มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

อัลไซเมอร์ ไม่ใช่แค่หลงๆลืม


[ต่อไปนี้ขอเขียนย่อโรคอัลไซเมอร์ หรือ Alzheimer's Disease ว่า AD นะคะ]

บันทึกนี้จะเขียนเรื่องอาการต่างๆของ AD ค่ะ ว่ามันไม่ใช่แค่หลงๆลืมๆ คนที่สงสัยว่าตัวเองเป็นรึเปล่าจะได้ รู้แน่ว่าเราอุปทานหรือเปล่า คนเรานี่แปลกดีค่ะ อ่านเรื่องไหน ได้ยินเรื่องโรคอะไร แล้วชอบนักที่จะอุปทานคิดว่าเราหรือคนใกล้ตัวเราเป็น! : )

ทำเป็นพูดเล่นๆไปแบบนี้จริงๆแล้ว ที่เขียนนี่ก็ไม่ได้ห้ามคิดตามนะคะ แต่ให้คิดตามแบบไม่อุปทาน

ถ้าคิดพิจารณาดูแล้วเห็นว่าคนที่รักหรือตัวเองเริ่มมีอาการ ที่เข้าเค้า การได้รับการดูแลรักษาแต่เนิ่นๆก็ทำให้ชะลอความรุนแรงของโรคได้  

อาการและความรุนแรงของ AD จะต่างไปแล้วแต่ประวัติที่มาที่ไปของแต่ละคนค่ะ แต่ก็พบได้บ่อยๆว่า อาการของ AD มักค่อยๆเป็นไปตามลำดับตามส่วนต่างๆของสมองที่ค่อยๆเสื่อมไปดังนี้
 

1. limbic system: เป็นส่วนของ การควบคุมอารมณ์ จะเชื่อมต่อกับส่วนความจำ
ตัวอย่างอาการ คือ ผู้ป่วยจะจำไม่ได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน หาของไม่เจอแล้วโมโห หงุดหงิด ต่อว่า โวยวายหาว่าคนอื่นเอาไป
ผู้ดูแล ลูกๆหลานๆหรือคนในบ้านม่ควรไปเถียง แต่ให้เสนอทางออกว่าของนั้นอาจอยู่ที่ไหนได้บ้าง ช่วยกันหา


2. temporal lobe: hippocampus เป็นศูนย์ความจำแบบภาพและคำพูด มีหน้าที่ช่วยจำได้ช่วงสั้น และ
หมายรู้เรื่องใหม่ๆ ตัวอย่างอาการ เช่น จำศัพท์ไม่ได้ หรือ จำเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปไม่ได้ ถ้ามีคนมาหาเมื่อชั่วโมงที่แล้ว แล้วตอนนี้คุณไปถามผู้ป่วยว่า เมื่อกี้มีคนมาเหรอ ผู้ป่วยจะจำไม่ได้ (what is seen now is reality)

3. occipital part of most part of the brain: ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเวลา สถานที่และสิ่งของได้ มักเดินออกไปจากบ้านแล้วหลง ไม่รู้ว่าไปได้ไง กลับบ้านเองก็ไม่ได้

4. left temporal (ไว้จำความหมายของคำ) and left parietal lobe (ใช้คำให้ถูกความหมาย): อาการช่วงนี้จะใช้คำศัพท์ผิดๆ หรือนึกคำที่จะพูดไม่ออก ฟังคนพูดไม่เข้าใจ เขียนไม่ได้  ระยะนี้ผู้ป่วยจะดูแลด้านการเงินของตนเองต่อไม่ได้ นอกจากนี้ถ้ามีความเสื่อมในสมองส่วน right parietal lobe ด้วย ก็จะสูญเสียทักษะทางการดูแลตัวเองเช่น ส่เสื้อผ้าเองไมได้ ทานอาหารเองไม่ได้ มักเป็นเหตุให้ต้องมีคนเข้ามาดูแลจริงจัง นอกจากนี้ parietal lobe ยังช่วยเชื่อมโยงของและหน้าทีของของ เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจะลืมว่า เครื่องมือต่างๆมีไว้ทำอะไร หวีผมแต่เอาด้านเรียบ ไม่ใช่ด้านที่เป็นซี่ๆหวี หรือ มองแก้วแล้วไม่รู้ว่าเอาไว้ใส่น้ำ เป็นต้น ช่วงนี้เริ่มอาการลึมหน้าคนที่คุ้นเคยด้วย เป็นช่วงที่คนที่รักจะช้ำและเศร้าใจที่สุด ผู้ดูแลช่วยได้ด้วยการนำกรอบรูปติดชื่อวางไว้ในบ้าน คนที่รักต้องเข้าใจด้วยว่าระยะนี้ผู้ป่วยสูญเสียความจำจากภาพที่มากระตุ้น (sight) แต่เมื่อฟังเสียงก็มักจะยังจำได้อยู่

5. frontal lobe:  สมองส่วนนี้ทำให้เรามี sense  เรื่องเวลาในอนาคต รู้จักมองไปข้างหน้า มีการวางแผน แล้วมีการริเริ่มกระทำการใดๆ ช่วยในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เมื่อส่วนนี้เสื่อมไป ผู้ป่วยจะไม่มีความสนใจในการทำอะไรทั้งสิ้น จะนั่งเฉยๆทั้งวัน เลิกกิจกรรมยามว่างที่เคยชอบ เลิกเข้าสังคม ผู้ดูแลช่วยได้ด้วยการกระตุ้น ผู้ป่วยริเริ่มเองไม่ได้ แต่ถ้ามีคนมากดเปิดปุ่มทำงาน (switch on) ท่านก็ทำต่อได้ (แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่ท่านเคยทำ ทำได้มาก่อนแล้ว) อย่างไรก็ตามหลายท่านก็ไม่มีสมาธิ ทำอะไรแป๊บเดียวแล้วอยู่ๆก็ลุกไปเลย แต่ในบางคนก็ต้องกดปุ่มปิดด้วยในบ่างราย เพราะท่านจะหยุดเองไม่ได้ (repeating action) เช่น นั่งเคาะโต๊ะไม่หยุด นอกจากนี้ในระยะนี้อาจจะมีการ เสื่อมของสมองส่วน orbital basal surface of frontal lobe ผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าอะไรควรไม่ควร เช่น แย่งอาหารจากจานผู้อื่น ขโมยของ หรือ แม้กระทั่งลวนลามทางเพศ

6. occipital lobe: ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการมองเห็น จะสูญเสียการมองเห็นด้านข้าง (peripheral vision) สูญเสียการมองมิติด้านความลึก

นอกจากนี้ญาติและคนดูแลต้องเน้นสิ่งที่ผู้ป่วยยังทำได้ อย่ามองแต่ว่าอะไรหายไป แล้วก็พยายามลดความคาดหวังลง อย่าให้สูงเกินว่าท่านต้องทำโน่นทำนี้ได้ ทำไมท่านเป็นอย่างนี้เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 116966เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • มาดูว่าผมเข้าแบบไหน
  • โชคดีจังยังไม่เข้าสักแบบ
  • เกือบเข้าแบบแรกแต่ไม่หงุดหงิดครับ
  • ขอบคุณครับผม

เนื้อหาดีครับ การวินิจฉัยได้แต่เนิ่นๆจะเกิดผลดีกับการเตรียมญาติ

สวัสดีค่ะ อ.มัท

         นึกถึงตอนได้ดูหนังเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอาการเหล่านี้   ตอนนั้นหาข้อมูลเรื่องนี้เป็นภาษาไทยได้ยากมาก   ดูแล้วสงสัยอยู่นาน...  คิดว่าเป็นกับเฉพาะคนฝรั่งจริงๆ
         อ.มัทเขียนให้อ่านเข้าใจง่ายดีจังเลยค่ะ   อ่านแล้วเห็นทางออกที่ดีด้วย   สังคมเรามีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น   น่าจะช่วยให้คนต่างรุ่น ต่างวัย   "รู้เท่าทันสถานการณ์ในครอบครัว"มากขึ้น    และเตรียมรับมือได้โดยยังมีสติมั่นคงดี   
       ขอบคุณมากๆเลยค่ะ  : )

 สวัสดีค่ะอาจารย์คะ

    เป็นบันทึกที่เยี่ยมยอด และชัดเจนมากค่ะ

ควรที่จะอ่านกันอย่างยิ่ง เพราะทุกคนจะมีญาติผู้สูงอายุกันทั้งนั้น

เราจะได้คอยระวังท่านไว้ล่วงหน้า แต่ก็ไม่ควรกังวลเกินเหตุ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะเป็นค่ะ

อย่างญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง อายุ 95 แล้วก็ยังไม่เป็นอะไร เป็นแต่หลงๆลืมๆ พูดแล้วพูดอีก แต่จำทุกคนได้ดี โดยเฉพาะ จำเสียงคนได้แม่น เรื่องเก่าๆก็จำได้ แต่จะชอบหาของๆตนเอง หาไม่เจอและชอบหาว่ามีคนเอาไป เป็นอย่างนี้มา25ปีแล้ว แต่ไม่มีอะไรมากกว่านี้ค่ะ เป็นการหลงลืมธรรมดา

แต่คุณแม่เพื่อนที่เป็นโรคสมองฝ่อ ตอนนี้อายุ89ปี จะมีความสุขและหัวเราะกิ๊กกั๊ก เมื่อเห็นภาพเด็กๆในทีวีค่ะ  เพราะเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูกอย่างเดียว  มีความทรงจำที่ฝังใจมากๆกับความน่ารักของลูกๆค่ะ ส่วนเรื่องดนตรีไทยที่ชอบและเล่นได้ดี กลับเฉยๆค่ะ ไม่สนใจ

ลูกสาว ที่เป็นเพื่อน ต้องไปเรียนธรรมะที่วัดมหาธาตุ และตอนนี้ ปลงได้ ทำใจได้มากค่ะ มิฉะนั้น จะเครียดมากค่ะ

กรณีตัวอย่างที่เล่าให้ฟังในบันทึกดูได้ที่นี่ค่ะ

ขอบคุณทุกๆท่านมากค่ะ

ไว้จะเขียนบันทึกเรื่องนี้เรื่อยๆ

ประสบการณ์ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน ก็น่าสนใจไม่แพ้บทความวิชาการค่ะ

คราวหน้าจะลองมาเขียนเล่าประสบการณ์ที่ ได้สัมผัสกับผู้ป่วยที่ีมีอาการเหล่านี้ดูบ้าง 

ใครมีอะไรมาเสริม หรือ มีประเด็นไหน สงสัยเป็นพิเศษ เชิญเขียนมาได้เลยค่ะ 

โรคสมองเสื่อมปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในผู้สูงอายุเท่านั้นนะคะ  ในขณะนี้ในโรงพยาบาลจิตเวช มีจำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อมตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 60 ปีเพิ่มมากขึ้น และสาเหตุสำคัญของโรคคือ ดื่มสุรา เป็นโรคแถมจาก โรคจิตจากสุรา โรคติดสุราเรื้อรังค่ะ  น่าเป็นห่วงนะคะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้คะ...เพราะกำลังสงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันเพราะความจำล้มเหลวบ่อยครั้งอิอิ...น่าจะเข้าขั้น...จะนำไปปรับใช้กับตัวเองและคนอื่นๆคะ

OT จิตเวช:

ใช่เลยค่ะ คุณ OT จิตเวช   มี blog ไม่คะ มาลปรร ประสบการณ์กันไม๊ค่ะ : ) หาแนวร่วมอยู่ค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ คุณnaree suwan

รู้ไว้ใช้แต่อย่าคิดมากค่ะ : ) 

ขอบคุณคุณหมอมัทนาค้าบบบ

จริง  ๆ เคยอ่านบทความของคุณหมอไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่อ่านตอนดึก ๆ เอ๊ะ หรือตอนกลางวัน หรือตอนเย็นนะ

เอ่อ หมอครับ ผมมีอาการเริ่มแรกขอ

2. temporal lobe: hippocampus

รึป่าวครับ

น้องเหน่ง inquiry:

อาการ จำศัพท์ไม่ได้ นี่หมายถึง มองของแล้วจำไม่ได้ว่ามันเรียกว่าอะไร ถึงแม้ว่ามันเป็นภาษาพ่อภาษาแม่

ภาษาอังกฤษนี่แก้ได้ด้วยการไปขอตื้อลงเรียนที่ I-house  (ตกลงมีที่ให้เรียนเปล่า? ถึงเต็มก็ขอได้ เค้าไม่เคร่งมากหรอก) ไว้เจอกันแล้วค่อยคุยรายละเอียดละกันนะ

วันนี้ไปก่อนจ้า 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท