บันทึกคนสานเครือข่าย MS-PCARE ๑​ : ทำไมต้องสาน


ปกติผมไม่ชอบทำงานใหญ่ๆ หรืออยู่แถวหน้า แต่ก็ต้องตัดสินใจรับเป็นหัวหน้า แผนงานเครือข่าย pallaitve care ในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดังรายละเอียดที่ เว็บนี้

งานนี้ทำให้ผมต้องเปลี่ยนแปลงหลายเรื่อง จากคนที่ไม่ชอบการเดินทาง..ไปทำงาน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเดินทาง..ท่องเที่ยว ก็กลายเป็นจะต้องตะลอนๆ โดยเฉพาะเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งผมหันหลังให้มานานแล้ว บ่อยขึ้น   จากคนที่ชอบอยู่ข้างหลัง แล้วเอาแต่ดันเพื่อน หรือดันดารา..รุ่นน้อง ก็ต้องมายืนอยู่แถวหน้าซะเอง   จากคนที่ชอบทำงานไปเรื่อยๆ กลายเป็นคนที่ต้องทำงานอย่างมีกรอบเวลาแบบ สสส.

อะไรที่ทำให้กบอยากออกนอกกะลา มาทำหน้าที่สานเครือข่าย

คำตอบของผม อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังต้องการจะหา คน มาทำ..งาน

เพราะคน เพราะจังหวะเวลา และ เพราะเป็นโอกาส

แอโรว์ทาวน์ นิวซีแลนด์ : ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๑

เพราะคน ผมเชื่อและประสบกับตัวเองว่า คนที่สนใจงานด้านนี้ถูกคัดกรองมาระดับหนึ่ง เรียกว่า selective ถึง highly selective อย่างน้อยก็เป็น คนที่มองอะไรไม่แยกส่วน และให้เกียรติผู้อื่น เวลาที่ร่วมงานกับคนกลุ่มนี้ผมรู้สึกสบายใจ และปลอดภัย

เมื่อได้รู้จักคนที่ทำงานด้านนี้หลายๆคน ก่อนที่จะเริ่มเห็นเครือข่ายเป็นรูปร่าง ก็ยิ่งมั่นใจ และเมื่อเริ่มงานไปบางส่วนแล้ว ก็ทำให้รู้จัก คน มากขึ้น และรู้สึกมั่นใจใน คน มากขึ้น

การจะสร้างเครือข่าย ต้องการคนที่มีลักษณะแบบนี้เป็นจำนวนมาก คนที่ให้เกียรติผู้อื่น รู้อะไรรู้แบ่งปันและรับฟัง

เพราะจังหวะเวลา ช่วงที่ผมตัดสินใจรับงานนี้ เป็นช่วงที่ผมปลอดจากตำแหน่งบริหารใดๆ ทั้งภายในคณะฯ และภายนอก และเป็นช่วงที่ความสนใจงานด้านนี้ของผมสูงสุด เนื่องจากกำลังจะจบการศึกษางานด้านนี้พอดี

จังหวะเวลาที่คนกำลังจะจบการศึกษา เป็นช่วงที่น่าจะชักชวนมาทำงานได้มากที่สุด ถ้างานนั้นตรงกับความรู้ ความสามารถของผู้นั้น

แต่หลังจากผมรับงานนี้แล้ว ก็เกิดภาวะงานเข้า งานบริหารต่างๆทั้งในและนอกคณะฯ ก็เรียงหน้ากลับเข้ามา ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว อีกหลายเรื่อง ซึ่งคงมีผลกระทบต่องานนี้แน่นอน

เพราะเป็นโอกาส จังหวะนี้เป็นโอกาสที่ กสพท และ สสส รับผลักดันเรื่องนี้พอดี โอกาสดีๆแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก โดยเฉพาะงาน palliative care ที่ผมมองว่าไม่ง่ายนักในประเทศไทยที่การแพทย์ก้าวหน้าไปมากมาย แต่เรื่องนี้กับถูกจัดว่าอยู่ล้าหลังเอามากๆ ต้องมีเหตุปัจจัยทั้งในวงการสาธารณสุขและสังคมที่ทำให้เกิดช่องโหว่เรื่องนี้ในบ้านเรา

แต่งานยากแบบนี้ ตามหลักการ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของท่านอาจารย์ประเวศ วะสี จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน ทั้งภาคประชาสังคม การเมือง และจากฝ่ายวิชาการ โรงเรียนแพทย์ซึ่งเป็นแกนสำคัญในส่วนฝ่ายวิชาการจึงต้องขยับ

งานเชิงนโยบายที่ซํบซ้อนอย่างนี้ ผู้หวังผลต้องให้โอกาสคนทำงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากเห็นผลลัพธ์อย่างไร

โอกาสอีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว ผมมองเรื่องนี้ เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ การทำงานแบบเครือข่ายในระดับประเทศ

บันทึกชุดนี้ก็จะเป็นบันทึกบทเรียนที่ผมได้จากการทำงานครั้งนี้  โปรดช่วยกันเติมเต็ม ให้ความเห็น แนะนำด้วยนะครับ



คำถาม : อะไรที่จะช่วยให้ คนอยากเข้ามาร่วมเป็นเครือข่าย

หมายเลขบันทึก: 266405เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2009 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • คำตอบ...
  • เพราะ  ไม่ต้องทำงานคนเดียว
  • ไม่ต้องคิดคนเดียว
  • และงานเดินหน้าเร็ว
  • บางครั้งไม่เดินแต่ก้าวกระโดดเลยก็บ่อย
  • แถม บางครั้งมีสปอนเซอร์ด้วย  อันนี้สำคัญ อิอิ
  • ใครๆ  จึงอยากมีเครือข่ายจ้า
  • อ้อ  จะบอกว่าแบ่ง 4 สี  แบ่งอย่างนี้คะ
  • โดยอาศัยเส้นรอบเอวและ lab
  • สีเขียว   = เอวไม่เกิน + lab ปกติ
  • สีเหลือง = เอวเกิน    + lab ปกติ
  • สีส้ม     = เอวไม่เกิน + lab ผิดปกติ
  • สีแดง   = เอวเกิน     + lab ผิดปกติ
  • กำลังลองทำกันแบบลองผิดลองถูกอยู่
  • ยังไม่ได้ผล
  • ต้องรอครูไปปรับพฤติกรรมตามวิถีชีวิตแต่ละคน
  • แล้วมา ลปรร  กัน
  • เพื่อสรุปบทเรียน
  • แล้วจะมาขอคำแนะนำ จากแกนนำ  pallaitve care บ้างนะคะ

สวัสดีค่ะ...

   * งานที่ยากนั้น...เป็นงานที่ท้าทาย...สำหรับคนมีความสามารถนะคะ...

   *  โอกาสและจังหวะเวลาเมื่อมาถึง...ต้องจับและทำให้สำเร็จจริงไหมคะ...

   *  เป้นกำลังใจให้ค่ะ...

     

P

  • ขอบคุณพี่เขี้ยวครับ

สรุปประโยชน์ของเครือข่าย

  • ไม่ต้องคิดหรือทำคนเดียว
  • งานเสร็จเร็ว
  • ได้การสนับสนุนงบประมาณ

คุณสมบัติสมาชิกที่จะสมัครเป็นเครือข่าย มีอะไรบ้างค่ะ

เป็นผู้สนใจงานด้านนี้นะครับ ยินดีต้อนรับครับ

ช่วยกรุณาส่ง email มาให้ผมเพื่อทางเครือข่ายจะได้ส่งข่าวความคืบหน้าให้ทาง mailgroup ด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • คุณหมอสบายดีนะคะ
  • งานคงยุ่งหรือคนไข้เยอะคะ
  • คุณหมอหายเงียบไปค่ะ
  • สวัสดีครับ พี่หมอ
  • สุขกายสบายใจดีไหมครับ
  • มาทักทายครับ
  • รักษาสุขภาพด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท