Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

มาร์คเกิดในซาอุดิอาระเบียเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ จากพ่อเคยมีสัญชาติไทยแต่แม่ยังเป็นคนสัญชาติไทย เขามีสัญชาติไทยหรือไม่ ?


โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เขียนเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เคยเป็นข้อสอบในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีการศึกษา ๒๕๔๔ ภาคการศึกษาที่ ๒ ออกโดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์กาญจนะจิตรา สายสุนทร ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๕๒ ปรับเป็นกรณีศึกษาเพื่อใช้สอนในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

กรณีนายมาร์ค  : จากคนต่างด้าวซึ่งมีจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดกับประเทศไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา ใน พ.ศ.๒๕๓๑....สู่คนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา   สายสุนทร

เขียนเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

กรณีศึกษาเพื่อการสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

http://gotoknow.org/blog/people-management/316087

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=486&d_id=485

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151956180638834

--------------

ข้อเท็จจริง

-------------

          เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ นายสามารถหรือสมิทซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด ได้สมรสตามกฎหมายไทยกับนางโสรยาซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดเช่นกัน

          ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๗ บุคคลทั้งสองไปตั้งรกรากอยู่ในประเทศซาอุดิอาระเบีย

          นายสามารถได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นอเมริกันใน พ.ศ.๒๕๒๙ และใน พ.ศ.๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศคำสั่งอนุญาตให้นายสามารถสละสัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา

          ใน พ.ศ.๒๕๓๑ นายสามารถและนางโสรยามีบุตรด้วยกัน ๑ คน กล่าวคือ นายมาร์ค ซึ่งเกิดในประเทศซาอุดิอาระเบีย

--------

คำถาม[1]

---------

๑.            โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ถามว่า นายมาร์คมีข้อเท็จจริงอันเป็นจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงกับประเทศไทยหรือไม่ ? ถ้ามี ข้อเท็จจริงนั้นอาจทำให้ได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ ?

๒.           ในกรณีที่มีจุดเกาะเกี่ยวที่อาจทำให้ได้สัญชาติไทย โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล จะต้องใช้กฎหมายของประเทศใดในการพิจารณาปัญหาการได้สัญชาติไทยของ นายมาร์ค ? เพราะเหตุใด ?

๓.            โดยผลของกฎหมายไทยดังกล่าว นายมาร์คได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

๔.           ในวันนี้ นายมาร์คจะต้องทำอย่างไรเพื่อทำให้ได้สถานะคนสัญชาติไทย ?

---------------

แนวคำตอบ

---------------

          โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ขอให้คำตอบต่อคำถามดังต่อไปนี้

๑.            นายมาร์คมีข้อเท็จจริงอันเป็นจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงอันทำให้ได้สัญชาติของประเทศใดบ้าง ? ถ้ามี เพราะเหตุใด ?

โดยพิจารณาธรรมชาติของหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ เอกชนจึงอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐใดรัฐหนึ่งได้ใน ๒ ช่วงเวลา กล่าวคือ ในขณะที่เกิด เอกชนอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐ ๓ สถานะ กล่าวคือ () รัฐเจ้าของถิ่นที่เกิด () รัฐเจ้าของสัญชาติของบิดา และ () รัฐเจ้าของสัญชาติของมารดา ต่อมา ภายหลังการเกิด เอกชนอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐใน ๒ สถานะ กล่าวคือ () รัฐเจ้าของสัญชาติของคู่สมรส และ () รัฐซึ่งมีความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับเอกชน

จากการพิจารณาข้อเท็จจริงของ นายมาร์ค จะพบว่า นายมาร์คมีความสัมพันธ์อย่างแท้จริงกับประเทศไทยตั้งแต่เกิด ทั้งนี้ เพราะมารดามีสัญชาติไทย ประเทศไทยจึงมีความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับนายมาร์คในสถานะของรัฐเจ้าของสัญชาติของมารดา

นอกจากนั้น นายมาร์คมีความสัมพันธ์อย่างแท้จริงกับประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เกิดเช่นกัน ทั้งนี้ เพราะประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐเจ้าของสัญชาติของบิดา

ในขณะที่ประเทศซาอุดิอารเบียก็มีสถานะเป็นรัฐเจ้าของดินแดนที่เกิดของนายมาร์ค นายมาร์คจึงมีความสัมพันธ์อย่างแท้จริงกับประเทศซาอุดิอารเบียตั้งแต่เกิดเช่นกัน ทั้งนี้

ดังนั้น โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายนี้ยอมรับว่า นายมาร์คจึงมีข้อเท็จจริงอันเป็นจุดเกาะเกี่ยวอันอาจทำให้มีสัญชาติไทย สหรัฐอเมริกา และซาอุดิอารเบีย แต่การจะมีหรือใช้สิทธิในสัญชาติของประเทศดังกล่าวได้จริงหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาติแต่ละรัฐ ซึ่งอาจนำไปสู่สภาวะคนหลายสัญชาติก็เป็นได้

 

๒.           จะต้องใช้กฎหมายของประเทศใดในการพิจารณาปัญหาการได้สัญชาติไทยของ นายมาร์ค ? เพราะเหตุใด ?

เมื่อปรากฏว่า นายมาร์คซึ่งเกิดใน พ..๒๕๓๑ จากมารดาสัญชาติไทย กฎหมายที่มีผลกำหนดปัญหาความเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิดของ นายมาร์ค จึงได้แก่ พ...สัญชาติ พ..๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ..๒๕๑๕ ซึ่งมีผลกำหนดปัญหาความเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิดของบุคคลที่มีจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดกับประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ จนถึงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕

          เมื่อฟังว่า นายมาร์คมีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา จึงมีความเป็นไปได้ที่นายมาร์คจะได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา หากมีข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบของมาตรา ๗ (๒) แห่งพ...สัญชาติ พ..๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ..๒๕๑๕ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

 

๓.            โดยผลของกฎหมายดังกล่าว นายมาร์คได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

โดยมาตรา ๗ แห่งพ...สัญชาติ พ..๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ..๒๕๑๕ ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ

จะเห็นว่า บุคคลที่จะมีสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาภายใต้กฎหมายนี้ จะต้องมีข้อเท็จจริง ๓ ประการ กล่าวคือ (๑) บุคคลนั้นเกิดนอกประเทศไทย (๒) มารดามีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยในขณะที่บุคคลนั้นเกิด และ (๓) ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสัญชาติ

จะเห็นว่า แม้ว่านายมาร์คจะเกิดนอกประเทศไทย กล่าวคือ ในประเทศซาอุดิอารเบียโดยมีมารดาเป็นคนสัญชาติไทย แต่นายมาร์คไม่อาจได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยการเกิดโดยผลของมาตรา ๗() แห่ง พ...สัญชาติ พ..๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ..๒๕๑๕ ทั้งนี้ เพราะปรากฏมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เข้าองค์ประกอบของการได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยการเกิดตามข้อกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น ในวินาทีที่เกิด จนกว่าจะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่นในกฎหมายไทย นายมาร์คจึงไม่มีสถานะเป็นคนสัญชาติไทย ในสายตาของรัฐไทย นายมาร์คจึงมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่มีจุดเกาะเกี่ยวเข้มข้นกับประเทศไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา

 

๔.           ในวันนี้ นายมาร์คจะต้องทำอย่างไรเพื่อทำให้ได้สถานะคนสัญชาติไทย ?

นับแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ รัฐสภาไทยยอมรับ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ อันมีผลปรับแนวคิดเรื่องสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา ให้มีลักษณะกลับไปสอดคล้องกับหลักกฎหมายสัญชาติ นั่นก็คือ บุตรของมารดาสัญชาติไทยทุกคนย่อมสืบสิทธิในสัญชาติไทยจากมารดาได้ ไม่ว่าจะเกิดนอกหรือในประเทศไทย หรือไม่ว่าจะปรากฏมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือไม่ว่าบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายจะมีสัญชาติหรือไม่ ข้อเท็จจริงเดียวที่ทำให้ได้มาซึ่งสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา ก็คือ มารดาเป็นคนสัญชาติไทยในขณะที่บุตรเกิด

จึงสรุปหลักกฎหมายในเรื่องนี้ได้เป็น ๒ ประเด็นว่า

ประเด็นแรก บุตรของมารดาสัญชาติไทยซึ่งเกิดภายใต้การปฏิรูปกฎหมายใหม่โดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาตามกฎหมายใหม่ กล่าวคือ มาตรา ๗ (๑) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕

ประเด็นที่สอง บุตรของมารดาสัญชาติไทยซึ่งก่อนการปฏิรูปกฎหมายใหม่โดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาตามกฎหมายใหม่ นับแต่วันที่กฎหมายใหม่มีผล นั่นก็คือ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตราที่เป็นบ่อเกิดแห่งสิทธิมี ๒ มาตรา กล่าวคือ (๑) มาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และ (๒) มาตรา ๗ (๑) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕

ดังนั้น แม้ว่า นายมาร์คจะไม่ได้สัญชาติไทยจากมารดาในขณะที่เกิดตามมาตรา ๗ () แห่ง พ...สัญชาติ พ..๒๕๐๘ ฉบับดั้งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลในขณะที่นายมาร์คเกิด แต่โดยกฎหมายที่ปฏิรูปใหม่ที่มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมา นายมาร์คจึงได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยผลของกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงไม่จำเป็นต้องร้องขอสัญชาติไทยแต่อย่างใด

หากวันนี้ นายมารค์ยังไม่มีเอกสารรับรองสิทธิในสัญชาติไทย นายมาร์คก็จะต้องไปแสดงตนขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของกรมการปกครองที่ทำหน้าที่นายทะเบียนราษฎรตาม มาตรา ๓๖ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ จะต้องเพิ่มชื่อหรือลงรายการสัญชาติไทยให้แก่นายมาร์คในทะเบียนบ้านประเภทคนอยู่ถาวร (ท.ร.๑๔) หากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวปฏิเสธ นายมาร์คก็อาจร้องขอต่อศาลปกครองให้คุ้มครองสิทธิที่จะมีชื่อในทะเบียนบ้านดังกล่าวได้ โดยการบังคับให้อำเภอหรือเขตหรือเทศบาลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามมาตรา ๓๖ ดังกล่าวมา

----------------------------------

 



[1] เคยเป็นข้อสอบในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปีการศึกษา ๒๕๔๔ ภาคการศึกษาที่ ๒ ออกโดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

หมายเลขบันทึก: 316087เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับท่านอาจารย์

เป็นความรู้ที่ดีมากครับ

สามารถนำไปแนะนำ...ต่อไปได้ครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีคะอาจารย์ ได้ความรู้มากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท