ปวด: มากเกินไปที่จะหวัง


มากเกินไปที่จะหวัง

มันมากเกินไปนะ ที่จะปรารถนาชีวิตที่ไร้ความเจ็บปวด

มันไม่ถูกต้องหรอกนะ ที่จะคาดหวังชีวิตที่ไร้ความเจ็บปวด

เพราะ ความเจ็บปวด เป็นสัญญาณเตือนภัยของร่างกาย

ไม่ว่าเราจะไม่ชอบมันขนาดไหนก็ตาม

ไม่มีใครชอบความเจ็บปวด

ความเจ็บปวดมันมีความสำคัญ

และ

เราควรจะขอบคุณความเจ็บปวดนั้น!

..  ..  ..

                                       โจนาธาน วิลสัน-ฟูลเลอร์

ที่มา: ชวนม่วนชื่น โดย พระอาจารย์พรหม

 

วันนี้ ผมเปิดซีดีธรรมะ ชวนม่วนชื่น โดย พระอาจารย์พรหม ระหว่างขับรถไปทำงานถึงตอนบท มากเกินไปที่จะหวัง ซึ่งอาจารย์ยกคำประพันธ์ข้างต้น ที่ผมคัดลอกมาเพียงบางส่วน แต่คำถามที่เกิดขึ้นในใจ คือ อะไรทำให้ผู้ประพันธ์เขียนไว้เช่นนั้น จึงลองเข้าไปค้นดู

โจนาธาน วิลสัน-ฟูลเลอร์ เป็นเด็กหนุ่มชาวออสเตรเลียที่่มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้ต้องระมัดระวังเรื่องอาหาร และต้องอาศัยอากาศที่บริสุทธิ์ ไม่มีสารเคมีที่อาจเป็นพิษต่อเขาปะปน แต่ด้วยความทุกข์ทรมานทางร่างกายและความจำกัดในการพบปะผู้อื่นนี้ เขากลับเป็นอัจฉริยะในการประพันธ์

เขาเขียนคำประพันธ์ข้างต้น ตอนอายุ ๙ ขวบเท่านั้นเอง

ที่มาและอ่านเรื่องของเขาเพิ่มเติมที่ Jonathan Wilson-Fuller Foundation

 

หมายเลขบันทึก: 285937เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ภาพที่เห็น เป็นรูปของโจนาธาน วิลสัน-ฟูลเลอร์ เหรือคะ ก็ดูเขาแจ่มใสดีนะคะ แต่ในสภาพอย่างที่เล่า คงไม่มีความสุขมากนัก นอกจากทำใจให้ได้ และกลายเป็นความเคยชินไป

เข้าไปอ่านตาม link ที่อาจารย์ให้ไว้

"SO VERY FANTASTIC BOY" ค่ะ และโชคดีที่โจนาธานมีครอบครัวดีค่ะ

P

  • ใช่ครับ พี่ศศินันท์
  • เขาต้องอยู่ในหน้ากากแบบนั้นเป็นส่วนใหญ่ 
  • คติประจำตัวของเขา คือ
    "Concentrate on the positives"

P

  • เห็นด้วยครับ เบื้องหลังของความสำเร็จของใครบางคน มีผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งเสมอ

ผมเชื่อว่าทุกๆคนก็น่าจะคาดหวังชีวิตที่ไร้ความเจ็บปวดอยู่บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

เพราะไม่เช่นนั้นเวลาปวดเข่า ปวดหลัง หรือแม้แต่ปวดมะเร็งขึ้นมา

แล้วจะไปรับการรักษาทำไมหละครับ

และก็...บางทีความเจ็บปวดสำหรับใครบางคนมันก็มากเกินกว่าจะอยากมีชีวิตอยู่ก็ได้นะครับ ( พวก VAS score 10 หรือคนไข้มะเร็งบางคนครวญครางบอกหมอว่า 100 !! )

ทุกข์เป็นสภาพที่ทนได้ยากจริงมั้ยครับ ?

นพ.มณฑล ศรียศชาติ

  • เรื่องปวด ไม่เข้าใครออกใคร ถ้าไม่เจอกับตนเอง ก็คงไม่รู้สึกนะครับ ทุกข์ก็เหมือนกัน
  • แต่ทั้งคู่เป็นเรื่อง subjective และ holistic มาก
  • บางคนน่าจะปวดมาก กลับเฉยๆ บางคนไม่น่าจะปวดมากกลับทุรนทุราย
  • ผมเคยเจอคนไข้ที่ ใช้ความปวด เป็นเครื่องพิจารณาทุกข์ เขาต้องสร้างสมดุลย์ระหว่าง การใช้มอร์ฟีน กับ สติที่แจ่มใสที่เขาต้องการ เขาปรับยาของเขาเอง แต่ก็เห็นได้ชัดว่า เมื่อโรคเป็นมากขึ้น ความปวดมากขึ้น การใช้ยาของเขาก็มากขึ้นและสม่ำเสมอขึ้น
  • ขอบคุณน้องมากครับ

 

มาขอบคุณอาจารย์ค่ะที่ ส่งบันทึกคนทำงานไปให้เรียนรู้ พี่เกศส่งต่อให้ค่ะ ทุกบันทึกล้วนมีค่าน่าเรียนรู้ เเละดีใจที่บันทึกของกุ้ง 2 บันทึกก็อยู่ในบันทึกที่น่าสนใจ เมื่อวานกุ้งพึ่งพูดถึงอาจารย์ในที่ประชุม km ว่าด้วยเรื่องราวความประทับใจในคุณค่าของการเขียนบล็อก อาจารย์มาชี้เเนะเเละให้เเนวคิด palliative มากมาย เเหม! สงสัยจะได้ยินว่าทุกคนคิดถึงเลยรีบมา ในเรื่องความปวด หากใครไม่เคยปวดก็จะไม่รู้ว่ามันทุกข์ทรมาน

กุ้งเคยปวดเจียนตายตอนคลอดลูกชาย คิดว่าคำคำนี้ใช้ได้กับเราตอนนั้นเลยคือ ปวดมากเกินไปที่จะหวังให้ความปวดมันคลายหายไปเพราะทำอย่างไรก็ยังปวด

สุดท้ายต้องผ่าตัดคลอด กุ้งจึงนึกถึงคนไข้ระยะสุดท้ายที่เขาปวดมากๆ เเล้วคิดค่าตัวตายเพื่อหนีความปวด คิดว่ามันถึงที่สุดเเล้ว เเละที่โจนธานพูดก็น่าจะถูกว่ามากเกินไปที่จะหวังกับชีวิตที่ไร้ความเจ็บปวด ทุกคนอาจมีโอกาสพบกับความปวด

P

  • ความปวด มี ความหมายซับซ็อน จริงๆครับ
  • ผมจะไปวัดคำประมงกับพี่มด..อาจารย์ศรีเวียง ไม่รู้จะได้เจอกันมั้ย

เสียดายค่ะ พี่เกศเล่าให้ฟังอยู่นะคะว่าจะไปเจออาจารย์หมอเต็มที่วัดคำประมง

รอบนี้จะเป็นทีมผู้บริหารทั้งหมดค่ะ รถเต็มเเล้วกุ้งเลยอด คราวที่หัวหน้าจะให้ไปเราก็ติด

อยากเจออาจารย์เหมือนกันค่ะ รอพฤศจิกายน นะคะ อาจารย์มดว่าจะมีการประชุมเครือข่าย palliative โรงเรียนเเพทย์ คงได้เจออาจารย์นะคะ

  • บ่ายนี้ เพิ่งชวนอาจารย์ภาคกุมารฯที่สนใจเรื่อง bereavement care ให้เข้าไปดู blog ของน้องกุ้ง
  • สงสัยต้องคิดค่าโฆษณาให้แล้วครับ

 

ยินดีมากๆเลยค่ะ ปลายเดือนนี้กุ้งกับทีมก็จะจัดกิจกรรม memorial service ค่ะ

นัดครอบครัวสูญเสียทั้งหมด 5 ครอบครัวค่ะ ช่วงเช้าทำกลุ่มพุดคุยสารทุกข์สุกดิบ

ส่วนพักเที่ยงทานข้าวร่วมกันเเละร้องเพลงคาราโอเกะ ส่วนภาคบ่ายฟังเทศน์เเละทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ลูก ๆ ค่ะ เดี๋ยวกุ้งจะ update ไว้ในบันทึกมาให้ชมบรรยากาศนะคะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านอ.หมอ

 

ถ้าไม่ทราบประวัติเห็นหนุ่มหน้ามนคนนี้ ใครเลยจะทราบนะคะ ... ความคิดเป็นสิ่งสำคัญจริงๆ นะคะ

ทำให้นึกถึงเวลาปวด ให้กำหนด ปวดหนอ ๆ  ...  ดนตรี บทกวี ช่วยเยียวยา

เช้านี้ฟังเพลง stoney – lobo  ระลึกถึงท่านอ. อิ่มอร่อยมื้อเช้านะคะ  ขอบพระคุณบันทึกนี้ค่ะ

ความทุกข์สอนเราได้ดีกว่าความสุข

แต่ใครบ้างล่ะที่จะเลือกทำสิ่งที่ถูกมากกว่าสิ่งที่ง่าย

สวัสดีค่ะอาจารย์(ประโยคข้างบนหนูลอกเขามาค่ะ)

P

  • สวัสดีครับ
  • การเลี่ยงไปจดจ่อกับสิ่งอื่น อย่าง ภาวนา ดนตรี อ่านบทกวี
  • ฟังเพลงพ่อเอื้อน Lobo ด้วยหรือครับ เจอ สว. อีกคนเข้าแล้ว

P

  • ขอบคุณครับ
  • จริงครับ ความทุกข์สอนเรามากกว่าความสุข จริงๆ
  • เหมือนกับกิเลส จะไม่รู้ว่าตัดได้หรือไม่ ก็ต้องไปเจอมันด้วยตัวเองเท่านั้น

เรียนผู้ให้ความเห็นในบันทึกนี้ทุกท่านครับ

ผมขออนุญาตนำความเห็นทั้งหมดในบันทึกนี้ไปรวบรวมเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ในกิจกรรมของเครือข่าย palliative care ในโรงเรียนแพทย์ โดยขอตัดข้อความที่เป็นการทักทายทั่วไปออ กเพื่อความกระชับของเนื้อหานะครับ

มาอ่านบันทึกนี้อีกครั้งค่ะท่านอาจารย์ วันนี้น้องที่ทำงานเจ็บปวดเสียใจที่คุณแม่เค้าเป็นมะเร็งค่ะ .. ในบางครั้งอาการเจ็บปวดของคนที่เรารัก ก็มีผลกระทบให้เราเจ็บไปด้วยเช่นกันนะคะ ...

เคยอ่านเจอว่าอาการปวดจากโรคภัย หากจิตใจเข้มแข็งก็พิชิตโรคได้ ความเจ็บปวดทางกายใช้ยารักษาได้ หากแต่ความเจ็บปวดทางจิตใจ ควรใช้อะไรเยียวยา ดีคะ ... แล้วก็คิดถึงประโยคหนึ่งในหนังเกาหลีที่ประทับใจ Ilmare ค่ะ

เราไม่ได้เจ็บปวดเพราะความรักสิ้นสุดลง ... แต่เราเจ็บปวดเพราะความรักยังคงดำเนินต่อไป ...

ปล. เป็น Dream Lover ค่ะท่านอาจารย์ ... ตอนนี้กลับมาฟังชุด Asian Moon ทั้งหลายแล้ว ยังหลงเสน่ห์ท่วงทำนอง ฟังได้มิรู้เบื่อเลยค่ะ เพลงเหล่านี้ก็เยียวยาใจได้ดีค่ะ

P

  • จริงครับ ความเจ็บปวดของคนที่เรารัก ทำให้เราเจ็บปวดไปด้วย
  • แต่ที่สำคัญนะครับ ผมว่า ความเจ็บปวดทั้งหลายที่เราเผชิญอยู่นี้ เป็นความเจ็บปวดที่เราปรุงขึ้นเอง หรือลูกศรดอกที่สอง มากกว่าความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจริง หรือลูกศรดอกแรก ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน
  • คำตอบสำหรับ อะไรที่ใช้เยียวยาความเจ็บปวดทางใจ คำตอบตอบง่ายแต่ทำยากครับ คือ ใจ จริงมั้ยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท