอยู่ “เฉย” กิเลสที่เข้ามากระทบตา “เฉย” กิเลสที่เข้ามากระทบจมูก “เฉย” กิเลสที่เข้ามากระทบหู “เฉย” กิเลสที่ลิ้นได้สัมผัส “เฉย” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่เข้ามากระทบใจต้องฝึก “เฉย” และ “เฉยเมย”
ถ้าเรายิ่งคิด ยิ่งปรุง และถ้าไม่ได้ตามนั้นจะยิ่งเหนื่อยหนักเป็นทวีคูณ
หรือถ้าว่าได้ เราก็ต้องแลกด้วยพลังกายและใจ แทนที่จะได้พักเราก็ต้องทำงานหนัก เจียดเงิน เจียดแรง เจียดใจแลกมาไซร้ซึ่งสิ่งสนองกิเลส

เฉยและเฉยเมยต่อกิเลส สิ่งเร้า และความชั่ว
แต่ต้องกระตือรือร้น ขวนขวาย ต่อการงานที่ดี และ “ความดี

การจะ “เฉย” ต่อสิ่งเร้าโดยเฉพาะเจ้ากิเลสได้นั้นเราจะต้องมีสติ
สติเกิดขึ้นจากคนที่รู้จักอยู่กับปัจจุบัน
การอยู่กับปัจจุบันคือการอยู่กับลมหายใจ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
หรือว่าใครจะใช้อุบายตามปัญญาของตนซึ่งเหมาะสมกับจริตที่สามารถทำจิตตนให้เฉย สามารถสู้กับกิเลสและสิ่งเร้าได้ก็จงทำและฝึกทำให้บ่อยขึ้น ๆ ทรงไว้ให้ได้ยามภัย (กิเลสและสิ่งเร้า) มา


เมื่อกิเลสเข้าไป เราก็ต้องรีบเรียกสติให้มาอยู่กับลมหายใจ
อย่าปล่อยจิตให้ฟุ้งไปตามคำเรียกร้องของกิเลส
ขอนิดหน่อยน่า ไม่ได้ของ ขอคิด ขอปรุงก็ยังดี เราก็เป็นซะอย่างนี้...!

ท่านพระอาจารย์เคยสอนไว้ว่า “ข้าวเย็นฉันไม่ได้ แล้วจะไปคิดให้มันร้อนท้องอยู่ทำไม”
ความคิด ความปรุง ดีก็ยุ่ง ไม่ดีก็ยิ่งยุ่ง

เฉยเสียดีกว่า เฉยเมยกับสิ่งที่จะคิดจะปรุงเสียดีกว่า
เพราะสิ่งที่จะได้กลับมาประการแรกสุดคือ “พลังจิต”
พลังจิตที่เข้มแข็ง พลังจิตที่สมบูรณ์จากสติ พลังจิตที่ทรงพลังจากความสงบ
สงบจากการไม่คิด สมบูรณ์จากความไม่ปรุง
เพราะเรายิ่งเฉยมากเท่าไหร่ จิตเรายิ่งแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
อย่างเช่นการรักษาศีลอุโบสถ หรือศีล ๘ นั้นมีไว้ให้เราฝึกจิตไม่ให้หลง ไม่ให้ปรุง


ไม่ให้หลงไปกับเครื่องประดับตกแต่งกาย
ไม่ให้หลงใหลไปกับเครื่องนอนหมอนมุ้งที่หรูหราเลิศเลอ
ไม่ให้หลงเพ้อไปกับอาหารที่เกินความจำเป็นของร่างกาย
ไม่ให้ปล่อยใจและกายไปกับหนัง ละคร ฟ้อนรำต่าง ๆ ที่จะนำจิตให้ฟุ้ง นำใจให้หลง
จิตที่ไม่ฟุ้ง ไม่หลง จะไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขสิ่งมัวเมาต่าง ๆ

เฉยซะบ้าง ชีวิตจะดีขึ้น
เฉยเมยต่อกิเลสและสิ่งเร้าเสียบ้าง ชีวิตจะเจริญ...

ดีและเจริญด้วยเฉยและเฉยเมย เฉยและเฉยเมยจน "นิ่ง" ดั่งน้ำที่ไหลนิ่ง


คำสำคัญ (Tags): #น้ำไหลนิ่ง
หมายเลขบันทึก: 180146เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณนะค่ะที่นำข้อคิดดี ๆ มาฝากให้ลองนำไปคิดและใช้ในการปรับปรุงตัวค่ะ...เฉยบ้างค่ะ...เป็นกำลังใจให้นะค่ะ

แวะมาเรียนรู้เพิ่มเติมคะ พระอาจารย์

ขอบคุณมากคะ

ขอให้ท่านมีความเจริญด้วยสิ่งที่ดี ๆ จากการคิด พิจารณา และการปฏิบัติ

Dhamma is no RELIGION...

นมัสการพระคุณเจ้า

  • แวะมาเรียนรู้ธรรมะครับ แวะมาทีไรก็ได้ความรู้และความเบิกบานทุกเมื่อเลยครับ
  • วันนี้ได้เห็นภาพ

    ภาพนี้แบบขยาย ทำให้นึกถึง ธรรมะที่ว่า
    ...สังสารวัฏ เปรียบด้วยทะเลไฟที่ภูเขาพ่อออกมาท่วมอยู่รอบทิศ "ธรรมะ" เป็นสิ่งเดียวที่จะเป็น "เรือ" ที่ปลอดภัยร่มเย็น ในท่ามกลางทะเลไฟอันแผดเผานี้ "เรือธรรม" นั้นลอยอยู่ในทะเลไฟ นั่นคือจุดเย็นที่สุด อยู่กลางเตาหลอมเหล็กที่ร้อนระอุ นั่นคือ นิพพาน เป็นสิ่งที่หาพบได้ท่ามกลางสังสารวัฏนี่เอง....

ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นั่งนอนสบาย


(ที่มา : http://planetquo.net/Paranoid/3%20monkeys.jpg)

สาธุ สาธุ สาธุ

ความสุขอื่นใดจะหาเทียบเท่าความ "สงบ" นั้นไม่มี

  • นมัสการค่ะ
  • มารับธรรมะ...ซึ่งกำลังต้องการใช้ค่ะ
  • สาธุค่ะ

ถ้าเจอสิ่งกระทบแล้ว "พุทโธ" ไม่ทัน หรือยาวไปท่องไม่ไหว "เฉย" ไม่อยู่

องค์หลวงพ่อชา สุภทฺโท ท่านสอนให้ท่องว่า "เหอะ"...!

(ภาพนี้กระผมชอบมากครับ)

ความนิ่งสยบมหาภูติ บนธาตุน้ำ

ไม่ใช่ง่ายกว่าจะได้มาซึ่งความสงบ

 

สาธุ สาธุ สาธุ

สิ่งที่คุณโยม "ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง" ได้แลกเปลี่ยนให้ข้อคิด เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง อาตมาขอน้อมรับไปประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา และใจ

ขออนุโมทนา กับธรรมอันประเสริฐที่โยมกรุณาได้ถ่ายทอดให้ในครั้งนี้รวมถึงกาลก่อน

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,

สรณะ (ที่พึ่ง) อื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) อันประเสริฐของข้าพเจ้า

สรณะ (ที่พึ่ง) อื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) อันประเสริฐของข้าพเจ้า

สรณะ (ที่พึ่ง) อื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระอริยสงฆ์เป็นสรณะ (ที่พึ่ง) อันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,

เจริญพร

สวัสดีครับ คุณครู จุฑารัตน์ :)

  • เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ... แล้วหรือครับ อิ อิ
  • ส่วนใหญ่มนุษย์จะไม่ "เฉย" แต่จะพยายามไขว่คว้าหาสิ่งยึดเกาะ ทำให้เกิดทุกข์ เมื่อหามายึดไม่ได้ ถ้า "เฉย" ก็จะสบาย ไม่ยึด ไม่เกาะ
  • ไม่ว่าเราจะเคยเป็นอะไร สุดท้ายก็แค่นั้น 

อนุโมทนาธรรม ครับ :) 

" กระทบ แต่ไม่กระเทือน "

ยาก! จริงๆ

กระเทือนกายได้ แต่อย่าให้กระเทือน "ใจ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท