จริยธรรมสัญจร เวชศาสตร์ฟื้นฟู


วันหยุดปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม ที่ผ่านมา ผมไปช่วยน้องสุทธิพงศ์.. อ.นพ.สุทธิพงษ์  ทิพชาติโยธิน จัดกิจกรรมจริยธรรมสัญจร ให้แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ม. สงขลานครินทร์ ท่ี หาดแก้วรีสอร์ต สงขลา

หัวข้อที่ผมรับผิดชอบ คือ ทักษะการสื่อสาร ด้วยกิจกรรมบทบาทสมมุติ

ความที่มีน้องแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุนสาขานี้ทั้ง ๓ ปี แค่ ๖ คน จึงเป็นกลุ่มเล็กที่สุดที่ผมเคยจัดกิจกรรมให้ แต่ชอบมาก เพราะจัดการง่าย และได้ประสบการณ์กันเต็มที่ ที่ไม่ชอบเอามากๆ ก็คือ คนขอให้จัดเรื่องทักษะการสื่อสาร แต่คนเข้าครึ่งร้อย ก็ไม่รู้จะไปทำได้ยังไง

น้องหมอกลุ่มนี้สนิทสนมกันดีอยู่แล้ว ผมจึงไม่ต้องเสียเวลา..ทำความรู้จัก จึงเริ่มนำเข้าเรื่อง เปิดใจ กันเลยเป็นกิจกรรมแรก

ผมใช้คลิป Imagine จากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Glee เป็นตัวกระตุ้น อันนี้ผมได้มาจาก อาจารย์สกล ที่เป็นคนเอามาเผยแพร่ ผมชอบเพราะเป็นเรื่องของการสื่อสาร ข้อจำกัด การเปิดใจ และการร่วมใจกันทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกัน

หลังจากนั้นเราใช้กระบวนการสุนทรียสนทนากลายๆ เล่าความรู้สึกที่มีต่อคลิปดังกล่าว เพื่อฝึกการเปิดใจรับฟังคนอื่น การเรียนรู้ผ่านการฟัง

ก่อนจะเริ่มการแสดงบทบาทสมมุติ ผมย้ำเรื่อง พื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้ทุกคนมั่นใจ จะได้เต็มที่กับประสบการณ์ ไม่ต้องคอยกังวลว่า จะทำได้ไม่ดี  กลัวจะสู้รุ่นน้องไม่ได้ และ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เราจะได้เปิดใจ เรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

ความที่คนน้อย ผมก็เลยแจกบทให้ทุกคนได้แสดง มี ๓ กรณีที่อ. สุทธิพงษ์เตรียมไว้ก่อนแล้ว

- การรับฟังปัญหาของคนไข้และญาติ

- การให้ข้อมูลก่อนคนไข้ยินยอมรับการตรวจรักษา

- การบริบาลบรรเทาในคนไข้อัมพาต

แต่ละเรื่อง จะมีคนแสดง ๒ คน สำหรับน้องที่เหลืออีก ๔ คน ผมแจกงานให้สังเกตประเด็นต่อไปนี้ ประเด็นละคน

๑. ภาษาพูด การเริ่มต้น ปิดท้าย

๒. ภาษาพูด การตั้งคำถาม การทวนประโยค การสะท้อนความคิดความรู้สึกของคู่สนทนา

๓. ภาษากาย ท่าทาง

๔. อารมณ์

โดยแต่ละคนจะสลับหมุนเวียนกันแสดง สังเกตภาษาพูด ภาษากาย ผลัดเปลี่ยนกันไปไม่ให้ซ้ำกัน

ผมบอกน้องๆว่า ถ้ารู้สึกติดขัด อึดอัดตอนแสดง ก็ยกมือ ขอเวลานอกได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครใช้ตัวช่วยอันนี้ แถมผมยังต้องคอยเคาะระฆังให้เลิกแสดงได้แล้ว เพราะน้องแต่ละคนแสดงแบบ..เล่นไม่เลิก

แต่ละกรณี เราใช้เวลาตั้งแต่แสดง ฟังความเห็นของคนแสดง ผู้สังเกต ต่อด้วยความเห็นเพิ่มเติมของอาจารย์ที่นั่งอยู่รอบนอก กรณีละครึ่งชม.เท่านั้น รวมกับกิจกรรมเปิดใจตอนแรก ใช้เวลาทั้งหมด ๒ ชม.​พอดี

หมายเลขบันทึก: 412050เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2010 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เสร็จเร็วจังเลยนิ อิ อิ

สวัสดีค่ะ

คุณยายแวะมาให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ

พื้นที่ปลอดภัย  พี่คิมได้เรียนรู้จากบันทึกของคุณหมอ  และจากการดูคลิป  จะนำไปประยุกต์ใช้กับชาวบ้าน  ที่บ้านนอก  กำลังจะไปจัดกิจกรรมวันที่ ๑๗ ธันวาคม นี้ค่ะ

ไม่ทราบผลจะออกมาเป็นแนวใด  แต่ก็มั่นใจที่จะทำค่ะ  สงสารโรงเรียนเขาขนาดเล็ก  มีครูผู้ชายเพียง ๓ คน  ชุมชนมีธรรมชาติงดงามน่าอยู่  แต่วิถีชีวิตกำลังจะเปลี่ยนไป  แบบดั้งเดิมก็ยังมีให้เห็นค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาอีกรอบค่ะ  ที่กล่าวถึงอยู่บันทึกนี้ค่ะhttp://gotoknow.org/blog/krukimgtk/412709

Ico32

  • สวัสดีวันหยุดนะครับพี่คิม
  • ว่าแล้ว ว่า พี่คิม คงอยู่เฉยๆ ไม่ได้  ฮา...
  • แต่การทำงานแบบไม่มีหัวโขนอย่างพี่คิม น่าจะเป็นสุขมากๆนะครับ ยินดีด้วยครับ

มาชมกิจกรรมผ่อนคลายใน พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และชอบบทบาทสมมติ

แล้วก็นึกขึ้นได้ว่า ปูยังติดหนี้อ.หมอเรื่อง การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนะคะ

 

ตามพี่ปูมาชมกิจกรรมดีๆ ของ อ.หมอค่ะ

ทักษะการสื่อสารสำคัญมากสำหรับแพทย์จริงๆ...แต่ที่สำคัญกว่าคือจิตใจที่อยากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ขอบพระคุณที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆ นะคะ...

ธรรมฐิตตามคุณหมอดาวมาเรียนรู้รู้สิ่งดีๆจากอาจารย์หมอด้วยเนาะ..

การนำเสนอสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับหมอ

เฉกเช่นเดียวกับพระการสื่อสารนำเสนอธรรมก็เป็นสิ่งควรตระหนักรู้ยิ่งนัก..

Ico48

  • ใจมาก่อนนะครับ แต่ก็ต้องมีทักษะ และความรู้ด้วย จึงจะครบ
  • Heart -- Hand -- Head

Ico48

  • นมัสการพระอาจารย์ครับที่ให้ข้อคิด
  • กราบ

นมัสการหลวงพี่ เอ้ยคุณหมอ ชอบหนังเรื่องนี้ เลยได้แนวคิดในการทำกิจกรรมต่อ แต่ปรับหัวข้อเหล่านี้เข้ากับครูและนักเรียน

  • การรับฟังปัญหาของคนไข้และญาติ
  •  การให้ข้อมูลก่อนคนไข้ยินยอมรับการตรวจรักษา
  • การบริบาลบรรเทาในคนไข้อัมพาต

ขอบคุณมากครับ

มาช้าไปหน่อยครับ แต่ก็ขอบคุณอ.เต็มศักดิ์อย่างสูงเลยครับสำหรับประสบการณ์ดีๆ และสนุกด้วย

แล้วโอกาสหน้าขอรบกวนอีกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท