Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ตอบคุณแมธทิวเรื่องสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา


ตอบคุณแมธทิวเรื่องสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ (อ้างตามคำถามของ แมธทิว [IP: 124.122.35.12] เมื่อ พฤ. 19 พ.ย. 2552 @ 19:23 ผ่าน http://gotoknow.org/blog/people-management/259492?page=1)

---------

คำถาม

--------

สวัสดีครับ ผมมีเรื่องอยากถามครับ คือว่างี้น่ะครับผมเกิดที่เยอรมัน ซึ่งบิดาเป็นคนเยอรมันและมารดาเป็นคนไทย ปัจจุบันผมถือสัญชาติเยอรมัน เชื่อชาติเยอรมัน แต่เนื่องด้วยผมย้ายมาอยู่ที่เมืองไทยได้ 10 กว่าปีแล้ว(พ่อแม่ย้ายมาอยู่ที่เมืองไทยถาวร) และได้อาศัยและร่ำเรียนหนังสือ มาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 5 จนถึงปัจจุบันก็จบปริญญาตรีแล้ว ซึ่งจบก็หางานไม่ได้เลยเพราะ ผมสัญชาติเยอรมัน และบริษัทส่วนใหญ่ไม่รับเข้ามาทำงาน จึงอยากถือสัญชาติที่สอง คือสัญชาติไทย จะสามารถทำได้รึป่าวครับ และสมควรทำรึป่าวอ่ะครับ หรือหางานที่มีบริษัทต่างชาติจ้างแทน หรืออย่างไงดีครับ ที่ผมควรจะทำครับ ผมรบกวนช่วยแนะนำแนวทางให้ผมด้วยน่ะครับ ขอบคุณมากๆ ครับ แมธทิว

--------

คำถาม

--------

  1. เมื่อฟังข้อเท็จจริงในประการแรกได้ว่า คุณแมธมิวเกิดที่เยอรมัน จากบิดาซึ่งเป็นคนสัญชาติเยอรมันและมารดาเป็นคนสัญชาติไทย
  2. จึงตอบได้ว่า ในขณะที่คุณเกิด คุณอาจไม่อาจใช้สิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา หากบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย แต่คุณจะมีสถานะคนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕
  3. แต่หากบิดาและมารดามิได้สมรสกันตามกฎหมาย คุณก็มีสิทธิใช้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาตั้งแต่เกิด เพียงแต่อาจไม่เคยไปแสดงตนพิสูจน์สัญชาติไทย ดังนั้น เพื่อทราบอย่างชัดเจน ต้องตอบกลับมาว่า บิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมายหรือไม่ ? ก่อนหรือหลังคุณเกิด
  4. แต่อย่างไรก็ตาม หากมารดาของคุณแปลงสัญชาติเป็นคนสัญชาติเยอรมัน ก็ต้องถามว่า มารดาเริ่มถือสัญชาติเยอรมันเมื่อไหร่ ข้อเท็จจริงนี้จะส่งผลต่อสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา ๒ ทาง กล่าวคือ (๑) ในกรณีที่มารดามีสัญชาติไทยในขณะที่คุณเกิด แม้บิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย อันทำให้คุณไม่มีสัญชาติไทยตั้งแต่เกิด แต่ก็ไม่ต้องกังวลใจ กฎหมายไทยเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ยอมรับว่า คุณมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิด ดังนั้น หาหลักฐานที่แสดงว่า มารดาของคุณมีสัญชาติไทยในขณะที่คุณเกิด และไปยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านที่คุณอาศัยอยู่ในสถานะคนสัญชาติไทยได้เลยค่ะ คุณมีสัญชาติไทยอยู่แล้วค่ะ หรือ (๒) ในกรณีที่มารดาไม่มีสัญชาติไทยแล้วในขณะที่คุณเกิด คุณก็จะมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่มารดาเคยมีสัญชาติไทยโดยการเกิด ดังนั้น มาตรา ๔๒ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๕๒ ยอมรับให้สิทธิร้องขอสิทธิอาศัยถาวรในประเทศไทย แบบนอกโควตา ดังนั้น หาหลักฐานที่แสดงว่า มารดาของคุณเคยมีสัญชาติไทย และไปยื่นคำร้องขอสิทธิอาศัยถาวร ในกรณีนี้ หากยังอยากมีสัญชาติไทย ก็ไปร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเอาค่ะ
  5. ขอแนะนำให้นัดมาคุยในรายละเอียดที่ธรรมศาสตร์ค่ะ เรากำลังศึกษาเรื่องคนสองสัญชาติ ในการดำเนินการ ก็จะมีนักศึกษาปริญญาโทหรือเอกมาช่วยทำงานด้านกฎหมายให้ ไม่ต้องจ่ายทนายความแบบแพงๆๆ แต่ต้องยอมเป็นกรณีศึกษาให้นักศึกษาที่ลงมาจัดการปัญหากฎหมายให้ค่ะ
  6. ลองพิจารณาดูนะคะ

-------------------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 315262เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)

อ.คะ

๑.เคสนี้ชื่อคุณแมธทิวค่ะ ไม่ใช่แมธมิว

คุณแมธทิวคะ

๑.คุณสามารถมีสองสัญชาติได้ กม.ไทยไม่ได้ห้ามค่ะ

๒.เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีกรณีศึกษาที่มีสองสัญชาติมาปรึกษาเราเช่นกันค่ะ

๓.วันอังคารที่ ๑ ธ.ค. ๒๕๕๒ จะมีการเสวนาเรื่องสองสัญชาติ ตามที่อ.แหววบอกค่ะ ณ คณะนิิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา ๙.๐๐ น. อย่างไรเิชิญร่วมด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

กรุณามาช่วยพิสูจน์อักษร เขียนแบบมีชื่อ "มิว" ในหัวมังนะ เอ.. Mad Mill คงไม่ดีนะคะ

Joyful Mill น่าจะดีกว่า

เด็กไม่ได้แจ้งเกิด ยังไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก

เข้าเรียน ป.1 แล้ว แต่ไม่ได้หลักฐานก็รับไม่ได้

ทำไงจึงจะเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร์ได้

เรียนครู ป.๑ คะ

ในประการแรก อาจเป็นความเข้าใจผิดนะคะ สถานศึกษามีหน้าที่รับเด็กค่ะ

โปรดดู "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘"

คลิกเลยค่ะ

 http://learners.in.th/file/archanwell/2548-09-05-Regulation-Edu4ALL.pdf

ในประการที่สอง ดูข้อ ๖ นะคะ ในการจัดการสำหรับนักเรียนที่ไม่มีเลข ๑๓ หลัก

ในประการที่สาม มีมติคณะรัฐมนตรีมอบให้สถาบันการศึกษาต้องสำรวจเด็กไร้รัฐ หรือที่กรมการปกครองเรียกว่า "เด็กที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร" นะคะ แล้วจะหามติคณะรัฐมนตรีและหนังสือการมาฝากค่ะ

ขอคุณครูได้ศึกษา และได้มีโอกาสช่วยลูกศิษย์นะคะ

มีอะไรก็บอกมาอีกนะคะ

โทรหา อ.รจนา สินที ที่สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้ค่ะ ถ้าไม่เข้าใจระเบียบนี้

สวัสดีครับ

ผมขออนุญาติ มาขอบคุณหน้านี้อีกทีน่ะครับ ตอนนี้ได้อ่านและพอเข้าใจในเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยบ้างแล้วครับ

แล้วก็มีข้อสงสัยตามมาอีก ต้องขอรบกวน อ. แหวว อีกทีน่ะครับ

๑. ถ้าหากผมถือสัญชาติที่สองแล้วจะสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเหมือนคนไทยทั่วไปรึป่าวครับ

๒. ระหว่างสองสัญชาติกับการเปลี่ยนสัญชาติเยอรมันไปเป็นไทยเลย แบบไหนจะยุ่งยากกว่ากัน

๓. และความแตกต่างหลังจากที่ถือสองสัญชาติ หรือเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย เป็นอย่างไงบ้างอ่ะครับ (จริงๆ เข้าข่าย ข้อที่หนึ่งด้วย แต่หมายถึงทุกๆ อย่าง อ่ะครับ)

ปล.คำถามเยอะมากครับ ขอโทษด้วยน่ะครับ หรือถ้าตอบไม่หมดก็ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด เพราะเพียง อ.แหววเปิดประเด็นให้ผมในด้านบนแล้วผมรู้สึกปลื้มและขอบคุณมากครับ และได้ขอมูลมาจาก อ.แหวว ที่มีเนื้อที่ดีและอ่านเข้าใจง่ายพร้อมยกกรณีต่างๆ มาได้ดีมากๆ ครับ

ขอบคุณครับ _/l\_

แมธทิว

เพื่อตอบคำถามที่คุณถามนะคะ

ในประการแรก ถ้าคุณไปแสดงตนต่อเขตที่มารดามีชื่อในทะเบียนบ้านเพื่อเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านในสถานะ "คนสัญชาติไทย" ก็จะได้มาซึ่ง "สิทธิในการใช้สัญชาติไทย" ที่คุณได้รับการยอมรับมาตั้งแต่เกิด หากบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันตอนคุณเกิด หรือตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ หากบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันตอนคุณเกิด  สัญชาติไทยที่คุณมีและอยากจะใช้ในครั้งนี้มีลักษณะที่ดีมาก เพราะเป็นสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา และคุณย่อมจะมีสถานะเป็น "คนสัญชาติไทยโดยการเกิด" ไม่ว่ากรณีใดๆ (เพราะมาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ให้ถือเช่นนั้นแม้คุณเพิ่งใช้สิทธิในสัญชาติไทยนี้ได้ใน พ.ศ.๒๕๓๕) และย่อมมีสิทธิในสถานะดังคนสัญชาติไทยโดยการเกิดทุกคน  เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ค่ะ ดังนั้น สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเหมือนคนไทยทั่วไปค่ะ

ในประการที่สอง ไม่มีประเด็นที่จะต้องไปคิดถึงการเปลี่ยนสัญชาติอะไรวุ่นวาย สัญชาติเยอรมันเป็นสัญชาติของพ่อ ในขณะที่สัญชาติไทยเป็นของแม่ กฎหมายไทยไม่ได้เรียกร้องให้คุณต้องทำอะไรกับสัญชาติเยอรมัน มีปัญหาเดียวที่คุณอาจต้องคิด ก็คือ ปัญหาการเกณฑ์ทหาร ซึ่งไม่ทราบว่า คุณมีอายุเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ต้องไปเกณฑ์ทหารแล้วยัง

ในประการที่สาม ส่วนการที่จะมีสัญชาติไทยเพิ่มขึ้นมานั้นจะสร้างความแตกต่างจากการมีสองสัญชาติหรือไม่ คำตอบก็คือ คุณก็จะไม่ถูกจำกัดสิทธิที่คนต่างด้าวมี สัญชาติเยอรมันก็เอาไว้ใช้เมื่อไปอยู่ที่เยอรมัน หรือประเทศอื่น และห้ามไปขอถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนะคะ คุณถืออยู่หรือไม่ เพราะจะทำให้คุณเสียสัญชาติไทยที่มีอยู่นะคะ

ตกลงคุณแม่ยังมีสัญชาติไทยใช่ไหมคะ และยังมีชื่อในทะเบียนบ้านใช่ไหมคะ

ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. เรามีเสวนาวิชาการเรื่องคนสองสัญชาติ เชิญนะคะ

สวัสดีครับ อ.แหวว

ขอบคุณที่ อ. แหวว มาช่วยคลี่คลายคำถามให้ผมน่ะครับ ขอตอบคำถาม อ.แหวว น่ะครับ

๑. คำถาม: ห้ามไปขอถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนะคะ คุณถืออยู่หรือไม่

ผมยังไม่ได้ไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวครับ (ใช่ใบเหลืองไหมครับ บิดาผมถืออยู่แต่เนื่องจากผมศึกษาที่กทม. จึงไม่ได้ทำ)

๒. คำถาม: คุณแม่ยังมีสัญชาติไทยใช่ไหมคะ และยังมีชื่อในทะเบียนบ้านใช่ไหมคะ

ใช่ครับมารดายังถือสัญชาติไทยอยู่ครับ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ด้วยชื่อที่มีนามสกุลของบิดาครับเพราะสมรสกันครับ

๓. คำถาม: บิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมายหรือไม่ ? ก่อนหรือหลังคุณเกิด

บิดาและมารดาผมสมรสกันตามกฎหมาย ก่อนที่ผมจะเกิดครับ

ขอบคุณครับ _/l\_

แมธทิว

แมธทิวเกิดวันที่เท่าไหร่ พ.ศ.อะไรคะ

สวัสดีครับ

ผมเกิดวันที่ 16.03.1983 ครับ

แมธทิว

คุณแมธทิวลองศึกษาบทเรียนที่ใช้สอนนักศึกษาข้างล่างดูนะคะ

กรณีของคุณและมาร์คเป็นกรณีเดียวกัน

นายมาร์ค  : จากคนต่างด้าวซึ่งมีมีจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดกับประเทศไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา....สู่คนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕, โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา   สายสุนทร, เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕, ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒, กรณีศึกษาเพื่อการสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

http://gotoknow.org/blog/people-management/316087

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=486&d_id=485

แมธทิวคะ มีความเห็นของ อ.มีชัย ฤชุพันธุ์มาให้อ่านค่ะ

สถานการณ์ด้านจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยเหมือนแมธทิวเลยค่ะ

--------------------------

ความเห็นจากอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์

http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&cateid=&action=view&id=019854

--------------------------

คำถามที่  019854 เรื่องสองสัญชาติ แพททริก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549

---------

คำถาม

----------

ผมเกิดในประเทศไทย มารดาเป็นคนไทย บิดาเป็นคนอังกฤษ ดังนั้นผมจึงมีสิทธิ์ได้สองสัญชาติใช่หรือไม่ การได้สองสัญชาติของคนไทยผิดกฏหมายหรือไม่ และต้องเลือกสัญชาติใดสัญาชาติหนึ่งหรือไม่ และผมจะถือ passport ของทั้ง 2 ประเทศได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ผมจะเลือกใช้ passport ของประเทศอังกฤษในการเดินทางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจะได้หรือไม่ ขอแสดงความเคารพอย่างสูง แพททริก

--------

คำตอบ

--------

การจะได้สองสัญชาติหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าบิดาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชอบหรือไม่ และบิดากับมารดาได้สมรสกันโดยชอบหรือไม่ หรืออยู่กันเฉยๆ   ถ้ามีสองสัญชาติแล้ว จะถืออยู่ต่อไปโดยไม่เลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งก็ได้ หรือจะเลือกเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วก็ได้   เมื่อถือสองสัญชาติจะใช้หนังสือเดินทางของประเทศไหนก็ได้

มีชัย ฤชุพันธุ์

13 ธันวาคม 2549

--------------------------

อันนี้เป็นความเห็นมาจากเว็บของกระทรวงการต่างประเทศ

ความเห็นจาก http://www.mfa.go.th/web/1071.php

พบเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒

-----------------------------------------------------

คำถาม

ประเทศไทยอนุญาติให้คนไทยถือสองสัญชาติได้หรือไม่  และในกรณีใดบ้าง หากในกรณีที่ได้perminent resident ของประเทศออสเตรเลีย และกำลังจะยืนขอ citizenship ของประเทศออสเตรเลีย ก่อนตัดสินใจอยากจะทราบว่าทางประเทศไทยอนุญาติให้ถือสองสัญชาติได้หรือไม่  และกรณีที่ประเทศไทยไม่อนุญาติให้ถือสองสัญชาติถ้าดิฉันมีสัญชาติออสเตรเลียและในอนาคตอยากกลับไปอยู่ประเทศไทยจะซื้อที่ดินและบ้านในเมืองไทยภายใต้ชื่อตนเองได้หรือไม่ และจะขอคืนกลับมาเป็นสัญชาติไทยได้หรือไม่

คำตอบ

พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขโดย พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มิได้มีบทบัญญัติกำหนดเกี่ยวกับผู้มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกันไว้โดยตรง และไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนดว่าให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกันต้องเสียสัญชาติไทยเพราะข้อเท็จจริงที่บุคคลนั้นมีสัญชาติอื่นอยู่ด้วย ดังนั้น หากบุคคลผู้ถือสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกันมิได้แสดงเจตนาสละสัญชาติไทย หรือกระทำการใดที่อาจเป็นเหตุให้องค์กรของรัฐถอนสัญชาติ และไม่มีสถานการณ์ที่บุคคลอาจเสียสัญชาติ หรือกระทำการใดที่เป็นการยอมรับว่าตนเป็นคนต่างด้าว บุคคลนั้นจึงสามารถถือสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นได้ในขณะเดียวกัน ส่วนบุคคลนั้นจะเสียอีกสัญชาติหนึ่งหรือไม่ประการใดก็ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของประเทศนั้น ทั้งนี้ คุณดวงใจฯ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมและข้อมูลในทางปฎิบัติได้จากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้รักษาการพ.ร.บ.สัญชาติฯ

สวัสดีครับ

ขอบคุณสำหรับบทความต่างๆ ของ อ.แหวว ครับ ตอนนี้นั่งอ่านและทำความเข้าใจครับส่วนเรื่องอายุนี่มีผลอย่างไรหรอครับ

แมธทิว

อายุ ???

ไม่เข้าใจคำถามค่ะ

ที่ถามวันเกิด เพราะจะได้ทราบว่า การกำหนดสิทธิในสัญชาติไทยของคุณแมธทิวจะตกอยู่ภายใต้กฎหมายไทยชุดไหนค่ะ

และจะได้เลือกกรณีศึกษาที่ใกล้เคียงกัน ใช้ข้อกฎหมายเดียวกันมาให้ศึกษา

พอทราบวันเกิดของคุณแมธทิว จึงเลือกกรณีศึกษาของคุณมาร์คมาให้ศึกษาเทียบเคียงได้ค่ะ

ตอนนี้ เราพบว่า กฎหมายไทยไม่ได้ห้ามการถือสองสัญชาติ แต่มีความเข้าใจในทั้งภาคการเมืองและภาคราชการมากมาย แม้ดีขึ้นจากเดิมมาก แต่ก็ยังอาจสร้างปัญหาแก่คนสองสัญชาติ ดังนั้น คนสองสัญชาติจึงต้องเข้าใจกฎหมายด้วยตัวเองค่ะ จึงแนะนำให้คุณเรียนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองค่ะ ชีวิตจะได้ปลอดภัย

สวัสดีครับ

ก็อยากจะถามอย่างที่ อ.แหวว ตอบไปนั้นล่ะครับ สรุปเพื่อที่จะหาเคสที่ใกล้เคียงครับ ^^

บ่นลอยๆๆ ให้คุณแมธทิวฟัง

"ช่วยตอบหน่อยค่ะ ถ้าเรามีข้าวสาร ถ้าเราไม่หุง ข้าวจะสุกไหมคะ
นักกฎหมายไทย เคนสร้างแนวคิดที่ชัดเจนในเรื่องนี้ไหมคะ
มีแต่คนลอกมาบอก ลอกมาสอน โดยไม่ดูว่า จริงๆๆ กฎหมายไทยว่าอย่างไร ?
จะรู้ว่า กฎหมายไทยว่าอย่างไร ก็ต้องศึกษากฎหมายไทย
กลัวจังว่า พรุ่งนี้ จะมีคนมาอธิบายกฎหมายไทยด้วยกฎหมายต่างประเทศ
หรือมาวิจารณ์กฎหมายไทย โดยไม่สนใจศึกษาความเป็นจริงของกฎหมายไทย
 
ไม่ได้บอกว่า ไม่สนใจกฎหมายอเมริกันนะคะ อย่าเข้าใจผิด
แต่ตั้งใจจะต่อว่า คนในอเมริกาที่อยากได้กฎหมายที่ทันสมัย แต่ไม่ขยับตัวทำอะไรเลย
 
อยากพวกที่เตรียมทำงานพรุ่งนี้ พูดถึง European Convention on Nationality 1990
ซึ่งมีแนวคิดใหม่ในเรื่องนี้ ยังไม่มีคนสนใจไปดู
ลองแปลอนุสัญญานี้ก็ดีนะคะ"

สวัสดีครับ

ครับ อันนี้ได้อ่านจากเมลล์ที่ส่งๆ กันมาอ่ะครับ พอเข้าใจความหมายเนื้อในอยู่บ้างครับ แล้วก็ขอบคุณที่ อ.แหวว เชิญผมไปร่วมฟังการเสวนาที่ผ่านมาด้วยครับ ได้ความรู้เพิ่มมากมายครับผม

แมธทิว

ตกลงแมธมิวตัดสินใจได้แล้วยังคะ

อยากใช้สองสัญชาติไหมคะ

สวัสดีครับ

ติดธุระต่างจังหวัดมาครับ เลยไม่มีโอกาสได้ตอบครับผม

อืม ผมตัดสินใจจะถือสองสัญาชาติครับผม ที่นี้ต้องเริ่มที่ไหนอะไรอย่างไงบ้างครับ พอจะมีแนวทางให้ผมไหมครับ

ขอบคุณ อ.แหวว อีกทีน่ะครับ สำหรับทุกคำแนะนำครับผม

แมธทิว

ตอนนี้ ยุ่งกันมากทีเดียว มีคนไร้สัญชาติแก่ๆๆ ท่านหนึ่งป่วยหนักมาก

เริ่มต้นไปหารืออำเภอที่คุณแม่มีทะเบียนบ้าน แล้วคุยกับเจ้าหน้าที่เลยค่ะ ว่า เขาจะเอาหลักฐานอะไรบ้าง

ซึ่งโดยกฎหมาย หลักฐานที่เขาควรจะต้องการ ก็คือ  "หนังสือรับรองการเกิด" ซึ่งบอกว่า แมธทิวเป็นลูกแม่สัญชาติไทย

ใบเกิด เป็นภาษาอะไรคะ

 

สวัสดีครับ

หนังสือสูติบัตรเป็นภาษาเยอรมัน แต่ก็มีภาษาอังกฤษบรรยายไว้ด้วยครับ แล้วก็เอาฉบับนี้ไปแปลเป็นไทยเรียบร้อยแล้วครับผม

สวัสดีครับ

ตอนนี้ผมเริ่มแล้วครับ แล้วก็เริ่มจากที่อำเภอก่อนครับผม ซึ่งเหมือนจะขอสองสัญชาติไม่ได้ด้วยเนื่องจากกฎหมาย พรบสัญชาติ มาตรา14 ความหมายตีความกันได้หลายแบบ แต่ก็ยังไม่แน่ใจ หัวหน้าผ่ายทะเบียนจะศึกษาอีกที และให้ผมรวบรวมเอกสารต่างๆ ให้พร้อมแล้วค่อยไปหาใหม่อีกที ครับผม

ที่นี้มีปัญหาเรื่องใหญ่อีกเรื่อง ก็คือ ใบเกิดที่เป็นหลักฐานสำคัญมีชื่อแม่ก็จริงแต่ไม่มีหลักฐานว่าแม่เป็นคนสัญชาติไทย ณ ตอนนั้น

เลยอาจจะต้องมีเรื่องปวดหัวตามมาอีก ถึงแม้ว่าแม่ไม่เคยเปลี่ยนสัญชาติก็ตามเป็นคนไทยมาโดตลอด

แมธทิว

ตอบสั้นนะคะ

  1. คาดว่า อำเภอไปเปิดมาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไข พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งถูกยกเลิกแล้ว ๒ เดือนหลังจากออก เพราะเขียนกฎหมายผิด ในปัจจุบันใช้ มาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไข พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕ บอกให้เขาอ่านใหม่
  2. ประเด็นสูติบัตรตามกฎหมายเยอรมันไม่ระบุสัญชาติมารดา ก็ปกติ บอกให้อำเภอโทรหารือ อ.วีนัสแห่ง สทร.นะคะ
  3. ไม่ต้องปวดหัวนะคะ เจ้าหน้าที่คงไม่แม่นกฎหมาย ถ้าจะสู้ ก็ควรจะต้องตั้งใจเข้าใจกฎหมาย
  4. ให้ลองไปถามอำเภอ จะได้รู้ว่า อำเภอทราบกฎหมายแค่ไหน
  5. ถึงเวลาสแกนหรือถ่ายเอกสาร ส่งมาให้ดูแล้วมังนะ
  6. กรณีคล้ายๆ กับแมทธิวก็คือ กรณีของบุตรของคุณสมมาตร ทรอย ซึ่งเกิดที่อเมริกา ทาง อ.วีนัส แห่งกรมการปกครอง เพิ่งตอบความเห็นกฎหมายใหม่ไป
  7. กลับไปอำเภอนะคะ บอกปลัดอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ที่ตอบแมธทิว ให้โทรไปหารือทางกรมการปกครองนะคะ
  8. ถ้าเขาไม่ทำ  และอยากสู้  ก็ต้องรบกวน อ.ด๋าวแล้วล่ะ

สวัสดีครับ

เท่าที่ทราบและที่หัวฝ่ายทะเบียนพูดมา ก็คือถ้าหากผมไม่มีหลักฐานว่ามารดาเป็นคนไทยในสูติบัตร เขาให้ไปตม.ที่สวนพลูแล้วจะนัดและส่งไปตม.อื่นอีกทีครับผม ตามขั้นตอนของเขาอ่ะทั้งนี้เพื่อทำการพิสูจน์สัญชาติครับผม ที่ผมว่าปวดหัวก็เรื่องนี้ล่ะครับ พอไม่มีหลักฐานว่ามารดาเป็นคนไทยในช่วงที่ผมเกิด ก็เลยต้องพิสูจน์สัญชาติอ่ะครับเห็นเขาโทรไปถามเจ้าหน้าที่ ที่ตม.ด้วยครับผม

แมธทิว

ขำจัง

ตกลงแมธทิวจะทำอย่างที่เขาบอกไหม

หรือจะทำอย่างที่อาจารย์บอก ?

เจ้าหน้าที่ว่า ชื่ออะไรคะ ??

อ.ด๋าวคะ จดหมายไปสอนกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท่านนี้ดี

หรือ อ.วีนัสจะจัดการเองคะ

รบกวน อ.มิวโทรหารือ อ.วีนัสว่า จะจัดการเอง หรือให้ อ.ด๋าวจัดการ

ประสานงานเชิงราบให้หน่อย

ดูกฎหมายวิธีพิจารณาความพยานในเรื่องสัญชาติ จะต้องเน้นกันหน่อยนะคะ

กระบวนการเยี่ยมสำนักทะเบียนฯ ตามพื้นที่น่าจะต้องทำ

อ.บอมคะ งานตรงหน้าของแผน อ.บอม ดูมากมายนิ

สวัสดีค่ะ

คือดิฉันกับแฟนชาวเยอรมัน ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้ว บุตรที่กำลังจะเกิดมา เป็นสัญชาติไทยใช่ไหมค่ะ แล้วการทำ พาสปอร์ตของบุตรละค่ะ ต้องทำ ทั้งไทย และก็เยอรมันริเปล่า ถ้าบุตรจะไปเยอรมันต้องทำ วีซ่าไหมค่ะ

รบกวนช่วยตอบด้วยน่ะค่ะ ไม่เข้าใจจริงๆๆ

ตอบคุณนัทไว้ที่บันทึกนี้นะคะ

โปรดคลิก

http://gotoknow.org/blog/people-management/339071

คือพ่อเป็นญี่ปุ่นแม่เป็นคนไทย ถ้าพาสปอร์ตหมดอายุ พ่อป่วยมาไม่ได้ แล้วแม่ก้ป่วยเหมือนกัน จะทำยังไงดีค่ะ คือตอนนี้อายุ 18 สามารถทำเองได้หรือป่าวค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ทำพาสปอร์ตใหม่เองค่ะ จะทำได้หรือป่าวค่ะ

ต่อ passport ไทย หรือญี่ปุ่นคะ

แล้วเขาคนนี้มีชื่อในทะเบียนราษฎรของรัฐใดบ้างคะ

คนสัญชาติอเมริกันอยากจะโอนสัญชาติมาเป็นคนไทย จะต้องทำอย่างไรบ้างคะ....หรือว่าต้องเข้ามาอยูในประเทศไทยกี่ปี

ขอความกรุณาอาจารย์จากอาจารย์ช่วยตอบคำถามนี้ให้ด้วยค่ะ.

ขอบพระคุณค่ะ

นีนาถ จารุอดุลย์ แพงพง

สวัสดีค่ะ

อยากทราบว่า ดิฉันและลูกสาวจะเดินทางกลับไปเยี่ยมครอบครัวที่เมืองไทยค่ะ แต่ตอนนี้ลูกสาวสองคนยังไม่มีหนังสือเดินทางไทย มีแต่หนังสือเดินทางฝรั่งเศส แต่ปีที่แล้วดิฉันไปขอทำใบเกิดไทย ที่สถานทูตไทยในปารีส คืนตอนนี้มีแต่ใบเกิดไทย และตั้งใจจะไปทำหนังสือเดินทางให้ลูกที่เมืองไทย เพราะสะดวกกว่าไปทำที่ปารีส แต่ไม่ทราบว่าจะมีปัญหาที่ ตม ตอนจะออกนอกประเทศไทยหรือป่าวค่ะ เพราะลูกจะมีหนังสือเดินทางกันสองเล่ม ไทย และ ฝรั่งเศส เพราะตอนเข้าประเทศไทย ใช้หนังสือเดินทางฝรั่งเศส แต่ตอนออกจะใช้ หนังสือเดินทางไทย ที่กำลังจะทำที่เมืองไทยได้ไหมค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

พีรดา

ตอบคุณนีนาถ จารุอดุลย์ แพงพง

ในประการแรก อยากเรียนว่า กฎหมายไทยใช้คำว่า "แปลงสัญชาติ" มิใช่ "โอนสัญชาติ"

ในประการที่สอง หากคนสัญชาติอเมริกัน การแปลงสัญชาติเป็นไทยทำได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติที่กฎหมายกำหนด ผู้ทรงสิทธิที่จะแปลงสัญชาติในกฎหมายปัจจุบันมีอยู่ ๓ ประเภท กล่าวคือ (๑) คนต่างด้าวทั่วไป (๒) คนต่างด้าวบรรลุนิติภาวะที่มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับประเทศไทย (๓) คนต่างด้าวผู้เยาว์ที่บิดาหรือมารดาร้องขอสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ และ (๔) คนต่างด้าวไร้ความสามารถที่ประสบความด้อยโอกาสในประเทศไทย

คำถามก็คือ คนสัญชาติอเมริกันที่จะร้องขอแปลงสัญชาตินั้นมีลักษณะเป็นเช่นใด ช่วยให้รายละเอียดของคนสัญชาติอเมริกันมาด้วยนะคะ ทำไมจึงอยากแปลงสัญชาติไทย มีความข้องเกี่ยวอะไรกับประเทศไทย

ในประการต่อมา การดำเนินการเพื่อร้องขอกำหนดในมาตรา ๑๐, ๑๑, ๑๒ และ  ๑๒/๑ รวมถึงมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ในกรณีทั่วไป จะต้องมีภูมิลำเนาตามกฎหมายมหาชนในประเทศไทยมาแล้ว ๕ ปี กล่าวคือ มีชื่อในทะเบียนบ้านมาแล้ว ๕ ปี การมีสิทธิขอร้องเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายไทยจะเกิดขึ้นเมือมีสิทธิอาศัยตามกฎหมายคนเข้าเมืองไทย อาจจะถาวรหรือชั่วคราว หรืออาจจะมีสถานะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

สิ่งที่ควรทราบในประการสุดท้าย ก็คือ การร้องขอทำได้ แต่การอนุญาตเป็นดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเกณฑ์ในการอนุญาตนั้น ไม่ค่อยชัดเจนและคลุมเครือมาก เอื้อต่อคนที่มีรายได้สูงมากกว่าคนต่างด้าวธรรมดาหรือยากจน

ตอบคุณพีรดา

ในประการแรก คุณควรทราบว่า หากคุณยังคงมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทย บุตรสาวก็จะมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยผลของกฎหมาย อันนี้ ไม่ต้องร้องขอ เกิดเอง  ประเด็น ก็คือ ในวันที่บุตรเกิด คุณยังคงมีสิทธิในสัญชาติไทยหรือไม่ คุณเสียสัญชาติไทยแล้วยัง

ในประการที่สอง การแจ้งการเกิดของบุตรของคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศทำได้ที่สถานกงสุล หรือไม่มีสถานกงสุล ก็ทำที่สถานทูตซึ่งจะทำหน้าที่แทน ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๒๘ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔

ในประการที่สาม การเดินทางเข้ามาในประเทศไทยของบุตรอาจใช้หนังสือเดินทางฝรั่งเศสได้ค่ะ หากยังไม่มีหนังสือเดินทางไทย

ในประการที่สี่ การร้องขอทำหนังสือเดินทางตามกฎหมายไทยให้แก่บุตร ก็คงเป็นไปได้ค่ะ แต่เหมือนว่า ขึ้นอยู่กับอายุบุตรนะคะ หากเยาว์วัยมาก ก็จะมีรูปในหนังสือเดินทางของมารดา (จะเช็คให้อีกที วันนี้ ระบบคอมฯ ดีขึ้นมากแล้ว อาจเปลี่ยนไป) การมีเอกสารแสดงความเป็นคนสัญชาติไทยเป็นสิทธิของบุตรสาวที่เกิดจากมารดาสัญชาติไทย แม้เกิดในต่างประเทศ หรือแม้บิดาจะเป็นคนสัญชาติของรัฐต่างประเทศ แต่ก่อนที่จะไปทำหนังสือเดินทางให้บุตร ควรไปเพิ่มชื่อบุตรในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของมารดาก่อนนะคะ บุตรจะมีชื่อปรากฏในทะเบียนบ้านดังกล่าว เป็นไปตามมาตรา ๓๖ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ แก้ไข ๒๕๕๑ (ให้ข้อกฎฆมายไว้ หากไปเจอเจ้าหน้าที่ที่ไม่รู้กฎหมายหรือสับสนในกฎหมาย ซึ่งมีน้อยลงแล้วค่ะ)

ในประการสุดท้าย มีความเป็นไปได้ที่จะประสบปัญหาที่ ตม ตอนจะออกนอกประเทศไทย และการเข้าฝรั่งเศส  หากเจอเจ้าหน้าที่ ตม.ที่ไม่รู้หรือสับสนกฎหมาย ก็จะยุ่งหน่อย อธิบายนานหน่อย ทางที่เป็นการบริหารความเสี่ยง ก็คือ ควรทำหนังสือเป็นทางการหารือกองกฎหมายของกรมการกงสุลไทย รวมถึง ตม.ฝรั่งเศสค่ะ ในส่วนของฝรั่งเศส ปัญหาคงน้อย เพราะ EU มีกรณีแบบนี้มาก และมี European Convention on Nationality ที่ชัดเจนในเรื่องนี้ค่ะ

เสนอให้คนสัญชาติไทยในต่างประเทศรวมตัวกันเสนอกระทรวงการต่างประเทศเริ่มต้นทำ "กฎเกณฑ์หรือระเบียบที่ชัดเจน" ร่วมกับ ตม.ซึ่งวันนี้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเป็นข้อเสนอลายลักษณ์อักษรกัน้เถอะค่ะ ใช้อํธยาศัยไมตรีก็ไม่สะดวกไปทุกหนนะคะ

 

สวัสดีค่ะ ดิฉันมีเรื่่องสงสัยสำหรับบุตรชายค่ะ ดิฉันแต่งงานกับชาวอเมริกันและได้อาศัยอยู่ที่อเมริกา ยังคงเป็นสัญชาติไทยค่ะ มีบุตรชายหนึ่งคน ดิฉันเข้าใจว่าถึงแม้ว่าดิฉันไม่ได้แจ้งเกิดกับกงศุลไทยหรือสถานทูต (เนื่องจากทุกที่ไกลจากบ้านมาก) ลูกของดิฉันก็ยังคงได้รับสัญชาติไทยตามแม่ และสามารถได้รับมรดกที่ดินจากดิฉันได้ในอนาคตเนื่องจากยังไม่เคยสละสัญชาติไทย คำถามคือว่า ในทางปฎิบัติ เมื่อจะไปรับโอนที่ดิน จะต้องพิสูจน์ว่าเป็นสัญชาติไทย ไม่ทราบว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างคะ ตอนนี้มีแต่ใบเกิดของอเมริกาเท่านั้น และการแสดงตนเป็นสัญชาติไทยนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเกณฑ์ทหารที่ไม่ได้ไปเกณฑ์หรือแจ้งใดๆหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ

บุตรชายของคุณคนไกลบ้านอายุเท่าไหร่คะ

ตอนนี้อายุ 8 ปีค่ะ คือถามเผื่ออนาคตไว้เนื่องจากถกเถียงกับสามีเรื่องสัญชาติไทยและเรื่องเกณฑ์ทหารเนื่องจากตัวคุณพ่อเป็นทหารอเมริกันค่ะ เลยเป็นห่วงเรื่องการเกณฑ์ทหารมาก เนื่องจากกลัวว่าถ้าเคยเป็นทหารของประเทศอื่นแล้วจะมีปัญหากับทางกองทัพอเมริกันได้หากลูกจะเป็นทหารอเมริกันเหมือนคุณพ่อเมื่อโตขึ้นน่ะค่ะ

เรียนถาม อ. แหววค่ะ หนูเกิด 30/09/2531ค่ะถือบัตรเลข0ค่ะเพราะแม่พาอพยพเข้าเมืองมาจากฝั่งลาวตอนเด็กๆประมาณ2ขวบแต่คงนั่งเรืแมาไม่ได้ผ่าน ตม.จึงไม่มีเอกสารใดๆ แม่ฝากหนูไว้ให้คนไทยครอบครัวหนึ่งเลี้ยงไว้แต่พ่อกีบแม่ที่นี่ไม่ได้ทำแจ้งเอกสารใดๆให้ถูกต้องเนื่องจากว่าเป็นชาวบ้านธรรมดาไม่ค่อยมีความรู้เท่าไหร่ค่ะ ตอนนี้หนูเรียนจบ ป.ตรีแล้วค่ะมีทางไหนที่จะได้สัญชาติไทยบ้างมั้ยคะ

สวัสดีครับ อ. ผมเป็นคนประเทศลาว ได้มาศึกษาที่ประเทศไทย ตั้งแต่อายุ 12 - 25 ปี ปัจจุบันจบ ป โท แล้ว อยากจะถามว่า ตอนนี้หางานทำตามบริษัทต่างที่ประเทศไทย แต่ติดไม่ีมีสัญชาติไทยเขาเลยไม่ค่อยจะรับเท่าไร และผมสามารถ "แปลงสัญชาติ" จาก ลาวขอเป็นไทยได้ไหมครับ มีขั้นตอนอะไรบ้าง  มีญาติพี่น้องที่เป็นคนไทยต้องการจะรับรองเข้าทะเทียนบ้าน แต่ไม่รู้กฎหมายจะทำได้ไหมครับ โปรดชี้แนะด้วย ขอบพระคุณ

สวัสดีค่ะ ตอนนี้ดิฉันเตรียมเอกสาร สำหรับ ขอสัญชาติ ตามสัญชาติของสามี เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนยื่นเอกสารขอสัญชาติ ตามสัญชาติของสามี กฏหมายที่นี้ต้องการให้เราเขียนหนังสือ ซึ่งจะเขียนและดำเนินการโดย ทนายความกฏหมายเกี่ยวกับบุคลต่างด้าง เพื่อขอรับสัญชาติ และให้เรา ส่งทางไปรษณีย์ เพื่อยื่นทาง สถานฑูตของสัญชาติเดิมที่เรามีอยู่ ( ไทย ) อันมีใจความซึ่ง คล้าย ๆ ว่า เราต้องการจะรับสัญชาติ ตามสามี ซึ่งเป็นสัญชาติ ...... และ อาจจะ ยกเลิกสัญชาติไทย

ฉะนั้นดิฉันอยากถามว่า

1. ดิฉันจะเสียสัญชาติเดิมไหมค่ะ

2. ถ้าดิฉันได้สัญชาติ ตามสามี แล้ว ถ้ามีบุตร และคลอดที่นี่ จะขอสัญชาติเดิม ตามมารดาได้อีกไหม ค่ะ ( ไทย )

พ่อเป็นลาว แม่ไทยเกิดที่ลาวทะเบียนบ้านอยู่ลาว ตอนนี้อายุ25ปี อยากขอสัญชาติไทย แต่แม่กับพ่อเลิกกันนานแล้วหลักฐานเชื่อมโยงกับฝ่ายแม่ก็ไม่มี ทำยังไงถึงขอสัญชาติได้ครับ

พาแม่ไปขอตรวจ DNA ค่ะ

ก่อนอื่น สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนูเกิดที่เมืองไทย พ่อเป่นลูกเสี้ยวโปแลนด์กับรัสเซีย คือพ่อของพ่อเป็นโปแลนด์ แม่ของพ่อเป็นรัสเซีย แต่พ่อมีพาสปอร์ตสองเล่มคือ รัสเซียกับโปแลนด์ ....ย้อนมาเรื่องแม่ค่ะ แม่เป่นคนไทยโดยกำเนิด แต่หลังจากคลอดหนู พ่อกับเเม่ก็แยกกัน แต่ยังคงส่งเสียและติดต่อกับหนูทั้งสองฝ่่าย ตอนนี้หนูอายุ 19ปี แล้วค่ะ มี พาสปอร์ตไทยหนึ่งเล่มโดยให้พ่อกับแม่มาเซ็นยืนยันออกพาสปอตให้ สูติบัตรหนูมีชื่อพ่อรับรองค่ะ 

คำถามมีอยุ่ว่า หนู จะสามารถมีพาสปอตสามเล่มได้ไหมค่ะ ? 

แล้วถ้าหนูจะสามารถมีสามสัญชาติได้ไหมค่ะ ตอนนี้หนูกำลังจะไปเปลียนชื่อ นามสกุล โดยใช้ชื่อ อันน่า ตามสูติบัตร แต่ชื่อปัจจุบันชื่อ สุชาวดีค่ะ  เพราะในสูติบัตร หนู ชื่อ อันน่า แต่ใช้นามสกุลแม่ แล้วในนั้น ก้ใส่ เชื้อชาติและสัญชาติเป่นไทยหมดค่ะ

จะเปลี่ยนมาใช้ชื่ออันน่า แล้วใส่ นามสกุลพ่อ และตามด้วยนามสกุลแม่ มันคือ Family name ป่ะค่ะ

หลังจากเปลี่ยนชื่อเสร็จพ่อบอกว่าจะพาไปทำพาสปอตรัสเซียและโปแลนด์ 

ทั้งหมดที่ค่อนข้างซับซ้อนขออภัยด้วยน่ะค้ะ ละทั้งหมดนี้มีอะไรที่พอจะเป่นไปได้ไหมค่ะ เพาะพ่อหนูไม่รุ้กฎหมายไทยค่ะ 

ปล. ตอนนี้หนูเรียนที่มหายวิทยาลัยในเมืองไทยค่ะ พ่ออยู่รัสเซีย แม่อยุ่ไทยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ก่อนที่ดิฉันจะสละสัญชาติไทยดิฉันได้ทำเรื่องขอสัญชติไทยให้ลูกค่ะ ตอนนี้ลูกทั้งสองคนถือสัญชาติไทยและไต้หวันค่ะ แต่ที่กังวลคือ ตอนนี้ ครอบครัวเราอยู่ไต้หวัน พาสสปร์อตไทยของลูกหมดอายุแล้ว ตั้งแต่ทำมาไม่เคยได้ใช้ออกนอกประเทศเลยค่ะ แต่ ตอนนี้มีแพลนจะไปเยี่ยมญาติที่ไทย 1. อิฉันพาลูกไปต่อพาสเล่มใหม่ที่สถานฑูตเลยได้ใช่หรือไม่คะ2.เมื่อลูกชายอายุครบ18 จะต้องไปขึ้นทะเบียนการเกณฑ์ทหารไทยใช่หรือไม่คะ3.ลูกชายเท้าแบนราบกับพื้น ไม่เหมือนคนปรกติ จะขอใบรับรองจากแพทไต้หวันไปแปลเป็นไทยเพื่อขอสิทธิ์ไม่เกณทหารได้หรือไม่คะ เพราะที่ไต้หวัน ถือว่า ไม่ต้องเข้าเกณทหารค่ะ แต่ที่ไทยอิฉันไม่แน่ใจ4.ตอนนี้อิฉันถือสัญชาติไต้หวัน สัณชาติเดียวค่ะ ทีแต่ลูกที่ถือ สองเล่ม อนาคตหากซื้อบ้าน หรือที่ดินไว้ที่ไทย เป็นชื่อ ลูกได้หรือไม่คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท