๔ มกรา มหามงคล คลอด พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เพื่อแก้วิกฤตชาติ


บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

ผมนำชื่อบทความที่ ท่านอาจารย์ประเวศ เขียนในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ มาขึ้นหัว เพราะเรารอคอยพ.ร.บ. ฉบับนี้มาไม่ต่ำกว่า ๖ ปี

พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วนะครับเมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๕๐


มาตราที่เกี่ยวกับเรื่อง การตาย เปลี่ยนจากมาตรา ๑๐ เป็นมาตรา ๑๒ มีข้อความดังนี้

บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง

อ่านรายละเอียดทั้งหมดของ พ.ร.บ. ที่ http://www.openbase.in.th/node/1230

อ่านความเป็นมาว่า ทำไมถึงใช้เวลากว่า ๖ ปี จึงสำเร็จ ที่ http://www.hsro.or.th/index.php?show=view&doc=682 

หมายเลขบันทึก: 75440เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านรายงานที่มาของ พรบ. แล้ว รู้อะไรไหมพี่

ดีใจที่มีส่วน stop some event (as I told you) ไม่ให้มีเรื่องราวยึกยักต่อไป มิฉะนั้นคงจะมีปัญหาที่เราเองก็ไม่อยากมีชื่อว่าเกี่ยวข้อง (คงไม่ใช่เรา แต่เป็นผมซะล่ะมากกว่า)

วันจันทร์หน้า (26 กพ.) มูลนิธชีวันตารักษ์จะไปเข้าพบ หมอมงคล และทีม (เข้าใจว่า อ.อัมพลก็คงจะอยู่ในทีม) เพือจะได้สาน idea Mega Humanized Health care project ต่อซะที

  • ขอบคุณค่ะ
  • กำลังหารายละเอียดเรื่อง พรบ. อยู่พอดี
  • มาเจอบันทึกของอาจารย์เต็มศักดิ์ ก็เลยได้ข้อมูลค่ะ
  • มีเพื่อนเป็นทันตแพทย์ ชื่อ เธียรไชย พึ่งรัศมี ... เป็นญาติของอาจารย์หรือเปล่าคะ

สวัสดีครับ พี่นนทลี

  • ดีใจครับที่มีคนเห็นประโยชน์
  • เป็นพี่ผมครับ ลูกของป้า 

เด็ก อายุ 18 ปี ป่วยโรคเอดส์ เรื้อรัง ไม่กินยา ไม่อยากรักษา

หยุดยาต้านที่เคยกิน ตอนนี้ป่วยหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ

มีสิทธิ

ทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ไหมคะ

เขาพูด แต่ตอนนี้ เขียนไม่ได้ ได้แค่ลืมตา รู้ตัว 

พี่ รวิวรรณ ครับ 

  • ถ้าเอาแห้งๆ ตามกฏหมาย ผมว่าก็มีสิทธิครับ แต่กฏหมายมาตรานี้ ต้องมีกฏกระทรวงเข้ามารองรับ
  • ในกฏกระทรวง ก็จะเป็นเรื่อง  การวินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือภาวะ ที่ไม่หายขาดแล้ว และพิสูจน์ว่า ผู้ป่วยไม่ได้ตัดสินใจไปเพราะความทุกข์ทรมานในขณะนั้น
  • ประเด็นหลังนี้แหละครับ ที่ผมว่าสำคัญที่สุด สำคัญกว่ากฏหมาย เพราะถ้าผู้ป่วยร้องขอเพราะขณะนั้นกำลังทุกข์ทรมานจากความปวด ซึมเศร้า ก็แสดงว่าเขาไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง
  • ไม่อย่างนั้น กฏหมายฉบับนี้ก็จะเป็นเหมือนทางลัด ทำให้ผู้ป่วยของเราไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่
  • ประสบการณ์จากเนเธอร์แลนด์ ทำให้เราต้องใช้กฏหมายนี้อย่างระมัดระวังนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท