มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ฉันลืมที่จะจำว่าให้ลืมเธอ | เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (5)


งานสุดท้ายของวันนี้ก่อนกลับบ้านคือการไปซ่อมฟันปลอมคนไข้ที่บ้านพักผู้สูงอายุมาค่ะ

เป็นการซ่อมและเสริมฐานฟันปลอมล่างที่หลวมและมีจุดกดเจ็บจนเหงือกเป็นแผล

ที่ผ่านมาก็ให้คุณยายถอดฟันปลอมให้บ่อยที่สุด รอ consent จากลูกสาวของท่านว่าให้รักษาได้ (ที่นี่ต้องมีลายเซ็นเป็นเรื่องเป็นราวมาก เพราะว่าทันตกรรมไม่รวมอยู่ในประกันสุขภาพ ต้องมีลายเซ็นรับรู้ว่าค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เป็นการเพิ่มขั้นตอนที่ค่อนข้างเสียเวลาพอสมควรเลยค่ะ ส่วนการรักษาที่ทำได้เลยเพราะเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ต้องมีการติดเชื้อ มีหนองบวม หรือมีกระดูกหัก เท่านั้น การที่เจ็บเหงือกจนใส่ฟันปลอมไม่ได้ ทานข้าวได้แต่อาหารนิ่มนั้น เค้าไม่นับเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินอ่ะค่ะ ทั้งๆที่จริงๆ ถ้าลองมาเป็นคุณยายคนนี้ก็จะเห็นว่ามันคือ เรื่องใหญ่เหมือนกัน นอกจากนี้คุณยายยังหลงๆลืมๆ พอพยาบาลเอาฟันปลอมไปเก็บที่อื่น เพราะว่าคุณยายจะได้ไม่เอามาใส่ คุณยายก็ลืมว่าพยาบาลเอาไป หาของไม่เจอก็เครียด จะว่าไปก็รบกวนสภาพจิตใจเหมือนกันนะคะ แต่มันก็เป็นกฎของที่นี่ที่ต้องทำตาม)....ปิดวงเล็บยาวมาก แฮะๆ

กลับมาที่การรักษา ผู้เขียนเริ่มการรักษาจากการใช้วัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อ(เหงือก) หรือ tissue conditoner เป็นตัวเสริมฐานฟันปลอมแบบชั่วคราวก่อน แล้วอาทิตย์หน้าก็มาดูว่าเหงือกเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าหายดี ฟันปลอมแน่น ไม่กดเจ็บก็ค่อยทำการสริมฐานฟันปลอมแบบถาวรด้วย acrylic สีชมพูเหมือนฐานฟันปลอมเดิมเป็นขั้นตอนต่อไป

แต่เรื่องที่จะเล่าวันนี้ไม่เกี่ยวกับการรักษาโดยตรงนักค่ะ

คือไอ้วัสดุปรับสภาพเนื้อเยื่อ(เหงือก)เนี่ยะมันใช้เวลานาน 7-8 นาทีถึงจะ set เปลี่ยนจะนิ่มๆเยิ้มๆเป็นแข็งๆหยุ่นๆใช้งานได้

ขณะที่รอวัสดุ set (วัสดุรองฐานฟันปลอมอยู่ในปากคุณยาย) ช่วงนาทีที่คุณยายต้องกัดฟัน(ปลอม)ไว้เฉยๆพูดไม่ได้นั้น คุณยายนึกคึกอารมณ์ดีฮัมเพลง

"I forgot to remember to forget" ของ Elvis ค่ะ

พอผู้เขียนเอาฟันปลอมออกมาจากปากเพื่อตัดแต่งวัสดุส่วนเกิน ท่านก็ร้องเพลงนี้ต่อ  เสียงดีด้วยค่ะ

ลูกสาวของท่านที่มาเยี่ยมก็หัวเราะแล้วก็ร้องตาม

บรรยากาศการรักษาพยาบาลเลยมีชีวิตชีวามาก

ผู้เขียนรักษาเสร็จก็พลอยอารมณ์ดีไปด้วยทั้งๆที่วันนี้เหนื่อยมากเพราะไปดูคนไข้มา 1 รพ. 2 บ้านพักผู้สูงอายุ แถมเมื่อเช้าก็มีcaseที่ต้องคิดมากในการวางแผนการรักษาด้วย ข้าวเที่ยงก็ไม่ได้ทาน แวะทานชา 1 แก้วใหญ่ไปตอนบ่าย 3 เดินออกจากห้องคุณยายตอน 5 โมงเย็นพอดี

แต่ตอนเดินออกมาก็ยิ้ม หายเหนื่อย (แต่วันนี้ไม่ปลิดทิ้งเท่าไหร่ค่ะ ๕๕๕)

คิดในใจว่า มันน่าคิดดีเนอะที่คนไข้ dementia เลือกที่จะร้องเพลงนี้ : )

-------------------------------------------------------------------------------

คลิกเพื่ออ่าน:

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (1)

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (2)

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (3)

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (4)

 

หมายเลขบันทึก: 173371เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท