ศิลปะการเขียนบทความให้น่าอ่าน


เกริ่นนำตื่นเต้นน่าสนใจ ใช้ประโยคทอง เนื้อหาสอดคล้องกลมกลืน สรุปชื่นมื่นประทับใจ

 

 

ศิลปะการเขียนบทความให้น่าอ่าน

โดย พรชัย  ภาพันธ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63 (ชุมชนบ้านคำแดง)
ตำบลเดิด  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร 35000

                        

                         การอ่านทำให้คนเต็มคน การฟังทำให้คนพร้อม การเขียนทำให้คนประณีต การเขียนเป็นการการนำเอาการอ่าน การฟัง การคิดมารวบรวมไว้ เพื่อสื่อสารให้บุคคลอื่นได้รับรู้ มีคนกล่าวว่านักเขียนพูดดังกลว่านักพูดและพูดได้นานกว่า ความจำที่ดีสู้หมึกเพียงหนึ่งหยดไม่ได้ หัวใจนักปราชญ์นั้นกล่าวถึงการฟังการ การคิด การถามและการเขียน จุดด้อยของคนเอเชียจะพบว่าขาดวัฒนธรรมการถ่ายทอดความรู้ เพราะไม่มีวัฒนธรรมการเขียน ตามแนวคิดการหวงวิชา มักจะสืบทอดวิชาความรู้สู่เฉพาะบุตรหลานหรือคนที่ไว้วางใจเท่านั้น ไม่มีการบันทึกเผยแพร่ทำให้ขาดการต่อยอดความคิดไปสู่การพัฒนา คนไทยก็เช่นกันมักจะประสบปัญหาการเขียน ไม่ทราบจะเริ่มต้นอย่างไร ขาดความมั่นใจ ขาดเทคนิคการเขียนโดยเฉพาะการเขียนบทความนั้นต่างมองว่าเป็นเรื่องยาก ในฐานะที่เราต้องทำงานด้านวิชาการหากเรียนรู้ศิลปะการเขียนบทความ ย่อมจะสร้างแรงจูงใจสานฝันแนวทางในการทำงานให้สำเร็จได้อย่างมีหลักการสู่การทำงานที่ท้าทาย
 

ความหมายของบทความ

                         เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้ให้ความหมายของบทความว่า เป็นรูปแบบการเขียนที่ผู้เขียนที่ต้องการสื่อสาร ข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน เนื้อหานำเสนอเป็นข้อมูลจริง ซึ่งไม่ใช่ความเรียนธรรมดา ที่เป็นข่าว หรือจินตนาการของผู้เขียน

 

องค์ประกอบสำคัญในการเขียนบทความ

      นิธิ  เอียวศรีวงศ์และคณะได้กล่าวถึงสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องรู้ข้อมูล เนื้อหาสระที่จะเขียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
      1. กลุ่มเป้าหมาย เราต้องการเขียนให้ใครอ่าน ต้องการสื่อสารกับคนในกลุ่มใด การทราบกลุ่มเป้าหมายจะทำให้ผู้เขียนทราบว่าตนเองมีความถนัดในการเขียนด้านใด
      2. กำหนดประเด็นแคบและชัดเจน ว่าต้องการนำเสนอเสนออะไร เพื่ออะไรเป็นหลัก บทความหนึ่งควรมีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว
     3. การเรียงร้อยถ้อยคำ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนระบบการคิด การเรียงร้อยถ้อยคำควรเป็นประโยคที่สั้นแต่รู้เรื่อง  วรรคตอนต้องถูกต้องจะได้ไม่เสียความหมาย ทำให้อ่านสบายตา ย่อหน้าแต่ละครั้งเมื่อเปลี่ยนประเด็นจะทำให้ผู้อ่านจับประเด็นได้ว่านำเสนออะไร
     4. การใช้ภาษา ควรเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและกลุ่มเป้าหมาย ใช้ภาษาง่ายๆ จะทำให้ผู้อ่านคล้อยตาม ที่สำคัญไม่ควรใช้คำซ้ำซาก
     5. วางโครงเรื่องชัดเจน เริ่มจากสภาพปัญหาไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาและทิ้งท้ายด้วยข้อเสนอแนะ การวางโครงจะทำให้บทความไม่ออกนอกประเด็น
     6. เทคนิคการนำเสนอ ต้องเขียนเริ่มจากจุดเล็ก ให้เชื่อมโยงกับจุดใหญ่ โดยจับอารมณ์ของสังคม เหตุการณ์ที่สังคมสนใจ เพื่อบทความจะได้รับการตีพิมพ์ เพราะบทความหากไม่ได้ตีพิมพ์ ก็เปรียบเสมือนจ่าหน้าซองจดหมายไม่ละเอียดทำให้ข่าวสารไม่ถึงมือผู้รับ
     7. ใช้รูปแบบการนำเสนอให้ถูกต้อง โดยเริ่มที่บทนำ(Title) เนื้อหาของเรื่อง(Body) และบทสรุป (Conclusion) การตั้งชื่อเรื่องมีความสำคัญที่สุด ที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน เพราะคนอ่านจะต้องดูชื่อเรื่องก่อนเสมอ ถ้าชื่อเรื่องสะดุดตาก็จะติดตามเข้าไปอ่าน                        
     8. การเสนอความคิดเห็นในบทความ ต้องนำเสนอข้อคิดที่มีมุมมองหลากหลายและมีข้อเสนอแนะที่เป็นเหตุเป็นผล

 

สลัดความกลัวให้เป็นความกล้าก่อนจะมาเขียนบทความ

 

       เส้นทางสู่นักเขียนบทความนั้น ต้องเริ่มต้นที่ความคิด การฝึกคิดให้คมชัด จะส่งผลให้การเขียนคมชัด สิ่งที่นักเขียนต้องฝึกคิด คือ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงประยุกต์ การเขียนเป็นงานศิลปะที่คนเขียนไม่ใช่ศิลปินก็ทำได้ การเขียนที่ได้รับการฝึกฝน จะทำให้ความคิดเฉียบคมมากขึ้น ที่สำคัญต้องอ่านงานเขียนของคนอื่น ศึกษาเทคนิคการนำเสนอ ศิลปะการใช้ภาษา อรรถรสในการเขียน เพื่อนำไปปรับใช้ในงานเขียนของตน บทความมีคนอ่านหรือไม่ผู้เขียนต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย ต้องเขียนเพื่อผู้อ่านไม่ใช่ตนเอง การเขียนเรื่องใดเป็นที่ถูกใจผู้อ่าน ก็เปรียบเสมือนเราได้แสดงความเคารพในตัวผู้อ่าน ต้องมีความเชื่อว่าบทความของเราต้องมีคนอ่าน

 

ขั้นตอนการเขียนบทความ

       เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้เสนอแนะแนวทางการเขียนบทความเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้อง กำหนดขั้นตอนในการเขียนดังนี้
        1. ขั้นเตรียมความพร้อม ก่อนลงมือเขียนบทความต้องดำเนินการสิ่งต่อไปนี้
            1.1 การเลือกหัวเรื่อง ต้องเลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความรู้และเข้าใจ มีความเหมาะสมกับผู้อ่าน มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ เป็นเรื่องใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายชัดเจน
            1.2 การวางโครงเรื่อง ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่องให้เสร็จก่อนลงมือเขียน เพราะโครงเรื่องจะช่วยให้ร้อยเรียงแต่ละย่อหน้าเป็นเหตุเป็นผล ต่อเนื่องกันอย่างราบรื่น
       2. ขั้นลงมือเขียน ผู้เขียนต้องนำโครงเรื่องมาร้อยเรียงให้กลมกลืน ตามแนวทางต่อไปนี้
           2.1 การเกริ่นนำ ผู้เขียนต้องเขียนย่อหน้าแรกให้ประทับใจผู้อ่านเสมอ เพราะการเขียนบทนำมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและทำให้ผู้อ่านทราบจุดประสงค์ของการเขียน รูปแบบการเกริ่นนำที่ได้ผล ได้แก่ การใช้คำคม การพาดหัว การเล่าเรื่องและการตั้งคำถาม
           2.2 การลงมือเขียน การเขียนประโยคควรเขียนสั้น ๆ ใช้คำเชื่อมควรถูกต้องและเหมาะสม เลือกใช้คำให้เหมาะแก่กาลเทศะ ที่เป็นคำระดับเดียวกันกับกลุ่มเป้าหมาย หลีกเลี่ยงคำที่ให้ความรู้สึกไม่ดีต่อผู้อื่น
        3. การเขียนสรุป บทความที่เขียนมาทั้งหมดจะประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่บทสรุป ผู้เขียนบทสรุปให้จับใจ ข้อเสนอแนะที่งดงามจะทำให้ผู้อ่านประทับ ผู้เขียนมีแนวทางสรุปแบบให้คิดเป็นคำถาม แบบขอความเห็นใจหรือการท้าทายให้มีการคิดหรือดำเนินการต่อไป
       4. ขั้นขัดเกลาบทความ งานเขียนที่ไม่ได้ขัดเกลา ก็เหมือนเฟอร์นิเจอร์ ที่ไม่ได้ขัดกระดาษทราย จึงต้องทบทวนข้อเขียนว่าสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือหรือไม่
        การเริ่มต้นที่ดี งานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อคิดจะเขียนต้องลงมือฝึกฝนการเขียน อย่างตั้งใจ หัวใจของนักเขียน 3 ใจ ได้แก่ ใจกล้า ใจสู้ ใจรัก ยึดกฎแห่งความสำเร็จ คือ ลงมือทำเดียวนี้ การนำคมความคิดมาใช้ในงานเขียนจะทำให้ฉลาดมากขึ้น การเป็นคนช่างสังเกต รักการอ่าน เปิดใจกว้างอย่างมีวิสัยทัศน์ จะส่งผลให้เกิดความรอบคอบ การมีมารยาททางวิชาการที่ต้องอ้างอิงบุคคลที่เป็นต้นฉบับในการเขียน จะสร้างสายสัมพันธ์และเป็นการให้เกียรติสูงสุดของนักเขียน คำกล่าวที่ว่าบันทึกส่วนตัวของเรา อาจเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ ในหลายสิบปีข้างหน้า ได้แต่หวังว่าบทความที่ท่านเขียนจะเป็นกระจกบานใหญ่ให้คนได้ศึกษาต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น

 

เอกสารอ้างอิง

 เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ . เขียนบทความอย่างไรให้น่าอ่าน .พิมพ์ครั้งที่ 3
            กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย, 2547
นิธิ  เอียวศรีวงศ์ และคณะ. เทคนิคการเขียนบทความให้ประสบความสำเร็จ .
           พิมพ์ครั้งที่ 3 ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534
  

 

                                                                               

หมายเลขบันทึก: 303693เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (68)

สวัสดีค่ะ

  • มาเยี่ยมค่ะ
  • มาสลัดความกลัว...ให้เป็นความกล้าค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้ท่าน ผอ.ค่ะ
  • สองวันนี้เหนื่อยมาก  ช่วยจัดการให้กับเด็กในการเตรียมรูปแบบการเรียนรู้เรื่องของชุมชน  เด็ก ๆ มีความสุขค่ะ
  • "คนรักการอ่านคือคนที่รักตนเอง   คนรักการเขียนคือคนที่รักผู้อื่น"
  • แวะมาเยี่ยมทักทายค่ะ
  • ขอบพระคุณข้อมูลดี ๆ เกิดประโยชน์สำหรับคนอ่านค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับบันทึกที่มีประโยชน์มากๆค่ะ

มาขอฝึกเขียนบทความให้น่าอ่านด้วยคนนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

ขออนุญาตที่จะนำความรู้และวิธีการนี้ไปฝึกฝนให้เกิดประโยชน์ต่องานนะครับ

  • ขอบคุณ ผอ.ที่ไปเยี่ยม
  • เลยได้เข้ามาเรื่องดีๆ
  • ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ

ขอบคุณท่านผอ.พร

เรียนเป็นเล่น

ครูต้อยชอบนำมาใช้ค่ะ

อาสาสมัครชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อJassmine

เธอบอกว่าที่อังกฤษ

เด็กๆเรียนรู้จากการเล่น

ขอบคุณบทความนี้นะคะ

สวัสดีครับ พรชัย

  • นักบริหารชั้นครูอ่านใจใครต่อใครทะลุปรุโปร่ง
  • ขอคารวะ ด้วยความจริงใจ
  • ขอบพระคุณในปรารถนาดีที่มอบให้
  • ขอให้ท่านร่ำรวย ร่ำรวย เช่นกัน โชคดีครับ

มาเยี่ยม มาชม มาให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ

มาชม

เขียนเป็นการเป็นงานจริง ๆ นะนี่...ชื่นชม ๆ

เรียนครูคิม

สลัดความกลัวให้เป็นความกล้า ถือว่าเป็นประโยคทองครับ ครูคิมจับประเด็นเก่งจัง นักอ่านมืออาชีพครับ

เรียน คุณธรรมทิพย์

ชอบประโยคทองที่ว่า"คนรักการอ่านคือคนที่รักตนเอง คนรักการเขียนคือคนที่รักผู้อื่น"

การเขียนทำให้คนประณีตครับ

แวะมาอ่านครับ

มีประโยชน์มากเลยครับ

เรียนคุณกฤษรา สำเร็จ

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำครับ ถ้าเป็นประโยชน์อย่างไรก็บอกด้วยครับ

เรียนคุณชาดา ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมชม คงไม่เป็นบทความที่บ่นนะครับ

เรียนครู ต้อย(toi) เราต้องเรียนแบบเอาเป็นเอาตาย เพราะว่าการสอบแบบแพ้คัดออกนี่แหละ ครูเครียด นักเรียนเครียด ผู้ปกครองก็ประสาท เล่น + เรียน = เพลิน

เรียน คุณกิติยา

รูปที่นำมาฝากบอกรักเต็มหัวใจ ขอบคุณในมิตรภาพที่แสนงดงามครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่าน ได้ประโยชน์มาก ๆ ค่ะ จากบันทึกนี้...

ใจกล้า ใจสู้ ใจรัก ... ต้องท่องไว้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

เรียน ท่าน ผอ.ประจักษ์ ปานอินทร์

มองคนออก บอกคนได้ใช้คนเป็นครับท่าน ท่านใช้มาแล้วทั้งหมดแล้วครับ

กึ๋นท่านระดับเทพครับ ขอบคุณคำให้พรที่อยากให้รวย ขอให้ท่านรวยมากกว่าผมก็แล้วกันครับ ท่านรวยมากอยู่แล้วคือรวยน้ำใจ

ขอบคุณครูจิ๋ว ที่บทความใสแจ๋วครับ ยังยืนยันว่าบทความมีทีเด็ดมาก

เรียน ดร ยูมิ

ขอบคุณที่มองว่าผมพูดเป็นการเป็นงานครับ

ขอบคุณหนุ่มเอม

ที่แวะเวียนมาชมครับ ยังไงก็อยากได้คำแนะนำครับ ผมมีข้อเสียตรงที่เขียนให้ขำไม่ถนัดครับ

เรียนคุณหนานเกียรติ

ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ ขอให้มีความสุขกับการทำงานที่ท้าทายครับ

เรียน คนไม่มีราก (มีแต่เหง้า)

ขอบคุณที่นำ 3 ใจ ไปใช้ครับ

ใจกล้า กล้าที่จะคิด จะเขียน

ใจสู้ อดทน ฝึกฝน จนมั่นใจ

ใจรัก ศรัทธาที่จะเขียนย่อมเขียนได้ ศรัทธาตนเองครับ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • แวะมาขโมยซีลการฝึกเขียนบทความให้น่าอ่าน
  • ใจกล้า ใจสู้ ใจรัก ทดลองทั้ง 3 จ. แล้ว แต่ยังขาดความประณีตอยู่ค่ะ

เรียน คุณบุษรา

คุณบุษามีทั้ง 3 ใจ แล้วครับ ถ้าจะเพิ่มคงจะพอใจตนเองครับ เก่งขนาดนี้ไม่พอใจตนเองได้ไง

ทำร้ายตนเองบาปนะจะบอกให้ ขอบคุณที่มาทักทายครับ

  • ได้ความรู้ ชนิดกระเป๋าน้อยๆ
  • สั้น กระชับ ได้ใจความ
  • ชัดเจน ชัดแจ๋วจริงๆ ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

เขียนเล่นๆได้ดี

พอจะเขียนให้ดี ไม่ได้เรื่อง

เรียน ครูป.1

คุณเขียนได้ดี เขียนในสิ่งที่ตนเองถนัดจะเขียนได้ดี ผมเองก็มีปัญหาในการเขียนเรื่องที่ทำให้คนอื่นขำ

ต้องฝึกเพิ่มขึ้นครับ เขียนอย่างอื่นยังได้ เอาจริงก็ต้องได้ ให้กำลังใจตนเองให้มากๆครับ

สวัสดีครับท่านผอ.  มาขอบคุณท่านที่เข้าไปเยี่ยมเยียนทักทายผมครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับท่าน 

 

 

ขอบพระคุณท่าน ผอ. ค่ะ ที่แนะนำติชม ตุ๊ก นะค่ะ

แลขอขอบพระคุณที่นำความรู้ เพิ่มเติมให้อ่านนะค่ะ

แต่ตุ๊กว่า การเขียนบทความนะเขียนง่ายนะค่ะ แต่ที่ยากนะ

จะทำอย่างไรให้คนอ่านเข้าใจในสิ่งที่เราเขียน ทำอย่างไรเขา

อ่านแล้วเหมือนหนึ่งในบทความ ไม่ใช่อ่านแล้วรู้สึกงงๆ

แต่ก็นะค่ะ มันยากสำหรับตุ๊กมากเลยค่ะ

จำได้ว่าเหมือนเคยอ่านผลงาน ผอ ในวารสารวิชาการใช่ไหมครับ

เรียน ดร ขจิต ฝอยทอง

ผมเองก็เคยอ่านผลงานทางวิชาการของท่านเช่นกันครับ แต่ไม่ทราบจะเอาผลการสืบค้นมาลงเหมือนท่านได้อย่างไร

ที่จริงบทความได้ตีพิมพ์ในวาสารวิทยาจารย์ วารสารมติครู วาสารข้าราชการครู เริ่มเขียนตั้งแต่ปี 2547 ครับ ได้ลงบ้างไม่ได้ลงบ้าง

แต่ก็เขียนไปเรื่อยๆ เขียนในสิ่งที่คิดว่าผู้อ่านสนใจครับ ขอบคุณที่อ่านบทความดังกล่าวครับ ผมก็จะติดตามผลงานท่าน

อย่างไม่กระพริบตา

ท่าน ผอ.คะท่านเป็นนักเขียนตัวยงเลย เมื่อกี้กดไปตามที่อาจารย์ขจิตมีให้ดู  กดไปเต็มเลย เจอแล้ว เจอนักเขียนแล้ว  สุก็จะหัดเป็นนักเขียนเหมือนกันแหละคะ โดยจะเอาบทความของท่านในบทนี้เป็นตัวอย่าง ฝึกลองเขียนเฉยๆหรอกคะ  ทุกวันนี้ก็กำลังฝึกเขียน GTK อยู่ เขียนให้คนอื่นเข้าใจ เจตนาเรื่อง ก็ฝึกอยู่แล้วคะ ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆมอบให้กันคะ ไปหละ

เรียนคุณสุ

คุณสุจะเขียนบทความได้ดีแน่นอนครับ เพราะมีทักษะการเล่าเรื่องที่ดี มีการจัดระบบความคิดที่ขยายจากเล็กไปใหญ่

ลองเขียนส่งวาสารดูครับ จะได้ชื่นชมว่ามีนักเขียนในดวงใจอีกคนครับ

มาเยี่ยมอีกครั้งคะ มีเพื่อนนักศึกษา อายุ 65 ปี อดีตเคยเป็น สจ.มาแล้วคะ  เขาใช้ชีวิตโดยการเขียนบทความ บทกลอน เรื่องราว ความคิด  ส่งไปหนังสือคู่สร้างคู่สมคะ เขามาอวดอยู่เรื่อยๆ เวลาเรื่องราวของเขาลงในหนังสือคู่สร้างคู่สม เลยถามว่าเขียนแค่นี้ได้เท่าไหร่  เขาบอกว่า ได้ทีละ หกพันบาท ต่อเรื่อง  แต่เขาก็บอกว่าเขียนทุกครั้งไม่ได้ลงเสมอไป เขามีการคัดกรอง แต่เขาก็ไม่พลาด  พอมีรายได้เป็นงานอดิเรก 

สุเคยเห็นผลงานที่เวลาเขาได้ลงแล้ว เอามาโชว์ ถ้าแค่นี้แล้วทำได้ตั้งหกพันบาท  สุเห็นมีนักเขียนอยู่หลายคนนะ  ใน GTK  แต่เขาไม่รู้ จะติดต่อเอาเรื่องไปขายให้สำนักพิมพ์หนังสืออะไร เลยไม่รู้ความสามารถตนเอง ว่าสามารถทำรายได้ได้ด้วย 

สุก็เคยถามเขาว่า แบบสุเขียนนี้ จะส่งไปขายด้วยได้ไหม เขาก็ว่า อยู่ที่คนคัดกรอง  สุเป็นคนใหม่ เขาอาจจะคัดกรองนานหน่อย เพราะมีนักเขียนมากมาย สุเลยไม่คิดที่จะเป็นนักเขียนต่อไป ที่เขียนเพื่อหารายได้ คริ คริ น่าหัวเราะ อยากเป็นนักเขียน เป็นนักคิดดีกว่า ไปชม บทความใหม่ กดตามคะ

http://gotoknow.org/blog/lelaxy/304491  ลาภยศ ชื่อเสียงไม่เที่ยงตรง ไม่ยืนยงเหมือนความดีคะ ไปหละ มีอะไรให้อ่านไปบอกนะคะ สวัสดีคะ

ขอบพระคุณค่ะ ที่แบ่งปันความรู้

เขียนไม่เป็นและไม่ถนัดเลยค่ะ บทความ

เรียน คุณมนัสนันท์

ผมก็ชื่นชมบทความที่คุณเขียนเช่นกัน การสื่อสารที่ดีบางทีก็ไม่ใช่รูปแบบการเขียนบทความนะครับ

ความถนัดที่ตนเองมีนั่นแหละคือสิ่งที่เราจะสื่อได้ดีที่สุด ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

มาเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้ในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้นครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ

เป็นประโยนช์มากครับท่าน ผอ. เพราะผมกำลังเขียนบทความส่งอาจารย์ที่ ม. นเรศวร พอดี

แนะนำเล่มที่ดีเลยคะ...ส่วนตัวก็ใช้เล่ม ดร.เกรียงศักดิ์ คะ

เรียนคุณณัฐวรรธน์

ขอบคุณครับ บทความอาจมีประโยชน์กับผู้อ่าน ก็ยกความดีให้กับบุคคลผู้เป็นต้นฉบับ ที่อ้างอิงครับ

เรียนคุณคำสิงห์ ภูเยี่ยมจิต

ขอให้บทความที่เขียนประสบความสำเร็จ และเป็นแรงบันดาลใจให้ก้าวสู่นักเขียนมือทอง

น่าสนใจ ได้สาระมากมาย

ขอบคุณค่ะท่าน

บังเอิญเข้ามาอ่านค่ะ ชัดเจนดี แต่ส่วนตัวแล้วกลุ้มใจกับเด็กยุคนี้เขียนหนังสือกันน้อยมาก ทำรายงานส่งอาจารย์ก็ไปจ้างร้านทำให้ หรือไม่ก็ดาวน์โหลดมา แล้วปรับแต่งตัวอักษรแทบไม่ได้อ่านกันเลย แต่ยังมีครูบางท่านที่ยังให้นักเรียนทำรายงานด้วยการเขียนเองอยู่ อาจจะดูว่าเชยแต่แท้จริงแล้วได้ประโยชน์กับเด็กมาก

  • เรียน ผอ.พรชัย
  • ผมตามมาอ่านแล้วครับ เยี่ยมเลย ขอบพระคุณมากครับ
  • และขออนุญาตทำ Link มาหาบทความอาจารย์ด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะ ได้หลักการดี ๆ จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

โยมอาจารย์ผอ.

บทความของอาจารย์เรื่อง "ศิลปะการเขียนบทความให้น่าอ่าน" ดีมาก และมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อใครก็ตามปรารถนาจะเป็นนักเขียนในอนาคต อาตมากำลังเปิดหลักสูตรการเขียนบทความที่มหาิวิทยาลัย และขอเอกสารนี้ของอาจารย์ผอ.ไปให้นักเรียน นิสิต และคณาจารย์ได้อ่านแล้วอ้างอิงต่อไป

เจริญธรรม

ขอบพระคุณ

อาจารย์ KSU -KM ได้ข้อคิดจาก ดร เกรียงศักด์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ครับ

ดีใจครับ ที่อาจารย์มหาวิทยาลัยอ่านงานครูประถม เพราะปกติครูประจะอ่านจากท่านมากกว่าครับ

ขอบคุณคนข้างครู

ทุกวันนี้อย่าไปต่อว่าเด็กเลยครับ ครูเราก็ไม่อยากเขียนด้วยมือแล้วครับ

ขอบคุณอาจารย์ประหยัด ช่วยงาน

ดีใจครับที่ท่านนำไปใช้ครับ มีอะไรที่ท่านเขียนก็แนะนำผมด้วยครับ

ขอบคุณเรื่องดีค่ะท่านผอ.

ชอบอ่าน และติดตามผลงานท่านดร.เกรียงศักดิ์ค่ะ

รักษาสุขภาพนะคะ ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณ นิวฟรีดอม

ผมเป็นคนหนึ่งที่ติดตามงานเขียนที่เป็นข้อคิดของท่านครับ

นมัสการพระคุณท่านธรรมะหรรษา

สิ่งใดที่เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนควรนำไปใช้ครับ กระผมมีความสุขกับการเขียนที่ยังมีคนอ่าน

ครับกระผม

ขอบคุณ poo

ดร เกรียงศักด์ ท่านมืออาชีพในการเขียนบทความครับ

กลับจากขอนแก่นเป็นหวัดครับ ขอบพระคุณในความห่วงใยครับ

เรียน ผ.อ.พรชัย

ยินดีมากค่ะที่ท่านแวะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดิฉันได้เข้ามาอ่านบทความของท่านตามคำเชิญชวนแล้ว มีประโยชน์มากค่ะ ถ้าจะขออนุญาตนำบทความ เรื่อง ศิลปะการเขียนบทความให้น่าอ่าน ไปลงเผยแพร่ในบล็อกภาษาไทย เพื่อเป็นวิทยาทานให้นักเรียนได้อ่าน และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าหาแนวทางในการเขียนบทความ คงไม่ว่านะคะ ต้องขอขอบพระคุณมากสำหรับสิ่งดี ๆ ที่แนะนำให้ แล้วจะแวะเข้ามาเยี่ยมชมผลงานอีกค่ะ

มาขอบคุณ ที่นำข้อเขียนที่ดี ๆ มาให้ได้อ่านคิด และพัฒนาการเขียนต่อไปให้น่าอ่านขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายท่านและขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรงค่ะ

(^___^)

สวัสดีครับท่าน ผอ.พรชัย

ผมเข้ามาไล่อ่านบทความเก่าของท่านครับ

บทความนี้มีคุณค่ามากครับ เด็กยุคนี้จะได้เขียนเรียงความกันเป็น

กระทรวงศึกษาน่าจะกำหนดเป็นนโยบายให้นักเรียนเขียนบทความอย่างน้อยสักหนึ่งบทความเพื่อนำมาบวกเพิ่มเป็นคะแนนพิเศษให้กับนักเรียน ส่วนใครไม่เขียนก็ไม่ได้คะแนนส่วนนี้ ก็น่าจะเป็นการเสริมสร้างให้มีนักเขียนในอนาคตได้อีกทางนะครับ

ผมมีน้องๆและเพื่อนร่วมงานในบริษัทหลายแห่งที่เคยทำงานร่วมกัน ไม่สามารถเขียนหนังสือคำร้อง หรือทำรายงานสรุปใดๆได้เลย เพราะไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร ทั้งที่บางท่านความรู้ความสามารถดีมากๆ น่าเสียดายมากเลยครับ

ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันบทความดีๆ

P ขอบคุณชาวฝนแปดแดดสี่

               อย่าว่าแต่เด็กไม่ชอบเขียนเลยครับ ผู้ใหญ่ก็อ่านเขียนค่อนข้างน้อยครับ

หวาดดีคร้าฟฟฟทั่น

ลุงรุนมาเยี่ยม คร้าฟฟฟฟ

เริ่มต้นดี จบดี... สำเร็จแน่ๆ ... บทความคุณภาพ... แบบนี้ ป๋มต้องอ่านนนนน...

ขอขอบคุณคร้าฟฟฟ... ที่ไปเยี่ยมเยือน ให้กำลังใจกัน...

และถ้าเห็นว่า บล็อคลุงรุน จะเป็นประโยชน์แก่ครูและนักเรียน กรุณาบอกต่อนะคร้าฟฟฟ...

P ขอบคุณลุงรุน

            ขอเป็นแฟนพันธุ์แท้ด้วยคนนะครับ ตอนนี้เปิดบันทึกลุงรุนสอนเด็กแล้วครับ

เรียนผอ.พรชัยท่านเขียนบทความกระชับดี เขียนต่อไปผมติดตามผลงานท่านอยู่

ประชุม โพธิกุล

Ico32 ขอบพระคุณท่านประชุม  โพธิกุล คนระดับท่านลงมาอ่านงานเขียนของผู้น้อยทำให้มั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้นครับ

มาติดตามอ่านงานเขียนของท่านครับ ขอเป็นกำลังใจและจะติดตามอ่าน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท