ไดอารี่ ณ ราชธานีอโศก : สภาพและความเป็นมา


 

ที่ดิน ณ พุทธสถานราชธานีอโศก และ สหกรณ์บุญนิยมราชธานีอโศกในปัจจุบันนั้น คุณหนึ่งฟ้า นาวาบุญนิยม ซึ่งเป็นชาว อ.พิบูลมังสาหาร ได้ถวายสมณะโพธิรักษ์ไว้เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ (ในวันลอยกระทง) ที่หน้าร้านอาหารมังสวิรัติปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม โดย บริจาคเข้า “กองทัพธรรมมูลนิธิ”

 

โดย ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้มีกลุ่มนักปฏิบัติธรรมชาวอโศก ประมาณ ๗ หรือ ๘ คน มาจากศีรษะอโศก มาตั้งถิ่นฐาน และ ได้เริ่มทำงานด้านกสิกรรมธรรมชาติ เป็นอันดับแรก

ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นทางการตามกฎหมายกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นหมู่บ้าน

หมู่บ้านนี้แยกตัวมาจากหมู่บ้านคำกลาง (หมู่ ๖) เป็น หมู่บ้านที่ ๑๐ ของ ตำบลบุ่งไหม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

“พุทธสถานราชธานีอโศก” จึงเป็นแหล่งที่แปลกกว่าพุทธสถานที่อื่นๆ ของ ชาวอโศก คือ เกิดชุมชนก่อน พุทธสถาน โดย ที่ท่านสมณะโพธิรักษ์ได้วางนโยบายไว้ว่า ให้ฆราวาสเป็นผู้บริหาร

ส่วนสมณะเป็นที่ปรึกษา โดย เน้นเรื่องกสิกรรมธรรมชาติเป็นหลัก ทั้งได้วางหลักการให้เป็นแนวปฏิบัติไว้ ๔ ข้อ ด้วย ดังนี้

ซื่อสัตย์
ขยัน
สามัคคี
มีวินัย

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

1. เป็น สังคมร่วม ประกอบด้วยสมณะ และ ฆราวาสผู้สนใจจะปฏิบัติธรรมตามคำสอน ของ สมเด็จพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า

2. มีการดำเนินชีวิต และ ความเป็นอยู่เรียบง่าย ไม่มีอบายมุข สิ่งเสพติด ไม่มีเดรัจฉานวิขา หรือ ไสยศาสตร์ มีชีวิตที่ประหยัด ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ลดการกินการใช้จ่ายที่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย หรือ ที่ไม่จำเป็นตามกรอบ ของ ศีล ๕, ศีล ๘, ศีล ๑๐, จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล และ มรรคมีองค์ ๘ ตามคำสอน ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3. พัฒนาจิตสำนึกให้มีความขยัน สร้างสรรค์ เสียสละ ในการประกอบสัมมาอาชีพเป็นบุญกุศล รู้รักสามัคคี มีเมตตา และ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ สังคม

4. อนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศ และ สิ่งแวดล้อม ในการรักษานิเวศป่า นิเวศน้ำ และ แบ่งพื้นที่ทำกสิกรรมธรรมชาติไร้สารเคมีทุกชนิด เพื่อ การกินอยู่ภายในชุมชน

5. มีกิจกรรมร่วมแรงกันสร้างสรรผลผลิตด้านปัจจัย ๔ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) เพื่อ สร้างสังคมที่พึ่งตนเองอย่าง “ครบวงจร” ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย ยึดหลัก “บุญนิยม” คือการทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ ส่วนรวม เป็นบุญกุศล ของ ตนเอง

6. มีการอบรม และ เผยแพร่พระธรรมคำสอนแก่ สมาชิกในชุมชน และ ผู้สนใจ

 

สภาพทางภูมิศาสตร์ และ สิ่งแวดล้อม

อาณาเขต ทิศเหนือ มีแม่น้ำมูลกั้นระหว่างหมู่บ้านดงเจริญ ต.ปทุม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ทิศตะวันออก จดหมู่บ้านคำกลาง หมู่ที่ ๗ และ ๖
ทิศใต้ จดหมู่บ้านกุดระงุม
ทิศตะวันตก จดหมู่บ้านท่ากกเสียว

ราชธานีอโศกมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๓๕๐ ไร่

ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่ม เปรียบเหมือนอยู่ก้นกระทะ มีสภาพเป็นดินทาม คือ ฤดูฝนจะมีน้ำมาก บางปีน้ำท่วม ส่วนฤดูหนาว น้ำจะขัง สามารถใช้ดิน ทำการเพาะปลูก พืชผัก และ ไม้ล้มลุกได้ สภาพพื้นที่ระหว่างหมู่บ้าน จนจรดแม่น้ำมูล มีลักษณะคล้ายคลื่น มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ ขนานกับแม่น้ำมูล ส่วนที่เป็นคลื่นก็เป็นบุ่ง หรือ เป็นคลองน้ำธรรมชาติ บางบุ่ง (บึง) มีน้ำขังตลอดปี บางบุ่ง (บึง) ไม่มีน้ำขัง ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำมูล บุ่งไหมน้อย และ ป่าละเมาะริมบุ่ง ริมแม่น้ำ

หมายเลขบันทึก: 45888เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ถ้าว่างหรือผ่านมาแถวนี้เชิญได้เลยครับ
  • ราชธานีอโศก "ไม่มีรั้ว ไม่มียาม" ครับ
  • จริงใจและไม่มีความลับ
  • ตอนนี้กำลังจะลงเกี่ยวกับราชธานีอโศกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครับ
  • รอสักครูนะครับ ขออภัยมาล่วงหน้า

ราชธานีอโศก เหมือนอยู่คนละโลก  เลยนะ !

สวัสดีครับ

ผมสนใจแนวความคิด และ การปฎิบัติของชาวอโศกมากเลยครับ

ผมอยู๋กาญจนบุรี อ.ท่าม่วง

ได้มีโอกาศไปเที่ยวชมเนินพอกิน ที่กาญจนบุรี ได้เจอพี่ศรีนิล

ชอบชาวอโศกมากครับผม

เฮ้อ! บ้านราช ความหลังอยู่ที่นั่นมากมาย

ไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนนานโข...

คิดถึงจัง................

สวัสดีคะดิฉันนุตร เป็นคนวารินชำราบคะ เคยเข้าไปเข้าค่ายที่ราชธานีอโศกคะ และ เคยอยู่กับคุณพึ่งบุญคะ 4 วันถ้าจำไม่ผิด

ดิฉันอยากขอความช่วยหลือคะ คือมีเด็กขาดคนดูแล เด็กชายประมาณ7ขวบคะไม่ได้เรียน ไม่แน่ใจคะว่าทางราชธานีอโศกจะรับเด็กเข้าโรงเรียนไหมคะ [email protected] หรือถ้ายังงัยขอคำแนะนำและคำปรึกษาด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท