บันทึกคนสานเครือข่าย MS-PCARE ๑๔: อีกหนึ่งก้าวสำคัญ


เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ เมษายน ที่ผ่านมา อ.สกล กับผมได้มีโอกาสนำเรื่องการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายไปนำเสนอให้ กลุ่มสามพราน ที่มี อาจารย์ประเวศ ..นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน

กลุ่มสามพรานนี้ นับเป็นการประชุมประจำเดือนของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการสาธารณสุขไทย ที่มีประวัติความเป็นมาหลายสิบปี เป็นต้นธารของโครงการสำคัญๆหลายอย่างของประเทศ

ภาพ: นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ นพ. สกล สิงหะ

ผมเคยไปนำเสนอโครงการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายให้ที่ประชุมแห่งนี้เมื่อหลาย ปีก่อน ครั้งนั้น เป็นการนำเสนอเฉพาะการพัฒนาในโรงพยาบาลที่ผมทำงาน..โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แต่ครั้งนี้ อ. สกลกับผมไปนำเสนอ ระบบ การดูแลคนไข้กลุ่มนี้ในระดับประเทศ นอกจากจะเหมือนไปส่งการบ้านให้ครูตรวจแล้ว ยังเป็นโอกาสดีที่จะได้คำแนะนำดีๆจากที่ประชุมในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ใน ระดับประเทศต่อไป


ความเป็นมาก็เพราะ จดหมายฉบับข้างล่าง

 

เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ในการประชุม Asia Pacific Hospice Conference (APHC 2009) ที่เมืองเพอร์ธ ออสเตรเลีย อ.สกล ในฐานะตัวแทนประเทศไทยในกรรมการบริหาร Asia Pacific Hospice Palliative Care Network (APHN) ได้ไปนำเสนอประเทศไทย เพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุม APHC 2013 แข่งกับอีก ๔ ประเทศ พอเรานำเสนอเสร็จ ประเทศที่เหลือก็ถอนตัวหมด

ครับ ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพ การประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ คืออีก ๓ ​ปีข้างหน้า ต่อจากมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้า


ทำไมถึงดีใจ และทำไมเรื่องนี้สำคัญ

การได้เป็นเจ้าภาพการประชุมถือว่าสำคัญ แต่มีเรื่องที่สำคัญมากกว่านั้น

ทุกประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมนี้ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ คงต้องยกเว้นออสเตรเลีย ต่างใช้การประชุมนี้เป็นหมุดหมายเพื่อรวมแรงรวมใจทุกภาคส่วนในประเทศ ผลักดันระบบการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายของประเทศตนทั้งสิ้น

จะจัดประชุมให้ดีได้ จะต้องมีระบบบริการด้านนี้ที่ดีพอด้วย ในฐานะประเทศเจ้าภาพ

ในที่ประชุมคณะทำงานเครือข่าย palliative care ในโรงเรียนแพทย์  ในฐานะต้นเรื่องนี้  ให้ความสำคัญกับ การขับเคลื่อนเรื่องระบบบริการในระดับประเทศ ก่อนเรื่อง ความพร้อมในการจัดประชุม

เราใช้หลักการ สามเหลี่ยมเขยื้อน ภูเขา ของท่านอาจารย์ประเวศ ซึ่งโดยสรุปคือ ถ้าจะขับเคลื่อนยากๆเชิงระบบในระดับประเทศ ต้องประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ คือ

  • ความรู้ที่ปฏิบัติได้จริงจากกลุ่มนักวิชาการ เช่น เครือข่ายของเรา
  • การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เช่น เครือข่ายพุทธิกา มูลนิธิชีวันตารักษ์
  • การดำเนินการทางการเมืองและนโยบายระดับประเทศ เช่น การมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)

เรามองหาเจ้าภาพที่จะมาเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนนี้ ผมจึงนำเรื่องนี้ปรึกษาพี่โกมาตร..นพ.​โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ พี่ได้แนะนำให้นำเรื่องนี้เข้า เสนอในการประชุมกลุ่มสามพรานข้างต้น


นอกจากคำแนะนำดีๆจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์หลายท่านในที่ประชุม ซึ่งผมจะขอเขียนเป็นอีกบันทึกแยกต่างหาก สิ่งที่เราได้จากการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คือ พี่อำพล..นพ.อำพล จินดาวัฒนะ  พี่ชาตรี..นพ.ชาตรี เจริญศิริ  จากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พร้อมจะเป็นร่มใหญ่ให้กับการขับเคลื่อนระบบนี้ของประเทศ และได้พี่สุวิทย์..นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ มา เป็นประธานเรื่องนี้ให้

ครับ นี่เป็น อีกหนึ่งก้าวสำคัญ ในการพัฒนาการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายของประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 354082เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2010 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ

  • ดีใจด้วยค่ะคุณหมอ
  • ได้คุยกับน้องสี่ทางเมล์  เป็นเรื่องคล้าย ๆ กันใช่ไหมคะ
  • พี่คิม  ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหมอ

หายไปนานจังค่ะ สบายดีไหมค่ะ

ได้ข่าว อ.ธวัชชัยไหมค่ะ

มีอาจารย์บุศกร ร่วมเข้าประชุมด้วยหรือครับ ดีใจจังทีเห็นอาจารย์อีก.....อาจารย์เป็นอาจารย์ commed ผมและผมนับถืออาจารย์มาก

"พอเรานำเสนอเสร็จ ประเทศที่เหลือก็ถอนตัวหมด"  น่าดีใจ และขอแสดงยินดีด้วยค่ะ

อีกตั้ง ๓ ปี ถึงเวลานั้นระบบสุขภาพบ้านเราคงพร้อมด้วยเครือข่ายที่เปี่ยมศักยภาพ ขอบคุณค่ะ

 

เยี่ยมเลยค่ะอาจารย์ วันก่อนน้องอัญชลีผู้ประสานงานเครือข่ายก็ส่ง mail มาเเจ้งกุ้งเรื่องจะขอส่งหนังสือมาให้

เห็นบอกว่ามีอาจารย์หมอเต็ม อาจารย์หมอภุชงค์ อาจารย์หมอพรเลิศ เป็นบรรณาธิการ เเละมีการรวบรวมบันทึกคนทำงาน Palliative care ลงท้ายเล่มด้วยเเละในนั้นบันทึกกุ้งก็ถูกคัดเลือก โอ้โฮ ! กุ้งดีใจมาก ไม่เพียงเท่านั้นทีมผู้บริหาร ท่านอาจารย์ศรีเวียงด้วยค่ะ กุ้งได้เรียนให้ทุกท่านทราบเเล้ว บันทึกพี่เกดด้วยนะคะอาจารย์ กุ้งตอบรับขอรับหนังสือเเล้ว ที่สำคัญ กุ้งคิดว่าสิ่งที่อาจารย์เเละทีมกำลังทำอยู่ ณ ตอนนี้กุ้งเชื่อว่าจะเกิดผลอันยิ่งใหญ่ต่อประชาชนคนไทยค่ะ เเล้วคนทำก็ได้บุญมหาศาล ขออนุโมทนา

P

  • ขอบคุณครับพี่คิม
  • พรุ่งนี้ผมน่าจะว่าง ออกไปโอนเงินให้โครงการดีๆนะครับ

P

  • สวัสดีครับ
  • อาจารย์ธวัชชัยเพิ่งมาให้ยารอบที่สาม แล้วเพิ่งกลับบ้านไปครับ
  • ผมว่า อาจารย์ดูแข็งแรงขึ้นกว่าสองครั้งแรก และเริ่มกลับมาทำงานบ้างแล้วครับ

P

  • ผมคิดเหมือนสกล คือ มันเป็นสิ่งดีๆในชีวิตรับปีใหม่ ที่ได้อยู่ท่ามกลางปราชญ์ครับ
  • โรจน์เตรียมพร้อมจะไปสิงคโปร์แล้วใช่มั้ย

P

  • ครับ ทั้งอินโด อินเดีย ถอนตัวเรียบ มาเจอ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เข้า
  • อาจารย์สกลแกเยี่ยมมากครับ

P

  • ทางขอนแก่น เราจะส่งหนังสือไปให้พี่ศรีเวียงช่วยแจกอยู่แล้ว แต่ว่า ของน้องกุ้งกับเกด มีส่วนร่วมในบล็อก ก็เลยมอบให้เพิ่มเป็นพิเศษครับ
  • ข่าวดีอีกเรื่อง คือ คราวหน้า เราจะคุยกันเรื่องโครงการสำหรับบุคลากร คือ พยาบาล ครับ ว่าจะดำเนินการอย่างไรดี

ขอบคุณค่ะ สำหรับข่าว อ. ธวัชชัยค่ะ

ขอให้กำลัง อง ธวัชชัย และครอบครัวค่ะ

P

  • อาจารย์แข็งแรงเพราะกำลังใจจากสมาชิกใน G2K ครับ

ผมเขียนบันทึกความทรงจำเรื่องนี้เอาไว้อีกคนครับพี่เต็ม

ปัจฉิมบทแห่งปฐมกาล

P

  • คนก้าวขาก้าวแรกตัวจริงเขียนบันทึกเอง ต้องชวนกันไปอ่านเยอะๆนะครับ

ขอบคุณสำหรับประชาสัมพันธ์ครับ อิ อิ (และความยาวของ comment ฮึ ฮึ very unusual! but delightful!)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท