นอนมาก ก็ต้องยิ่ง “นอนมาก...!” (Sleeping a lot more sleep)


 

ชีวิตนี้ทุกคนมีหน้าที่หลักที่ได้เกิดมานี้เพื่อทำความดี ให้คุ้มค่ากับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา

อันหน้าที่หลักของคนเรานั้นคือ “การทำความดี”
ร่างกาย สังขารที่ได้รับมาในชาตินี้นั้น เอื้ออำนวยประโยชน์ให้เราได้ประกอบการงานอันเสียสละ บำเพ็ญกุศลและสร้างบามีอันเป็นโอกาสที่ประเสริฐยิ่งแล้ว

แต่ก็เป็นธรรมดาและธรรมชาติอันร่างกายที่ได้มานี้เพื่อทำความดีตลอดทั้งวันก็ย่อมต้องการได้รับการพักผ่อนด้วยการหลับนอน

การหลับการนอนนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดี
การหลับการนอนอย่างสนิทเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด
แต่การหลับนอนอย่างพอดีนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า

เมื่อหน้าที่หลักของเราคือการทำงานด้วยการสร้างความดี เมื่อเหนื่อยเราก็ต้องพัก พักให้พอดี นอนเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ได้พัก ได้มีโอกาสเยียวยาตนเอง

แต่ร่างกายของคนเรานั้นมิได้ต้องการการพักด้วยนอนเพียงอย่างเดียว
ร่างกายของเรายังต้องการผ่อนด้วยการสงบจิตใจ ยังต้องการสารเคมีที่หลั่งออกจากการออกกำลังกายให้สมกัน

การนอนมากเกินความพอดีนั้นรังแต่จะทำให้ร่ายกายนั้นล้ามากขึ้น
ล้าเพราะแขนขารวมถึงอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง ขาดธาตุลมหรือที่เราเรียกว่า “ความดัน” เข้าไปหล่อเลี้ยง กระตุ้นให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า

ดังนั้นการนอนมากนั้นมิใช่การพักผ่อนที่ดีเลย
เมื่อเรานอนมาก เราก็ต้องยิ่งนอนมากขึ้น
เพราะเมื่อเรานอนความดันเราต่ำ ร่างกาย สมอง ก็จะได้รับแรง ที่จะไปกระตุ้นพลังให้ที่จะมาทำงานได้
ครั้นเมื่อนอนมากร่างกายก็จะเหนื่อยล้า เพราะความดันเลือดที่จะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อและอวัยวะพร่องไป เราเลย “รู้สึก” ว่านอนไม่พอ แต่ที่จริงนั้นเรานอนพอแล้ว นอนมากเกินไปแล้ว นอนมากจนขาดลม ขาดความดันที่จะไปกระตุ้นอวัยวะ กล้ามเนื้อ จนทำให้ร่างกายนั้น “ล้า” แต่มิใช่ล้าเพราะเหนื่อย เพราะทำงานหนัก แต่ล้าเพราะเรานอนมากเกินไป ล้าเพราะความดันโลหิตของเรานั้นต่ำไปเนื่องด้วยจากการนอน

นอนมากก็ยิ่งเหนื่อย เหนื่อยแล้วก็ยิ่งนอน
นอนมากไม่หายเหนื่อย เรายังไม่หายเหนื่อยก็เลยต้องนอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาหลังอาหาร เป็นเวลาวิกฤตของการ “นอน” หรือ “ไม่นอน”
เวลาหลังอาหารนั้นหัวสมอจะถูกอัดอยู่บึ้บ บึ้บ บึ้บ อัดด้วยธาตุลมที่ปนกับธาตุไฟที่แฝงเข้ามากับตัวของอาหาร
ช่วงนี้เป็นเวลาที่ร่างกายต้องใช้สรรพกำลังมากในการย่อยอาหารที่บางครั้งมากเกินความต้องการของร่างกาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทแป้งและไขมัน ร่างกายนั้นต้องใช้ไฟเพื่อดับไฟ

ไฟจะลุกติดขึ้นโชติช่วงสว่างได้ก็เพราะมีลมที่โหมกระพือ
ตอนนี้ธาตุลมจะต้องวิ่งพล่านทั่วร่างกาย
แต่ถ้า... มนุษย์เงินเดือน หรือบุคคลที่ทำงานในสำนักงาน เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วนั่งจุ้มปุ๊กอยู่เฉย ๆ อันนี้ธาตุลมจะหมดแรงในการแปรผันอันจะเป็นต้นเหตุที่จะนำไปสู่การโหมแรงของไฟ

เมื่อกินแล้วนั่ง นั่งอยู่เฉย ๆ ร่างกายนั้นจะต้องทำงานมากกว่าเดิมหลายเท่านัก
เพราะการนั่งนั้น อวัยวะจะไม่ได้ขยับขยาย ธาตุลมที่ได้จะได้จากความดันของโลหิตแต่เพียงอย่างเดียว
ปกติความดันโลหิตนั้นจะต้องใช้สูบฉีดไปยังอวัยวะทั้งสามสิบสอง โดยเฉพาะเส้นเลือดทุกเส้น แต่เมื่อเรามีอาหารเข้ามาสู่ตน ร่างกายนั้นจะต้องการลมที่จะไปจัดการกับเจ้าอาหารเดิน

ดังนั้นการเดินหรือยืน เป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มธาตุลมให้เหมาะสมกับสภาวะหลังอาหารนี้ได้
เพราะการเดินหรือแม้แต่ยืนนั้น เราจะต้องสูดลมหายใจมากกว่าปกติ โดยเฉพาะถ้าอย่างยิ่งเราเดิน ร่างกายเราจะได้กระปรี้กระเป่าเพราะธาตุลมได้หมุนเวียน

เวลานั่ง ขาก็พัน หัวเข่าพับ ต้องใช้แรงลมมากจึงจะส่งเลือดไปให้ถึงปลายนิ้วเท้า
แต่ถ้าเราเดิน ความดันโลหิตนั้นจะสูบฉีดได้ดี เพราะหัวใจนั้นเต้นได้แรงขึ้น

ด้วยเหตุที่กล่าวทั้งหมดแต่ตั้นมานั้นเป็นเหตุให้ที่หลังอาหาร ถ้าไม่เดิน ก็ต้องนอน...
ถ้านั่งอยู่มีหวังได้หาวฟอด ๆ แน่
อาการหาว เป็นอาหารที่ร่างกายรับออกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอแต่การที่ร่างกายจะใช้
อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น เวลาหลังอาหาร ร่างกายต้องใช้ลมมาก ต้องใช้ออกซิเจนเพื่อเปลี่ยนถ่ายฟอกโลหิตในระดับสูง
การเดินจะช่วยให้หัวใจสูบฉีดได้ดีขึ้น การนั่งหัวใจทำงานปกติ แต่ช่วงเวลานี้ “ไม่ปกติ” หัวใจจึงต้องทำงานหนัก
หนักมากก็เหนื่อย เหนื่อยมากไม่ไหวก็ต้องนอน

เวลาที่ควรจะทำงาน ก็ต้องเอาเวลาไปนอน
เวลานอนกลางคืนที่มีมากพอแล้ว ร่างกายพักผ่อนพอแล้ว ก็ต้องมานอนให้เกินความจำเป็น

การนอนกลางวันจึงเป็นการเบียดเบียนชีวิต เบียดเบียนพลังชีพของตนเองให้อ่อนลง ให้อายุของตนเองนั้นสั้นลง

สั้นลงตั้งอายุที่เป็นตัวเลข และสั้นลงด้วยเหตุแห่งโอกาสจะประกอบกรรมทำความดี

การนอนนั้นจะบอกไปให้แน่ชัดเลยว่าคนนี้ควรนอนกี่ชั่วโมง นอนเท่านี้ถึงจะพอนั้นบอกแน่นอนไม่ได้ เราต้องลองหัดสังเกตุตัวเอง หมั่นดู หมั่นอ่านตนเอง

ถ้าตนเองรู้สึกตัวตื่นแล้ว (ตื่นเอง) แสดงว่าร่างกายเขาพอแล้ว
แต่ถ้าร่างกายเขาตื่นแล้ว เจ้าจิตนี้ “ขอต่อหน่อยน่า” ขออีกนิด ขออีกหน่อย อันนี้มิใช่ความต้องการของร่างกายแล้ว แต่เป็นกิเลสของจิต “จิตที่ขี้เกียจ ขี้คร้าน”
การประกอบการงานทำความดีนั้นต้องทำให้ชำนาญ การฝึกนอน ฝึกขี้เกียจบ่อย ๆ นั้น จิตเราก็ชำนาญในความขี้เกียจเช่นเดียวกัน

ชีวิตนี้แสนสั้นนัก ควรรีบจักไขว่คว้าโอกาสที่มีอยู่นี้สร้างสมเพาะบ่มคุณงามความดี
ชีวิตนี้เกิดมาเพื่อทำงานทำความดี การนอนนั้นเป็นอาการที่หยุดพักของร่างกาย พักนิดพิงหน่อย สั่งสมพลังอันเป็นเสบียงแห่งการทำความดีเท่านั้น

ชีวิตที่เกิดมานี้อย่ามัวติดอยู่กับเรื่องอยู่ เรื่องกิน และเรื่องนอน
กินมากก็ต้องยิ่ง “กินมาก”
นอนมากก็ต้องยิ่ง “นอนมาก”
อย่าเพิ่งรีบนอนเลย ไม่นานนักไม่ถึงร้อยปี เราคงจักต้องทอดทิ้งร่างกายนี้ให้ทอดลงบนแผ่นดิน...

 

หมายเลขบันทึก: 190003เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่าน

ได้ความรู้ใหม่ด้วยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท