บันทึกคนสานเครือข่าย MS-PCARE ๙ : outcome mapping sharing ๕ - คุณค่า-ช่วย-เหมาะสม


น้องอ้อมนำให้ผู้เข้าสัมมนาได้ลองวิเคราะห์เรื่อง คุณค่า/คุณประโยชน์ ในการนำ OM ไปใช้ในแผนงาน/โครงการต่างๆ และให้พิจารณาว่า OM ช่วย/ไม่ช่วย เหมาะ/ไม่เหมาะ ในงานนั้นอย่างไร

คราวนี้ ใช้วิธีแบ่งเป็น ๔ กลุ่มคละโครงการกัน ก่อนจะให้มานำเสนอในกลุ่มใหญ่พร้อมทั้งยกตัวอย่างเป็นกรณีประกอบ

โปรดสังเกตนะครับว่า พอเข้าวันที่สอง ก็ ทำงานในแนวราบ มากขึ้น

 


 

ความเห็นจากวิทยากรและผู้เข้าร่วม


ภาพรวม

  • OM ควรเป็นโครงการระยะยาวระดับหนึ่ง ที่ต้องการ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ยั่งยืน ของคน งานด้านสังคม งานสาธารณะ ไม่เหมาะกับงานสั้นๆ งานธุรกิจที่มีความแข่งขันทางการค้า งานที่ผู้บริหารโครงการเป็น direct partner เสียเอง
  • แผนงานที่มีกลุ่มเป้าหมายเล็กๆ ไม่เป็นทางการ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า แผนงานที่โครงสร้างซับซ้อน เป็นทางการสูง
  • OM ทำให้การวางแผนง่าย ชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน เป็นรูปธรรม เกิดการมีส่วนร่วมสูง
  • OM ทำให้เกิดการเรียนรู้ มีการถ่ายทอดและจัดการความรู้ เป็น KM


Vision/ mission

  • การมีหน่วยงานที่เป็นคู่แข่งกัน อาจทำให้มีฝันร่วมยาก เช่น งานร้านอาหาร หรืองานลดเหล้าในพื้นที่ที่บริษัทสุราทุนสูงต้องการเจาะตลาด


Partners

  • OM  ทำให้มองผู้เกี่ยวข้องชัดเจนขึ้น ว่าใครเป็น direct partner หรือ strategic partner  จึงทำให้สามารถกำหนด คนหลัก การทำงานมีประสิทธิภาพและตรงเป้า
  • การให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง direct partner มีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้ประสบความสำเร็จง่ายขึ้น
  • การมองคู่แข่งเป็น strategic partner  เช่น งานลดเหล้า จะสามารถมองบริษัทสุราเป็น  strategic partner ได้หรือไม่ เลือกใช้ยุทธศาสตร์ที่ไม่กระทบ outcome หลัก ไม่ได้บอกให้เลิกดื่ม ใช้คำว่าลด ไม่ใช่งด  เลือกรณรงค์ฉพาะบางเทศกาลที่มีปัญหามาก เช่น แข่งเรือ เท่านั้น
  • ถ้าเลือกเจาะกลุ่ม direct partner ได้ถูกกลุ่ม เลือกกิจกรรมที่เหมาะสม จะประสบความสำเร็จยั่งยืน เช่น เครือข่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำปิง
  • ถ้ามี direct partner หลายกลุ่ม จะทำให้ทำงานยาก เช่น เดิมงานลุ่มน้ำปิง มีหลาย direct partner ต่อมาจึงเน้นเฉพาะเยาวชน งานลดเหล้าแข่งเรือน่าน ลดเหลือเฉพาะ กลุ่มเรือแข่ง จึงควรกำหนด direct partner ให้ชัดเจน

 

Progress  markers

  • การที่ direct partners แต่ละกลุ่มมีต้นทุนแตกต่างกัน การซอย  outcome challenges เป็นเป้าหมายย่อยๆหรือ progress markers จะทำให้แต่ละ  direct partner สามารถมองเห็นความสำเร็จของตนเอง หากไม่ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น 
  • แต่ถ้ามีการนำมาเปรียบเทียบกันแบบ benchmarking  direct partner ที่ต้นทุนเริ่มต้นต่ำกว่า อาจหมดกำลังใจแล้วถอนตัว เช่น โครงการของโรงเรียนแพทย์ ร้านอาหารที่มีหลายระดับมาก อาจจำเป็นต้องเขียน progress marker แยกกลุ่มกัน


การประเมินผล

  • OM ทำให้การติดตามประเมินผลมีทิศทางและติดตามง่ายขึ้น เข้าใจตรงกัน เช่น งาน Usablelabs หรือ งานตรวจสอบภายในของกลุ่มโรงเรียนแพทย์
  • OM ทำให้การวัดผลมีความยืดหยุ่น สามารถปรับได้ตลอด

 


แผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ และเครือข่าย palliative care ในโรงเรียนแพทย์
คุณค่า/คูุณประโยชน์

  • OM  มีคุณประโยชน์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งนอกจากจะใช้ในการวางแผนอย่างรอบคอบ ประเมินผลได้อย่างมีทิศทางแล้ว ยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดกระบวนการ จึงเหมาะสมกับแผนงาน/โครงการในองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างสถาบันการศึกษามาก


เหมาะ/ไม่เหมาะ

  • OM เหมาะกับแผนงาน/โครงการลักษณะนี้  ที่มุ่งเป้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์กร แต่จำเป็นต้องใช้เวลา ระยะเวลา ๓ ปีในแผนงานระยะ ๔ ซึ่งเครือข่าย palliative care ในโรงเรียนแพทย์เพิ่งเข้าร่วมเป็นครั้งแรก อาจเกิดผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจน แต่สามารถหวังผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมายหลักได้ บ้างแล้ว
  • แผนงานที่มีโครงสร้างซับซ้อนประกอบด้วยโครงการย่อยหลายโครงการลักษณะนี้ การใช้ OM วางแผน จะต้องกำหนด direct partner  stragetic partner และ progress markers ในแต่ละส่วนของแผนงานให้ชัดเจน เนื่องจากกลุ่มคนเดียวกัน อาจเป็นได้ทั้งสองอย่าง
  • การกำหนด direct partner ในแผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ เป็นผู้บริหารในแต่ละโรงเรียนแพทย์ อาจไม่เหมาะ เนื่องจาก ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ง่าย
  • แผนงานลักษณะนี้เ กิดขึ้นจากกลุ่มคณะทำงาน  มีความเป็นทางการและเป็นนักวิชาการสูง ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การขับเคลื่อนกิจกรรมจะมีอุปสรรค และดำเนินงานได้ช้ากว่าโครงการที่เกิดขึ้นจากความต้องการของ direct partner เอง


ช่วย/ ไม่ช่วย

  • OM ที่มี progress marker เป็นความสำเร็จย่อยๆหลายระดับ จะช่วยให้ direct partner ที่มีต้นทุนเริ่มต้นต่างกัน เห็นการพัฒนาในแผนงานของตนเองได้ชัดเจน แต่ถ้าเกิดการเปรียบเทียบ ก็อาจทำให้หมดกำลังใจ ถอนตัว
  • OM ทำให้การติดตามประเมินผลมีทิศทางและติดตามง่ายขึ้น เข้าใจตรงกัน ทั้งผู้ติดตามประเมิน และผู้ถูกประเมิน

 


ภาพทั้งหมดในบันทึกชุดนี้ได้จากกล้องของพี่ปุ๋ย..นพ.กอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์ กับทีมงาน สคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)

หมายเลขบันทึก: 315543เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ ท่านั่ง/นอน  ทำงาน น่าจะราบรื่นดีน่ะค่ะ ดูมีความสุขดีจังค่ะ.. เพลิน..

P

  • ผมว่าเสน่ห์ของการอบรมแบบนี้ อยู่ที่ การนั่งกับพื้น และนอนทำงาน ครับ
  • ขอบคุณครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • ความสุขของคนขึ้นอยู่กับอิริยาบถของแต่ละคนนะคะ
  • ฝนยังตกหนักอยู่หรือเปล่าคะ
  • ดูข่าวทีวีแล้ว  โชคดีที่เมืองหาดใหญ่มีแก้มลิง
  • ด้วยความระลึกถึงคุณหมอค่ะ
  • สวัสดีครับ
  • ของหมอเต็ม อ่านแล้วสบายตา น่าสนใจดีครับ
  • สงสัย ผมคงต้องเปลี่ยนสไตล์การนำเสนอแล้วครับ

โอ้โห...เก้าอี้ว่าง เยอะจังค่ะ อิอิ

สวัสดีคะ อาจารย์

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์หมอเต็ม

ชอบการอบรมแบบแนวราบมากๆ ค่ะ  แนวhorizon , more broaden

น่าสนใจการยกตัวอย่างวิสัยทัศน์ ซึ่งแตกต่างและสามารถเชื่อมโยงกับประเด็นย่อยๆ ทำให้เข้าใจง่าย และมองเห็นภาพมากขึ้น

ขอบคุณค่ะ

P

  • สวัสดีครับพี่คิม
  • ความจริงต้องบอกว่า ปีนี้หาดใหญ่แล้งมาก่อน เพิ่งจะมีฝนเอาเดือนพย. นี่เอง แต่ฟ้าก็เร่งทำแต้มจนน้ำท่วมแล้ว
  • การระบายนำ้ในเมืองหาดใหญ่ ผมว่าโครงสร้างคลองร.๑ ก็ช่วยมาก แต่ก็ช่วยเฉพาะในเขตตัวเมือง แต่รอบนอกลำบากซ้ำซากทุกปีครับ
  • เวลาเหนือหนาว ใต้ก็ท่วมทุกปีอยู่แล้วครับ ผมถึงสร้างบ้านมีใต้ถุน

P

  • มาคนละแนวนะครับ น้องแนท
  • พออายุมากแล้ว สายตาพร่าพราย ต้องเว้นบรรทัดแยกกันให้เห็นชัดๆครับ

P

  • งานนี้ เก้าอี้มีไว้วางของครับ น้องพรทั้งหล้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท