เปิดชมรม "นักปั่น..."


วันนี้ระหว่างที่ทำงาน "หิน" แบบ "หิน ๆ" อยู่นั้น มือก็ติดหิน แต่หัวนั้นติดอยู่ในกลิ่นแห่งการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้"

ระหว่างการติดหินนั้น ก็เลยฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า เราน่าจะมี "ชมรมนักปั่น" (ปั่นเกลียวความรู้) ขึ้นมาสักหน่อยน่าจะดี

ด้วยเหตุในการของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ ถ้าเขาไม่อยากให้เราปั่น แล้วเราทะลึ่งไป "ปั่น" เขา เราอาจจะโดน "ดีด" ได้

ดังนั้น ชมรมนักปั่นก็ไม่มีอะไรมาก หรือเป็นทางการอะไรหรอก ก็แค่บอกว่า "ปั่น" กันได้เท่านั้น

ปั่นเกลียดความรู้กันได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ เหมือนกับทางพระนี่ก็ต้อง "ปวารณา" กันว่า "ตักเตือน" กันได้ ถ้าไม่ปวารณาไว้ ใครมาเตือนใครก็มีสิทธิโดนสวนได้เหมือนกัน

"เขาไม่ศรัทธาเรา ก็อย่าไปสอนเขา..."

ถ้าหากบอกกันไว้ว่าปั่นได้ก็จะได้รู้และเข้าไปปั่น

แต่ทว่า... ไม่จำเป็นต้องมาอยู่ชมรมนี้ วงนี้ แพลนเนทนี้ ที่เดียวเท่านั้นนะ

ใครถูก "จริต" กับใคร ก็ปั่นกันได้ ปั่นได้ ปั่นดี...

ตอนนี้เราก็เริ่มต้นด้วยการที่ใครเขามาปั่นเรา เราก็จะกลับไป "ปั่นตอบ..."

แต่ก็ยังไม่กล้าปั่นเต็มที่ เพราะเขายังไม่ได้บอก Limit ว่าจะให้ปั่นได้แค่ไหน

เพราะบางครั้งเราก็ "โหด" เกินใคร จึงกลัวว่าถ้าปั่นไปจะมีการ "เคือง" กัน

ถ้าบอกกันไว้ เปิดใจกันไว้ จะได้ "รู้ใจ" กันไว้ตั้งแต่ทีแรก

หรือว่าถ้าใครไม่อยู่ จะได้คอยดูแล "ทีม" ซึ่งกันและกัน

งานนี้ต้อง "ทำงานเป็นทีม" ต้องช่วยเหลือ จุนเจือ ประคับ ประคอง และ "ปรองดอง" กัน

บางครั้งดูเหมือนเราจะ "เถียง" กัน แต่การเถียงนั้นก็เพื่อ "ความเข้มแข็งทางวิชาการ"

มาร่วมตั้งวง ตั้งชมรม "นักปั่น" หลาย ๆ วง หลาย ๆ ชมรมนะ

ปั่นกันให้เต็มที่เลย ปั่นกันทั้งปี ปีนี้จะเป็นปีทองของ "นักปั่น..."

 

หมายเลขบันทึก: 299628เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ้อ...นึกว่าจะไปปั่นจักรยาน...

555 ...ปั่นเกลียวความรู้นี่เอง... ปั่นแบบจริตตรงกันนี่ มันก็มันส์ดี สนุกดี ปัญญาเกิด ร่องสมองดูท่าจะลึกลง ... และแตกโยงใยออกไปดี..เหมือนกัน

หากจะเป็นผู้ได้ละร่าง ก็ขอให้ได้ละร่าง แบบมีกึ๋นหน่อย

แม้...กึ๋นนี้จะนำติดไปด้วยไม่ได้

ก็น่า...กึ๋นนี้ยังเป็นร่องรอยให้ผู้คนมีคลี่มาแผ่ดูได้ในคราต่อไป...

เชียร์...เจ้าค่ะ

 

อีกนิดอีกนิด...

จริตเดียวกันมาช่วยกันปั่น...ความรู้ให้เกลียวนี้หมุน...

หมุนไป หมุนไป...คงไม่เกิดอาการปีนเกลียวนะ

หรือหากว่าเกิดอาการปีนเกิดขึ้นแล้ว...ก็ถือว่าโชคดีล่ะครานี้

เพราะเป็นโอกาสได้ฝึกฝนตนเอง...ให้สามารถคลายเกลียวได้อย่างละมุนละม่อม ไม่เสียหายมากมาย เกลียวก็ยังสามารถหมุนวนต่อไปได้...

 

การเขียนบันทึกจากการคิดแล้วตั้งใจว่าจะมาเขียนนั้นได้ผลลัพธ์อย่างหนึ่ง

การเขียนบันทึกจาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ่านปุ๊บ ตอบปั๊บ คิดปุ๊บ เขียนปั๊บ ก็จะได้ผลลัพธ์อีกอย่างหนึ่ง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้เราจะได้ "ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)" ที่อยู่ลึกและลึกมาก

เพราะเราแทบเปอร์เซ็นต์ของสมองในการนึกในการตอบน้อยมาก...

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้จะพึ่งพา "อารมณ์" และ "จริต" สูงกว่า "หัวสมอง..."

อารมณ์และจริตถ้าดึงออกมาใช้ให้เป็นนั้นคือ "ความรู้แห่งจิต" หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ได้ก็คือ "ปัญญา..."

ปัญญาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของ "สมาธิ" ซึ่งคิดแล้วตอบ

ความนิ่ง ความมีสติ ณ ขณะนั้น อารมณ์นั้น เวลานั้น

ความรู้ต่าง ๆ จะผุดและแวกว่ายผ่าน "ความคิด" ออกมา

ถ้าสังเกตุให้ดีเราจะรู้ว่า ตอนที่เราพิมพ์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เราจะมีส่วนผสมของ "ตัวตน" อยู่

ตัวตนในที่นี้ไม่ได้นิยามถึง "อัตตา" ที่ถือตัว ถือตนนะ

ตัวตนในที่นี้ก็คือ ตัวจริง เสียงจริง ไม่มีเสแสร้ง ไม่มี "ภาพพจน์"

หลาย ๆ ครั้งเวลาที่เขียนบันทึก "หัวสมอง" ของเราก็จะถูกดึงไปใช้ในการรักษา "ภาพพจน์"

บันทึกที่ผ่าน ๆ มาจึง "คิดได้" แต่ "เขียนไม่ได้"

บางครั้งเขียนไป เขียนไปก็ต้อง "ลบไป" เพราะเขียนแล้วก็กลัว "เสียภาพพจน์"

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้จะทำลายกำแพงแห่ง "ภาพพจน์"

การทำลายกำแพงแห่งภาพพจน์นี้เองจึงกลายเป็นการ "ปีนเกลียวความรู้"

เกลียวความรู้เดิมเราใช้หัวสมองบวกด้วยประสบการณ์

ตอนนี้เราเริ่มปีนเกลียวความรู้กันแล้ว เราตัดส่วนของหัวสมองออกไปได้ส่วนหนึ่งหรือแทบจะหมด

แต่เกลียวความรู้ใหม่ที่เรากำลังปีนอยู่ใน เราต้องใช้การดึง "ศักยภาพภายใน" ที่อยู่ลึก ณ ก้นบึ้งแห่ง "จิตใจ" ออกมาถ่ายทอดให้ได้ยิน ให้ได้ฟัง

การดึง "ความรู้แห่งจิต" นี้ก็เหมือนกับการ "ตักแกง" ที่มักมีอะไรดี ๆ ซ่อนอยู่ก้นหม้อ

การใช้หัวสมองทำงานนั้น เรามักจะได้กินแต่ผัก กินแต่น้ำแกงแบบจืด ๆ จาง ๆ ที่อยู่ด้านบนของหม้อ

การปีนเกลียวดครั้งนี้ เราจะได้ควานลงไปตัก "ชิ้นปลา" และ "เครื่องแกง" ที่อยู่ก้นหม้อ

ความเข้มข้นของแกงจะได้ถูกลิ้มรส

ที่จริงความเข้มข้นของแกงนั้นมีอยู่ แต่เราไม่ได้ควาน ไม่ได้ตักลงไป

ไม่ใช่ก้นหม้อมันลึกนะ แต่ทว่า "ทัพพี" ของเรามันสั้น

ทัพพีมันสั้นก็เพราะว่าถูกตัดรอนด้วย "ภาพพจน์"

ทัพพีมันสั้นก็เพราะว่าถูกตัดรอนด้วย "เกียรติยศ" และ "ชื่อเสียง"

ทัพพีมันสั้นก็เพราะว่าถูกตัดรอนด้วย "หัวสมอง" และ "ความคิด"

ใช้จิตนิ่ง ๆ อ่านแล้วเขียน ถ่ายทอดออกไป

ความรู้ฝังลึกที่ถูกฝังอยู่จะถูกตักถูกดึงให้บรรเจิดและไฉไล

ความรูนี้ไซร้คือความรู้คู่ชีวิน...

มาขอสมัครเป็นนักปั่นด้วยคนเจ้าค่ะ

เป็นมือใหม่หัดปั่น

น้อมรับคำชี้แนะ จากท่านผู้รู้ทุกท่าน

โปรดชี้แนะข้าพเจ้าด้วย

OK OK ดีมาก ดีมาก

เรื่องชี้แนะเหรอ ชี้แนะแล้วจะฟังเหรอ...?

ท่านบอกไว้ว่า คนเราที่จะฟังคำพูดของคนอื่นนี้มีบุคคลแค่สองวัยเท่านั้น คือ

หนึ่ง เด็ก ๆ แบบเด็กมาก ๆ เลย แบบว่าเราบอกให้เขาเอามือแหย่ปลั๊กไฟเขาก็แหย่

สอง คนแก่ แบบแก่มาก ๆ แบบว่าช่วยเหลืออะไรตัวเองไม่ได้แล้ว แต่ทว่าคนแก่เดี๋ยวนี้ก็ยังเชื่อคนยาก

เราทั้งหลายยังเป็นวัยรุ่น วัยหนุ่ม วัยสาว ส่วนใหญ่แล้ววัยนี้ "เชื่อตัวเอง" เชื่อประสบการณ์ของตนเอง คือ ยังคิดว่าตนเองยัง "เจ๋ง" อยู่

แต่สิ่งที่ไม่เชื่อนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิดนะ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลัก "กาลามสูตร"

อย่าพึงเชื่อแม้นเป็น "ครู" ของตน

ฟังแล้วต้อง "ฟังหูไว้หู"

ต้องไปลองทำดูก่อน ถ้าจริงแล้วค่อยเชื่อ แต่ไม่ได้เชื่อสิ่งที่เราพูดนะ ท่านจะเชื่อตัวของตัวเอง...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท