ลุกฮือทั้งประเทศ : อ่าน อ่าน อ่าน กับ PISA


คุณภาพการศึกษาเป็นตัวชี้วัดศักยภาพของการพัฒนาทางเศรฐกิจ

 

 

 

ลุกฮือทั้งประเทศ..   อ่าน  อ่าน  อ่าน กับ PISA  

 

 

จาก..บทสรุปเพื่อการบริหาร

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  การอ่าน  และคณิตศาสตร์ของนักเรียน วัย 15 ปี

รายงานจากการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA  2006

ของ สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

ร่วมกับ Organization for Economic Co-operation and  Development (OECD)

 

 

PISA  (Programme for International Student Assessment) เป็นโครงการศึกษาสำรวจความรู้และทักษะของนักเรียนกลุ่มอายุ 15 ปี   ซึ่งเป็นวัยจบการศึกษาภาคบังคับในประเทศสมาชิก OECD  เพื่อหาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาให้ระดับนโยบาย    เพราะ..คุณภาพการศึกษาเป็นตัวชี้วัดศักยภาพของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  ในปี 2006   PISA ได้ประเมินนักเรียนมากกว่าสี่แสนคนจาก 57ประเทศ (รวมประเทศไทยด้วยค่ะ)  3 ด้าน คือ

1.การรู้เรื่องการอ่าน(Reading Literacy)

2.การรู้เรื่องคณิตศาสตร์(Mathematics Literacy)

3.การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientifics Literacy)

หลักสำคัญของ PISA คือการประเมิน การรู้เรื่อง (Literacy) ซึ่งเน้นที่ความรู้และทักษะที่จำเป็น  เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลง  เพราะถือว่านักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากโรงเรียน  แต่การศึกษาต้องให้ ฐานราก  ที่มั่นคง  เพื่อให้เป็นผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง  PISA ถือว่าวิชาที่เป็นตัวแทนของการวาง ฐานราก  ได้แก่   การอ่าน  คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ เท่านั้น

ณ วันนี้ ผู้เขียนขออนุญาตนำมาบอกเล่าเพื่อนๆ เรื่อง ผลการประเมินการอ่าน ใน 2 ประเด็นนะคะ

 

1. สรุปผลการประเมินการอ่านระดับนานาชาติ

2. ผลการประเมินอ่านของเด็กไทย 

 

การอ่าน   PISA  ให้ความหมายมากกว่าการอ่านออกตามตัวอักษรและเข้าใจความหมายของคำ  แต่รวมถึงความสามารถในการค้นหาสาระ  คิดวิเคราะห์  ตีความ แปลความหมาย  สะท้อนและประเมินสาระที่ได้อ่าน  ที่แสดงว่าผู้อ่านเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการเขียน  เข้าใจว่าเขียนขึ้นมาเพื่อสื่อสารอะไร ถึงใคร การรู้เรื่องการอ่านจะแสดงถึงแนวโน้มว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพในวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่หรือไม่  (ไม่ง่ายเลยใช่ไหมคะ..)

PISA จำแนกระดับการอ่านเป็น 5 ระดับ (ระดับ1-ระดับ 5)โดย ระดับ 2 เป็นระดับพื้นฐาน

 

 สรุปผลการประเมินการอ่านระดับนานาชาติ 

 

1.คะแนนสูงที่สุด คือเกาหลี(556 คะแนน)  ฟินแลนด์มีคะแนนรองลงมา (547)  และจีน-ฮ่องกง(536) แคนาดา  นิวซีแลนด์มีคะแนนการอ่านระหว่าง 520 และ 530  ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD เรียงตามลำดับ  ได้แก่ ไอร์แลนด์  ออสเตรเลีย  โปแลนด์  สวีเดน  เนเธอร์แลนด์  เบลเยี่ยม  สวิสเซอร์แลนด์  ประเทศร่วมโครงการ ได้แก่ ลิคเทนสไตน์  เอสโทเนียและสโลวีเนีย 

2.การอ่านมีความแตกต่างระหว่างเพศสูงที่สุด  ทุกประเทศนักเรียนหญิงมีการอ่านสูงกว่านักเรียนชาย  ในประเทศสมาชิก OECD 12 ประเทศ  คะแนนการอ่านต่างงกันถึง 50 คะแนนหรือมากกว่า(เกือบหนึ่งระดับ)  ในประเทศร่วมโครงการต่างกันระหว่าง 50 ถึง 66 คะแนน  คือ การ์ต้าร์  บัลกาเรียน  จอร์แดน  อาร์เจนตินา  สโลวีเนีย  ลิทัวเนีย  คีร์กีสสถาน  ลัตเวีย  โครเอเชีย  และ ไทย(54คะแนน)

3.แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจาก PISA 2000 – PISA 2006  ในประเทศสมาชิก OECD คะแนนเฉลี่ยการอ่านไม่เปลี่ยนแปลง  ทั้งๆที่เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทางการศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากปี 1995 ถึง 2004  ที่เพิ่มขึ้นถึง 39 % แล้วถือว่าเป็นเรื่องต้องพิจารณา   อย่างไรก็ตามก็มีหลายประเทศที่คะแนนเพิ่มขึ้น ในประเทศOECD ได้แก่ เกาหลี (เพิ่ม 31 คะแนน)  โปแลนด์(เพิ่ม 17 คะแนน)  ประเทศร่วมโครงการอีก 5 ประเทศ คือ ชิลี  ลิคเทนสไตน์ อินโดนีเซีย ลัตเวีย และ จีน-ฮ่องกง มีการอ่านเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา

4.การเพิ่มคะแนนเฉลี่ยของเกาหลีเป็นการเพิ่มในกลุ่มนักเรียนคะแนนสูง  ซึ่งทำให้ช่องว่างระหว่างนักเรียนกลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำกว้างขึ้น  ส่วนการเพิ่มของโปแลนด์เป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มคะแนนต่ำเท่ากับโปแลนด์ประสบความสำเร็จในการลดช่องว่างระหว่างนักเรียนสองกลุ่ม

5.มีหลายประเทศที่มีการอ่านลดต่ำลง ทั้งประเทศ OECD และประเทศร่วมโครงการ  ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีคะแนนการอ่านลดต่ำลง (14 คะแนน)

 

ผลการประเมินการอ่านของเด็กไทย

1.คะแนนเฉลี่ยการอ่านของไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD อยู่ในตำแหน่งระหว่าง 41-42 จาก 57 ประเทศ(ไทย ได้ 417 คะแนน)  มีประเทศ OECD ประเทศเดียวที่มีคะแนนต่ำกว่าไทยคือเม็กซิโก 

2.แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากPISA 2000 ถึง PISA 2006 คะแนนเฉลี่ยลดต่ำลง (14 คะแนน)  สัดส่วนจำนวนนักเรียนที่มีการอ่านต่ำกว่าระดับพื้นฐานเพิ่มขึ้น จาก 37% (PISA2000) เป็น 44.5%(PISA2006) และสัดส่วนนักเรียนที่มีการอ่านระดับสูง(ระดับ4+ระดับ5) มีสัดส่วนลดลงถือว่าเป็นจำนวนที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

3.ความแตกต่างระหว่างเพศ นักเรียนชายมีคะแนนเฉลี่ยการอ่านต่ำกว่านักเรียนหญิงถึง 54 คะแนน  นับเป็นช่องว่างที่กว้างมาก    และมีค่าความแตกต่างสูงเป็นอันดับต้นๆ    ประเทศที่มีความแตกต่างระหว่างเพศสูงกว่าไทยได้แก่ บัลกาเรียน  การ์ต้า  กรีซ และจอร์แดน (ทุกประเทศนักเรียนหญิงมีการอ่านสูงกว่านักเรียนชาย)

4.ระดับเฉลี่ยการอ่านของนักเรียนไทยอยู่ที่ระดับ 2 (นักเรียนชายอยู่ที่ระดับ 1 และนักเรียนหญิงที่ระดับ 2)  นักเรียนที่มีการอ่านต่ำกว่าระดับพื้นฐานเป็นนักเรียนชายถึง 61% และมีสัดส่วนนักเรียนชายต่อนักเรียนหญิงประมาณ 2:1   สำหรับนักเรียนที่มีการอ่านระดับสูง เป็นนักเรียนชายต่อนักเรียนหญิงในสัดส่วน 1: 3

5.เมื่อดูตามกลุ่มโรงเรียน  พบว่า นักเรียนโรงเรียนสาธิตมีคะแนนการอ่านสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD นักเรียนสาธิต 96% มีการอ่านสูงกว่าระดับพื้นฐาน   ในจำนวนนี้มีระดับ 5 ประมาณ 4% (ประมาณครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยOECD)     ในขณะที่กลุ่มอื่นๆมีน้อยมากหรือบางกลุ่มไม่มีนักเรียนในระดับ 5 เลย  นักเรียนสาธิตไม่ถึง 5% ที่มีการอ่านต่ำกว่าระดับพื้นฐาน 

6.การวิเคราะห์ตามพื้นที่ นักเรียนจากภาคอีสานตอนล่างมีการอ่านต่ำกว่าเพื่อนวัย 15 ปีจากทุกพื้นที่   ถัดมาคือภาคอีสานตอนบนและภาคกลาง

 

 

 

 

จาก ปี 2006-2009  ประเทศไทยทำอะไรบ้าง

 

กระทรวงศึกษาธิการ

โดย..สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)

โดย..สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา(สวก.)

โดย..กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมวิทยบริการ

ได้สร้างและพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถด้านการอ่าน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยอิงแนวการประเมินของ PISA   ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน

 

 

จึงมี วันนี้

ประเทศไทย..โดย 185 เขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ฯ และ ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

มากกว่า 400 คน มารวมตัวกัน เพื่อร่วมเสนอความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะและรับทราบ

แนวดำเนินการประเมินความสามารถด้านการอ่าน(การรู้เรื่องการอ่าน)

ที่จะมีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศในเดือนกรกฎาคม 2552 ที่จะถึงนี้

 

พบกับตัวอย่างข้อสอบ การรู้เรื่องการอ่าน ของ PISA ในตอนต่อไปนะคะ (อิอิ..อย่างยาวเลย)

..สวัสดีค่ะ..

 

หมายเลขบันทึก: 258576เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)
  • ศน.อ้วน ขา..น่าใจหายจังเด็กไทย..
  • ระดับเฉลี่ยการอ่านของนักเรียนไทยอยู่ที่ระดับ 2 (นักเรียนชายอยู่ที่ระดับ 1 และนักเรียนหญิงที่ระดับ 2)  นักเรียนที่มีการอ่านต่ำกว่าระดับพื้นฐานเป็นนักเรียนชายถึง 61% และมีสัดส่วนนักเรียนชายต่อนักเรียนหญิงประมาณ 2:1   สำหรับนักเรียนที่มีการอ่านระดับสูง เป็นนักเรียนชายต่อนักเรียนหญิงในสัดส่วน 1: 3
  • ครูส้มจะพยายาม..ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้มากขึ้นอีก...ทั้งๆที่ผ่านมาก็พยายามทำอยู่แล้ว...ค่ะ..
  • ขอบคุณข้อมูลสำคัญนี้นะคะ..

  • เมื่อวานพี่คิมก็เดินผ่านป้ายนี้ค่ะ
  • น้องอ้วนอยู่ในนี้ด้วยหรือเปล่าคะ
  • ถ้า..ทราบว่าอยู่
  • พี่คิมร้องไห้..๓ วันเลยนะคะ
  • ขอชื่นชมนะคะว่าน้องอ้วน..เสนอความเคลื่อนไหวของการศึกษา..ได้อย่างนักการศึกษามืออาชีพค่ะ
  • สมกับตำแหน่งและวิยฐานะทางวิชาการ..ที่สุด
  • น้อง ๆที่โรงเรียนก็พูดถึงค่ะ  เพราะพวกเขาติดตามอ่านค่ะ
  • รักและคิดถึง
  • และขอขอบคุณสำหรับ..แรงใจค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่อ้วน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

น่าลุกฮือค่ะ

 น่าเศร้าค่ะ  ที่ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีคะแนนการอ่านลดต่ำลง (14 คะแนน)
และยังไปลง ที่ แถบตะวันออกเฉียงเหนืออีก
พี่ว่า มันเป็นปัญหาจากสภาพเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ และการอบรมดูแล จากที่บ้านเป็นพื้นฐาน แล้วก็มาถึง ครูค่ะ   เรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่นะคะ

พี่เคยเขียนบันทึกที่เกี่ยวกับ PISA อยู่บ้างค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

-* มาร่วมแรงแข็งขันค่ะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีค่ะ..ครูส้ม

ขอบคุณครูส้มมากค่ะ..ที่มาเป็นแขกคนแรกเล้ยย..น่ารักจัง

ศน.อ้วนไปร่วมประชุมมาค่ะ

นั่งฟังไปก็ใจหายไป..ค่ะ  สำหรับตัวเลข

ทุกวันนี้ก็คิดว่าตัวเองออกแรงเยอะอยู่ค่ะ..ในเรื่องการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  รวมทั้งการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ด้วย  แต่ก็ยังมีตัวเลขที่ไม่น่าพึงพอใจออกมาเรื่อยๆ

เช่นเดียวกับครูส้มค่ะ..ดีใจค่ะที่ครูส้มก็ออกแรงในเรื่องปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

เรามาช่วยกันต่อไปนะคะ..

สู้  สู้ สู้ ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ..พี่คิมที่น่ารัก

อุย..เดินผ่านป้าย

ก็แสดงว่าพี่คิมอยู่ในห้องประชุมด้วยใช่ไหมคะ

น่าร้องไห้จริงนะคะ..น้องก็อยู่ในห้องประชุมแหละค่ะ  ทั้ง 2 วัน

วันแรกบ่าย แบ่งกลุ่มภาคเหนือ..ในห้องเพชรบูรณ์..17 จังหวัด

ก็แสดงว่าพี่คิมอยู่ด้วยใช่ไหมคะ..

ฮือๆๆๆ...ทำไมเราไม่พบกัน

เสียดายๆๆๆๆ

สักวันนะคะ..เราต้องได้พบกันแน่ๆ (แบบตัวเป็นๆ)

ขอบคุณค่ะสำหรับคำชม..และน้องฝากขอบคุณคุณครูที่โรงเรียนทุกท่านด้วยนะคะ

สำหรับข้อมูลนี้ น้องคิดว่าน่าจะสอดคล้องกับนโยบายของทีมงานช่วงนี้ ที่บอกให้..ขุด..เขียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ(อิอิ..ขอใช้คำนี้มั่ง..)

หากกระทรวงศึกษาธิการ โดยสพฐ. สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นขั้นตอนในเรื่องนี้  นักเรียนไทยสามารถแสดงถึงการมีความรู้เรื่องการอ่าน  เป็นไปตามหลักการของ PISA ..น้องคิดว่าเป็นการก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำได้เลยค่ะ  ..เราค่อยๆทำไปนะคะ..

ขอบคุณพี่คิมอีกครั้งหนึ่งค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมไปทำธุระ..จองโรงแรมให้เพื่อนค่ะ
  • อ่านป้ายว่า..เขามีการทำอะไรกันบ้าง
  • น้องอ้วน..น่าจะโพสมาบอกพี่คิมก่อน...แง ๆ ๆ ๆ ๆ 
  • อยากเจอ อยากพบ อยากคุยด้วยจริง ๆค่ะ

น้องพอลลาจ๋า..

ใช่แล้วค่ะ..ต้องลุกฮือ

ทั้งประเทศ..เริ่มตั้งแต่ครอบครัวเลยละค่ะ..

เมื่อไม่อ่านเมื่อไรเล่าเจ้าจะรู้...

ขอบคุณค่ะ..สาวสวย

พี่คิมขา..

เสียดายๆๆๆ

น้องไม่ทันคิดค่ะว่าน่าจะโพสบอกหรือส่งเมลบอกก็ได้นะคะ..

อิอิ..ความฉลาดนี่ตามมาทีหลังทุกครั้งค่ะ (ศน.อ้วนนี่....)

ยิ่งช่วงหลังๆนี่คิดอะไรช้าจังค่ะ..

สักวันนะคะ..ต้องเป็นของเราบ้าง

ขอบพระคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ  ศน.อ้วน

ครูขอบคุณบันทึกที่ได้ความรู้จากาการอ่านค่ะ

 

 

กราบสวัสดีค่ะ..ท่านอาจารย์ศศินันท์

หนูไม่ได้ไปเยี่ยมท่านอาจารย์นานมากค่ะ

อาจารย์สบายดีนะคะ..

หนูตามไปอ่านเรื่องราวที่อาจารย์เขียนเสียเพลินค่ะ

อ่านที่อาจารย์ตอบเพื่อนๆด้วย ได้ความรู้หลากหลายเชียวค่ะ

สำหรับการประเมินทั้ง 3 ด้านของ PISA  ทั้งการอ่าน คณิต และวิทย์ มีทั่วประเทศค่ะ ที่อ่อนด้อย  และเป็นนักเรียนของสพฐ.เป็นส่วนใหญ่  ที่กู้หน้ากู้ตาของประเทศชาติก็เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยต่างๆค่ะ (รวมผล NT ด้วยค่ะ)

สาเหตุหากเจาะกันจริงๆก็เป็นดังที่อาจารย์ได้บอกกล่าวนั่นแหละค่ะ

เริ่มต้นที่ครอบครัวเป็นสำคัญ แล้วก็ค่อยๆก้าวออกสู่โรงเรียนและสังคมที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

ณ เวลานี้ หนูก็มองเห็นทุกฝ่ายตระหนักในความสำคัญแล้ว  และก็ออกแรงรณรงค์กันหนักอยู่ โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นผู้รับผิดชอบระดับชาติโดยตรง    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น "พลังในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย"  ก็ต้องมีการเสริม  กระตุ้น  ลุ้น กันน่าดูอยู่นะคะ เพื่อให้เป็นมรรคเป็นผล 

ความตระหนัก และขับเคลื่อนด้วยจิตวิญญาณ  จะสามารถนำพาสู่ความสำเร็จได้..หนูคิดเช่นนี้ค่ะ

กราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งหนึ่งค่ะ..

 

ขอบคุณ..คุณครูพรรณาค่ะ..

ที่มาร่วมเป็นหนึ่งแรงในการขับเคลื่อนด้วยกัน

เรามาช่วยกันขับ .. ช่วยกันลุ้น.. นะคะ

ภาพน่ารักมากค่ะ..ฝีมือถ่ายภาพไม่เบาเลย เห็นชัดทุกขุมขน

พี่อ้อยขา..

เสียดายเหมือนกันค่ะ..ที่ไม่มีภาษาอังกฤษ

แต่ PISA ก็ใช้เป็นภาษากลางในการทดสอบนักเรียนอยู่แล้ว

แต่ะละประเทศก็ต้องแปลเป็นภาษาของตนเองอีกครั้งหนึ่งนะคะ

ขอบคุณพี่อ้อยมากค่ะ

ครูเอจ๋า..

ขอบคุณ..ขอบคุณจ้ะ.ที่เข้ามารับทราบข้อมูล

ครูเอก็ช่วยออกแรงด้วยเด้อค่ะ..

ครูรักการอ่าน..แห่งเปาสามขา

สวัสดีครับ

ตอนนี้มีเหตุให้ต้องอ่านหัวปักหัวปำ อิๆๆ

คาดว่าภายใน 30 วัน คงจะอ่านได้ราว 30 เล่ม

น่าจะมีสถิติการเขียนบ้างนะครับ

สมัยก่อน เขียนบนกระดาษ

สมัยนี้ เขียนในเว็บ ;)

สวัสดีค่ะ

  • อ่านมากรู้มาก ฉลาดมากใช่ไหมคะ
  • อ่านน้อย อ่านบ่อย ขยันอ่านจะดีขึ้นนะคะ
  • มารับข้อมูลดี ๆ และจะติดตามอ่านค่ะ

อ่านเถิดนะแม่อ่าน โย้น ๆ อย่ามัวชะแง้แลเหลียว เดี๋ยวอ่านไม่ทันเพื่อนเอย (ทำไมวันประชุมจึงไม่พบกันนะ)

สวัสดีครับ ศน.อ้วน

  • เดี๋ยวนี้เด็ก ๆ ไม่คอยชอบอ่านหนังสือกัน
  • ติดเกมส์ ติดทีวี
  • เราต้องส่งเสริมให้เด็ก ๆ สนใจการอ่านมากขึ้น
  • ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เด็กสนใจการ่านครับ
  • ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

จะทำอย่างไรที่จะให้นักเรียน นักศึกษามีนิสัยรักการอ่าน เพราะเด็กสมัยนี้อ่านหนังสือกันน้อยมาก จากการดูแนวข้อสอบแล้วยากมากที่เด็กจะสามารถอ่าน แล้ววิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ถ้าเด็กไม่มีนิสัยรักการอ่านจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดี และทำให้สอบไม่ได้

สวัสดีเพื่อนๆทุกท่านค่ะ

          ขอบคุณคุณครูธวัชชัย   น้องพยอม  คุณปณิธาน  คุณวัชรา และคุณnumnan  มากค่ะ   เรื่องการอ่าน เหมือนยาขมนะคะ เมื่อไหร่ก็ยังคงเป็นปัญหา   ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูกหลาน  ตั้งแต่ยังเป็นเด็กน้อยค่ะ  เมื่อเข้าสู่โรงเรียนครูอาจารย์ก็สานต่อ  โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายด้วย   ช่วยให้พวกเขาได้รู้จักความสำคัญของการอ่าน  ฝึกอ่านอยู่เสมอ ทั้งอ่านออกเสียง  อ่านในใจ อ่านจับใจความ  จนถึงการอ่านเร็ว อ่านวิเคราะห์อ่านอย่างพินิจพิจารณาไตร่ตรอง    และในที่สุดจนกระทั่งเด็กมีนิสัยรักการอ่าน   

          ช่วงนี้ สพท.เชียงใหม่ก็กำลังตรวจแบบประเมินความสามารถของเด็กกลุ่มอายุ ๑๕ ปี  ชั้นม.๓   ที่รับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบของ PISA  เกือบหมื่นคนค่ะ  ค่อนข้างหนักใจกับการเขียนตอบจากการอ่านของเด็กๆอยู่ค่ะ  เพราะเนื้อความที่เด็กต้องอ่านก่อนแล้วเขียนตอบ   ไม่ธรรมดาเลยละค่ะ  หากเด็กไม่ได้รับการฝึกมาก่อน  หรือฝึกฝนมาน้อย  ...เด็กจะเขียนไม่ได้เลยค่ะ   หากผลปรากฏก็ต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาอีกต่อไปค่ะ

เนื้อหาดีมากๆและจะเข้ามาค้นคว้าอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท