มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เคล็ดลับการดูแลรักษาผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการโรคสมองเสื่อม


ในกรณีที่ท่านต้องการแปรงฟัน หวีผม อาบน้ำ ป้อนข้าว ให้ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการโรคสมองเสื่อม หรือ ต้องการเข้าหาเพื่อตรวจวินิจฉัย ให้ยา หรือรักษาโรคต่างๆให้ผู้สูงอายุเหล่านี้ค่ะ

  • ห้องต้องเงียบ และ ไม่มีสิ่งล่อตาล่อใจ มีเพลงบรรเลงคลอเบาๆได้ แต่ห้ามเป็นเพลงมีคนร้องหรือเสียงคนคุยในบริเวณนั้นเพราะ ผู้ป่วยไม่สามารถกรองได้ว่านี่เสียงที่ควรฟัง นั่นเสียงนี่ไม่ควรไปสนใจ

  • ยิ้มและสบตากับผู้ป่วย
  • เรียกผู้ป่วยด้วยชื่อ แนะนำตัวเอง เป็นการเรียกความสนใจ ไม่ว่าท่านจะจำชื่อตัวเองได้หรือไม่ก็ตาม
  • พูดประโยคสั้นๆ อย่าใช้เสียงสูง (pitch) ท่านจะไม่ได้ยิน
  • ใช้โทนเสียงที่เป็นมิตร
  • พูดช้าๆ ชัดๆ แต่ไม่ต้องตะโกน
  • อย่างพูดจากข้างหลัง หรือข้างๆตัวผู้ป่วย ท่านไม่มี peripheral vision มองเห็นแต่ของตรงหน้า
  • ลดความเครียดของผู้ป่วยโดยให้ท่านมีอะไรถือในมือ เช่นผ้าขนหนู ของเล่นนิ่มๆ ตุ๊กตา หรือ แม้แต่แปรงสีฟัน
  • คอยดูสีหน้าและการแสดงอาการเจ็บของผู้ป่วย
  • ขยับตัว แขน มือ ช้าๆ อย่ายกมือแกว่งมือเร็ว
  • ใส่เสื้อผ้าสีกลางๆ อย่าใส่เสื้อกาวน์สีขาวแขนยาว เพราะผู้ป่วยจะเห็นแค่หัวแขนขาของเราลอยอยู่ ท่านอาจมองไม่เห็นสีขาวว่าเป็นเสื้อ เพราะเลนส์ตาของผู้สูงอายุอาจเป็นสีเหลืองและขุ่น

อ้างอิง: วิทยากร -  Angela Johnston, Support & Education Coodinator  จาก Alzheimer Society of BC 
Geriatric Dentistry Study Club 19 กันยายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย
 

 

หมายเลขบันทึก: 144931เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
ขอบคุณครับ สำหรับ เคล็ดลับ ดีดี

เหมาะเลยครับ   เวลาผมจะไปเยี่ยมปู่  แล้วจะลองนำวิธีนี้ไปใช้ครับ 
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • เพิ่งรู้ว่า เรื่องนี้ "ใส่เสื้อผ้าสีกลางๆ อย่าใส่เสื้อกาวน์สีขาวแขนยาว เพราะผู้ป่วยจะเห็นแค่หัวแขนขาของเราลอยอยู่ ท่านอาจมองไม่เห็นสีขาวว่าเป็นเสื้อ เพราะเลนส์ตาของผู้สูงอายุอาจเป็นสีเหลืองและขุ่น" ... ก็มีผลด้วยเน๊าะ

สวัสดีค่ะคุณมัท เป็นสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อนเลยค่ะ จะจำไว้ใช้เวลาไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอย่างนี้ ดูเหมือนว่าเดี๋ยวนี้คนเป็นโรคนี้มากขึ้น หรือเมื่อก่อนก็เป็นกันแต่การสื่อสารที่จำกัดทำให้เราไม่ทราบนะคะ

ขอบคุณค่ะคุณ K, คุณ pa_daeng, พี่หมอนนท์ (เพื่อนร่วมทาง), อ.นุช (คุณนายดอกเตอร์

เรื่องที่คนไม่ค่อยทราบ ก็มี 3 เรื่องค่ะ

คือเรื่อง เสียง(pitch)สูง เรื่องใส่ของในมือ แล้วก็เรื่องเสื้อสีขาว

ตอนที่วิทยาการมาสอนใน study club หมอฟันและผู้ช่วยทั้งห้อง 20 กว่าคนได้ ไม่มีใครทราบมาก่อนเลย ฮือฮากันใหญ่ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • เสื้อกาวน์สีขาวดูจะแย่ลงไปเรื่อยๆ... ขนาดคนสมองเสื่อมก็ยังไม่ชอบ
  • เรื่องนี้มีประโยชน์มากครับ... ถ้ามีบุญพอ กำลังขอโอนย้ายไปอนามัย (ศูนย์แพทย์ชุมชน) คงจะได้นำข้อคิดไปใช้

สวัสดีค่ะ อ.มัท

พี่แอมป์ทึ่งความละเอียดอ่อนของเขาจัง  โรงเรียนเราน่าจะมีกิจกรรมฝึกเด็กให้เข้าใจผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะเด็กในเมือง  ครอบครัวเดี่ยว ที่มีโอกาสใกล้ชิดผู้สูงอายุน้อย  ถ้าเตรียมเขาตั้งแต่เล็ก ช่องว่างระหว่างวัยน่าจะลดน้อยลง  ......คิดถึงวิชาครอบครัวศึกษาเลยเนี่ย
....บ่นสั้นๆแล้วนะคะเนี่ย  อิอิ.....

ขอบคุณค่ะ อ. หมอวัลลภ
เสื้อกาวน์สีขาวที่นี่มีข้อเสียอีกข้อนึงค่ะ ที่นี่มีคนไข้ผู้สูงอายุที่เป็นผู้อพยพมาจากยุโรป เสื้อกาวน์สีขาวมันทำให้คนไข้ยิวสมัยสงครามใจไม่ดี กระตุ้น post traumatic trauma เพราะมันเหมือนหมอเยอรมันสมัย Holocaust  ที่รพ.ที่มัทไปทำงานเค้ามีนโยบายไม่ให้ใส่เสื้อกาวน์สีขาว ให้ใส่เสื้อ scrubs แทนค่ะ 

พี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล)

สมกับที่เป็นครูมากๆค่ะ : ) 

พี่แอมป์พูดถูกจุดมากค่ะ เพราะเด็กในเมืองไม่ได้ใกล้ผู้สูงอายุ แต่เด็กนอกเมืองนั้นปู่ย่าตายายเลี้ยง เพราะพ่อแม่ทำงาน 

จะมีให้ครบไม่ได้เลยหรือนี่ : ) 

ได้ความรู้ในเชิงปฏิบัติหลายอย่างครับ ผมก็เพิ่งรู้ว่าห้ามพูดเสียงสูง (นึกอีกทีก็ถึงบางอ้อว่าเป็นจาก presbicusis) และเพิ่งรู้เหมือนกันว่าเสื้อสีขาวจะมองไม่ชัด

ขอบคุณค่ะคุณ โรจน์

ใช่แล้วค่ะ ถ้าเสียงเกิน 17 kHz แล้วผู้สูงอายุ จะไม่ได้ยินค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท