มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (9)


วันนี้ไปออกตรวจที่รพ.โฮลี่แฟมมิลี่ เป็นรพ.ผู้สูงอายุที่แบ่งเป็น 3 wards

  1. rehabilitation,
  2. complex care (intermediate care + extended care) แล้วก็
  3. palliative care

คนไข้ใน complex care และ palliative care ทุกคนต้องได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากปีละครั้ง

วันนี้ไปตรวจมา 20 คน เหนื่อยเพราะว่าต้องเดินตลอด เข้าห้องโน้นออกห้องนี้ ไม่ได้อยู่ในคลินิกเหมือนชีวิตหมอฟันทั่วไป

มีอยู่ห้องนึงน่ารักมาก มีกันอยู่ 4 เตียง คุณยายที่เราไปหานั่งอยู่กับลูกสาว ให้ลูกสาวทาเล็บให้อยู่ ส่วนอีก 2 ท่านนั่งบนรถเข็นเตียงข้างๆ คุยกันกระหนุงกระหนิง (อีกคนหายไปไหนไม่ทราบ สงสัยไปข้างนอก เช่น ไปล้างไต หรือ ไป X-ray)

เราตรวจคุณยายคนที่อยู่กับลูกสาวอยู่ ได้ยินคุณยายอีกสองคนเตียงข้างๆคุยกัน (เสียงดังมากเพราะท่านหูไม่ดีทั้งคู่)

  • คนนึงถามว่า "วันแม่วันไหนนะ"
  • [ไม่มีเสียงตอบ เราก็เกือบจะตอบไปแล้วว่า วันอาทิตย์นี้ค่ะ]
  • แล้วอีกคนก็ชิงตอบเราก่อนด้วยเสียงฉะฉานว่า "วันนี้!"
  • คนที่ถามก็พูดว่า "วันนี้เหรอ อ๋อ ดีๆ"
  • คุณยายคนที่เราตรวจอยู่ก็หัวเราะ ผู้ช่วยเราก็ยิ้ม คิดกันว่าคงหลงๆมั้ง
  • แล้วคุณยายคนที่บอกว่าวันนี้ก็พูดขึ้นมาว่า "เอ๊ะ วันไหนแน่ วันนี้จริงเปล่า"
  • อีกคนก็บอกว่า "จะรู้มัย้ รู้ก็ไม่ถามหรอก"
  • อีกคนก็หัวเราะ แล้วก็บอกว่า "ช่างมัน ชั้นว่าวันนี้ หรือไม่ใช่วันนี้ก็ไม่เป็นไร ทุกวันคือวันแม่"
  • เราเลยตะโกนไปว่า "that's the right answer!" ถูกต้องแล้วคร้าบ
  • คุณยายคนที่เราตรวจอยู่ก็หัวเราะ แล้วชมเพื่อนร่วมห้องตัวเองให้หมอฟังว่า "Aren't they cute?"

เฮ้อ ได้เจออะไรแบบนี้ค่อยยังชั่วหน่อย เพราะก่อนที่จะมาตรวจห้องนี้ เห็นคนไข้ห้องอื่นๆแล้วสงสาร บางคนร้องตลอดเวลาเพราะปวด บางคนนอนตัวคู้เลย บางคนนัยน์ตาไม่มีแววแล้ว เหม่อๆ เหมือนชีิวิตนี้ไม่มีความหมายอีกต่อไป บางคนก็กลายเป็นคนก้าวร้าว ไม่ชอบให้ใครเข้าใกล้ เห็นมากๆแล้วก็หดหู่ และปลงในชีวิตทุกครั้ง

วันนี้กลับมาบ้านแล้วพูดกับสามีว่าการดูตาคนไข้นั้นบอกได้เลยว่า ใครทุกข์ใครสุข แล้วมันก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายด้วย บางคนร่างกายแย่ มีโรคมากแต่ตาสดใส ดูมีชีวิต บางคนโรคน้อยกว่าแต่ดูทุกข์ไปหมด เห็นคนที่ทุกข์แล้วก็ทุกข์ตาม แต่พอได้เห็นคนที่อารมณ์ดีๆอย่างคุณยายทั้ง 3 คนที่อยู่ห้องเดียวกันแล้วก็ทำให้คิดได้ว่า

"pain is inevitable but suffering isn't"

และปัจจัยสำคัญที่เห็นวันนี้คือ "ลูก และ เพื่อน" นั่นเอง สภาพร่างกายนั้นไม่สำคัญเท่า

การมีคนที่รักและห่วงใย ไม่ว่าจะรู้จักมานานหรือเป็นเพื่อนใหม่ก็ดีทั้งหมด

---------------------------------------------------------------------

คลิกเพื่ออ่านบันทึกทีแล้ว: เคล็ดลับอายุยืน | เรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานทันตกรรมผู้สูงอายุ (8)

หมายเลขบันทึก: 181375เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณหมอมัท

  • เข้ามาอ่านแล้วก็แช่มชื่นไปด้วยค่ะ
  • อาหารเช้าสำคัญสำหรับสุขภาพ อาหารใจก็สำคัญกับการทำงานในวันนั้นทั้งวัน
  • ขอให้ทำงานอย่างมีความสุข แม้จะเหนื่อยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท