Palliative Care สำหรับแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน ๓: pain and symptoms control


ทั้งครึ่งเช้า จะเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการดูแลอาการทางกาย ที่เป็นศาสตร์ palliative medicine ที่ต้องมี evidence-based คือมีหลักฐานที่น่าเชื่อถืออ้างอิง

ความจริงวิธีที่ง่ายที่สุด น่าจะเป็นการบรรยาย เพื่อจะได้ครอบคลุมทุกด้าน แล้วไม่ต้องเตรียมอะไรมาก แต่เพราะต้องการตอบโจทย์ที่ไม่เน้นการบรรยาย เราจึงจัดช่วงนี้เป็นการแข่งขันตอบปัญหา แบบ Tournament หรือ Jeopardy quiz show ของอเมริกา ซึ่งมี อ. นพ. กฤษณะ สุวรรณภูมิ จากภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน ฝ่ายชายในภาพบน เป็นต้นคิด เนื่องจากเคยใช้วิธีนี้กับนักศึกษาแพทย์อย่างได้ผลมาแล้ว

แพทย์ใช้ทุนถูกแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๕ คน คละภาควิชา แล้วตั้งชื่อกันแบบสุดๆ เช่น ใจร้าว สามเศร้า  POFA ?!


แต่ละกลุ่มจะเลือกคำถามจากชุดคำถาม ๕​ ชุด คือ ความปวดเฉียบพลัน ความปวดเรื้อรัง อาการระบบทางเดินอาหาร อาการระบบทางเดินหายใจ อาการระบบประสาทและอื่นๆ แต่ละชุดคำถามมีคำถาม ๕ ข้อ ความยากง่ายแตกต่างกัน ข้อง่ายที่สุด ๑๐๐ คะแนน ข้อยากที่สุด ๕๐๐ คะแนน ถ้าตอบถูกได้คะแนนไป แต่ถ้าผิด ตอนแรกพวกอาจารย์คุยกันว่า..จะให้ทั้งกลุ่มเปลื้องผ้าตนเองทีละชิ้น แต่ก็กลัวอุจาด เลยเปลี่ยนเป็นคะแนนติดลบแทน

ช่วงแรกแต่ละกลุ่มเลือกคำถามจากชุดคำถามความปวดเฉียบพลัน และ ความปวดเรื้อรังก่อน เนื่องจาก พญ. ศศิกานต์ นิมมานรัชต์ ฝ่ายหญิงในภาพบน ซึ่งต้องทำหน้าที่เฉลย จะต้องรีบเดินทางกลับไปประชุมภาควิชาวิสัญญีฯ อีกที่หนึ่ง แต่ละกลุ่มจะเวียนกันเลือกคำถามแบบต้องเขียนตอบเองไม่มีตัวเลือก แล้วทุกกลุ่มตอบคำถามเดียวกัน ก่อนที่อาจารย์จะเฉลยและให้คะแนน ช่วงนี้ แต่ละกลุ่มลุ้นกันสุดตัว โดยเฉพาะกลุ่มที่มีแพทย์ใช้ทุนจากภาควิชาวิสัญญี ลูกหม้อของอาจารย์คนเฉลย ความสนุกมันอยู่ที่ตอนอาจารย์เฉลยจะมีการเหน็บแนบพอให้แสบๆคันๆ

หลังจากพักครึ่ง ก็กลับมาต่อกับอีก ๓ ชุดคำถามที่เหลือของผม วิธีการเล่นจะเปลี่ยนเป็นให้ทุกกลุ่มจับลูกปิงปอง ใครได้คะแนนสูงสุดมีสิทธิเลือกคำถามก่อน ซึ่งเป็นปรนัยแบบมีตัวเลือกให้ตอบ จะเลือกตอบเอง หรือเลือกข้อยากแล้วโยนไปให้กลุ่มอื่นตอบก็ได้ ถ้าเลือกเองแล้วตอบผิดก็ติดลบ ส่วนคนที่ถูกโยนถ้าตอบผิดก็แค่ไม่ได้คะแนน  ช่วงนี้ แต่ละกลุ่มก็ต้องพกทั้งดวง..คอยลุ้นว่าจะจับลูกปิงปองให้ได้คะแนนมาก และพกทั้งความรู้..ที่ต้องใช้ตอบคำถาม ซึ่งผมพยายามมีคะแนนให้ลดหลั่นกันไปไม่ได้เป็นศูนย์ทุกตัวเลือก แต่จะมี..หลุมพราง..ที่คะแนนเป็นศูนย์ หรือถ้าเป็นกลุ่มที่เลือกคำถามตอบเองเลือกข้อนี้ ก็จะติดลบไปเต็มๆ

 

ตัวอย่างคำถาม

ทักษิณ 55 ปี เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเหนื่อยหอบมากขึ้น
ไอมีเสมหะปนเลือด ปริมาณเลือดออกมากขึ้น แต่ผป. ไม่ต้องการรักษาในโรงพยาบาล
   ท่านจะให้คำแนะนำและดูแลรักษาอาการไอเป็นเลือดจำนวนมากอย่างไร
        a. ใช้ผ้าปูที่นอนสีแดงเข้ม
        b. ออกซิเจน mask
        c. morphine
        d. tranexamic acid
        e. midazolam


การใช้วิธีการตอบคำถามเป็นกลุ่มแทนการบรรยาย จะทำให้ทุกคนได้มีโอกาสคิดและปรึกษากันก่อน เนื่องจากต่างก็มีประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยมาแล้วกันทั้งนั้น แล้วถ้าตอบผิดก็จะจดจำได้แม่น  แต่มีจุดอ่อนตรงที่เนื้อหาอาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด และถ้าจะอธิบายเนื้อหาตอนเฉลย ก็ต้องใช้เวลามาก

จากการประเมินผล ผู้เข้าอบรมให้คะแนนการได้ประโยชน์และรูปแบบกิจกรรมนี้สูงที่สุด เรียกได้ว่าเกือบเต็ม

หมายเลขบันทึก: 247788เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์เก่งจัง คู่แข่งป๋าปัญญายกสยามได้นะคะนี่

ตามอ่านต่อค่ะ

  • กิจกรรมแบบนี้
  • ถ้าตอบถูกจำขึ้นใจเข้าไปอีก
  • แต่ถ้าผิดจำจนตายจากกัน
  • ระหว่างคนตอบ  และคนเฉลย  ฮ่าๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท